ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 6 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 111 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา | สว. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental
Assessment : SEA) ของคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วุฒิสภา ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้ (๑)
ปัญหานโยบายและการดำเนินการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้นำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อทราบถึงความก้าวหน้าในการดำเนินการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
รวมทั้งได้ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. .... เพื่อเป็นแนวทางและกำหนดแผนในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(๒)
ปัญหากฎหมายและระเบียบที่รองรับหรือบังคับให้หน่วยงานหรือเจ้าของแผนงานต้องจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
พ.ศ. ....
เสนอคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนพิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป (๓)
ปัญหาหน่วยงานรับผิดชอบหลักการดำเนินการและพัฒนาระบบการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้พัฒนาความรู้และประสบการณ์ด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านการจัดทำโครงการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
(๔) ปัญหากระบวนการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และจัดทำคู่มือเพื่อการสื่อสารสาธารณะ
เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ และ
(๕)
ปัญหาขีดความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
ได้เตรียมการรองรับภารกิจและสร้างความพร้อมของหน่วยงานในการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
โดยจัดฝึกอบรมทางวิชาการด้านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
เป็นต้น ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการดำเนินโครงการหลวง จำนวน 39 โครงการ | ทส. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. อนุมัติผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรี
เพื่อดำเนินโครงการหลวง จำนวน ๓๙ โครงการ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
ดังนี้
๑.๑ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๓
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ในเขตพื้นที่ต้นน้ำชั้นที่
๑
๑.๒ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ และวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๓๕
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม
(โซนซี)
๑.๓ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๒๘ วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๙
และวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
ในการอนุญาตให้มูลนิธิโครงการหลวงเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ เอ
ลุ่มน้ำชั้นที่ ๑ บี และลุ่มน้ำชั้นที่ ๒ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เช่น (๑)
การดำเนินกิจกรรมของโครงการหลวงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อพื้นที่ต้นน้ำและทรัพยากรป่าไม้ในบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์
(๒)
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรน้ำที่สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
๒๐ ปี ด้วย ตัวอย่างเช่น การอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศทั้งลุ่มน้ำ
และ (๓) หากมีการดำเนินการใด ๆ ในแม่น้ำลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ ทะเล หรือบนชายหาดของทะเลต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย
พระพุทธศักราช ๒๔๕๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และขอให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยเคร่งครัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ) | มท. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นางนิศากร วิศิษฏ์สรอรรถ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ
(นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย
เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์) | กค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง
นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเงินการคลัง)
ในคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝากแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ขอลาออก
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) เป็นต้นไป โดยผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | แนวทางการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้า | กค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมถอนเรื่องนี้คืนไปได้
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และข้อเสนอแนะของกระทรวงคมนาคม
ที่เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องความพร้อมของการดำเนินการ และประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการดังกล่าวให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบในโอกาสแรก
อันจะเป็นโอกาสในการเข้าถึงบริการแห่งรัฐอย่างครบวงจร สามารถบรรเทาความเดือดร้อน
และเกิดผลสัมฤทธิ์ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุดในการดำเนินโครงการฯ
ควรพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานหรือแนวปฏิบัติที่มีความชัดเจนในการดำเนินการในกรณีวงเงินคงเหลือไม่พอดีกับค่าโดยสารที่ต้องชำระ
โดยเฉพาะกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ Version ๒๕ รวมทั้งประชาสัมพันธ์การดำเนินการดังกล่าวให้ชัดเจนและทั่วถึงเพื่อให้ผู้มีสิทธิสามารถใช้วงเงินค่าโดยสารระบบขนส่งมวลชนสาธารณะได้เต็มตามสิทธิที่ควรได้รับในแต่ละเดือน
และขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนหลักธรรมาภิบาล ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | สผ. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซี่งสำนักงานศาลปกครอง
โดยคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้พิจารณาข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ของสภาผู้แทนราษฎร
ในประเด็นที่เกี่ยวกับการพิจารณาดำเนินการให้ข้าราชการตุลาการศาลปกครอง
ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
และพนักงานราชการและลูกจ้างของสำนักงานศาลปกครองซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่พิเศษในศาลปกครองยะลา
ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษ เงินสวัสดิการ เงินรางวัลหรือค่าตอบแทนอื่นใด
ซึ่งมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ตั้งแต่วันที่เจ้าหน้าที่ดังกล่าวเริ่มปฏิบัติหน้าที่ที่ศาลปกครองยะลาร่วมกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) และสำนักงบประมาณ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีแล้ว
เห็นว่าเนื่องจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่
๑๔) พ.ศ. ๒๕๖๔
มิได้บัญญัติให้คณะกรรมการบริหารศาลปกครองมีอำนาจออกระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยค่าตอบแทนพิเศษในพื้นที่เสี่ยงภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงานในศาลปกครองยะลา พ.ศ. ๒๕๖๔
โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ศาลปกครองยะลาเปิดทำการได้
หากจะดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ดังกล่าว
อาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจยังไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการในขณะนี้
สำหรับในประเด็นข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของวุฒิสภา
ที่เกี่ยวกับระเบียบเกี่ยวกับเงินค่าตอบแทนพิเศษรวมทั้งสิทธิและประโยชน์อื่นที่จะออกตามมาตรา
๔๑/๘ (๘)
ควรมีเนื้อหาและกลไกที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้ศาลปกครองสามารถพิจารณาพิพากษาคดีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
สำนักงานศาลปกครองได้รายงานว่าปัจจุบันได้มีระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลปกครอง
ว่าด้วยการปฏิบัติงานในวันหยุดราชการเพื่อเร่งรัดคดีของศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๖๕
เพื่อให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
ซึ่งคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้มีมติให้รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตดังกล่าวไปยังสภาผู้แทนราษฎร
วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ขอความเห็นชอบในหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 | มท. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบหลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
กรณีฉุกเฉิน กรณีอุทกภัย จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ งบกลาง
รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
เพื่อจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี ๒๕๖๕ จำนวน ๑,๐๔๖,๔๖๐
ครัวเรือน วงเงิน ๖,๒๕๘,๕๔๐,๐๐๐ บาท ตามข้อมูลครัวเรือนผู้ประสบภัยเบื้องต้น
ซึ่งเป็นจำนวนครัวเรือนจากการสำรวจเบื้องต้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัด ๖๖
จังหวัด ที่อยู่ในพื้นที่ได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัยเบื้องต้นหรือประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นหน่วยรับงบประมาณและจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยผ่านธนาคารออมสิน
ให้เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ลักษณะเงินอุดหนุนทั่วไป
รวมทั้งให้สามารถถัวจ่ายข้ามจังหวัดได้ ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณ (หนังสือสำนักงบประมาณ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๗๐๔/๑๒๑๓ ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๕)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(หนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๒๕/๖๗๗๖
ลงวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๕) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เป็นไปตามนัยพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์
พ.ศ. ๒๕๖๕ ตลอดจนกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ๒.
ให้กระทรวงมหาดไทยได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบและรับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐ (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ ๒ จำนวน ๑๑ จังหวัด และให้หน่วยงานที่มีดินอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่ตามแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จ ภายใน ๓๖๐ วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้ตามเหตุผลความจำเป็นแต่ไม่เกิน
๑๘๐ วัน หากมีผู้ใดได้รับผลกระทบดังกล่าว
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
รวดเร็ว เหมาะสม ตามควรแก่กรณี โดยเป็นไปตามกฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมาย มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด
สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีราษฎรถือครองทำกิน พื้นที่ที่มีศักยภาพทำการเกษตรไม่คุ้มค่า
พื้นที่หล่อแหลมคุกคามต่อระบบนิเวศ และพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วมกันนั้น
ขอให้กันไว้ใช้ในกิจกรรมของกรมป่าไม้ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม
๒๕๓๗ ในการเสนอออกกฎหมายของหน่วยงาน
ควรพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายที่จะให้การรับรองและความคุ้มครองหน่วยงานของรัฐ
เจ้าหน้าที่รัฐ
และผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ
และควรมีการกำกับและติดตามผลการดำเนินการเพื่อให้สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนที่วางไว้และเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมพัฒนาที่ดิน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดพิจารณาแนวทางการดำเนินการ
กรณีพื้นที่กันออกจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
ที่ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓ [เรื่อง
การจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดขอนแก่น (เฉพาะแห่ง)] ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน
ถูกต้อง ตรงกัน รวมทั้งให้เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวให้แล้วเสร็จและเป็นรูปธรรมโดยเร็วด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ขอความเห็นชอบโครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming Biodiversity-based Tourism in Thailand to Support Sustainable Tourism Development) | ทส. | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | แนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) | นร.12 | 15/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ดังนี้ ๑. รับทราบแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น
(แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) และแนวทางการขับเคลื่อน ๒. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง
โดยคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด (คบจ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการ
ดังนี้ ๒.๑
นำแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น)
ไปใช้เป็นเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น
และให้ประเมินตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
โดยใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ในการประเมินและให้พิจารณาคัดเลือก อปท. ให้ครอบคลุมทุกประเภท ยกเว้น อปท.
รูปแบบพิเศษ ๒.๒ ในการณีที่ คบจ.
พบประเด็นที่ควรเพิ่มความเข้มแข็ง ปัญหา หรือข้อจำกัดจากการประเมิน
สามารถให้ความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติอย่างเหมาะสมโดยตรงหรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งเสนอแนะหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.๓
นำข้อมูลเผยแพร่ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมทั้งสาธารณชนภายในจังหวัดได้รับทราบเพื่อร่วมกันส่งเสริมและผลักดันให้ อปท.
มีศักยภาพในการบริหารการเงินและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๓. ให้กระทรวงการคลังสรุปและรายงานผลการประเมินในภาพรวม
และแผนการดำเนินการในระยะต่อไปต่อ ก.พ.ร.
เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น
และให้ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความเข็มแข็งการให้บริการประชาชนในพื้นที่ โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เห็นควรกำหนดตัวชี้วัดที่สะท้อนการดำเนินงานของ
อปท. เพื่อบรรลุเป้าหมายและตัวชี้วัดของผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำหนดไว้
ในปีถัดไปควรทำประเมิน อปท. ให้ครบทุกแห่งทั่วประเทศ
รวมทั้งควรมีการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในแนวทางประเมินให้กับท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
เพื่อให้การประเมินเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
และแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น ด้านรายได้
ควรที่จะกำหนดตัวชี้วัดให้ครอบคลุมทุกประเภทรายได้ของ อปท. ด้านงบประมาณรายจ่าย
เนื่องจากงบประมาณรายจ่ายของ อปท.
จะมีความสัมพันธ์กับรายได้ที่เป็นภาษีที่รัฐจัดเก็บและแบ่งให้ อปท.
รวมทั้งเงินอุดหนุนทั่วไปซึ่งเป็นรายได้หลักที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลโดยจัดสรรเป็นงวดและไม่มีระยะเวลาที่แน่นอนในการจัดสรรทำให้ส่งผลต่อการประเมินประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของ
อปท. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง | กต. | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๕๕
และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องตามนัยสรุปประเด็นสำคัญสำหรับการติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
เพื่อนำไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป โดยมีรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เข้าร่วมประชุมฯ
โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ (๑) การสร้างประชาคมอาเซียน เช่น
การสนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาตามหัวข้อหลัก “ASEAN
A.C.T. : Addressing Challenges Together” และการเตรียมความพร้อมความร่วมมือกับประเทศที่เป็นที่ตั้งสำนักงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่
และการรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม จำนวน ๑๑ ฉบับ (๒)
ประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาคและระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในเมียนมาและช่องแคบไต้หวัน
และ (๓) ความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอก เช่น
ไทยได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC
โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รวม ๖ ฉบับ)
โดยในส่วนของยูเครนยังมิได้มีการลงนามตราสารฯ เนื่องจากเมียนมายังดำเนินกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เช่น ควรดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
ควรมีการยกระดับการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในประเด็นการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ
ขยะมูลฝอย และขยะพลาสติก
และประเด็นความมั่นคงในบางกรอบการประชุมอาเซียนที่ไม่ได้มอบหมายให้มีการติดตาม
อาทิ การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งสำนักงานฯ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... | นร.01 | 08/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(ฉบับปรับปรุง)
กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบและสภาพการณ์ปัจจุบัน
ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงศึกษาธิการ
และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เช่น ในการกำหนดบทนิยามคำว่า
“บุคคลในครอบครัว” ตามข้อ ๔ แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว
ควรบัญญัติบทคำนิยามคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ให้สอดคล้องกับบทนิยามคำว่า
“คู่ชีวิต”
ตามร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วและปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา
ข้อคิดเห็นในข้อที่ ๙ ควรพิจารณาเพิ่มข้อความว่า
“ของขวัญนั้นต้องไม่จูงใจให้เกิดการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
หรือเอื้อประโยชน์ให้แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ควรปรับปรุงร่างข้อ ๑๒ วรรคสาม
โดยใช้คำว่า “บุคคลในครอบครัว” เนื่องจากมีการกำหนดไว้ในบทนิยาม เป็นต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้
รวมถึงการให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐทุกระดับเพื่อให้รับทราบและสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
และให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างกลไกเพื่อบังคับใช้ร่างระเบียบดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
ปรับหลักเกณฑ์หรือสาระให้สอดคล้องกับกฎหมายที่มีอยู่ เช่น
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๔
และพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น
และควรนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลบันทึกรายงานเกี่ยวกับการรับของขวัญด้วย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวกรอบ ACMECS ครั้งที่ 5 | กก. | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน | นร.12 | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน ที่กำหนดโครงสร้างและองค์ประกอบ
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม อำนาจหน้าที่ การประชุม การประเมินผลงาน และการบังคับใช้
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง
ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรเพิ่มคุณสมบัติของประธานกรรมการตรวจสอบให้มาจากการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การมหาชนเพื่อให้การเสนอแนะและการให้ข้อคิดเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กรณีที่กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบต้องอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่
อาจแปลความหมายในลักษณะบทบาทเจ้าหน้าที่ประจำหรือไม่
หรือหากต้องการกำหนดชัดเจนว่าบุคคลหนึ่งห้ามเป็นคณะกรรมการตรวจสอบในองค์การมหาชนหรือคณะกรรมการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันก็ควรกำหนดให้ชัดเจนไปเลยในลักษณะเช่นเดียวกับคณะกรรมการองค์การมหาชน
สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบฯ
เห็นสมควรให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๖ ไปดำเนินการ และ/หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ขอรับการสนับสนุนการดำเนินโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วนราชการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี พ.ศ. 2565-2570 ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ | นร.14 | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการโครงการซ่อมแซมแหล่งน้ำขนาดเล็กของส่วนราชการที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ ของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริในกรอบวงเงิน
๕๓๑.๓๕๙๗ ล้านบาท ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเลื่อนระยะเวลาโครงการจากปี พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๗๐ เป็น
ปี พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐ ตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำหรับการดำเนินโครงการและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
และในปีต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดินและกรมชลประทาน)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมทรัพยากรน้ำ)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมพัฒนาที่ดินและกรมชลประทาน) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(กรมทรัพยากรน้ำ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการกำกับดูแลโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลให้ถูกต้องและครบถ้วนในทุกขั้นตอน
เร่งรัดการถ่ายโอนแหล่งน้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเมื่อดำเนินโครงการซ่อมแซมแล้วเสร็จ
คำนึงถึงความจำเป็นและภารกิจของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ควรวางระบบติดตามผลการดำเนินงานควบคู่ไปด้วยเพื่อประกอบการตัดสินใจในการดำเนินโครงการในระยะต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การจัดทำร่างสัญญา IUCN Advisory Mission to the World Heritage property : Kaeng Krachan Forest Complex (THAILAND) | ทส. | 25/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (COP 27) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง | ทส. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ขอความเห็นชอบร่างข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินโครงการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยอาศัยระบบนิเวศในบริบทความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาในลุ่มน้ำโขง | ทส. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การให้ความเห็นชอบและรับรองเอกสารแนวคิดเรื่องยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน | พณ. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ข้อเสนอเพื่อกำหนดมาตรการสำคัญในการแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติดที่เป็นรูปธรรม | ยธ. | 18/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการกำหนดมาตรการสำคัญในการแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติดที่เป็นรูปธรรม
ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบมาตรการสำคัญ ๔
ประเด็นหลักที่ต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว
เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติดอย่างจริงจัง
รวมทั้งควรกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดำเนินการในแต่ละประเด็น ได้แก่ ๑)
มาตรการเกี่ยวกับอาวุธปืน ๒) มาตรการด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
๓) มาตรการด้านการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด และ ๔)
มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
โดยให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาปรับปรุงหน่วยงานรับผิดชอบหลักในมาตรการ
๔.๒ ด้วย และให้กระทรวงยุติธรรม หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามอำนาจหน้าที่/บูรณาการการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง
เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืนโดยเร็วต่อไป
โดยให้ผู้บังคับบัญชาในแต่ละชั้นกำกับดูแลการปฏิบัติงานของพนักงาน/เจ้าหน้าที่ให้ถูกต้อง
เหมาะสม โดยไม่สร้างความเดือดร้อนและความไม่สะดวกแก่ประชาชนเกินความจำเป็น ทั้งนี้
ให้กระทรวงยุติธรรมรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินการในภาพรวมเสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายใน ๙๐
วัน ๒.
ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาอาวุธปืนและยาเสพติดตามข้อ ๑
ในส่วนของพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู
ซึ่งมีการระบาดของยาเสพติดสูงและได้เกิดเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
นั้น ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงยุติธรรม
กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้บรรลุผลเป็นที่ประจักษ์โดยด่วน
เพื่อให้จังหวัดหนองบัวลำภูเป็นต้นแบบของ “พื้นที่สีขาว”
ที่มีความยั่งยืนและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นต่อไป ทั้งนี้
ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีทุก ๓๐
วัน ๓. ให้กระทรวงยุติธรรมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|