ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 6 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 111 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากแม่น้ำเทพา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ของกรมเจ้าท่า | คค. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการค่าก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากแม่น้ำเทพา
ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา วงเงิน ๙๐ ล้านบาท
และผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕-พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามนัยมาตรา ๔๒
แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
การดำเนินการใด ๆ ในพื้นที่ป่า ให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในพื้นที่สำหรับการจัดทำแผนป้องกันผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพาแล้วเสร็จ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
และปีต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า)
ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งสร้างความเข้าใจกับประชาชนและผู้อยู่อาศัยโดยรอบพื้นที่โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพา
ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการฯ ให้ถูกต้อง ทั่วถึง
และต่อเนื่องด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม 4 ฉบับ | นร.09 | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม ๔ ฉบับ ที่ตรวจพิจารณาแล้ว ได้แก่ (๑)
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (๒) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... (๓) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... (๔) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนราชการหน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง
กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพงานที่เปลี่ยนแปลงไป
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าขนย้าย (ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี | กษ. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้มีการจ่ายค่าขนย้าย
(ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ)
เป็นกรณีพิเศษให้แก่เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายกุมภวาปี
จังหวัดอุดรธานี ที่ยังไม่ได้รับเงินค่าขนย้าย จำนวน ๒๒๒ แปลง เนื้อที่ ๔,๔๘๓-๒-๙๗ ไร่
ตามหลักการของมติคณะกรรมการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินเพื่อการชลประทานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ โครงการฝายกุมภวาปี
ที่กำหนดให้จ่ายเงินค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่ได้รับผลกระทบในเขตพื้นที่อ่างเก็บน้ำในอัตราราคาสูงสุดไร่ละ
๕๐,๐๐๐ บาท และราคาต่ำสุดไร่ละ ๑๐,๐๐๐
บาท สำหรับการช่วยเหลือในส่วนเพิ่มเพื่อให้เหมาะสมตามสถานะและสภาพของที่ดินนั้น
ให้ใช้แนวทางการพิจารณากำหนดจำนวนเงินตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณหรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรเป็นรายปีงบประมาณ
ตามความเหมาะสมเท่าที่จำเป็นแล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ในส่วนของการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าขนย้ายตามข้อ
๑ ให้รอบคอบ ถูกต้อง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม
๒๕๖๔ (เรื่อง
แนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล)
ที่เห็นชอบให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามแนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยไม่ควรกำหนดให้คณะกรรมการที่จัดตั้งตามคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นทำงานปกติประจำ
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดวิธีการจ่ายเงินค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรตามหลักเกณฑ์และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าขนย้ายที่ถูกต้อง
ครบถ้วน ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้รอบคอบและครบถ้วน
เพื่อให้การจ่ายเงินค่าขนย้ายทำได้ในครั้งเดียว และไม่เกิดปัญหาเช่นในโครงการอื่น
ๆ ที่ผ่านมา ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเชิง จังหวัดสุรินทร์ | กษ. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ จังหวัดสุรินทร์ | กษ. | 30/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในการให้ความช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำบ้านทำนบ
จังหวัดสุรินทร์ จำนวน ๖๔ แปลง เนื้อที่ ๕๑๒-๑-๕๖ ไร่
เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยา
และบรรเทาความเดือดร้อนอย่างเป็นธรรมให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการชลประทานของรัฐ
สำหรับอัตราค่าชดเชยที่จะต้องจ่ายนั้น
เห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาตามหลักการที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นชอบไว้ในการประชุมคณะทำงานตรวจสอบพิสูจน์สิทธิย้อนหลังและแสวงหาราคาค่าทดแทน
โดยกรณีการจ่ายเงินทดแทนค่าขนย้าย (ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์)
เป็นการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาความเสียหายตามหลักมนุษยธรรม
ไม่ใช่การจ่ายเงินทดแทนค่าที่ดิน
จึงไม่สามารถจ่ายเงินชดเชยโดยใช้ราคาซื้อขายที่ดินมาเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคา
โดยเห็นควรใช้แนวทางการพิจารณากำหนดจำนวนเงินตามกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการประเมินราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๒
เพื่อมิให้มีค่าใช้จ่ายที่เกินกว่าที่รัฐได้เคยจ่ายชดเชยสำหรับที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ์
อันจะนำไปสู่กรณีกลุ่มราษฎรจะมาเรียกร้องให้มีการจ่ายเงินชดเชยในลักษณะเดียวกันตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ ดังกล่าว
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม .ถูกต้อง เป็นธรรม
และสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ครอบคลุมในทุกมิติอย่างรอบคอบตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
รวมทั้งรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรเร่งกำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐ
เร่งดำเนินการจ่ายค่าทดแทนให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโดยเร็วและเป็นธรรม การขออนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าชดเชยให้ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิและจำนวนค่าชดเชย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | ขอความเห็นชอบชะลอการบริจาคเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านยาเสพติดระหว่างอาเซียนกับจีน (ASEAN and China Cooperative Operations in Response to Dangerous Drugs : ACCORD) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป | ยธ. | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบชะลอการบริจาคเงินอุดหนุนให้แก่กองทุนแผนปฏิบัติการว่าด้วยความร่วมมือด้านยาเสพติดระหว่างอาเซียนกับจีน
(ASEAN and China Cooperative Operations in Response to Dangerous
Drugs : ACCORD) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | รายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 | นร.12 | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานการประเมินความคุ้มค่าของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๒ ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ขอให้มอบหมายคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
ดำเนินการเพื่อยุบเลิกหน่วยงานและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
ทั้งนี้ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน
พ.ศ. .... และการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นใหม่ตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวของคณะรัฐมนตรีให้นำรายงานการประเมินความคุ้มค่า
บทเรียน ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัด
รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนไปประกอบการพิจารณาด้วย ๒.
ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
ดำเนินการให้เป็นไปด้วยความละเอียด รอบคอบ ตามขั้นตอนของระเบียบ กฎหมาย
และคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อเกษตรกรและผู้ยากจนที่เข้าร่วมโครงการ
รวมทั้งบุคลากรและทรัพยากรของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ควรเข้ามาเสริมการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในการแก้ปัญหาที่ดินทั้งประเทศโดยไม่ควรเป็นหน่วยงานที่สำนักงานในทุกจังหวัด
และไม่ควรซื้อที่ดินเอกชนมาดำเนินการเอง ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | แผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 | นร.14 | 17/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ และใช้พิจารณาในการจัดทำงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ตามนัยมาตรา
๑๗ (๒) แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมภิบาลให้ถูกต้องและครบถ้วน รวมทั้ง พิจารณากลั่นกรองและจัดลำดับความสำคัญของแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องกับกรอบวงเงินที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปีต่อไปด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | การเสนอความเห็นเรื่อง การกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาใช้ก่อนหรือนำไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคมตามร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | ข้อเสนองบประมาณการดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 และวันที่ 19 เมษายน 2565 | มท. | 10/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย
(การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่
๒๙ มีนาคม ๒๕๖๕ และวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕ ในมาตรการให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร
(ค่า Ft) ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็ก
(ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน ๓๐๐ หน่วยต่อเดือน
เป็นระยะเวลา ๔ เดือน (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๖๕) โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ในกรอบวงเงินจำนวนทั้งสิ้น ๑,๗๒๔,๙๕๐,๐๐๐ บาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด
ที่ นร ๐๗๒๗/๗๑๐๗ ลงวันที่ ๓ พฤษภาคม
๒๕๖๕) ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
ที่เห็นควรให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
พิจารณาปรับปรุงหรือควบคุมการดำเนินงานให้มีต้นทุนที่เหมาะสมและยืดหยุ่นได้ตามความสภาวะการเปลี่ยนแปลง
เพื่อไม่ให้กระทบกับสภาพคล่องในการดำเนินงานในระยะสั้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 | นร.14 | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบมาตรการรับมือฤดูฝน
ปี ๒๕๖๕ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๕
และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๕ /๒๕๖๖
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการตามมาตรการดังกล่าว
โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ
พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณประจำปีที่ได้รับการจัดสรร
หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี และควรปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งควรเร่งติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ
ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินโครงการฯ
ให้มีประสิทธิภาพมากเพิ่มขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. | นร.09 | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการที่บทบัญญัติบางมาตรากำหนดทรัพย์สินหรือเงินที่เจ้าของไม่มาขอรับภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ตกเป็นของแผ่นดินซึ่งอาจขัดแย้งต่อมาตรา
๒๖ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เป็นประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติอันเกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว
เพื่อให้กระบวนการการกำหนดเงินค่าทดแทน
และการพิจารณาคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา
และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ๓.
ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการดำเนินการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าการกำหนดการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ของหน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
กฎหรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ความโปร่งใสในการดำเนินการตามหลักธรรมาภิบาล เกิดผลสัมฤทธิ์
หรือประโยชน์ต่อภาครัฐ และประชาชนเป็นสำคัญ และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ทราบถึงสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
สามารถตีความบทบัญญัติ และนำไปใช้ได้โดยไม่มีข้อโต้แย้ง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว | ทส. | 03/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
เพื่อดำเนินการสร้างสวนรุกขชาติ และอนุมัติให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้แก่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังพร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว
ให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดไว้ในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ควรคำนึงถึงความคุ้มค่า ต้นทุน
และผลประโยชน์ เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
ตลอดจนความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ รวมทั้งกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า
และพันธุ์พืช
ควรประสานงานกับกระทรวงการต่างประเทศให้พิจารณาข้อกำหนดการดำเนินงานต่าง ๆ
ไม่ขัดต่อกฎระเบียบและกฎหมายด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ
ทั้งในด้านการดำเนินโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย-ลาว และการใช้งบประมาณ
เพื่อให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทั้งสองประเทศต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | เงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นสำหรับ COVID-19 Crisis Response Emergency Support Loan | กค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (นางสาวประชุม ตันติประเสริฐสุข) | นร.04 | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง
นางสาวประชุม ตันติประเสริฐสุข เป็นกรรมการผู้แทนสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ
(ไทย) ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
แทนกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระเนื่องจากมีอายุครบ ๗๐ ปีบริบูรณ์
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๔ เมษายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป
โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | การจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน ระหว่างปี 2565-2569 | วธ. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 7/2565 | นร.04 | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019
(โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ ๗/๒๕๖๕ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ เมษายน
๒๕๖๕ ซึ่งมีผลการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ (๑)
รายงานสถานการณ์และแนวโน้มการแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อ (๒) รับทราบแนวทางการรักษาและการให้ยาแก่ผู้ป่วยโควิด-19
รวมทั้งการจัดการผู้ป่วยในกลุ่มเด็ก (๓) รับทราบความก้าวหน้าการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด-19
ในประเทศไทย (๔) การปรับระดับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการป้องกันควบคุมโรคแบบบูรณาการ
(๕) การปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร (๖) การเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขสำหรับการเปิดภาคเรียนในเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๕ (๗) แผนการให้บริการวัคซีนเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๕ และ (๘) ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | สารบาหลี (Bali Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล | กต. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบสารบาหลี (Bali
Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล
“ถอดหน้ากากการทูตดิจิทัลในยุค New Normal” (Bali Message on International
Cooperation in Digital Diplomacy “Unmasking Digital Diplomacy in the New
Normal”) เพื่อที่จะได้นำผลการพิจารณาแจ้งฝ่ายอินโดนีเซียทราบในโอกาสแรก
โดยสารบาหลีฯ เป็นเอกสารสารผลลัพธ์การประชุม International Conference on
Digital Diplomacy ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ณ
เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในรูปแบบกึ่งออนไลน์ เพื่อให้เกิดการตระหนักร่วมกันเกี่ยวกับความสำคัญของการทูตดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงและมีส่วนช่วยในการปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน
ทั้งในกระบวนการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ
และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยจะใช้ ๕
ประเด็นหลักในการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเติบโตที่สร้างสรรค์ ครอบคลุม
และยั่งยืน ไปพร้อมกับการเชื่อมโยงความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลระหว่างประเทศต่าง ๆ
ได้แก่ (๑) การพัฒนากรอบนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการทูตดิจิทัล (๒)
การจัดการวิกฤตผ่านการทูตดิจิทัล (การแลกเปลี่ยนข้อมูล) (๓)
การจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทูตดิจิทัล
(การยกระดับการใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ) (๔)
นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ (๕)
การเสริมสร้างขีดความสามารถและการมีส่วนร่วมทางดิจิทัลให้แก่สตรี เด็ก คนชรา
ผู้พิการ และผู้ที่อยู่ชายขอบของทุกประเทศ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่ขอแก้ไขถ้อยคำในสารบาหลี
(Bali Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล
“ถอดหน้ากากการทูตดิจิทัลในยุค New Normal” บาหลี, ๑๖
พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๒๑ ฉบับภาษาไทย ในหน้าที่ ๒ และ ๔ จากคำว่า “ผู้พิการ” เป็น
“คนพิการ” ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (1. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ฯลฯ รวม 5 คน) | กสศ. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา รวม ๕ คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิม จะครบวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี
ในวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ทั้งนี้ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑๐ กรกฎาคม๒๕๖๕
เป็นต้นไป ตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเสนอ ดังนี้ ๑. นายประสาน
ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ ๒. นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปารีณา ศรีวนิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย
ภาควิชาการ ๔. นายชาลี จันทนยิ่งยง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคเอกชน ๕. รองศาสตราจารย์ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทย | คค. | 26/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
ในกรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) ๒.
เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทยกู้ยืมเงินตามนัยมาตรา ๓๙ (๔)
แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๔๙๔
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๔๓
ภายใต้กรอบวงเงิน ๑,๔๕๘.๗๗ ล้านบาท
(รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ ๗) เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้น ๓.
ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขอปรับเพิ่มเงินลงทุน
(Cost Overrun) ในอนาคต
ซึ่งอาจกระทบต่อผลการดำเนินงานและผลตอบแทนการลงทุน รวมทั้งอาจเกิดความล่าช้าในการให้บริการและไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ๔.
ให้กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น
ควรคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้และจำเป็นต้องติดตามการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับแนวโน้มการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจต่าง
ๆ ในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |