ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 5 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 83 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 23 | กต. | 26/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
(Indian Ocean Rim
Association : IORA) ครั้งที่ ๒๓ เมื่อวันที่
๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ณ กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามตารางติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ
โดยที่ประชุมฯ ได้รับรองร่างแถลงการณ์โคลัมโบ ค.ศ. ๒๐๒๓ และร่างวิสัยทัศน์สมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย
ค.ศ. ๒๐๓๐ และสืบต่อไป เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในการรับมือกับประเด็นท้าทายของโลก
และได้มีการเพิ่มเติมประเด็นในร่างแถลงการณ์โคลัมโบ ค.ศ. ๒๐๒๓ เช่น
ยืนยันดำเนินการตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์
เน้นย้ำถึงการเสริมสร้างขีดความสามารถของสำนักเลขาธิการ IORA
และร่างวิสัยทัศน์สมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. ๒๐๓๐ และสืบต่อไป เช่น
เน้นย้ำมุมมอง IORA ต่ออินโด-แปซิฟิก
เพิ่มบทบาทสตรีและสภาธุรกิจ IORA สร้างความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมของสภาธุรกิจ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ | นร 05 | 19/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.)
ของรองนายกรัฐมนตรีและส่วนราชการ รวมทั้งหมด ๓๗ ราย
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. นายชนินทร์
รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๒. นางสาวอรณี
รัตนประเสริฐ นักทัณฑวิทยาชำนาญการ ๓. นายศึกษิษฏ์
ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๔. นายชื่นชอบ
คงอุดม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ๕. พลเอก
ธนะศักดิ์ ชื่นอิ่ม รองปลัดกระทรวงกลาโหม ๖. นางสาวพินทุ์สุดา
ชัยนาม เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง ๗. นายมนตรี
เดชาสกุลสม รองปลัดกระทรวงคมนาคม ๘. นายเวทางศ์
พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๙. นางโสรดา
เลิศอาภาจิตร์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ๑๐. นายสมคิด
จันทมฤก รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ๑๑. นายสมาสภ์
ปัทมะสุคนธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ๑๒. นางโชติกา
อัครกิจโสภากุล รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ๑๓.
นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ๑๔. นายพงศธร พอกเพิ่มดี นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) รักษาราชการแทน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ๑๕. นายเอกภัทร
วังสุวรรณ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ๑๖. นายมงคลชัย
สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๑๗. นางนิชา
หิรัญบูรณะ ธุวธรรม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ๑๘. นางอุดมพร
เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๑๙.
นางสาวสาวิตรี ชำนาญกิจ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ๒๐. นายวีรศักดิ์
ทิพย์มณเฑียร รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ๒๑. นายยุทธนา
สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ๒๒. นายฉัตรชัย
บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งซาติ ๒๓. นายกิตติศักดิ์ จุลสำรวล กรรมการร่างกฎหมายประจำ
(นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) ๒๔. นายสุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ รองเลขาธิการ
ก.พ. ๒๕. นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ
ก.พ.ร. ๒๖. นายนฤชา ฤชุพันธุ์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุน ๒๗. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ๒๘. นายศุภฤกษ์ ภู่พงศ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ
และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ๒๙. นายประเสริฐ ศิรินภาพร รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ๓๐. นางพิชญดา หัศภาค รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ ๓๑. นายศานติ ภักดีคำ รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา
รักษาราชการแทนเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา ๓๒. นายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ๓๓. นายธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ๓๔. พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ๓๕. พลเรือตรี จุมพล นาคบัว ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทาง ทะเล ๓๖. นายทศพร แย้มวงษ์ รองเลขาธิการวุฒิสภา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | รง. | 12/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงแรงงานใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ภายในกรอบวงเงิน ๗๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเยียวยาแรงงานไทยจากสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศอิสราเอล
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงานพิจารณาความเหมาะสม ความคุ้มค่า
และผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณอย่างรอบคอบ
รวมทั้งปฏิบัติตามเงื่อนไขและขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือของภาครัฐภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญด้วย
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๘/๖๙๐๐ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๖) ที่เห็นควรดำเนินการกำกับดูแลการใช้จ่ายงบประมาณตามโครงการเยียวยาดังกล่าวให้เป็นไปอย่างรัดกุม
พร้อมทั้งเร่งรัดการสื่อสารให้แรงงานกลุ่มเป้าหมายทราบถึงสิทธิและช่องทางการเยียวยาและการช่วยเหลือทั้งทางด้านการจัดหางานและเพิ่มพูนทักษะที่ดำเนินอยู่
เพื่อให้แรงงานสามารถกลับเข้าสู่การจ้างงานและการประกอบอาชีพทั้งในต่างประเทศอันจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐในระยะยาว
ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขออนุมัติและขอรับการสนับสนุนงบประมาณโครงการบริบาลและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) | พม. | 04/12/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมอบหมายรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัย
และหน่วยงานเจ้าภาพแผนงานบูรณาการดังกล่าวพิจารณาภาพรวมในการส่งเสริม
สนับสนุนบริบาล และคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน ตลอดจนพิจารณาขั้นตอน วิธีการ
กลุ่มเป้าหมาย โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตลอดจนภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการบูรณาการ
และการดูแลผู้สูงอายุเกิดประโยชน์สูงสุด
โดยคำนึงถึงภาระงบประมาณที่เกิดขึ้นเท่าที่จำเป็นและเหมาะสม
สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศต่อไป และในขั้นตอนการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ สำนักงบประมาณได้เสนอตั้งงบประมาณโครงการดังกล่าวไว้แล้ว
จำนวน ๘,๘๕๐,๐๐๐ บาท ในลักษณะโครงการนำร่อง และให้มีการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงาน
หากมีความจำเป็นต้องดำเนินการในระยะต่อไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ภายใต้แผนงานบูรณาการดังกล่าวตามภารกิจ ความจำเป็นและเหมาะสม
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมีการสำรวจผู้ดูแลผู้สูงอายุประเภทต่าง
ๆ ที่มีอยู่เดิมในพื้นที่ ตามลักษณะของกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มติดสังคม
กลุ่มติดบ้าน และกลุ่มติดเตียง เนื่องจากมีความจำเป็นในการใช้ผู้ดูแลที่ต่างกัน ค่าใช้จ่ายที่เสนอขอเป็นงบดำเนินงานในส่วนของค่าจัดอบรมที่เป็นการอบรมในเชิงทฤษฎี
หรือเรื่องเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ
ซึ่งอาจพิจารณาใช้รูปแบบการอบรมแบบออนไลน์ งบลงทุนที่เสนอขอซื้ออุปกรณ์/ครุภัณฑ์สำหรับการดูแลผู้สูงอายุ
ควรมีการสำรวจความต้องการเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | รายงานผลการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 (เรื่อง การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำและการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ) | นร.10 | 28/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรายงานผลการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม
๒๕๖๖ (เรื่อง
การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำและการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ) ตามที่สำนักงาน
ก.พ. เสนอ และให้สำนักงาน ก.พ.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในส่วนของการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนควรพิจารณาให้มีการปรับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถและศักยภาพในการปฏิบัติงานที่จะทำให้ภารกิจของหน่วยงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
เพื่อให้การจ่ายค่าตอบแทนสะท้อนถึงผลการปฏิบัติงานที่แท้จริง (Performance Based
Pay) และยังจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการในระยะยาว ควรให้ความสำคัญกับมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐที่จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กับการปรับอัตราเงินเดือน
โดยให้หน่วยงานจัดทำแผนและดำเนินการตาม Digital Transformation Plan เพื่อยกระดับประสิทธิภาพภาครัฐที่ต้องปรับปรุงกระบวนงานและวิธีการทำงานเพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทันสมัยด้วยนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีดิจิทัล
ควรเร่งเชื่อมโยงและบูรณาการฐานข้อมูลด้านกำลังคนภาครัฐขององค์กรกลางบริหารทรัพยากรบุคคลทุกประเภท
และหน่วยงานหรือคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์
ทบทวน กำหนดแนวทางการปฏิรูประบบราชการในภาพรวม
หรือจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านกำลังคนและงบประมาณด้านบุคลากรภาครัฐของประเทศได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด | ยธ. | 28/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | รายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2565) | ยธ. | 21/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕) แผนสิทธิมนุษยชนฯ เป็นเครื่องมือ กลไก และมาตรการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการส่งเสริม
ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชน ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำและขับเคลื่อนแผนดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง
โดยแผนสิทธิมนุษยชนฯ ประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม จำนวน ๒,๔๐๙ โครงการ มีโครงการที่ทำเสร็จ
จำนวน ๑,๘๓๗ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๒๖
และมีผลการดำเนินการในภาพรวม โดยมอบหมายกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ)
รับผิดชอบกำหนดแนวทาง วิธีการ รายงานผล และแบบรายงาน ทั้งนี้
เมื่อสิ้นสุดวาระการบังคับใช้แผนฯ กระทรวงยุติธรรมจึงได้รวบรวมข้อมูล
และจัดทำรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนฯ
เพื่อแสดงถึงพัฒนาการความก้าวหน้า ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม
ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์และสร้างความเสมอภาคบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ดำเนินการผลักดัน
(ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
โดยอีกหลายกลุ่มไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิบางประการ เช่น การกำหนดสถานะของบุคคล
การมีสิทธิอาศัยและใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งมีการทับซ้อนกับพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของทางราชการที่ไม่สามารถอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ตามกฎหมาย
และการขาดโอกาสการเข้าถึงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน เป็นต้น ควรพิจารณากำหนดตัวชี้วัดในภาพรวม
อาทิ ดัชนีเสรีภาพ (Freedom in the world) พร้อมทั้งกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดแต่ละด้านให้ชัดเจน
เพื่อให้การติดตามประเมินผลสามารถสะท้อนความก้าวหน้าและผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศอย่างแท้จริง
วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับสนธิสัญญา/อนุสัญญาระหว่างประเทศ
ปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน และมีกลไกติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า
(Early warning) ในกรณีที่พบความเสี่ยงหรือปัญหาจากการดำเนินงาน
และหาแนวทางลดความเสี่ยงหรือแก้ไขได้ทันสถานการณ์
เพื่อให้การพัฒนางานด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | (ร่าง) แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. 2566 - 2570 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 | สธ. | 14/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง)
แผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐
ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นแผนต่อเนื่องฉบับที่ ๓
เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบการดำเนินงาน ป้องกัน
และควบคุมโรคติดต่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งในระดับประเทศและในระดับพื้นที่
โดย (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย (๑) การพัฒนานโยบาย มาตรการกฎหมาย
และกลไกการบริหารจัดการการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ (๒) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
และยกระดับการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ (๓) การยกระดับการจัดการภาวะฉุกเฉินจากโรคติดต่อ
(๔) การพัฒนากำลังคนและเครือข่ายความร่วมมือระดับชาติและนานาชาติ และ (๕)
การพัฒนาการสื่อสารความเสี่ยงและระบบสนับสนุนการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเสนอ
และให้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงศึกษาธิการ เช่น ขอให้พิจารณาแก้ไขข้อมูลหน้า
๓๕ หัวข้อนโยบายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ข้อ ๓. และหน้า ๑๐๕
ข้อ ๓๑. โดยแก้ไขจากคำว่า “โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน” เป็น “โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน”
เพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่กล่าวถึงโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนในส่วนอื่น ๆ ของ
(ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามภารกิจความจำเป็นและเหมาะสม
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี
และ/หรือพิจารณาเงินนอกงบประมาณ รวมถึงรายได้ หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่
หรือสามารถนำมาใช้จ่ายสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
ในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ระยะต่อไป ควรพิจารณาผนวกรวมกับแผนปฏิบัติการด้านเตรียมความพร้อม
ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ และแผนต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน
และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดไว้เป็นแผนเดียวกัน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือ ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาดให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน
รวมทั้งอาจพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของระบบการเฝ้าระวังโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
(vaccine preventable diseases) ในประเทศไทย
รวมถึงการเคลื่อนย้ายของแรงงานจากประเทศใกล้เคียงปกติ และในสถานการณ์การระบาด
เนื่องจากการติดตามประวัติการฉีดวัคซีน และสถานะสุขภาพอาจจะต้องมีระบบเพื่อรองรับ
และควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy)
เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อหรือโรคระบาดในภาคประชาชนและในภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
โดยเฉพาะภาคการศึกษา เน้นพัฒนาเครื่องมือและสารสนเทศที่ใช้ในการสื่อสารที่มีความหลากหลายและเหมาะสมกับประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อหรือโรคระบาด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขอขยายระยะเวลาการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 (พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม) | กษ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม และร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรม พ.ศ. .... | สธ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม
มีสาระสำคัญเป็นการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่ ACAI
รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของ ACAI โดยมีถ้อยคำและบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับข้อกฎหมายระหว่างประเทศ
ดังนั้น ร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านฯ จึงเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ซึ่งจะต้องขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนการลงนามและดำเนินการให้มีผลผูกพัน
แต่ไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าส่วนของการสนับสนุนพื้นที่สำนักงานในประเทศไทยและการบริจาคเงินสนับสนุนควรพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมกับภารกิจที่เป็นการสร้างความรู้
การวิจัย และพัฒนานวัตกรรมที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามในร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย ๓. ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามในร่างความตกลงประเทศเจ้าบ้านระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพและนวัตกรรม ๔. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเอกสิทธิ์และความคุ้มกันสำหรับศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงอายุที่มีศักยภาพและนวัตกรรม
พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | สปสช. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๗ ภายในวงเงิน ๒๑๗,๖๒๘,๙๕๙,๖๐๐ บาท สำหรับงบประมาณบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วงเงิน ๒,๐๘๖,๕๕๘,๘๐๐ บาท นั้น
เห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ให้ตามความจำเป็นเหมาะสม ประหยัดและสอดคล้องกับภารกิจการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้
ขอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามนัยมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาดำเนินการตามข้อสังเกตคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะยังผลประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยืนยันความเห็นเดิม
เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ เนื่องด้วยข้อเสนอการขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ในครั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ได้มีการปรับแก้ไขกรอบวงเงินหรือรายละเอียดสาระสำคัญใด
ๆ จากข้อเสนอในคราวก่อนหน้า ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2566 | กษ. | 31/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ (Food Security Ministerial Meeting : FSMM) ซึ่งกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ เมื่อวันที่ ๓
สิงหาคม ๒๕๖๖ ณ เมืองซีแอตเทิล มลรัฐวอชิงตัน มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ด้านความมั่นคงอาหารร่วมกันของรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค
โดยผลักดันการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
รวมถึงการหารือเกี่ยวกับนโยบาย ตลอดจนแนวทางในการรับมือประเด็นท้าทายต่าง ๆ โดยที่ประชุมฯ
มีการพิจารณาเอกสารผลลัพธ์ ๒ ฉบับ ได้แก่ (๑) ร่างเอกสารหลักการเพื่อการบรรลุความมั่นคงอาหารผ่านระบบการเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืนในภูมิภาคเอเปค
และ (๒) ร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี ๒๕๖๖ โดยที่ประชุมฯ
ได้รับรองเอกสารหลักการฯ แต่ในส่วนของร่างปฏิญญาฯ ไม่สามารถตกลงกันได้
จึงไม่ได้รับมติเอกฉันท์ ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา
ประธานการประชุม จึงได้ออกแถลงการณ์ประธานสำหรับการประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญครอบคลุมความเชื่อมโยง นวัตกรรม
และความยั่งยืนของระบบการเกษตรและอาหาร ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ขอความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) | กก. | 24/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบการเลื่อนวันจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์
ครั้งที่ ๖ พ.ศ. ๒๕๖๔ (ค.ศ. ๒๐๒๑) จากเดิมระหว่างวันที่ ๑๗-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
เลื่อนเป็นระหว่างวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์-๖ มีนาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ
และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (การกีฬาแห่งประเทศไทย)
รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้งนี้
ให้คำนึงถึงความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของนักกีฬา และผู้เข้าร่วมงานเป็นสำคัญ
และให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
รวมทั้งควรเร่งประสานภาคเอกชนใหเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการจัดการแข่งขัน โดยเฉพาะจากการรับสิทธิประโยชน์ทางการตลาดและโฆษณา
เพื่อให้การจัดการแข่งขันเป็นไปตามวัตถุประสงค์การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านกีฬา
และการกระชับความสัมพันธ์กลุ่มประเทศที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันโดยไม่ก่อให้เกิดภาระทางด้านงบประมาณของประเทศจนเกินความจำเป็น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
เห็นชอบในหลักการกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันดังกล่าว
วงเงินทั้งสิ้น ๑,๗๔๕,๐๐๒,๕๕๒ บาท และให้การกีฬาแห่งประเทศไทยดำเนินการต่อไป โดยใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ
๑,๒๐๗.๐๑ ล้านบาท ใช้จ่ายจากรายได้จาการแข่งขันฯ ๒๐๒.๕๐
ล้านบาท และขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๓๓๕.๔๔ ล้านบาท
ตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยใช้จ่ายจากเงินสะสมของการกีฬาแห่งประเทศไทย
และเงินกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ รวมทั้งเงินรายได้จากการจัดการแข่งขันฯ
ในโอกาสแรกก่อน ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | สปสช. | 24/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติรับเรื่องนี้คืนไปเพื่อพิจารณาทบทวนในรายละเอียดร่วมกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การประชุมหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน - ญี่ปุ่น | กก. | 24/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือพิเศษของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-ญี่ปุ่น และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงข่าวร่วมฯ โดยร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ มีเนื้อหาสะท้อนเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-ญี่ปุ่น ในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้กลยุทธ์เชิงนโยบายของญี่ปุ่นและอาเซียน โดยมุ่งส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ท้องถิ่น การใช้ตลาดเชิงนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยว การอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้นักท่องเที่ยว การเสริมสร้างขีดความสามารถของจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการท่องเที่ยว และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนผ่านการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์จุดหมายปลายทางด้านท่องเที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท และความร่วมมือเชิงวิชาการในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม | กษ. | 16/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนม
โดยปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมโคเป็น
๒๒.๗๕ บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่กระทรวงพาณิชย์อนุญาตให้ผู้ประกอบการนมพาณิชย์ปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมในตลาดนมพาณิชย์ได้
โดยให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาการปรับขึ้นราคาผลิตภัณฑ์นม (นมพาณิชย์) ให้เหมาะสม
สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้ประกอบการ
ตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์ นม ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๔
มีนาคม ๒๕๖๖ กรณีโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน โดยคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน และให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรโคนมให้เหมาะสมและตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น
โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้เลี้ยงโคนมรายย่อย
รวมทั้งการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตน้ำนมโคให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมด้วย และให้เร่งดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมปศุสัตว์และองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพาณิชย์
เช่น ควรพิจารณาให้มีผลในปีงบประมาณถัดไป เนื่องจากอาจส่งผลให้มีการปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม
โครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซึ่งเกิดจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น
และส่งผลกระทบต่องบประมาณของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและหน่วยรับงบประมาณ
(องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา) ที่ได้รับการจัดสรร
สำหรับใช้ในการดำเนินการตามโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ไม่เพียงพอ ดังนั้น
ควรให้สำนักงบประมาณพิจารณาให้ความเห็นในประเด็นดังกล่าว อีกทางหนึ่ง ควรมีการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์นมให้เป็นไปตามมาตรฐานที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กระทรวงสาธารณสุข กำหนดเพื่อให้นักเรียนได้บริโภคอาหารเสริม (นม) โรงเรียน
ที่มีคุณภาพ ควรพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านปริมาณน้ำนมดิบ
นอกเหนือจากการปรับราคาด้วย เช่น การลดต้นทุนให้แก่เกษตรกร
การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเลี้ยงโคนม
และการสนับสนุนให้มีผลิตภัณฑ์นมที่หลากหลายเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค เป็นต้น ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | แผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (ฉบับทบทวน) | กสศ. | 10/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบแผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ (ฉบับทบทวน) ภายในกรอบวงเงิน ๗,๐๙๔,๙๖๙,๒๐๐ บาท ตามนัยมาตรา ๖ (๓)
ของพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยให้ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๖
เรื่อง การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณ พร้อมแนวทางการจัดทำงบประมาณและยุทธศาสตร์ชาติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ทั้งนี้ ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
พร้อมรายละเอียดของกลุ่มเป้าหมาย และค่าใช้จ่ายที่ชัดเจน
ตามความจำเป็นอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับเป็นสำคัญ
รวมถึงการพิจารณานำเงินนอกงบประมาณหรือเงินอื่นใดของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษามาสมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน
เพื่อให้สอดคล้องตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกับสำนักงบประมาณ
กระทรวงศึกษาธิการ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาทบทวนแผนการใช้เงินของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ให้ถูกต้อง เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
และไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจและกลุ่มเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว
โดยให้รับข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรพิจารณาจัดทำแผนในการหาเงินและแผนการใช้จ่ายเงินนอกเหนือจากเงินงบประมาณ
เพื่อให้กองทุนเกิดความยั่งยืนและเป็นการลดภาระทางการคลังของประเทศในระยะยาวต่อไป
และควรพิจารณาความร่วมมือกับภาคเอกชนขนาดใหญ่ทั้งในด้านวิชาการ
การทำกิจกรรมเพื่อสังคม และการสนับสนุนเงินลงทุนในการจัดกิจกรรม
รวมถึงควรมีการติดตามประเมินผลความสำเร็จในการดำเนินงานของกลไกภาคีเครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคในเชิงกระบวนการหรือกลไกการดำเนินงาน
ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนากลไกในการขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานให้สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ในระยะต่อไป
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้สำนักงบประมาณดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การจัดทำพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้านมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกผลเสาวรสสดจากราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | กษ. | 10/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้านมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกผลเสาวรสสดจากราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
(Protocol on the Phytosanitary Requirements for
the Export of Fresh Passion Fruits from Thailand to China between the Ministry
of Agriculture and Cooperatives of the Kingdom of Thailand and the General
Administration of Customs of the People’s Republic of China) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในพิธีสารฯ
รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Power) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายสำหรับลงนามในพิธีสารฯ (จะมีการลงนามในร่างพิธีสารฯ
ในระหว่างการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนของนายกรัฐมนตรีช่วงกลางเดือนตุลาคม ๒๕๖๖)
โดยร่างพิธีสารฯ
เป็นข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกผลเสาวรสสดจากไทยไปยังจีน
เพื่อให้มั่นใจว่าผลเสาวรสสดที่ส่งออกไปจีนนั้น ปราศจากศัตรูพืชกักกันของประเทศจีน
โดยพิธีสารฉบับนี้จะส่งผลให้ไทยสามารถส่งออกผลเสาวรสสดไปยังจีนได้
ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าเกษตรของไทย
รวมไปถึงการสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกเสาวรสของไทย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงการต่างประเทศในประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ และได้มีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ เช่น
การแก้ไขถ้อยคำในร่างพิธีสารฯ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการก่อนการลงนาม
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลและการดำเนินกระบวนการตรวจสอบสุขอนามัยพืช
และมาตรฐานด้านสุขภาพและความปลอดภัยเพื่อการส่งออกผลเสาวรสสดจากประเทศไทย
ให้เป็นไปตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๓. หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างพิธีสารฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การจัดทำพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้านมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกต้นสนใบพาย จากราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | กษ. | 10/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดด้านมาตรการสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกต้นสนใบพาย
จากราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
(Protocol on the Phytosanitary Requirements
for the Export of Podocarpus Plants from Thailand to China between the Ministry
of Agriculture and Cooperatives of the Kingdom of Thailand and the General
Administration of Customs of the People’s Republic of China) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในพิธีสารฯ
รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full
Power) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายสำหรับลงนามในพิธีสารฯ (จะมีการลงนามในร่างพิธีสารฯ
ในระหว่างการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนของนายกรัฐมนตรีช่วงกลางเดือนตุลาคม ๒๕๖๖)
โดยร่างพิธีสารฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการสุขอนามมัยพืชสำหรับการส่งออกต้นสนใบพายจากราชอาณาจักรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน
เช่น การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องของจีนและกฎระเบียบและมาตรฐานระดับประเทศ
การขึ้นทะเบียนเรือนเพาะชำต้นสนใบพายที่จะส่งออกที่ได้รับการประเมินจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และได้รับการประกาศรับรองบนเว็บไซต์ของสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
และการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับต้นสนใบพายที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตรวจสอบว่าเป็นไปตามข้อกำหนดของพิธีสารฯ
แล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงการต่างประเทศในประเด็นเกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๑๗๘ หรือไม่ และได้มีความเห็นเพิ่มเติมบางประการ เช่น
การแก้ไขถ้อยคำในร่างพิธีสารฯ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการก่อนการลงนาม
รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรเร่งประชาสัมพันธ์และให้ความรู้เกี่ยวกับระบบกำจัดศัตรูพืช
ตลอดจนแนวทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพืชแก่เกษตรกรในวงกว้าง
เพื่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทยในระยะยาว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๓.
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างพิธีสารฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ขออนุมัติการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป (สภากาชาดไทย) | กช. | 10/10/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สภากาชาดไทยนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป โครงการศูนย์นวัตกรรมและการผลิตยาชีววัตถุและยาปราศจากเชื้อ
สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เพื่อความมั่นคงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ
วงเงิน ๒,๒๕๓,๕๕๐,๐๐๐ บาท และโครงการเสริมศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตยาชีววัตถุและยาปราศจากเชื้อ
สถานเสาวภา สภากาชาดไทย เพื่อความมั่นคงทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศ จำนวน
๒,๒๑๖,๙๐๐,๐๐๐ บาท
และค่าใช้จ่ายบริหารโครงการ จำนวน ๘๖,๖๔๐,๐๐๐ บาท รวมวงเงินทั้งสิ้น ๔,๕๕๗,๐๙๐,๐๐๐ บาท
เสนอเป็นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
โดยให้ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๖๖
เรื่อง การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณ พร้อมแนวทางการจัดทำงบประมาณและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยให้สภากาชาดไทยจัดทำแผนการดำเนินการ
และยืนยันความพร้อมของโครงการดังกล่าว โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ
ประมาณค่าก่อสร้าง สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ
รวมถึงการดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความประหยัด
ความคุ้มค่า ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ ให้สภากาชาดไทยรับข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้มีการเพิ่มศักยภาพการวิจัยและพัฒนาให้ครอบคลุมมากกว่า
MAb และ mRAN เช่น ให้ครอบคลุม Viral
Vector และเทคโนโลยีฐานอื่นด้วย
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ในอนาคต mRAN และ Mab อาจมีข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถใช้สถานที่นี้ทำกิจกรรมอื่นได้
และควรต่อยอดให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในการรองรับหน่วยงานอื่น ๆ
ที่มีการวิจัยและพัฒนาระดับต้นน้ำ ให้สามารถใช้ระดับโครงสร้างดังกล่าวในการผลิตได้
หากสามารถปรับให้เป็น National Facility และสามารถใช้กับเทคโนโลยีฐานที่หลากหลายได้
และควรมีการจัดทำแผนการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ของสถานที่และเครื่องมือ
เครื่องจักรที่ดำเนินการผลิตในปัจจุบัน ณ สถานเสาวภา สภากาชาดไทย ถนนพระราม ๔
ภายหลังจากมีการย้ายการผลิตยาชีววัตถุและยาปราศจากเชื้อแล้ว
และเพิ่มเติมแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงจากกระบวนการผลิตวัคซีน
ยาชีววัตถุที่อาจมีปัญหาการรั่วไหลของสารเคมี ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |