ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การจัดทำพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้านมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกต้นสนใบพาย จากราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | กษ. | 10/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้านมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกต้นสนใบพาย
จากราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
(Protocol on the Phytosanitary Requirements
for the Export of Podocarpus Plants from Thailand to China between the Ministry
of Agriculture and Cooperatives of the Kingdom of Thailand and the General
Administration of Customs of the People’s Republic of China) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในพิธีสารฯ
รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Power) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายสำหรับลงนามในพิธีสารฯ (จะมีการลงนามในร่างพิธีสารฯ
ในระหว่างการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนของนายกรัฐมนตรีช่วงกลางเดือนตุลาคม ๒๕๖๖)
โดยร่างพิธีสารฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการสุขอนามมัยพืชสำหรับการส่งออกต้นสนใบพายจากราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน
เช่น การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของจีนและกฎระเบียบและมาตรฐานระดับประเทศ
การขึ้นทะเบียนเรือนเพาะชำต้นสนใบพายที่จะส่งออกที่ได้รับการประเมินจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และได้รับการประกาศรับรองบนเว็บไซต์ของสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
และการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับต้นสนใบพายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตรวจสอบว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของพิธีสารฯ
แล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงการต่างประเทศในประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ และได้มีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ เช่น
การแก้ไขถ้อยคำในร่างพิธีสารฯ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการก่อนการลงนาม
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรเร่งประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับระบบกำจัดศัตรูพืช
ตลอดจนแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพืชแก่เกษตรกรในวงกว้าง
เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทยในระยะยาว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๓.
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างพิธีสารฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี กรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เรื่อง สิทธิการเข้าถึงบริการไฟฟ้าในครัวเรือน) | สผผ. | 25/04/2566 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด
๕ หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ (เรื่อง
สิทธิการเข้าถึงบริการไฟฟ้าในครัวเรือน) ตามที่ผู้ตรวจการการแผ่นดินเสนอ
รวมทั้งรับทราบสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมต่อข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงาน
และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงมาตรการตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดินให้เกิดความเหมาะสม
โดยดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
โดยกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรุปผลการพิจารณาและความเห็นในภาพรวม
เช่น (๑) การแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสิทธิเข้าถึงบริการไฟฟ้าในครัวเรือน
อาจมีบทบาทหน้าที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน (๒)
การแบ่งจ่ายค่าไฟฟ้าที่ค้างชำระควรมีการศึกษาผลกระทบในด้านต่าง ๆ
เพื่อไม่ให้มีผลต่อรายได้และอาจจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของหน่วยงานผู้ให้บริการ
และเป็นภาระทางการคลังของรัฐบาล (๓)
มาตรการจูงใจให้ประชาชนแบ่งจ่ายค่าไฟฟ้าที่ค้างชำระได้ตามกำลังทางเศรษฐกิจ เช่น
การไฟฟ้านครหลวงมีมาตรการขยายระยะเวลาและผ่อนชำระค่าไฟฟ้า
และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
และ (๔) กรมการปกครองได้สำรวจครัวเรือนที่ยังไม่มีไฟฟ้าผ่านระบบ ThaiQM แล้ว
และพร้อมให้การสนับสนุนข้อมูลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดนโยบายการแก้ไขปัญหาสิทธิเข้าถึงบริการไฟฟ้าในครัวเรือนให้แก่ประชาชนต่อไป
|