ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 6 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 111 จากข้อมูลทั้งหมด 111 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน และแขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร พ.ศ .... | มท. | 15/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน
ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน และแขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร พ.ศ
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน
และแขวงบางบอนใต้ เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อดำเนินโครงการขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองลุงหน่าง
ช่วงทางรถไฟฟ้าสายวงเวียนใหญ่ถึงมหาชัยและถึงคลองบางบอน
เพื่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำอันเป็นกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎหรือระเบียบ และกระทรวงมหาดไทย โดยกรุงเทพมหานครควรประสานกรมชลประทาน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครลงสู่โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย
อันเนื่องมาจากพระราชดำริได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
102 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 1 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 08/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
รับทราบการเพิ่มเติม “วนอุทยาน” “สวนพฤกษศาสตร์” “สวนรุกขชาติ”
ในหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙
ธันวาคม ๒๕๕๘ (เรื่อง หลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ) ๒.
เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน ๑ :
๔๐๐๐ (One Map)
และรับรองเส้นแนวเขตที่ดินของรัฐ กลุ่มจังหวัดที่ ๑ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีที่ดินของรัฐอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) โดยใช้แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐดังกล่าวที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วแทนแผนที่แนบท้ายกฎหมาย
และใช้เป็นแนวเขตที่ดินของรัฐตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวัน
โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผล ความจำเป็น
แต่ไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ รวมทั้งให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้อง
หรือให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้รวดเร็ว เหมาะสมตามแต่กรณี
โดยดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ การคุ้มครองและรับรองการดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน
และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ. ๒๕๓๙ ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
103 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา | กษ. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ
จำนวน ๓๕๐ แปลง เนื้อที่ ๗๗๐-๑-๕๙ ไร่ในอัตราไร่ละ ๔๕,๐๐๐
บาท เป็นเงิน ๓๔.๖๗ ล้านบาท ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
ที่ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบโดยคณะอนุกรรมการทั้ง ๒ คณะ (คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน) โดยในส่วนของงบประมาณ กรมชลประทานจะปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ มาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าทดแทน
จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา
อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ รวม ๒๑ ราย
โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธาน
เพื่อกำกับการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วน ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอ และให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
กรมชลประทานควรเร่งรัดดำเนินการจ่ายค่าทดแทน
กำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาสำหรับการสำรวจพื้นที่และบุคคลที่ได้รับผลกระทบให้มีความชัดเจน
เพื่อให้ทราบงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการจ่ายค่าทดแทนที่แน่นอน
และให้กรมชลประทานปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ ๒๕๖๕
แล้วขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเร่งรัดสำรวจพื้นที่และจำนวนราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนาทั้งหมด
เพื่อให้สามารถจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรได้ถูกต้องครบถ้วนโดยเร็วต่อไป ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐในกรณีต่าง
ๆ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง
ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา)
ให้แล้วเสร็จและนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
104 | โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 | กค. | 01/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบการดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี
๒๕๖๕ และร่างประกาศคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เรื่อง
หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการระบุตัวผู้มีรายได้น้อย
และมีข้อมูลเป็นปัจจุบัน
ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการสังคมของภาครัฐ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบกำหนดหลักเกณฑ์รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ
ได้แก่ การกำหนดแบบฟอร์มการลงทะเบียน การจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ
ข้อบังคับที่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ การกำหนดวัน เวลา ในการตรวจสอบคุณสมบัติ
หรือกำหนดหน่วยตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติม การกำหนดระยะเวลาต่าง ๆ
ในการดำเนินโครงการฯ การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการดำเนินโครงการฯ ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมเสนอ และให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงบประมาณและข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าควรเพิ่มกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เป็นหน่วยงานตรวจสอบข้อมูลประกอบการลงทะเบียนของผู้งทะเบียนด้วย คณะกรรมการฯ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์และสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ
ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
105 | ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี | กต. | 24/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีระหว่างวันที่
๒๕-๒๖ มกราคม ๒๕๖๕ มีเนื้อหาสำคัญ คือ การปรับประกาศความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบียให้เป็นปกติ
โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความร่วมมือทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีเพื่อประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
ตลอดจนเห็นชอบสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการหลังฟื้นฟูความสัมพันธ์ อาทิ
การแต่งตั้งเอกอัครราชทูต และการจัดตั้งกลไกการหารือทวิภาคี ตามที่กระทรวงการต่างประทศเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมสำหรับการเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
106 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... | มท. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงบางแค
เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงบางแค
เขตบางแค และแขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เพื่อขยายคลองและก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองพระยาราชมนตรีช่วงจากคลองหนองใหญ่ถึงคลองภาษีเจริญ
เพื่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมและระบบระบายน้ำอันเป็นกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป
และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และกระทรวงมหาดไทยควรประสานกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การบริหารจัดการการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร
ลงสู่โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
107 | คำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น ๘,๙๕๖,๙๗๙,๔๐๐ บาท จำแนกเป็น
งบประมาณของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จำนวน ๘,๖๘๕,๓๘๕,๘๐๐ บาท
และงบประมาณของกองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา จำนวน ๒๗๑,๕๙๓,๖๐๐ บาท ทั้งนี้
การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายของหน่วยรับงบประมาณดังกล่าวเป็นการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายต่อคณะรัฐมนตรีภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
โดยแสดงวัตถุประสงค์ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ ตามนัยมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อสำนักงบประมาณจะได้จัดทำงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
และให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
108 | ขออนุมัติรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป (โครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่) | ทส. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนำรายการที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐
ล้านบาทขึ้นไป รายการค่าก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่
ระยะที่ ๑ คลองหก ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี วงเงินทั้งสิ้น ๕,๓๘๓,๘๑๗,๖๐๐ บาท เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ จำนวน ๑,๐๗๖,๗๖๓,๖๐๐ บาท ส่วนที่เหลือ จำนวน ๔,๓๐๗,๐๕๔,๐๐๐ บาท ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗-พ.ศ. ๒๕๖๘ ตามนัยมาตรา ๒๖
ของพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ทั้งนี้ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดนำเสนอโครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา
ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๕๐ และจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการดังกล่าว
โดยมีรายละเอียดรูปแบบรายการ ประมาณการค่าก่อสร้าง
สถานที่/พื้นที่พร้อมที่จะดำเนินการ
รวมถึงการดำเนินการตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
ซึ่งสำนักงบประมาณจะพิจารณาความเหมาะสมและจำเป็น
ตามวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรดำเนินการตามขั้นตอน
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๕๐
และระเบียบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
109 | ขออนุมัติขยายกรอบระยะเวลาและปรับรายละเอียดโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ | กษ. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒
พฤศจิกายน ๒๕๕๙ (เรื่อง ขออนุมัติโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่)
โดยให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปรับรายละเอียดโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
รวมทั้งให้ขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินโครงการดังกล่าว ดังนี้ ๑.๑ ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ
จากเดิมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙-เมษายน ๒๕๗๐ เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๐ มิถุนายน
๒๕๗๕ ๑.๒ ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้
จากเดิมตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๕๙-ธันวาคม ๒๕๖๔ เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๔ ๑.๓ ระยะเวลาการชดเชยดอกเบี้ยจากภายใน
๕ ปี นับแต่วันกู้ จากเดิมไม่เกินเดือนธันวาคม ๒๕๖๙ เป็นไม่เกินเดือนธันวาคม ๒๕๗๔ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศ เช่น
ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้แก่เกษตรกรเพื่อให้ได้รับโอกาสในการเข้าถึงโครงการอย่างเท่าเทียม
มีการทบทวนและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการฯ และปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่รัฐชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในโครงการฯ
จากเดิมร้อยละ ๓ คงเหลือร้อยละ ๒.๘๗๕ (ตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในปัจจุบัน) ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตาม ประเมินผล และพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสมในการดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาการเกษตรแบบแปลงใหญ่ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ (เรื่อง ขออนุมัติวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปี ๒๕๖๔/๖๕ เพิ่มเติม) โดยหากการดำเนินโครงการฯ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายให้พิจารณายุติการดำเนินโครงการ
เพื่อให้สามารถนำวงเงินเหลือจ่ายมาใช้ในการดำเนินโครงการอื่นที่มีความจำเป็นต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
110 | วันป่าชุมชนแห่งชาติ | ทส. | 11/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้วันที่
๒๔ พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันป่าชุมชนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน หน่วยงานราชการ
และภาคธุรกิจเอกชนทราบและเข้าใจในเจตนารมณ์ของการจัดให้มีวันป่าชุมชนแห่งชาติอย่างทั่วถึงต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
111 | การเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 | ทส. | 04/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๔๖ และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำ
(ร่าง) ข้อเสนอโครงการ รายละเอียดแผนงานและกิจกรรม
และประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจัดส่งให้ศูนย์มรดกโลก
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรคำนึงถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดทำข้อมูลผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม
เพื่อแสดงความคุ้มค่าในการเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมดังกล่าว
รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความประหยัด และประโยชน์สูงสุด คำนึงถึงผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมและควรมีการติดตามประเมินผลหลังจากการประชุมเสร็จสิ้น
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับความคุ้มค่าในการดำเนินการจัดประชุมระดับนานาชาติลักษณะเดียวกันในครั้งต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|