ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 3 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 46 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร) [สรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2565)] | นร. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
วันจันทร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อบรรจุระเบียบวาระเป็นเรื่องด่วน
|
||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๕๕
และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องตามนัยสรุปประเด็นสำคัญสำหรับการติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
เพื่อนำไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) การสร้างประชาคมอาเซียน เช่น
การสนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาตามหัวข้อหลัก “ASEAN
A.C.T. : Addressing Challenges Together” และการเตรียมความพร้อมความร่วมมือกับประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่
และการรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม จำนวน ๑๑ ฉบับ (๒)
ประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในเมียนมาและช่องแคบไต้หวัน
และ (๓) ความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอก เช่น
ไทยได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC
โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รวม ๖ ฉบับ)
โดยในส่วนของยูเครนยังมิได้มีการลงนามตราสารฯ เนื่องจากเมียนมายังดำเนินกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เช่น ควรดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรมีการยกระดับการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็นการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ
ขยะมูลฝอย และขยะพลาสติก
และประเด็นความมั่นคงในบางกรอบการประชุมอาเซียนที่ไม่ได้มอบหมายให้มีการติดตาม
อาทิ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งสำนักงานฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
3 | การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 | วธ. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดคาทอลิกตามกฎหมาย
จำนวน ๓๔ วัด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย (๑)
ได้รับความเห็นชอบให้ยื่นคำขอรับรองวัดคาทอลิกจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย
(๒) มีข้อมูลที่ตั้งวัด (๓) มีข้อมูลที่ดินที่ตั้งวัดและการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน (๔)
มีรายชื่อบาทหลวงซึ่งจะไปประกอบศาสนกิจ ประจำ ณ วัดคาทอลิก (๕) มีข้อมูลอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก
เช่น คุณค่าและประโยชน์ของวัดคาทอลิก การอุปถัมภ์และทำนุบำรุงจากภาคส่วนต่าง ๆ
ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นว่ากรณีพื้นที่ที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๕ และพื้นที่ที่ดำเนินการในเขตป่า ตามาตรา ๔(๑) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้
พุทธศักราช ๒๔๘๔
ขอให้ดำเนินการตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. ๒๕๕๘ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
4 | การเสนอให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน | นร.01 | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้นาคเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติประเภทสัตว์ในตำนาน ตามมติคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม
๒๕๖๕ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ |
||||||||||||||||||||||||
5 | โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2564 ของการประปาส่วนภูมิภาค | มท. | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาปี ๒๕๖๔ จำนวน ๑๙ โครงการ
วงเงินลงทุนรวม ๖,๐๗๗,๘๐๘,๐๐๐ บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้การประปาส่วนภูมิภาคพิจารณาใช้จ่ายเงินลงทุนจากเงินรายได้เป็นลำดับแรก
และหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้วงเงิน ๑,๐๙๖,๑๔๑,๐๐๐ บาท ให้การประปาส่วนภูมิภาคกู้เงินในประเทศ
โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินโครงการให้ถูกต้อง โปร่งใส
และตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๑๕/๕๗๕๐ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ควรกำกับดูแลและบริหารโครงการให้สอดคล้องกับแผนงานที่กำหนดไว้
โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่ขั้นตอนก่อนเริ่มดำเนินโครงการและระหว่างดำเนินโครงการ
ควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดการน้ำเสียรวมของชุมชนที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน
เพื่อนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมที่เหมาะสม
การรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ หรือส่งเสริมการเก็บน้ำในรูปแบบต่าง
ๆ และการดำเนินการในครั้งต่อไป หากมีกรณีการใช้ที่ดินเอกชนการประปาส่วนภูมิภาคต้องดำเนินการจัดซื้อที่ดินดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (นายปณิธิ ชุณหสวัสดิกุล) | ดศ. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายปณิธิ ชุณหสวัสดิกุล
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านนิติศาสตร์) ในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๕ ตุลาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (เรื่อง
การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)
|
||||||||||||||||||||||||
7 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] | สกพอ. | 27/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(กพอ.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๕ [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….] โดย กพอ.
มีมติเห็นชอบให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
ขอรับการจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน
๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ ๒.
อนุมัติร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง
แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค
เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ
๗ แห่ง พื้นที่รวมประมาณ ๗,๙๘๖ ไร่ ซึ่ง กพอ. มีมติเห็นชอบแล้ว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๙๙.๘๗๘๘ ล้านบาท
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าเช่าสำนักงาน ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสำนักงาน
และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน
รวมทั้งภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป (หากมี)
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ ๔.
ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. โดยให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
พ.ศ. ๒๕๖๑ รวมทั้งกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรส่งเสริมการดำเนินงานด้านการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
ควรพิจารณาอย่างรอบคอบไม่ให้กระทบต่อวิถีชีวิตของชุมชนโดยรอบ
และพิจารณาถึงพื้นที่ที่สามารถรองรับการขยายการลงทุนรวมถึงการลงทุนในกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการลงทุนที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ด้วย
ควรพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีมาดำเนินการในโอกาสแรก
หากไม่เพียงให้ดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. ๒๕๖๒ อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้
หากมีภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป
และกำกับดูแลและบูรณาการการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
8 | แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | นร.10 | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||
9 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ครั้งที่ 1/2565 | นร.11 สศช | 20/09/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
(กพศ.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ และเห็นชอบการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
ดังนี้ (๑) ให้พื้นที่จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปางเป็นระเบียงฯ ภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor : NEC-Creative LANNA (๒) ให้พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี
และจังหวัดหนองคาย เป็นระเบียงฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ Northeastern
Economic Corridor : NeEC-Bioeconomy (๓) ให้พื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี เป็นระเบียงฯ
ภาคกลาง-ตะวันตก หรือ Central-Western Economic Corridor : CWEC และ (๔) ให้พื้นที่จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นระเบียงฯ ภาคใต้ หรือ Southern Economic Corridor
: SEC ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเสนอ
และให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม
และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เช่น การกำหนดพื้นที่ระเบียงฯ ๔ ภาค
และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงการพัฒนาอื่น
ๆ
ควรคำนึงถึงศักยภาพและโอกาสในการพัฒนาควบคู่กับความสามารถในการรองรับและจำกัดของพื้นที่
ควรมีการพิจารณาเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์กับพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
และเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และควรมีมาตรการทางภาษีสำหรับผู้ที่ไม่อยู่ในข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||
10 | แนวทางการให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลและบริหารจัดการท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ และท่าอากาศยานกระบี่ แทนกรมท่าอากาศยาน | คค. | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||
11 | ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ | กค. | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
๒,๙๒๓,๓๙๗,๒๕๐ บาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลัง
(กรมสรรพสามิต) รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่เห็นควรเร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายและจัดการงบประมาณไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยด่วน
เร่งหามาตรการส่งเสริมให้เกิดผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญในรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ
ควรมีกลไกการติดตามมาตรการส่งเสริมอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ของมาตรการและผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมจริง
สนับสนุนการผลิตและใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มรถโดยสารตั้งแต่ขนาด ๑๒ ที่นั่ง
ไปจนถึงขนาดมากกว่า ๓๐ ที่นั่ง รวมถึงการบรรทุกสำหรับการขนส่งและโลจิสติกส์
ควรพิจารณาหาวิธีการใช้งบประมาณจริงอย่างประหยัด
ควรเร่งรัดและส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดให้เพียงพอสำหรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศ
ควรสนับสนุนกลไกทางกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และสังคมเพื่อนำไปสู่แนวทางการจัดเก็บ
รวบรวม นำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิล ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||
12 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี (1. นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ฯลฯ จำนวน 6 ราย) | นร.04 | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
จำนวน ๖ ราย ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายวิชาวัฒน์
อิศรภักดี ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๒. นายสรรเสริญ
สมะลาภา ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๓. นายอนุชา
สะสมทรัพย์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๔. นายชาญกฤช
เดชวิทักษ์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ ๕.
พลตำรวจโท ณัฐพิชย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๕
|
||||||||||||||||||||||||
13 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 22/2565 | นร.11 สศช | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||
14 | สรุปสาระสำคัญของการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1/2565 | กค. | 16/08/2565 | |||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||
15 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2565 เรื่อง สิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก | สกพอ. | 09/08/2565 | |||||||||||||||||||||
16 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขค่าธรรมเนียมหลักฐานรับรองการได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สำหรับบุคคลธรรมดา ในกรณีเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานตามกฎกระทรวงกำหนดแบบคำขออนุญาต
ใบอนุญาต ใบรับรอง คำสั่ง และแบบหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๔
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ จากฉบับละ ๕๐๐ บาท เป็นฉบับละ ๒๐
บาท เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและสมาชิกสภาวิศวกร
รวมถึงแยกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในส่วนของค่าใบแทนใบอนุญาต
และค่าหลักฐานรับรองการได้รับอนุญาต และแยกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
ในส่วนของการขอหนังสือรับรองเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานตามกฎกระทรวงกำหนดแบบคำขออนุญาต
ใบอนุญาต ใบรับรอง คำสั่ง และแบบหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๔
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในกรณีอื่น ๆ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||
17 | ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โครงการเช่ารถยนต์ตรวจการณ์ไฟฟ้า พร้อมอุปกรณ์ เพื่อใช้ในภารกิจถวายความปลอดภัย จำนวน 5 คัน ไปใช้ในภารกิจโครงการปรับปรุงอาคารที่ทำการกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (แห่งใหม่) แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 1 โครงการ วงเงินทั้งสิ้น 14,280,000 บาท | ตช. | 26/07/2565 | |||||||||||||||||||||
18 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนมะเขือแจ้ จังหวัดลำพูน พ.ศ. .... | มท. | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนมะเขือแจ้
จังหวัดลำพูน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม
ในท้องที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท
ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค
บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดลำพูน ซึ่งกำหนดให้
“ชุมชนมะเขือแจ้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ให้ความสำคัญกับการควบคุมการก่อสร้างต่าง ๆ มิให้กีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ
กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะต้องไม่อยู่ในระยะที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
หรือต้องจัดให้มีระบบป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่มีประสิทธิภาพ
ควรควบคุมสถานประกอบกิจการที่ตั้งในพื้นที่ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออนามัยสิ่งแวดล้อม
จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และให้กรมโยธาธิการและผังเมืองควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ
ดังกล่าว อย่างเข้มงวดต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
19 | รายงานเหตุผลที่ไม่อาจดำเนินการออกระเบียบและประกาศตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 | ดศ. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||
20 | องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขอความเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (ฉบับแก้ไข) | พน. | 05/07/2565 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓
สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
(ฉบับแก้ไข) นี้ เพื่อให้ออกเป็นร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓
สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01
ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ๑.๒ ให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
โดยหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ
ลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓ฯ
กับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติและรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ
ลงนามในฐานะพยาน ๒.
ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดที่เห็นว่า
ในการสำรวจและการจัดหาก๊าซธรรมชาติ
ควรมีการคำนึงถึงผลกระทบด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย และก่อนการลงนามสัญญา
องค์กรร่วมฯ ต้องตรวจสอบถึงความเหมาะสมและความถูกต้องของเงื่อนไขทางเทคนิคตามข้อตกลงทางธุรกิจ
รวมทั้งความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดทำสัญญาด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |