ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2566 | กษ. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ (Food Security Ministerial Meeting : FSMM) ซึ่งกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ เมื่อวันที่ ๓
สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ เมืองซีแอตเทิล มลรัฐวอชิงตัน มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ด้านความมั่นคงอาหารร่วมกันของรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค
โดยผลักดันการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
รวมถึงการหารือเกี่ยวกับนโยบาย ตลอดจนแนวทางในการรับมือประเด็นท้าทายต่าง ๆ โดยที่ประชุมฯ
มีการพิจารณาเอกสารผลลัพธ์ ๒ ฉบับ ได้แก่ (๑) ร่างเอกสารหลักการเพื่อการบรรลุความมั่นคงอาหารผ่านระบบการเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเปค
และ (๒) ร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี ๒๕๖๖ โดยที่ประชุมฯ
ได้รับรองเอกสารหลักการฯ แต่ในส่วนของร่างปฏิญญาฯ ไม่สามารถตกลงกันได้
จึงไม่ได้รับมติเอกฉันท์ ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา
ประธานการประชุม จึงได้ออกแถลงการณ์ประธานสำหรับการประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญครอบคลุมความเชื่อมโยง นวัตกรรม
และความยั่งยืนของระบบการเกษตรและอาหาร ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าของประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัยในช่วงฤดูร้อนปี 2566 | พน. | 25/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าของประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัยในช่วงฤดูร้อนปี
๒๕๖๖ และแนวทางการช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย
โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าแก่กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน
๓๐๐ หน่วยต่อเดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖ ถึงเดือนสิงหาคม ๒๕๖๖
กับให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าแก่กลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน
๕๐๐ หน่วยต่อเดือน จำนวน ๑๕๐ บาทต่อราย ในรอบบิลเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
และที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานชี้แจงเพิ่มเติมว่า
๑.๑ กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศ
ในการคำนวณสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศที่ถูกต้องจะต้องคำนวณจากปริมาณกำลังการผลิตไฟฟ้าที่พึ่งพาได้จริง
(Dependable Capacity) ของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภท (เช่น
โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าถ่านหิน และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์)
โดยไม่สามารถนำผลรวมของกำลังผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแต่ละประเภทดังกล่าวที่มีกำลังผลิตต่างกันมารวมกันเพื่อคำนวณเป็นสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองได้โดยตรง
โดยในปี ๒๕๖๕ ประเทศไทยมีสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองอยู่จริงที่ประมาณร้อยละ ๓๕-๓๖
เท่านั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงกว่าปกติ
เนื่องจากการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้าจริงในปีที่ผ่านมาลดลง
และทำให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในอนาคตความต้องการไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอันเป็นผลจากการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและการขนส่งมวลชนที่ใช้ไฟฟ้า
นอกจากนี้
เมื่อประเทศไทยมีโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาดมากขึ้นก็จะมีส่วนทำให้ต้องมีสัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองเพิ่มขึ้นด้วย ๑.๒ การเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ
ในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานสะอาด/พลังงานหมุนเวียนเป็นเชื้อเพลิง
โดยดำเนินโครงการรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น ซึ่งมีต้นทุนต่ำและเป็นการรับซื้อไฟฟ้าที่ไม่มีค่าความพร้อมจ่าย
(Availability Payment) รวมทั้งเป็นการดำเนินการที่สนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี
ค.ศ. ๒๐๕๐ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. ๒๐๖๕
ตามที่ประเทศไทยได้ประกาศเจตนารมณ์ไว้ในเวทีโลกและเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า
โดยเฉพาะภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมที่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงสากลในการลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องระบุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไฟฟ้าที่ใช้ผลิตสินค้าและบริการ
เพราะหากไม่ดำเนินการตามมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการไทยจะมีต้นทุนส่งออกที่สูงขึ้นและกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้
ในการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศนั้นเป็นการดำเนินการเพื่อทดแทนกำลังผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าที่ปลอดระวางตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ
เพื่อรักษาความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งไม่ทำให้สัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศไทยเพิ่มขึ้น ๑.๓ อัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่า Ft) ที่เพิ่มขึ้น
องค์ประกอบหลักของอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่า Ft)
ได้แก่ (๑) ค่าเชื้อเพลิง และ (๒) ยอดสะสมยกมาจากงวดที่ผ่านมา
รวมถึงภาระต้นทุนคงค้างของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
โดยในส่วนของค่าเชื้อเพลิงประเทศไทยต้องนำเข้าเชื้อเพลิงโดยอ้างอิงราคาในตลาดโลกเป็นหลัก
โดยในปี ๒๕๖๔ ราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น
ซึ่งภาครัฐได้พยายามตรึงอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่า Ft) เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน อย่างไรก็ตาม
เมื่อเกิดวิกฤตพลังงานจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน
ทำให้ราคาเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้นมากและไม่สามารถตรึงอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่า Ft) ในภาพรวมต่อไปอีก จึงจำเป็นต้องปรับเพิ่มอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่า Ft) เพื่อให้สะท้อนต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่แท้จริง อย่างไรก็ดี
รัฐบาลยังคงดำเนินมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนแบบพุ่งเป้าอย่างต่อเนื่องต่อไป
แม้ว่าปัจจุบันราคาเชื้อเพลิงได้ปรับตัวลดลงบ้างแล้ว แต่การจัดหาเชื้อเพลิงต้องมีระยะเวลาในการส่งมอบสินค้า
(Lead Time) ทำให้ไม่สามารถปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ
(ค่า Ft) ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้
คาดว่าจะสามารถปรับลดอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่า Ft) ให้ลดลงได้ในช่วงปลายปี ๒๕๖๖ เป็นต้นไป สำหรับภาระต้นทุนคงค้างของ กฟผ.
ปัจจุบันมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการที่ กฟผ.
ได้ช่วยสนับสนุนการตรึงอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (ค่า Ft) มาอย่างต่อเนื่อง
จึงจำเป็นที่จะต้องทยอยจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างดังกล่าวให้กับ กฟผ.
เพื่อรักษาฐานะทางการเงินของ กฟผ. ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อไป
ในขณะที่สัดส่วนของค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) ในอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติอยู่ที่ประมาณ
๑๐ สตางค์เท่านั้น ๒. ให้กระทรวงพลังงานนำแนวทางการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้นเสนอต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งตามนัยมาตรา
๑๖๙ (๓) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม
๒๕๖๖ (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร) ตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ๓. ให้กระทรวงพลังงานได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|