ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 6 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 111 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ (ครั้งที่ 3) | กษ. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายหัวนา
จังหวัดศรีสะเกษ (ครั้งที่ ๓) ที่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินและค่าขนย้าย
(ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) ตามผลการตรวจสอบของคณะทำงานแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาระดับอำเภอ
ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบและลงนามรับรองจากคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาระดับจังหวัดศรีสะเกษแล้ว
จำนวน ๔๓๓ แปลง เนื้อที่ ๗๖๕-๓-๓๕.๑๐ ไร่ วงเงินจำนวน ๕๒,๓๔๐,๙๑๘.๗๕ บาท ตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอ
และให้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรให้กรมชลประทานปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณจากโครงการที่หมดความจำเป็นแล้วหรือคาดว่าดำเนินการได้ไม่ทันในปีงบประมาณและขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป
กรมชลประทานควรเร่งรัดแก้ไขปัญหาและจ่ายค่าทดแทนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายให้ถูกต้อง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2560 | ทส. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๖๐ มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไปอีกสองปีนับแต่วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล
เกิดผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ต่อภาครัฐและประชาชนเป็นสำคัญ
และควรเร่งดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงฯ ฉบับใหม่โดยเร็ว เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | โครงการเพื่อการพัฒนาปี 2564 ของการประปาส่วนภูมิภาค | มท. | 11/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาปี ๒๕๖๔ จำนวน ๑๙ โครงการ
วงเงินลงทุนรวม ๖,๐๗๗,๘๐๘,๐๐๐ บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
โดยให้การประปาส่วนภูมิภาคพิจารณาใช้จ่ายเงินลงทุนจากเงินรายได้เป็นลำดับแรก
และหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินกู้วงเงิน ๑,๐๙๖,๑๔๑,๐๐๐ บาท ให้การประปาส่วนภูมิภาคกู้เงินในประเทศ
โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินโครงการให้ถูกต้อง โปร่งใส
และตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร ๐๗๑๕/๕๗๕๐ ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๕)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ควรกำกับดูแลและบริหารโครงการให้สอดคล้องกับแผนงานที่กำหนดไว้
โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมและวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่ขั้นตอนก่อนเริ่มดำเนินโครงการและระหว่างดำเนินโครงการ
ควรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดการน้ำเสียรวมของชุมชนที่เหมาะสมกับสภาพของชุมชน
เพื่อนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมที่เหมาะสม
การรักษาแหล่งน้ำสาธารณะ หรือส่งเสริมการเก็บน้ำในรูปแบบต่าง
ๆ และการดำเนินการในครั้งต่อไป หากมีกรณีการใช้ที่ดินเอกชนการประปาส่วนภูมิภาคต้องดำเนินการจัดซื้อที่ดินดังกล่าวให้แล้วเสร็จก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535 เกี่ยวกับการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน | ทส. | 05/10/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘
กันยายน ๒๕๓๕ (เรื่อง การปรับปรุงภารกิจและโครงสร้างของกรมป่าไม้ และร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ....) เฉพาะในส่วนของการปลูกต้นไม้ในเขตป่าสงวนเสื่อมโทรมที่มีผู้ครอบครองอยู่แล้ว
ที่ขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓
เป็นการอนุมัติให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชนให้ระงับการพิจารณา
เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขครบทั้ง ๕ ประการ
รวมทั้งเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓ (เรื่อง
การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้)
เฉพาะในส่วนของการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน
และเห็นชอบให้ภาคเอกชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่า
ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไปได้
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมีมาตรการรองรับการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยเฉพาะการตรวจสอบสิทธิการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคเอกชนรายใหญ่สามารถซื้อหรือสวมสิทธิ์ของเกษตรกรรายย่อย
การควบคุมไม่ให้มีการรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และการกำหนดเขตพื้นที่ในการเข้าทำประโยชน์ให้ชัดเจน
และคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศจากการปลูกสร้างสวนป่าใกล้บริเวณพื้นที่ที่มีระบบนิเวศเปราะบางและพื้นที่ป่าอนุรักษ์
โดยดำเนินมาตรการดังกล่าวให้รัดกุมเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจฐานรากในประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำการกระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับไปพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมในการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเพิ่มเติมประกอบการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้
เพื่อการปลูกสวนป่าภาคเอกชน โดยส่งเสริมให้เอกชนปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
๕๘ ชนิดด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ | นร.10 | 20/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน | พน. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการก่อหนี้ผูกพัน ข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567 เพื่อดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับแผนแม่บทการพัฒนา เชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี | นร.11 สศช | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๕-๒๕๖๗ จำนวน ๒๘,๒๒๗,๘๐๐ บาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๑๔,๑๑๓,๙๐๐ บาท สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๖๗
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจะได้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
หรือจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมารรายจ่ายประจำปี
เพื่อดำเนินโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | ขออนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการจ่ายเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | พม. | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในการจ่ายเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจ โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด
จำนวน ๙๓๓,๕๕๗,๑๐๐ บาท
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาเห็นชอบให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
และให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กรมกิจการเด็กและเยาวชน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ ที่ควรให้ความสำคัญในการควบคุม
กำกับ ดูแล และดำเนินโครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่า
และเกิดประโยชน์สูงสุด และควรตรวจสอบข้อมูลผู้มาลงทะเบียนให้ถูกต้อง
และกำกับดูแลการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดให้เป็นไปตามระเบียบ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ ตลอดจนกำหนดให้มีกลไกการติดตาม
ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินอุดหนุนดังกล่าวที่ชัดเจน ดำเนินการด้วยความสุจริต โปร่งใส
มีประสิทธิ ภาพ และตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน
รวมถึงภาระการเงินการคลังที่อาจเกิดขึ้นแก่รัฐในอนาคต
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | รายงานประจำปี พ.ศ. 2564 ของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น | นร.01 | 13/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๔ ของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามที่คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเสนอ ทั้งนี้
รายงานประจำปีฯ
ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในคราวประชุมเมื่อวันที่
๑ เมษายน ๒๕๖๕ ด้วยแล้ว โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่ ๑) การจัดทำบันทึกความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๒) การถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา
นวมินทราชินี/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์กรปกครองส่วนจังหวัด ๓) การกำหนดสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลและการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ๔)
การจัดทำร่างกฎหมายที่แก้ไขให้เป็นไปตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งการวินิจฉัยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
๕) การคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี ปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๔ และการส่งเสริมและผลักดันให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการที่ดีส่งผลงานเพื่อสมัครขอรับรางวัล
United Nations Public Service Awards (UNPSA) ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๒ และ ๖)
การติดตามผลการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๔ “ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) กับการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”
การประเมินมาตรฐานขั้นต่ำการบริหารจัดการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการจัดหาเครื่องจักรกลสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง | กษ. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมชลประทาน) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๖๖๓,๘๗๙,๓๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการจัดหาเครื่องจักรกลสูบน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง
รวม ๓ รายการ จำนวน ๒๐๓ เครื่อง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
ที่เห็นว่าควรวางแผนการบริหารจัดการและบำรุงรักษาเครื่องจักรกลสูบน้ำให้เพียงพอ ตลอดจนบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
รวมทั้งขอให้กรมชลประทานจัดทำแผนบริหารจัดการเครื่องสูบน้ำ สถานที่ติดตั้ง
และบูรณาการร่วมกับเครื่องจักรเครื่องมือที่มีอยู่เดิมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไปดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | รายงานประจำปี 2564 ของกองทุนการออมแห่งชาติ | กค. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๔ ของกองทุนการออมแห่งชาติ
ประกอบด้วย ผลการดำเนินงาน แผนการดำเนินงาน รายงานการกำกับดูแลกิจการ และรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองแล้วเห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2537 เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ มกราคม ๒๕๓๗ เรื่อง การตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
และไม้ตาล จากเดิม “เห็นควรให้ความเห็นชอบในหลักการอนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย)
เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส
สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์ กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม
มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี และไม้ตาล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยให้ทดลองดำเนินการในบางพื้นที่ก่อน
เช่นเดียวกับการแปรรูปไม้ยางพาราตามหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒
พฤษภาคม ๒๕๒๔ ทั้งนี้ ในการอนุญาตให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกันพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการอนุญาตและมาตรการตรวจสอบควบคุมเช่นเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ มกราคม ๒๕๓๒” เป็น “อนุญาตให้ตั้งโรงงานแปรรูปไม้
(โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ จากไม้ที่ปลูกขึ้นโดยเฉพาะ คือ ยูคาลิปตัส สะเดาเทียม สนทะเล สนประดิพัทธ์
กระถินณรงค์ กระถินเทพา กระถินยักษ์ มะพร้าว มะขาม มะไฟบ้าน มะปรางบ้าน จามจุรี
ไม้ตาล และไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
โดยมีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และมาตรการตรวจสอบควบคุมตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้กำหนด”
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่าการเพิ่มไม้ผลทุกชนิดที่ปลูกขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน
ต้องมีกฎหมาย ระเบียบ มาตรการ หรือเงื่อนไขกำชับไว้ชัดเจน
ในการนำวัตถุดิบป้อนโรงงานแปรรูปไม้ (โรงเลื่อย) เพื่อผลิตไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับของโรงงาน
ให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรี ระเบียบ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
และควรมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ได้จากอุตสาหกรรมไม้แปรรูปหรือชิ้นไม้สับ
ให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้มีที่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า
ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
และเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้อย่างคุ้มค่า
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม
คณะกรรมการพิจารณาอนุญาตตั้งโรงงานแปรรูปไม้
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการตรวจสอบที่มาของไม้ที่จะนำมาแปรรูปให้ชัดเจนและรัดกุม
เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบตัดไม้จากป่าธรรมชาติ หรือการนำไม้ที่ได้จากที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิมาแปรรูปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในท้องที่ 13 จังหวัดชายฝั่งทะเล | ทส. | 06/09/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓
กรกฎาคม ๒๕๓๔ (เรื่อง
รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศไทย) วันที่ ๒๒
สิงหาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) และวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ (เรื่อง
มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๔๓ เรื่อง
การแก้ไขปัญหาจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
เพื่อดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ในพื้นที่ป่าชายเลน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ในท้องที่ ๑๓ จังหวัดชายฝั่งทะเล
เพื่อนำที่ดินที่เป็นป่าชายเลน เนื้อที่รวม ๕๗๓-๓-๗๘ ไร่
ไปดำเนินการจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชน ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และข้อเสนอแนะของกระทรวงคมนาคม
เช่น ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่
และการคัดกรองคุณสมบัติของราษฎรว่าเป็นผู้ยากไร้หรือไม่มีที่ดินทำกิน
ตลอดจนการสงวนพื้นที่ที่ยังคงสภาพความเป็นพื้นที่ป่าชายเลนหรือป่าชายหาด
รวมถึงการกำหนดให้มีมาตรการป้องกันและคุ้มครองการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มเติมภายหลังจากที่ได้ดำเนินการตามเป้าหมายการจัดการที่ดินทำกินให้ชุมชนดังกล่าว
ควรกำหนดให้ชุมชนที่ได้รับอนุญาตให้ทำกินในป่าชายเลนดังกล่าวมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้มากยิ่งขึ้นจากที่เป็นอยู่ด้วย
เพื่อให้การใช้ประโยชน์ป่าชายเลนเป็นไปอย่างยั่งยืน หน่วยงานดำเนินการตามมาตรา ๖๒
ห้ามมิให้ผู้ใดทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้ผิดไปจากสภาพที่เป็นอยู่เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อให้การจัดที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้ชุมชนเป็นไปอย่างถูกต้องตามพระราชกำหนดการประมง
พ.ศ. ๒๕๕๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมต่อไป เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | การประชุม International Tiger Forum ครั้งที่ 2 ณ สหพันธรัฐรัสเซีย | ทส. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | ขอผ่อนผันการใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อทำเหมืองแร่ ของนายประสาน ยุวานนท์ ที่จังหวัดนครราชสีมา | อก. | 30/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติให้นายประสาน
ยุวานนท์ ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕
(เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเรื่อง
การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำมูลและชี และข้อเสนอแนะมาตรการการใช้ที่ดินในเขตลุ่มน้ำ)
วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓ (เรื่อง การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้)
และวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ [เรื่อง
ขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ ชั้นที่ ๑ บี ๑ เอเอ็ม และ๑ บีเอ็ม
เพื่อทำเหมืองแร่ ของบริษัท พีทีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ที่จังหวัดสระบุรี]
เพื่อเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๓๕ (เรื่อง
การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ)
เพื่อเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม
สำหรับการทำเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างที่จังหวัดนครราชสีมา
ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | ขออนุมัติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง | ทส. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | รายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ | ศป. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ | กค. | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์
๒,๙๒๓,๓๙๗,๒๕๐ บาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลัง
(กรมสรรพสามิต) รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่เห็นควรเร่งรัดให้มีการเบิกจ่ายและจัดการงบประมาณไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยด่วน
เร่งหามาตรการส่งเสริมให้เกิดผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญในรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ
ควรมีกลไกการติดตามมาตรการส่งเสริมอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์ของมาตรการและผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากมาตรการส่งเสริมจริง
สนับสนุนการผลิตและใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าในกลุ่มรถโดยสารตั้งแต่ขนาด ๑๒ ที่นั่ง
ไปจนถึงขนาดมากกว่า ๓๐ ที่นั่ง รวมถึงการบรรทุกสำหรับการขนส่งและโลจิสติกส์
ควรพิจารณาหาวิธีการใช้งบประมาณจริงอย่างประหยัด
ควรเร่งรัดและส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดให้เพียงพอสำหรับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศ
ควรสนับสนุนกลไกทางกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และสังคมเพื่อนำไปสู่แนวทางการจัดเก็บ
รวบรวม นำกลับมาใช้ใหม่ รีไซเคิล ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ | นร.12 | 23/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ (เรื่อง
รายงานการประเมินผลองค์การมหาชนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๖ มกราคม
๒๕๕๘ เรื่อง การทบทวนความจำเป็นในการมีอยู่ขององค์การมหาชน)
และให้พิจารณาการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ต่อไป
ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอ ๒. ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่ควรเร่งดำเนินการจัดทำข้อมูลในรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่า
ต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
จากการดำเนินการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์
เปรียบเทียบกับการจัดตั้งสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเป็นองค์การมหาชน
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาทบทวนแนวทางในการดำเนินการ
โดยคำนึงถึงภาระด้านงบประมาณของภาครัฐ
และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการอย่างรอบด้าน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน | นร.12 | 16/08/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้กระทรวงแรงงาน
(กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน) ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔
เมษายน ๒๕๖๐ (เรื่อง การปรับปรุงแนวทางการจัดส่วนราชการในภูมิภาค)
กรณีจัดตั้งราชการบริหารส่วนกลางในภูมิภาคเพิ่มใหม่ และให้ สำนักงาน ก.พ.ร.
ประเมินผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าของการจัดตั้งสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน
ตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๕ (เรื่อง
การปรับปรุงแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม) ต่อไป ๒. ให้กระทรวงแรงงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ
รวมทั้งข้อเสนอแนะของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
ควรบริหารอัตรากำลังที่มีอยู่เดิมให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยต้องไม่ขอรับการจัดสรรอัตรากำลังเพิ่มใหม่เพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐในภาพรวม
สำนักงาน ก.พ.ร. ควรกำหนดหลักการและแนวทางการยุบเลิกส่วนราชการดังกล่าวต่อไปด้วย
และเร่งพัฒนาศักยภาพหน่วยงานให้สอดคล้องกับการปรับบทบาทและโครงสร้างใหม่
เพื่อให้สามารถพัฒนาแรงงานที่มีสมรรถนะสูง ที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศ
และงานในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |