ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 6 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 111 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคลองเกาะผี ท้องที่ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เพื่อการกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต | มท. | 16/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ วันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔
วันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ ที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน
ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคองเกาะผี ท้องที่ตำบลวิชิต
อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
เพื่อการกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทย (เทศบาลนครภูเก็ต)
ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมตอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๒๗ (เรื่อง
มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง
แนวนโยบายและมาตรการการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม จังหวัดภูเก็ต) ด้วย ทั้งนี้ ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าและบำรุงรักษาป่าชายเลนทดแทน
ไม่น้อยกว่า ๒๐ เท่า
ของพื้นที่ป่าชายเลนที่ใช้ประโยชน์ตามระเบียบกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ว่าด้วยการปลูกและบำรุงป่าชายเลนทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อม กรณี
การดำเนินการโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน
พ.ศ. ๒๕๖๕ นั้น
ให้เทศบาลนครภูเก็ตใช้จ่ายจากเงินรายได้ของเทศบาลนครภูเก็ตดำเนินการเป็นลำดับแรก
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทย (เทศบาลนครภูเก็ต) รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น
ควรกำหนดกรอบระยะเวลาในการใช้พื้นที่ดังกล่าวให้มีความชัดเจน
ควรกำหนดแนวทางป้องกันการรั่วไหลสารพิษหรือสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ
สร้างจิตสำนึกต่อประชาชนในการลดและคัดแยกขยะ ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชุมชนใกล้เคียงเพื่อให้เกิดการยอมรับและสนับสนุนการดำเนินโครงการ
รวมทั้งควรมีการพิจารณาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะมีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการดำเนินการด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี | นร.12 | 16/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 เรื่อง การดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า | ทส. | 09/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 | นร.14 | 09/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้กรอบวงเงิน
๔,๐๑๙.๗๙๙๓ ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน
ปี ๒๕๖๕ และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี ๒๕๖๕/๒๕๖๖ จำนวน ๑,๓๖๑ รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
(หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๗/๑๐๘๕๗ ลงวันที่ ๒๕ กรกฎาคม
๒๕๖๕) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล การดำเนินโครงการดังกล่าว
ให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
ให้หน่วยรับงบประมาณเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | มท. | 02/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขค่าธรรมเนียมหลักฐานรับรองการได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
สำหรับบุคคลธรรมดา ในกรณีเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานตามกฎกระทรวงกำหนดแบบคำขออนุญาต
ใบอนุญาต ใบรับรอง คำสั่ง และแบบหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๔
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ จากฉบับละ ๕๐๐ บาท เป็นฉบับละ ๒๐
บาท เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและสมาชิกสภาวิศวกร
รวมถึงแยกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในส่วนของค่าใบแทนใบอนุญาต
และค่าหลักฐานรับรองการได้รับอนุญาต และแยกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
ในส่วนของการขอหนังสือรับรองเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานตามกฎกระทรวงกำหนดแบบคำขออนุญาต
ใบอนุญาต ใบรับรอง คำสั่ง และแบบหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๖๔
ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒
หรือเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในกรณีอื่น ๆ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม | อก. | 02/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการพัฒนาอาชีพเสริม
เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม ภายในกรอบวงเงิน ๑,๒๔๙.๒๙๖ ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
และให้กระทรวงอุตสาหกรรมบูรณาการการดำเนินโครงการพัฒนาอาชีพเสริม
เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม
ร่วมกับหน่วยงานที่มีโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะของคนในชุมชน (เช่น
โครงการอบรมและส่งเสริมการพัฒนายกระดับทักษะอาชีพในภาคเกษตรกรรมและโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสินค้าเกษตรสู่ผู้บริโภค
ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก ของกระทรวงมหาดไทย
เป็นต้น) เพื่อให้การดำเนินการมีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเกิดประโยชน์สูงสุด
รวมทั้งให้ติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ด้วย ๒. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๖/๑๐๗๔๒
ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
พร้อมทั้งเร่งรัดการใช้จ่ายเงินให้ทันภายในปีงบประมาณ ควรมีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพอย่างเป็นรูปธรรมให้กลุ่มเป้าหมายตามโครงการหลังการอบรม
และควรดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งติดตามและประเมินผลโครงการอย่างต่อเนื่อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | นโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง | อก. | 02/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการต่อนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยระยะแรกสมควรปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
พร้อมทั้งกำหนดสิทธิประโยชน์ให้เหมาะสม โดยแบ่งกิจการที่ต้องการส่งเสริมเป็น ๓
ประเภท ได้แก่ (๑) กลุ่มกิจการสำรวจแร่ (๒) กลุ่มกิจการทำเหมืองแร่
และ/หรือแต่งแร่ และ (๓) กลุ่มกิจการถลุงแร่หรือประกอบโลหกรรม
และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
และกระทรวงอุตสาหกรรมประสานความร่วมมือหรือปรึกษาหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและกรมทรัพยากรธรณี
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติพิจารณานำนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และนโยบายต่อเนื่องไปกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่
ฉบับที่ ๒ ต่อไป เพื่อให้การบริหารจัดการมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รวมทั้งให้พิจารณากำหนดชนิดของแร่และประเภทอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่จะส่งเสริมในแต่ละช่วงเวลาให้มีความเหมาะสมชัดเจนสอดคล้องกับความต้องการใช้งานและทิศทางในการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
๒๐ ปี โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศและประชาชนเป็นสำคัญด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข (เพิ่มเติม)] | กค. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบการปรับปรุงหลักเกณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคด้านสาธารณสุขตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒.
อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ ๒ เท่าของจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค
สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation)
ของกรมสรรพากร ให้แก่มูลนิธิต่าง ๆ รวม ๓ แห่ง ได้แก่ (๑)
มูลนิธิชัยพัฒนา (๒)
มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
และ (๓) มูลนิธิรามาธิบดี ในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี และยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า
หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่มูลนิธิดังกล่าวที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่
๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓.
ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็น และประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้
เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | ยธ. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้ ๑.๑
โครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน ๑๖
ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
งบเงินอุดหนุนของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) ๑.๒ ให้เลขาธิการ ป.ป.ส.
มีอำนาจอนุมัติโครงการ แผนงาน และกิจกรรมภายใต้กรอบงบประมาณ งบเงินอุดหนุน
รายการโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ และสามารถจ่ายเงินงบประมาณสนับสนุนหน่วยงานกลางด้านยาเสพติดของประเทศเพื่อนบ้านแต่ละประเทศเพื่อให้มีการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
ตามที่ได้รับจัดสรร ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรม โดยสำนักงาน ป.ป.ส. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า (๑)
การสนับสนุนงบประมาณให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านควรมุ่งเน้นไปที่การควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์จำเป็นในการผลิตยาเสพติดที่มีการนำเข้าไปยังแหล่งผลิตต่าง
ๆ รวมถึงการตรวจสอบต้นทางว่ามาจากแหล่งและวิธีการใด (๒) พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ยาเสพติดในภูมิภาคที่เปลี่ยนแปลงไป
อันมีผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
และสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านด้วย และ (๓)
พิจารณากำหนดตัวชี้วัดของโครงการฯ
ที่จะสามารถสะท้อนผลสำเร็จของการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ
เพื่อความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | ขออนุมัติดำเนินโครงการลงทุนรายการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ | ทส. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง-คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง-คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2552) | มท. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง-คลองหลวง-รังสิต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองท่าโขลง-คลองหลวง-รังสิต
จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๕๒
เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง)
บางส่วน และที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่น (สีเหลือง)
บางส่วนเป็นที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)
รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมรายการประกอบแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าว
ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมของจังหวัดปทุมธานีที่เปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรคำนึงถึงการควบคุมการก่อสร้างต่าง
ๆ ไม่ให้กีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ ควรต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบ และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ ควรคำนึงถึงประเภท กิจการ
และขนาดอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
ควรจัดให้มีพื้นที่สีเขียวสาธารณะที่เพียงพอรองรับกับความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มขึ้นและเป็นแนวกันชนสำหรับบริเวณที่ติดกับที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า
ควรคำนึงถึงกฎ
ระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และควรกำกับดูแลให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | การขอเพิ่มวงเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย | พน. | 26/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพิ่มวงเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line จากวงเงินเดิม ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็น ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท จนถึงวันที่ ๑๑
กันยายน ๒๕๖๗ ซึ่งเป็นวันที่วงเงินกู้ระยะสั้นแบบ Credit Line ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๔
จะครบกำหนดระยะเวลา ๓ ปี ภายใต้เงื่อนไขเดิม ประกอบด้วย ผู้เบิกเกินบัญชี
ตั๋วสัญญาใช้เงิน การทำ Trust Receipt (T/R) และการทำสัญญาเงินกู้เมื่อทวงถาม
(Call Loan)
โดยจะพิจารณาทำสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินที่เสนอรูปแบบที่มีต้นทุนต่ำที่สุดตามอัตราดอกเบี้ยตลาด
โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยจากการกู้เงินดังกล่าว
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยพิจารณากู้เงินตามความจำเป็นและวางแผนการบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงินให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และการกู้ยืมเงินดังกล่าวจะต้องได้รับอนุมัติไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะก่อนเริ่มดำเนินการ
ให้ภาครัฐดำเนินมาตรการอื่นควบคู่ไปด้วย เช่น
การกำหนดมาตรการช่วยเหลือตามกลุ่มเป้าหมาย
การสร้างความตระหนักรู้แก่ประชาชนในประเด็นสถานการณ์ราคาพลังงานโลก ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | หลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 | นร.12 | 12/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาให้สอดคล้องกับเรื่องการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาการอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และธนาคารแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขอความเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (ฉบับแก้ไข) | พน. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓
สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
(ฉบับแก้ไข) นี้ เพื่อให้ออกเป็นร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓
สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01
ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ๑.๒ ให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย
โดยหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ
ลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๓ฯ
กับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติและรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ
ลงนามในฐานะพยาน ๒.
ให้กระทรวงพลังงานรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุดที่เห็นว่า
ในการสำรวจและการจัดหาก๊าซธรรมชาติ
ควรมีการคำนึงถึงผลกระทบด้านมลพิษและสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย และก่อนการลงนามสัญญา
องค์กรร่วมฯ ต้องตรวจสอบถึงความเหมาะสมและความถูกต้องของเงื่อนไขทางเทคนิคตามข้อตกลงทางธุรกิจ
รวมทั้งความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการจัดทำสัญญาด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | การขออนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 | มท. | 05/07/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ และเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ ๒.
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายสันติ พร้อมพัฒน์) รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑) ขอให้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา
กรณีการตรวจสอบพบแนวเขตที่ดินในความรับผิดชอบมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ภายหลังจากมติคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
แล้ว รวมทั้งให้กรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนำไปปฏิรูปที่ดิน
เพื่อกันคืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้ และ (๒) ให้หน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย
กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด
เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตรการส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) และแก้ไขปัญหา
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | การเสนออุทยานธรณีขอนแก่นเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) | ทส. | 21/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เสนออุทยานธรณีขอนแก่นเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก
(UNESCO Global Geoparks)
โดยยื่นความจำนงต่อยูเนสโกภายในวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕
และส่งใบสมัครในระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ถึง ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
และมอบหมายให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์
และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการเสนออุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต่อสำนักเลขาธิการยูเนสโก
ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่เห็นควรเพิ่มอำเภอมัญจาคีรี
จังหวัดขอนแก่น ในพื้นที่อุทยานธรณีขอนแก่น และควรคำนึงถึงการบริหารจัดการพื้นที่หากได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของ
UNESCO ด้วย ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | (ร่าง) ข้อเสนอปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) ต่อที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19) | กษ. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรี | มท. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๖๔ จำนวน ๖ โครงการ งบประมาณ ๓๓๘,๗๙๘,๐๐๐ บาท ให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยจะได้แจ้งให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ในฐานะหน่วยรับงบประมาณจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
รวมถึงประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงศักยภาพและความสามารถในการใช้จ่าย
ความคุ้มค่า ประหยัด เป้าหมาย และประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ
ตลอดจนปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาดำเนินการ และความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติต่อไป
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแลการดำเนินการของหน่วยรับงบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรจัดทำแผนบริหารจัดการเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์โครงการได้สูงสุดและยั่งยืนต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยกำกับดูแลให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามันทั้ง
๖ โครงการ ให้แล้วเสร็จโดยเร็วในกรอบระยะเวลาที่กำหนด โดยดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่) | กษ. | 14/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่
จำนวน ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดปราจีนบุรี จากเดิม ๑๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๕ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๗) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๙,๐๗๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา
จังหวัดเชียงใหม่ จากเดิม ๑๑ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๖ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๗๐) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐
บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
เร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ควรรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดระยะเวลา ตามนัยข้อ ๗ (๒)
ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรพิจารณาผลกระทบสุขภาพที่เกิดขึ้นกับชุมชนที่เป็นผลมาจากการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ
ควรรายงานความคืบหน้าในการก่อสร้างเสนอคณะลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองและเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเพื่อทราบทุก
๖ เดือน ต่อไป ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างการรับรู้
และการมีส่วนร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. มอหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ประสานงานกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(องค์การมหาชน)
ศึกษาและพัฒนาเทคนิควิธีการสำรวจพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการชลประทานต่าง ๆ
ให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้มีการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการให้ครบถ้วนรอบด้านในทุกมิติ
เพื่อมิให้เกิดปัญหาการดำเนินงานล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ |