ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 | นร.12 | 09/05/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
ประกอบด้วย (๑) กรอบการดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานและวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานระดับเริ่มต้นและระดับมาตรฐานซึ่งเป็นการจัดทำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ในระยะแรกตามมาตรา
๑๙ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๖๕ และ (๒) ให้หน่วยงานของรัฐนำงานบริการมาให้บริการบนแพลตฟอร์มดิจิทัล
(Biz
Portal และ Citizen Portal)
โดยให้หน่วยงานที่ยังไม่มีช่องทางการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์นำงานบริการมาพัฒนาระบบแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางดังกล่าว
เป็นทางเลือกแรก และให้หน่วยงานที่มีงานบริการที่พัฒนาเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ทางเลือกแล้วนำงานบริการมาเชื่อมโยงกันกับแพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง
โดยมอบให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเป็นผู้พิจารณากรอบเวลาดำเนินการ สำหรับ ๒
กรณีดังกล่าว และติดตามเป็นระยะ
เพื่อให้งานบริการของรัฐอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยเร็ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
และให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์)
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็น
ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เช่น ขอให้หน่วยงานที่ร่วมกันจัดทำแนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง
๔ หน่วยงาน สนับสนุนหน่วยงานของรัฐในด้านต่าง ๆ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||
2 | ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2565 | นร.11 สศช | 17/01/2566 | ||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม
ปี ๒๕๖๕ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑) ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสาม ปี ๒๕๖๕ เช่น
สถานการณ์แรงงานที่มีการจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๑
เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม หนี้สินครัวเรือนชะลอตัวร้อยละ
๓.๕ เนื่องจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ
และการเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๗๕.๔ เช่น โรคมือ เท้า ปาก
และโรคไข้หวัดใหญ่ ๒) สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ จำนวน ๓ เรื่อง ได้แก่ (๑) ภาวะโลกร้อนโดยความท้าทายของไทย
เช่น การขาดทิศทางการวิจัยด้านการเกษตร
เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการขาดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะช่วยลดภาวะโลกร้อน
ดังนั้น ไทยต้องให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ เช่น การปรับรูปแบบการทำเกษตรกรรมให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนให้กับประชาชน
(๒) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) : การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาของเด็กไทยให้ยั่งยืน กยศ. มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาให้กับนักเรียนและนักศึกษาผ่านการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา พบว่า ผู้กู้ยืมจาก
กยศ. ที่ผิดนัดชำระหนี้กว่าร้อยละ ๖๕ สาเหตุการผิดนัดชำระหนี้ เช่น
การขาดวินัยทางการเงิน กลไกการชำระหนี้ และกฎเกณฑ์ไม่เอื้อต่อการปรับโครงสร้างหนี้
ดังนั้น ควรนำลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ และ (๓) เสรีกัญชา
โดยไทยต้องให้ความสำคัญในการควบคุมการผลิตการเพาะปลูกกัญชา
และกำหนดปริมาณกัญชาที่สามารถซื้อขายหรือถือครองได้ เป็นต้น และ ๓) บทความเรื่อง “มองคนจนหลายมิติ
ปี ๒๕๖๔ ปัญหาที่มิใช่แค่เรื่องเงินเท่านั้น” โดยความจนมีหลายมิติ เช่น
มิติด้านการศึกษา พบว่า มีการหลุดออกนอกระบบการศึกษาเพิ่มขึ้น
มิติด้านการใช้ชีวิตในแบบที่ดีต่อสุขภาพ พบว่า มีการเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดที่จำกัด
ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาความยากจน เช่น การพัฒนาระบบข้อมูลระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ให้มีการบูรณาการร่วมกันและการจัดทำมาตรการในรูปแบบชุดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|