ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 6 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 113 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ | ตช. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ
ออกไปอีก ๕ ปี (พ.ศ.๒๕๖๘ - ๒๕๗๒) ในวงเงินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม
๒๕๖๑ ได้อนุมัติไว้ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายในกรอบระยะเวลาที่ได้รับการขยายในครั้งนี้
โดยดำเนินการให้ถูกต้อง โปร่งใส เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงพลังงาน
สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงพลังงาน เห็นควรพิจารณาการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
ประหยัดคุ้มค่า และให้ดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรที่คณะรัฐมนตรีจะได้กำชับให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดแผนการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ชัดเจน
มีกำหนดแล้วเสร็จแน่นอน เพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
(องค์การมหาชน) เพื่อพิจารณาทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดของโครงการฯ ให้เหมาะสม
ทันสมัย เป็นปัจจุบัน มีช่องทางการแจ้งเหตุฉุกเฉินที่หลากหลาย ครบถ้วน
แล้วให้กำหนดแผนการดำเนินงานต่าง ๆ
และกรอบระยะเวลาของแผนดังกล่าวให้ชัดเจนก่อนดำเนินการต่อไป
โดยไม่ควรมีการขยายระยะเวลาอีก |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 5 สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน ของกรมทางหลวง | คค. | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข
๕ สายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต - บางปะอิน ตามหลักการของโครงการฯ
ที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนได้พิจารณาให้ความเห็นชอบ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้กระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) รับข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณ รวมทั้งความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นควรจัดทำแผนการบริหารจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้างอย่างรอบคอบและรัดกุม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรับบริจาคและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.01 | 24/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อสร้างกิจการรถไฟฟ้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ในท้องที่อำเภอเมืองนนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และเขตหลักสี่ เขตบางเขน เขตคันนายาว เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติกำหนดภาระในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ในท้องที่เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ | คค. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. 2568) | คค. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข
๙ ภายในระยะเวลาที่กำหนด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ และทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ของปี พ.ศ. ๒๕๖๘ ตั้งแต่เวลา ๐๐.๐๑
นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๖๗ ถึงเวลา ๒๔.๐๐ นาฬิกา ของวันพฤหัสบดีที่
๒ มกราคม ๒๕๖๘ เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเดินทางบนทางหลวงพิเศษในช่วงเทศกาลดังกล่าว
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงคมนาคมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เห็นควรกำหนดมาตรการหรือแนวทางในการบริหารจัดการจราจรและดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
โดยเฉพาะการกำชับให้ผู้ขับขี่ใช้อัตราความเร็วที่เหมาะสมกับโครงสร้างทางกายภาพของถนนและการบังคับใช้กฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้มีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับเอกชน
และจัดทำระบบป้องกันอุบัติเหตุบนถนนและระบบแจ้งเตือนอุบัติเหตุ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางของประชาชนให้เกิดความสะดวกรวดเร็วและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 11 (1 กุมภาพันธ์-30 เมษายน 2567) | นร.11 สศช | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | กค. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยกำหนดให้ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของโรงผลิตน้ำประปาและโรงผลิตน้ำประปา
รวมถึงที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นที่ใช้ประโยชน์เกี่ยวเนื่องกับการผลิตน้ำประปา
ได้รับลดภาษีในอัตราร้อยละ ๕๐ ของจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย
และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๘ เป็นต้นไป
เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) ที่ต้องเริ่มดำเนินการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.
๒๕๖๘ อันจะทำให้ อปท.
สามารถจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปาให้แก่กิจการผลิตน้ำประปาซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
ดังนี้ สำนักงบประมาณ เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ ความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ
ให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้อง ครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การขอต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 3/2539/50 แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข B8/38 | พน. | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ เมดโค เอนเนอร์จี ไทยแลนด์ (บัวหลวง) ลิมิเต็ด
และเมดโค เอนเนอร์จี ไทยแลนด์ (อีแอนด์พี) ลิมิเต็ด
ต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมสำหรับสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ ๓/๒๕๓๙/๕๐ แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทยหมายเลข
B8/38
ออกไปอีก ๑๐ ปี นับตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๗๘ ทั้งนี้
กระทรวงพลังงานจะได้ออกเป็นสัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) ของสัมปทานปิโตรเลียมเลขที่
๓/๒๕๓๙/๕๐ ตามแบบ ชธ/ป๓/๑ ที่กำหนดในกฎกระทรวงกำหนดแบบสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๕๕
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้กระทรวงพลังงาน (กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นควรมอบหมายให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกำกับให้ผู้รับสัมปทานดำเนินการให้เป็นไปตามสัญญา
โดยเฉพาะในส่วนของงานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียมของประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | รายงานสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ณ เดือนเมษายน 2567 | นร.11 สศช | 17/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 | คค. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | รายงานผลการดำเนินงานและขอปรับปรุงแนวทางดำเนินงานตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง | กษ. | 11/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | แผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน | พน. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... และการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมระบบตั๋วร่วม | คค. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การอนุญาตให้ผู้ควบคุมอากาศยานต่างชาติ (นักบิน) ทำการบินในเส้นทางการบินภายในประเทศเป็นการชั่วคราว | รง. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการอนุญาตให้ผู้ควบคุมอากาศยานต่างชาติ
(นักบิน) ทำการบินในเส้นทางการบินภายในประเทศเป็นการชั่วคราว
โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๔ แห่งพระระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
พ.ศ. ๒๕๖๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อยกเว้นให้ผู้ควบคุมอากาศยานต่างชาติ
(นักบิน) ที่มาพร้อมอากาศยาน (เครื่องบิน) สามารถทำงานได้เป็นการชั่วคราว และเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักร เป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ประจำหน้าที่นักบิน
หรือผู้ควบคุมอากาศยานในอากาศยานด้วยวิธีการเช่าพร้อมผู้ประจำหน้าที่ (Wet Lease) และประชาสัมพันธ์
สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้นายจ้าง ผู้ประกอบการ คนต่างด้าว
และผู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบข้อมูลการดำเนินการดังกล่าวอย่างทั่วถึง ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ๒. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
สำหรับคนต่างด้าวที่จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ประจำหน้าที่นักบินประจำอากาศยานด้วยวิธีการเช่าพร้อมผู้ประจำหน้าที่
(Wet Lease) ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงคมนาคม
สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดังนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมชื่อร่างประกาศเป็น
“ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง
การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้ประจำหน้าที่นักบินประจำอากาศยานด้วยวิธีการเช่าพร้อมผู้ประจำหน้าที่
(Wet Lease) ตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ”
เพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เพิ่มการกำหนดขอบเขตการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามร่างประกาศนี้ให้ชัดเจนว่าคนต่างด้าวมีสิทธิทำงานเฉพาะงานขับขี่เครื่องบินในประเทศกับผู้ดำเนินการเดินอากาศและอากาศยานที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้งที่ได้รับจากสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย
และจะทำงานอื่นหรือทำงานกับนายจ้างรายอื่นมิได้ (ร่างข้อ ๔) เป็นต้น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2566 เรื่อง การพัฒนาเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ | สกพอ. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | มาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล สำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์-ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์-รังสิต) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | คค. | 29/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด ๒๐ บาท
ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาลสำหรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง สายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ -
ตลิ่งชัน) และสายธานีรัถยา (กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต) ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม
๒๕๖๗ จนถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๘
โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยขอรับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเพื่อชดเชยการขาดรายได้ส่วนต่างค่าโดยสารตามจริง
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ๒. รับทราบมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด ๒๐ บาท
ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาลสำหรับรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง)
ตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ จนถึงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๘
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๓.
ให้กระทรวงคมนาคมประเมินผลการดำเนินมาตรการตามข้อ ๑ และ ๒
เมื่อสิ้นปีงบประมาณโดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน
เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการดำเนินมาตรการดังกล่าวในปีถัดไป ๔. ให้กระทรวงคมนาคม
การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยร่วมกันพิจารณาปรับปรุงวิธีการเก็บค่าโดยสารของผู้โดยสารที่เดินทางข้ามระหว่างรถไฟชานเมืองสายสีแดงสายนครวิถี (กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน)
และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ให้งดการจ่ายค่าโดยสารซ้ำซ้อนกันในทุกกรณีสำหรับทุกประเภทบัตรโดยสาร
รวมทั้งให้เร่งเตรียมการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม
พ.ศ. ....
และการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อลดการเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนในกรณีที่มีการเดินทางข้ามระหว่างสายรถไฟต่าง
ๆ และลดภาระประชาชนที่ต้องใช้บัตรโดยสารหลายประเภทต่อไป ๕. ให้กระทรวงคมนาคม
การรถไฟแห่งประเทศไทย และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น สำนักงบประมาณ เห็นว่าการขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยการขาดรายได้ส่วนต่างค่าโดยสารตามจริงของการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทยนั้น
ควรให้การรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทยพิจารณาจัดทำรายละเอียดให้ถูกต้องครบถ้วนตามส่วนต่างรายได้ค่าโดยสารที่เกิดขึ้นจริง
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 30 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | คค. | 19/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | เอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปค และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี 2567 | กต. | 12/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การแยกบัญชีโครงการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพของธนาคารออมสินเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) | กค. | 12/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแยกบัญชีโครงการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพของธนาคารออมสินเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ
(Public Service Account : PSA) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เพื่อเป็นการเสริมสภาพคล่องและบรรเทาภาระหนี้สินของประชาชนเป็นการเร่งด่วน
ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นวงกว้าง
และเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการกำกับดูแล
การตรวจสอบและการประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการทำหน้าที่เป็นกลไกของรัฐเพื่อฟื้นฟูและช่วยเหลือกลุ่มประชาชนและธุรกิจเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น
และเพื่อเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (ธนาคารออมสิน)
รับความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non - Performing
Loans : NPLs) จากการดำเนินโครงการสินเชื่อสร้างงานสร้างอาชีพของธนาคารออมสินไว้ทั้งหมด ให้กระทรวงการคลัง (ธนาคารออมสิน)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เห็นควรมีการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ผ่านสื่อทุกประเภท
โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงจัดทำสื่อที่เหมาะสมสำหรับคนพิการทุกประเภท อาทิ
เสียงบรรยายภาพ (Audio Description : AD) สำหรับคนพิการทางการเห็น
คำบรรยายแทนเสียง (Closed Captions : CC) สำหรับคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
และหนังสือที่อ่านเข้าใจง่าย (Easy Read) สำหรับคนพิการ ทางสติปัญญาหรือออทิสติก
ฯลฯ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ วัตถุประสงค์ และขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการของสหกรณ์แต่ละประเภทที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ. .... | กษ. | 12/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะ วัตถุประสงค์ และขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการของสหกรณ์แต่ละประเภทที่จะรับจดทะเบียน
พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน
วัตถุประสงค์ และขอบเขตแห่งการดำเนินกิจการที่จะพึงดำเนินการได้ของสหกรณ์แต่ละประเภท
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|