ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม | กษ. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนม
โดยปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมโคเป็น
๒๒.๗๕ บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่กระทรวงพาณิชย์อนุญาตให้ผู้ประกอบการนมพาณิชย์ปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมในตลาดนมพาณิชย์ได้
โดยให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาการปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นม (นมพาณิชย์) ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ประกอบการ
ตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์ นม ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๔
มีนาคม ๒๕๖๖ กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน โดยคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน และให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนมให้เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมรายย่อย
รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมโคให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมด้วย และให้เร่งดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมปศุสัตว์และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์
เช่น ควรพิจารณาให้มีผลในปีงบประมาณถัดไป เนื่องจากอาจส่งผลให้มีการปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม
โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซึ่งเกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
และส่งผลกระทบต่องบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและหน่วยรับงบประมาณ
(องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา) ที่ได้รับการจัดสรร
สำหรับใช้ในการดำเนินการตามโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ไม่เพียงพอ ดังนั้น
ควรให้สำนักงบประมาณพิจารณาให้ความเห็นในประเด็นดังกล่าว อีกทางหนึ่ง ควรมีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์นมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข กำหนดเพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
ที่มีคุณภาพ ควรพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านปริมาณน้ำนมดิบ
นอกเหนือจากการปรับราคาด้วย เช่น การลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร
การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเลี้ยงโคนม
และการสนับสนุนให้มีผลิตภัณฑ์นมที่หลากหลายเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค เป็นต้น ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||
2 | การจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ 2 (ค.ศ. 2023-2028) | กต. | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐตุรกี
ฉบับที่ ๒ (ค.ศ. ๒๐๒๓-๒๐๒๘) โดยร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ
มีสาระสำคัญที่มุ่งกำหนดกรอบการดำเนินความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับตุรกีในห้วงระยะเวลา
๕ ปี ระหว่างปี ๒๕๖๖-๒๕๗๑ (ค.ศ.๒๐๒๓-๒๐๒๘)
โดยเน้นความร่วมมือในสาขาและประเด็นที่หลากหลายและรอบด้าน
บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
เพื่อยกระดับความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคีระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐตุรกีไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ชาติ
ภายในปี ๒๕๗๑ และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เป็นผู้ลงนามแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐตุรกี ฉบับที่ ๒
(ค.ศ. ๒๐๒๓-๒๐๒๘) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐตุรกี
ฉบับที่ ๒ (ค.ศ. ๒๐๒๓-๒๐๒๘)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) ทั้งนี้
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรต้องวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมดังกล่าว
รวมถึงสื่อสารผลลัพธ์การดำเนินงานดังกล่าวให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับรู้ถึงผลประโยชน์ที่ประเทศไทยพึงจะได้รับ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของสาขาความร่วมมือและกิจกรรมที่จะดำเนินการตามแผนปฏิบัติการดังกล่าวให้เหมาะสม
และเร่งรัดติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
|