ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 17 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 333 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย (1. นายเดชบุญ มาประเสริฐ ฯลฯ รวม 10 คน) | ทส. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย
รวม ๑๐ คน ตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๖๓ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๗ ธันวาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ ๑. นายเดชบุญ
มาประเสริฐ ประธานกรรมการ
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๒. รองศาสตราจารย์กำลัง
ชุมพลบัญชร กรรมการด้านสัตวแพทย์/เกษตร/สัตวบาล
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๓. นายสมิทธิ ดารากร ณ อยุธยา กรรมการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๔. รองศาสตราจารย์เจษฎ์ โทณะวณิก กรรมการด้านกฎหมาย ๕. นายภัทระ คำพิทักษ์ กรรมการด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ๖. นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ กรรมการด้านต่างประเทศ
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๗. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อำนาจ จำรัสจรุงผล กรรมการด้านสถาปัตยกรรม/วิศวกรรม ๘. นายมณเฑียร อินทร์น้อย กรรมการด้านการบริหารจัดการองค์กร/การบริหาร
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ)
ทรัพยากรบุคคล ๙. นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ กรรมการผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(เป็นบุคคลจากบัญชีรายชื่อฯ) ๑๐. นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์ กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลัง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา | สว. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental
Assessment : SEA) ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วุฒิสภา ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้ (๑)
ปัญหานโยบายและการดำเนินการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้นำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อทราบถึงความก้าวหน้าในการดำเนินการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
รวมทั้งได้ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. .... เพื่อเป็นแนวทางและกำหนดแผนในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(๒)
ปัญหากฎหมายและระเบียบที่รองรับหรือบังคับให้หน่วยงานหรือเจ้าของแผนงานต้องจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. ....
เสนอคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนพิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป (๓)
ปัญหาหน่วยงานรับผิดชอบหลักการดำเนินการและพัฒนาระบบการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้พัฒนาความรู้และประสบการณ์ด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านการจัดทำโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(๔) ปัญหากระบวนการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และจัดทำคู่มือเพื่อการสื่อสารสาธารณะ
เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ และ
(๕)
ปัญหาขีดความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้เตรียมการรองรับภารกิจและสร้างความพร้อมของหน่วยงานในการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
โดยจัดฝึกอบรมทางวิชาการด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าป่วยการพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ พ.ศ. .... | นร.09 | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าป่วยการพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ
พ.ศ. .... ที่ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับค่าป่วยการสำหรับพยานหรือพยานผู้เชี่ยวชาญซึ่งเจ้าหน้าที่เรียกมาให้ถ้อยคำหรือทำความเห็นต่อการพิจารณาปกครอง
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ | สช. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติและมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
โดยมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น การบูรณาการแรงงานข้ามชาติเข้าสู่นโยบายพัฒนาประเทศ
การพัฒนาหลักประกันสุขภาพที่มีเสถียรภาพครอบคลุมแรงงานข้ามชาติทุกกลุ่ม
โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการพำนักอยู่ในไทย และการพัฒนาหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น การพัฒนาปรับปรุงมาตรการ หลักเกณฑ์
แนวปฏิบัติการรับรองการเกิดและมาตรการเชิงรุก
การจดทะเบียนครบขั้นตอนทันทีหลังการเกิดเพื่อรองรับสิทธิในสัญชาติ
และการปรับปรุงกฎหมาย และพัฒนาบริการสาธารณสุข
สิทธิประโยชน์ทางการแพทย์ที่จำเป็นขั้นพื้นฐาน ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจพิจารณาและออกแบบแหล่งที่มาของเงินสนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิทางสุขภาพสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ
และระดับความสามารถในการร่วมจ่ายเงินของนายจ้างและกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามสมควร ให้หน่วยรับประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
มาดำเนินการในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน
ควรคำนึงถึงการวางแนวทางรองรับผลกระทบที่อาจมีต่อความเสี่ยงทางการคลังของประเทศในระยะยาว
ควรมีการบูรณาการการทำงานและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เพื่อมิให้ขัดกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
กฎหมายว่าด้วยการกำหนดสัญชาติ
รวมทั้งควรมีการบูรณาการวางแผนการบริหารจัดการการเงินการคลังด้านสุขภาพภาครัฐให้มีความสมดุล
เพียงพอรองรับการเข้าถึงบริการสาธารณสุขของกลุ่มคนดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และมีความยั่งยืนในอนาคต มติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มแรงงานข้ามชาติ
เช่น ประเด็น “การบูรณาการแรงงานข้ามชาติสู่นโยบายพัฒนาประเทศ”
ควรเน้นการวางแผนการจัดการและการบูรณาการในนโยบายพัฒนาประเทศ “ในระยะยาว ระยะกลาง
และระยะสั้น” ภายใต้บริบทที่สังคมไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น
และมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
เช่น ควรพิจารณาในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับกลุ่มเด็กและเยาวชนไร้รัฐไร้สัญชาติ
รวมถึงระบบสนับสนุนการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | แผนปฏิบัติการการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และแผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน | พน. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนปฏิบัติการกำกับกิจการพลังงาน ระยะ ๕ ปี
(พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) ประกอบด้วย ๕ วัตถุประสงค์หลัก เช่น ส่งเสริมให้มีบริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ
มีความมั่นคง ทั่วถึง และมีเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบอนุญาต
โดยมีระยะเวลาการดำเนิน ๕ ปี กรอบวงเงินรวม ๕,๒๘๖.๐๔๒ ล้านบาท และเห็นชอบแผนการดำเนินงาน
งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของสำนักงาน กกพ.
วงเงินงบประมาณรายจ่าย ๑,๐๐๐.๒๕๖ ล้านบาท และประมาณการายได้ ๑,๐๐๐.๘๑๘ ล้านบาท ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน
พ.ศ. ๒๕๕๐ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน
(สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/๖๕๑๖
ลงวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เช่น ควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังประกอบการพิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วย ควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
ควรรายงานผลสัมฤทธิ์จากการดำเนินการตามแผนฯ
ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดและเป้าหมายของแผนย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในแต่ละระดับตามที่กำหนดด้วย
ให้ความสำคัญกับการจัดทำฐานข้อมูล แบบจำลองพยากรณ์
รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับกิจการพลังงานรูปแบบใหม่ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
พร้อมทั้งควรติดตามสถานการการเปลี่ยนแปลงตลาดพลังงานอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ขอความเห็นชอบการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงขององค์การเภสัชกรรม | สธ. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบการขยายเพดานอัตราค่าจ้างขั้นสูงของพนักงานองค์การเภสัชกรรม
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ระดับ ๙ จากอัตรา ๙๕,๘๑๐ บาท เป็นอัตรา ๑๑๘,๐๒๐ บาท ๑.๒ ระดับ ๑๐ จากอัตรา ๑๐๔,๓๑๐ บาท เป็นอัตรา
๑๒๗,๐๒๐ บาท ๑.๓ ระดับ ๑๑ จากอัตรา ๑๑๓,๕๒๐ บาท เป็นอัตรา
๑๓๘,๒๗๐ บาท ๒. ให้กระทรวงสาธารณสุข
(องค์การเภสัชกรรม) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณที่เห็นควรคำนึงถึงประเด็นความคุ้มค่า
ต้นทุน และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐประกอบด้วย
และควรพิจารณาค่าใช้จ่ายบุคลากรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
โดยคำนึงถึงสถานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างรอบคอบ
จัดทำแผนเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานหรือการเพิ่มรายได้
รวมทั้งแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณและเงินนำส่งรายได้แผ่นดิน
รวมถึงฐานะทางการเงินในอนาคต
โดยคำนึงถึงหลักความคุ้มค่าและประหยัดในการใช้จ่ายงบประมาณอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาผลกระทบราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ | พน. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ขยายระยะเวลาโครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย
ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐต่อไปในเดือนมกราคม ๒๕๖๖ ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ทั้งนี้
ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี
๒๕๖๕ ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๖
ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มให้สิทธิ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
พิจารณากำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากราคาพลังงานอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปในภาพรวม
รวมถึงเร่งศึกษาการกำหนดมาตรการระยะยาว และพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการราคา LNG ในประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพังงา พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองพังงา
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลนบปริง
ตำบลถ้ำน้ำผุด ตำบลท้ายช้าง ตำบลตากแดด ตำบลเกาะปันหยี อำเภอเมืองพังงา
จังหวัดพังงา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบทในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
การคมนาคมและการขนส่งการสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดพังงาและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหารและการปกครอง
การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
โดยดำรงรักษารูปแบบการตั้งถิ่นฐานที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น
๙ ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการใช้ประโยชน์ในที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จะต้องปฏิบัติกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง ควรกำหนดพื้นที่ว่างตามแนวขนานริมฝั่งตามธรรมชาติในระยะที่มีความเหมาะสมโดยเฉพาะที่ดินประเภทสถาบันราชการในแปลงศูนย์ราชการจังหวัดพังงา
สถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการอนุญาตและควบคุมการประกอบกิจการโรงงานให้ได้มาตรฐานอย่างเคร่งครัด
รวมถึงกรมโยธาธิการและผังเมืองควรสนับสนุนให้เจ้าพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำกับ
ดูแล
และควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดของผังเมืองอย่างเข้มงวดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ | สกพอ. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ เมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ เรื่อง ร่าง แผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
มีสาระสำคัญเป็นการรายงานสรุปผลการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ที่มีมติอนุมัติร่างแผนปฏิบัติการด้านโครงการศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ
ซึ่งเป็นการดำเนินการในกรอบหน้าที่และอำนาจของ กพอ. ตามมาตรา ๑๑ (๕)
แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยร่างแผนปฏิบัติการดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เป็นหลักในการพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจและการเงินระดับภูมิภาค และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด่วนที่สุด
ที่ นร ๑๑๑๐/๕๐๙๘ ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๕) เช่น
ในการชดเชยผู้ใช้ประโยชน์ในที่ดินเดิมควรตระหนักถึงหลักเกณฑ์การชดเชยที่มีความเป็นธรรมต่อผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดินให้มากที่สุด
ควรเน้นสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานภายใต้ร่างแผนปฏิบัติการฯ
เห็นควรให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๖๖
โดยดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... | มท. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่จังหวัดนนทบุรี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาจังหวัดนนบุรีให้เป็นเมืองที่น่าอยู่อาศัย
มีคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดีมีการพัฒนาบริการสาธารณะที่ได้มาตรฐาน
และมีการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับการขยายตัวของภาคการผลิต การค้า การบริการและการลงทุน
ตลอดจนดำรงรักษาพื้นที่เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น
และวิถีชีวิตดั้งเดิมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
โดยมีแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาจังหวัดนนทบุรีให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตผังเมืองรวม จำแนกออกเป็น ๑๔
ประเภท
ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทนั้น
ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ไห้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท
ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าจะต้องปฏิบัติกฎหมาย
กฎ หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึงกฎ ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการตั้งสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ควรพิจารณากำหนดระยะห่างระหว่างสถานประกอบกิจการกับที่ดินของผู้อื่นหรือริมเขตทางถนนสาธารณะไม่น้อยกว่าตามที่กฎหมายกำหนด
ประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานในบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมนนทบุรี พ.ศ. .... ฉบับนี้ ลำดับที่ ๓๔ (๒)
ให้พิจารณากำหนดให้ตั้งในพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย
เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขาพของประชาชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น | พน. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น ๓๐๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท
ให้กรมธุรกิจพลังงาน โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้อนุมัติและดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน
ผ่านวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณแทนกัน
และให้กระทรวงพลังงานดำเนินมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (กรมธุรกิจพลังงาน)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร
๐๗๐๘/๒๑๔๐ ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕) โดยให้กรมธุรกิจพลังงานดำเนินการใช้จ่ายจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและมีเหลือจ่ายในลำดับแรกก่อน
โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป
ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ
ปี ๒๕๖๕ ก่อนสิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๖๖
ให้โครงการดังกล่าวสิ้นสุดลงในวันที่จะเริ่มใช้สิทธิ ต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเร่งรัดการเริ่มใช้สิทธิแก่ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐปี
๒๕๖๕ เพื่อให้รัฐสามารถจัดสวัสดิการให้ความช่วยเหลือประชาชนแบบมุ่งเป้า
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๓.
ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การจัดทำโครงการบ้านพักข้าราชการ (บ้านหลวง) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) | พม. | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการบ้านพักข้าราชการ
(บ้านหลวง) ภายใต้แผนแม่บทการพัฒนาที่อยู่อาศัย ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙)
ดำเนินการโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน ๕ โครงการ รวม ๕๕
หน่วย ภายในวงเงินงบประมาณ ๖๒,๒๘๓,๑๐๐ บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดที่อยู่อาศัยในรูปแบบรัฐสวัสดิการ
โดยมุ่งเน้นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับข้าราชการเจ้าหน้าที่ชั้นผู้น้อยของหน่วยงานของรัฐที่ได้เสียสละไปปฏิบัติหน้าที่นอกภูมิลำเนาของตน
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และการเคหะแห่งชาติดำเนินการต่อไปให้ถูกต้อง
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และควรกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้าพักอาศัยในโครงการฯ
บ้านหลวงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ โดยเคร่งครัด เป็นต้น
ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 20/2565 | นร.11 สศช | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ในคราวประชุมครั้งที่ ๒๐/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๕
มีมติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ อาทิ
อนุมัติให้จังหวัดเชียงใหม่ยกเลิกการดำเนินโครงการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งบ้านแพะแม่คือ
หมู่ที่ ๑ ตำบลแม่คือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
และอนุมัติให้กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขยายระยะเวลาสิ้นสุดของโครงการปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค
และการเกษตร จากเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ เป็นเดือนธันวาคม ๒๕๖๕ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ข้อ ๑๙ และข้อ
๒๐ สำหรับโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรกำกับติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 31/2565 | นร.11 สศช | 20/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอว่า ขอแก้ไขข้อความในหนังสือคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/(คกง.๖๔) ๓๔๒ ลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ หน้า ๑๒ ข้อ ๔.๑
ให้ถูกต้องจากเดิม “...เดือนมีนาคม ๒๕๖๖...” เป็น “...เดือนธันวาคม ๒๕๖๕ ...”
๒. เห็นชอบและอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุมครั้งที่
๓๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๕
ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ.
๒๕๖๔ ข้อ ๒๒ และข้อ ๒๓ สำหรับโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรกำกับติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้เป็นไปตามเป้าหมายและกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์ อัตราค่าใช้จ่าย
และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด ให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติร่วมกับหน่วยงานดำเนินโครงการจัดทำรายงานความก้าวหน้าของโครงการ
และแผนการดำเนินงานที่ได้มีการปรับแผนพร้อมการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการฯ
เพื่อทราบเป็นระยะ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | โครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง | คค. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการทางหลวงพิเศษหมายเลข ๘๒ สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว
สำหรับการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ของกรมทางหลวง เป็นไปตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
โดยโครงการร่วมลงทุน O&M
มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรที่ติดขัดบนทางหลวงหมายเลข ๓๕
(ถนนพระราม ๒) โดยเฉพาะช่วงเร่งด่วนเช้าและเย็น
เพิ่มโครงการถนนสายหลักในพื้นที่ตอนล่างของกรุงเทพมหานครกับจังหวัดใกล้เคียง
ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นต้น ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคม
กรมทางหลวง และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒
รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานอัยการสูงสุด และคณะกรรมการนโยบายการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ที่ กค
๐๘๒๐.๑/๔๗๗๐ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๕) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง เช่น ให้กรมทางหลวงพิจารณาแนวทางการเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันและกำหนดเงื่อนไขการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน
และให้เร่งรัดการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....] | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการยกฐานะของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
(Government Big Data Institute : GBDI)
หน่วยงานภายในภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ให้เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Big
Data Institute : NBDI) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อน วิเคราะห์
และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศโดยตรง ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขชื่อหน่วยงาน ตัดคำว่า
“คลัง” และ “แห่งชาติ” ออก เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
ตลอดจนมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่กำหนดว่า
“ไม่ควรใช้คำว่า “แห่งชาติ”
ในการกำหนดชื่อหน่วยงานของรัฐเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเอกรัฐ
และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำหน้าที่ในฐานะ “แห่งชาติ” อยู่แล้ว” และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เช่น การกู้ยืมเงินของ NDBI ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
รอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยจะต้องยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นกรรมการด้วย
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาปรับเปลี่ยนองค์กรรูปแบบใหม่
เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้ง NDBI ครบ ๒ ปี เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการดำเนินโครงการหลวง จำนวน 39 โครงการ | ทส. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรี
เพื่อดำเนินโครงการหลวง จำนวน ๓๙ โครงการ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ดังนี้
๑.๑ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ในเขตพื้นที่ต้นน้ำชั้นที่
๑
๑.๒ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ และวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๕
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม
(โซนซี)
๑.๓ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๘ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๙
และวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ บี และลุ่มน้ำชั้นที่ ๒ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น (๑)
การดำเนินกิจกรรมของโครงการหลวงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อพื้นที่ต้นน้ำและทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์
(๒)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
๒๐ ปี ด้วย ตัวอย่างเช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศทั้งลุ่มน้ำ
และ (๓) หากมีการดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ ทะเล หรือบนชายหาดของทะเลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 19/2565 | นร.11 สศช | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ดังนี้ รับทราบการขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่าของกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อช.) จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน ๒๕๖๕
เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม ๒๕๖๖ ภายใต้กรอบวงเงินเดิม ๗๔๑.๕๘๘ ล้านบาท โดยมอบหมายให้
อช. ดำเนินโครงการในส่วนที่เหลือโดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นตามความจำเป็นและความเหมาะสมต่อไป
และเร่งเสนอรายงานผลการดำเนินโครงการ พร้อมทั้งส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายตามข้อ ๑๙
และข้อ ๒๐
ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยเร็ว และรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ราย ๓ เดือน
ครั้งที่ ๑๐ (๑ สิงหาคม-๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕)
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
พ.ศ ๒๕๖๓ ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนากยรัฐมนตรีฯ ข้อ ๑๙ และข้อ ๒๐
สำหรับโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว หรือไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น
ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการรายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังในโอกาสแรก
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital Startup) | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลของประเทศไทย (Digital
Startup) ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เป็นหน่วยงานจัดทำบัญชีบริการดิจิทัล
และเป็นหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ประกอบการดิจิทัลและบริการดิจิทัลที่ขอขึ้นทะเบียนบัญชีดิจิทัล
และมอบหมายให้กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง พิจารณาผลักดันบัญชีบริการดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
และเป็นหนึ่งในหมวดพัสดุที่รัฐต้องส่งเสริมหรือสนับสนุน
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการดิจิทัลร่วมพัฒนาระบบราชการไทย ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงาน ก.พ.ร. รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เช่น
ควรคำนึงถึงการลดต้นทุนของการจัดทำบริการดิจิทัลผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
(Digital Startup) และช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ควรมีผู้แทนของกรมต่าง
ๆ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีส่วนร่วม คำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า
ผลสัมฤทธิ์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ควรพิจารณากำหนดให้มีคณะทำงานหรือคณะกรรมการจัดทำบัญชีบริการดิจิทัลที่ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
อาทิ สภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานสิทธิบัตรในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์จากองค์ความรู้ ฐานข้อมูล
และความเชี่ยวชาญของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |