ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 6 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 111 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (1. นายจักรชัย บุญยะวัตร ฯลฯ จำนวน 3 คน) | อว. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ รวม ๓ คน เพื่อแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์
และแต่งตั้งเพิ่มเติมจากตำแหน่งที่ว่าง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมติ (๒๖
เมษายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ดังนี้ ๑. นายจักรชัย บุญยะวัตร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๒. นายวิทยา อมรกิจบำรุง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓. นายสรนิต ศิลธรรม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | ขอเพิ่มเติมองค์ประกอบในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี | ทส. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเพิ่มตำแหน่งปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๖ เมษายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | รัฐบาลเนการาบรูไนดารุสซาลามเสนอขอแต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลามประจำประเทศไทย (นายเปองีรัน ฮาจี ซาฮารี บิน เปองีรัน ฮาจี ซัลเละฮ์) | กต. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายเปองีรัน ฮาจี ซาฮารี บิน
เปองีรัน ฮาจี ซัลเละฮ์ (Mr. Pengiran Haji Sahari bin Pengiran Haji Salleh) ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งเนการาบรูไนดารุสซาลามประจำประเทศไทยคนใหม่
โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงเทพมหานคร สืบแทน นายฮาจี อิซมาอิล บิน ฮาจี อับดุล มานัป (Mr. Haji Ismail bin Haji Abd Manap) ซึ่งครบวาระการดำรงตำแหน่ง
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. .... | ดศ. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่
ให้สอดคล้องกับกิจการไปรษณีย์ในปัจจุบัน และเพื่อมิให้เกิดการขาดทุนสะสมเพิ่มขึ้น ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นว่า การกำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่สามารถทำได้
และการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขกรณีส่วนลดสำหรับไปรษณียภัณฑ์เป็นการมอบอำนาจช่วงไม่อาจทำได้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ.ร.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่า บริษัท ไปรษณีย์ไทย
จำกัด ควรยกระดับคุณภาพการให้บริการ
โดยอาจนำเทคโนโลยีหรือรูปแบบการบริการอื่นมาสนับสนุน และประชาสัมพันธ์การปรับอัตราค่าบริการขั้นสูงสุดและยังคงมีส่วนลดค่าบริการให้แก่ลูกค้า
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งให้รับความเห็นของรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์
ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอขอให้ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
ลดอัตราค่าบริการฝากส่งสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย
ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และเกษตรกร ไปพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | ปฏิญญากลาสโกว์ของผู้นำด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Glasgow Leaders' Declaration on Forests and Land Use) | ทส. | 12/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 | นร.11 สศช | 05/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง | กษ. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง จากเดิม
๑๗ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘-พ.ศ. ๒๕๖๔) เป็น ๑๙ ปี ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๘-พ.ศ.
๒๕๖๖) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม ๓,๖๗๐,๕๐๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงวเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น การขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการโดยไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันต้องเสนอขออนุมัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดเวลาตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๗ (๒)
ควรเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
คำนึงถึงประโยชน์ ความคุ้มค่าที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | การนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว - อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน | ทส. | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึงและเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูเขียว-อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเพิ่มเติม
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้แก่ (๑)
การดำเนินการไม่เป็นการจัดทำสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นการจัดทำหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (๒)
ควรให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการเสนออุทยานเป็นมรดกโลกแห่งอาเซียน
(๓) ค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
เห็นควรให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
และ (๔) การรวมพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
และอุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อาจจะมีผลกระทบต่อแผนการพัฒนาทางหลวงหมายเลข ๑๒ ให้เป็น
๔ ช่องจราจร ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565 | นร.14 | 29/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๕,๖๑๕.๔๖๙๙ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง
ปี ๒๕๖๕ จำนวน ๒,๕๒๕ รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๑๘/๕๘๓๖ ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๕)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรตรวจสอบความจำเป็นเร่งด่วนของแผนงานโครงการฯ
ให้สอดคล้องและครอบคลุมพื้นที่ที่คาดว่าจะประสบปัญหาภัยแล้งของประเทศ
รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณตามแผนงาน/โครงการด้านการป้องกันอุทกภัยและภัยแล้งที่มีความสำคัญและได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี
๒๕๖๕ ว่ามีผลการดำเนินการแล้วเสร็จอย่างไร
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | ร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. .... | ทส. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ
วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ
ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ
วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
เพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงาน หรือการอนุรักษ์ บำรุงรักษา
และฟื้นฟูอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน
สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรพิจารณาทบทวนอัตราการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้
ภายหลังที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับไปแล้ว ๓ ปี ควรทบทวนหลักเกณฑ์
วิธีการแบ่งเงินให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
โดยพิจารณาแหล่งกำเนิดของรายได้ว่าควรจัดสรรให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตามสัดส่วน
และพื้นที่ที่เกิดรายได้ขึ้นจริงแทนวิธีการแบ่งให้แห่งละเท่า ๆ กัน ควรมีกลไกความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
ในการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินค่าบริการและค่าตอบแทนที่แบ่งให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความเหมาะสม
มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควร ควรพิจารณาทบทวนอัตราการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้
ภายหลังที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับไปแล้ว ๓ ปี
ควรกำหนดระยะเวลาในการแบ่งเงินที่เรียกเก็บได้ตามมาตรา ๒๙
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ แก่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล
คำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นที่สนับสนุนภารกิจของอุทยานในลักษณะทั่วไป ควรมีกลไกความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
ในการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินค่าบริการและค่าตอบแทนที่แบ่งให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลให้มีความเหมาะสม
มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความจำเป็นในสถานการณ์ปัจจุบัน และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของร่างกฎกระทรวงฉบับนี้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | รายงานการประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ช่วงระยะปี 2561 - 2564 และรายงานประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ | นร.14 | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | ขอความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย | นร.14 | 15/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม
๒๕๖๒ (เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี)
เฉพาะในส่วนของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
เพื่อให้คณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทยคงปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่อง
นับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๒ ๒. เห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
โดยมีรัฐมนตรีที่กำกับ ดูแล สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานกรรมการ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | รายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 | ปปท. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
(ศอตช.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๕ สรุปสาระสำคัญได้
ดังนี้ (๑) คณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
จำนวน ๕ คณะ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
ซึ่งมีผลการดำเนินงาน เช่น
ร่วมพิจารณาและกำหนดกรอบแนวทางการขับเคลื่อนการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต
ติดตาม เร่งรัดและตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง (๒) ศอตช. ได้จัดทำระบบรับเรื่องร้องเรียน
ศอตช. ทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๓-๓๑ ธันวาคม ๒๔๖๔ รับเรื่องร้องเรียน
๑,๐๕๐ เรื่อง (๓) การดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา
๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ รวม ๘ คำสั่ง
จำนวน ๔๐๐ ราย (ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน ๓๕๗ ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน ๔๓
ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีคำสั่ง จำนวน ๑๓ ราย) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... | กษ. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน
ในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน
เพื่อดำเนินโครงการจัดรูปที่ดินในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปทำการสำรวจพื้นที่ที่จะจัดทำเป็นโครงการจัดรูปที่ดิน
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าควรเตรียมแนวทางสนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่
ความต้องการของตลาดและนโยบายสำคัญต่าง ๆ ของรัฐบาล ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... | ทส. | 08/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และกระทรวงพลังงาน เช่น ที่ควรเพิ่มเติมข้อความ ข้อ ๑ (๓)
“การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ”
ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ ความรู้
และความสามารถเพิ่มขึ้น ข้อ ๓ (๑) “การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ”
เพื่อให้การลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้กับสถาบันการศึกษาเอกชน และรัฐวิสาหกิจมีความครอบคลุมยิ่งขึ้น
และเพิ่มเติมในประเด็นข้อกำหนดในข้อ ๔ (๒)
“กิจการวางโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน
กิจการวางท่อประปาเพื่อจำหน่ายให้ประชาชน
สำหรับการดำเนินการบำรุงรักษาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานหรือเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน”
ซึ่งควรกำหนดให้ครอบคลุมกิจการปิโตรเลียม ไปประกอบการพิจารณา
แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร | นร.12 | 01/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ดังนี้ (๑) ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทของหน่วยงานของรัฐในการกำกับของฝ่ายบริหาร)
โดยเพิ่มประเภทขององค์การมหาชน จากเดิม ๒ ประเภท เป็น ๓ ประเภท
เพื่อรองรับหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒
และมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๕/๘
แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ครอบคลุมถึงหน่วยงานดังกล่าว
(๒) จำแนกให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ
และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร
ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล และ (๓)
จำแนกให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารประเภทองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบถึงหน่วยงานที่เป็นอยู่เดิมเป็นลำดับแรกก่อน
เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของภารกิจ
รวมทั้งคำนึงถึงหลักการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายของภาครัฐที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
คำนึงถึงแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐
โดยอาจวางระบบ หลักเกณฑ์ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติในการกำกับดูแล
และบริหารจัดการองค์กรให้ชัดเจน
และควรเร่งรัดการดำเนินการในส่วนของหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายหลังการปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารแล้วเสร็จ
เพื่อปรับรูปแบบการบริหารราชการให้เป็นมาตรฐานเดียวกันต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี | นร.10 | 22/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งสิ้น ๖๕ อัตรา
ตามมติคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๔
เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๔ ตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | ร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... | ทส. | 22/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
โดยกำหนดพื้นที่ในการบังคับใช้กฎหมาย กำหนดให้มีแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทุก
๕ ปี เพื่อใช้บริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพในภาพรวมของประเทศ
กำหนดให้มีคณะกรรมการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ กำหนดให้มีการสร้างสมรรถนะและแรงจูงใจในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
กำหนดวิธีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ กำหนดกลไกในการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพรวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น
กำหนดกลไกการกำกับดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Living Modified Organisms : LMOs) กำหนดโทษทางแพ่ง
โทษทางปกครอง โทษทางอาญา และกำหนดบทเฉพาะกาล ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด
และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เช่น ควรพิจารณาความครอบคลุมของกฎหมาย
ในประเด็นการปกป้องคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศจากการใช้ประโยชน์ในรูปแบบของการเอารัดเอาเปรียบทางการค้าจากต่างชาติ
กำหนดเพิ่มเติมในอนุบัญญัติให้บุคคลที่ไม่ได้ขออนุญาตก่อนการเข้าถึงทรัพยากรทางชีวภาพตั้งแต่แรกสามารถยื่นคำขออนุญาตก่อนการเข้าถึงและทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ในภายหลังได้
ควรมีความนิยามเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการด้านเทคนิค อาทิ
รายงานการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพ (มาตรา ๔๔) บัญชีปลดปล่อยต่อสิ่งแวดล้อม
(มาตรา ๔๖) แนวทางการระมัดระวังล่วงหน้า (มาตรา ๕๑) และสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรม
(มาตรา ๕๓) เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป
และให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด
๑๖ การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรมีระบบความเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ครอบคลุมถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปลงทางพันธุกรรมที่ได้มาจากการพัฒนาขึ้นทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร
และให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลเกิดผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่ เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... | ทส. | 15/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง มาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่
เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่เกาะราชาใหญ่
เกาะราชาน้อย ตำบลราไวย์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต เพื่อประโยชน์
หรือสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงกลาโหมและกระทรวงพลังงาน โดยเพิ่มข้อความ
“ประกาศฉบับนี้มิให้ใช้บังคับแก่การดำเนินการเพื่อประโยชน์ในราชการของกองทัพเรือ”
เพื่อยกเว้นกับการใช้บังคับกับกองทัพเรือในกรณีที่มีการจำเป็นต้องดำเนินการใด ๆ
เกี่ยวกับกิจการด้านความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ
และกิจกรรมด้านพลังงานใดที่ต้องห้ามตามประกาศนี้
ถ้าได้รับอนุญาตก่อนวันประกาศนี้ให้ใช้บังคับในการดำเนินการต่อไป และการต่ออายุใบอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
โดยให้อนุญาตตามที่พื้นที่ที่ได้อนุญาตไว้เดิม ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น ควรมีกระบวนการหารือกับภาคธุรกิจและภาคประชาชนในพื้นที่
เพื่อสร้างความเข้าใจและการรับรู้ร่วมกัน ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี
และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซักซ้อมความเข้าใจกับหน่วยงานในสังกัด
ซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจนถึงอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ
กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน
และสร้างการรับรู้ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงทั้งประชาชน ชุมชน และภาคเอกชนที่ประกอบการด้านท่องเที่ยวและประมงในพื้นที่ให้เข้าใจแนวทางปฏิบัติ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | ร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 รวม 3 ฉบับ | ยธ. | 15/02/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดและพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย ๑.๑ ร่างกฎกระทรวงการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ
การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
และการขอรับทรัพย์สินคืนและการคืนทรัพย์สิน พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการตรวจสอบทรัพย์สินและการแจ้งสิทธิ
การยื่นคำร้องขอผ่อนผัน การยึดหรืออายัด
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดหรืออายัดไว้
และการขอรับทรัพย์สินคืนและการคืนทรัพย์สิน
เพื่อประโยชน์ในการใช้อ้างอิงและบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวอยู่ในฉบับเดียวกันอย่างเป็นระบบ ๑.๒
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการเพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินการกับบุคคลผู้มีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากระทำความผิดฐานเสพ
หรือมีไว้ครอบครองซึ่งยาเสพติดเพื่อเสพ และกำหนดตำแหน่งหรือระดับของเจ้าพนักงาน
ป.ป.ส.
หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจที่จะมีหน้าที่และอำนาจดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ๑.๓
ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการการขออนุมัติ การอนุมัติ และการรายงาน การแจ้งข้อหาในความผิดฐานสมคบ
และสนับสนุนช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๖๔ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุมัติ
การอนุมัติ และการรายงาน ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔ รวม
๓ ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม
และสำนักงานอัยการสูงสุด เช่น กรณีร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๒ การตรวจสอบหรือทดสอบ
หรือเก็บปัสสาวะ ในร่างข้อ ๘ (๑) ควรเพิ่มความว่า กรณีมีความเร่งด่วน
ให้ดำเนินการเท่าที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ควรแก้ไขข้อความในร่างข้อ
๓ ของร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๓
เพื่อมิให้ขัดกับแนวทางปฏิบัติในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ
สำหรับร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๑ กรณีร่างข้อ ๓๕
เกี่ยวกับการอายัดสิทธิเรียกร้องซึ่งบุคคลภายนอกต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย
ควรกำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
โดยร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๑ เห็นว่า การตรวจสอบทรัพย์สินตามกฎกระทรวงนี้
ขอให้หน่วยงานที่รับคำขอความร่วมมือจากเจ้าพนักงาน ป.ป.ส.
ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดซึ่งกำหนดไว้ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานนั้น
ๆ และร่างกฎกระทรวงตามข้อ ๑.๓ เห็นว่า
หากศาลใช้ดุลยพินิจอนุญาตให้ออกหมายจับในมาตรา ๑๒๕ หรือมาตรา ๑๒๗ แล้ว
ไม่ควรจะต้องขออนุมัติทางเลขาธิการ ป.ป.ส. อีก
เนื่องจากการออกหมายจับดังกล่าวเป็นการใช้ดุลยพินิจของผู้พิพากษาแล้ว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |