ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 6030 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 120595 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | แนวทางการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน | นร.01 | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
ตามที่สมัชชาคนจนได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาซึ่งประเด็นปัญหาส่วนใหญ่หน่วยงานของรัฐได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องและรัฐบาลอยู่ระหว่างการเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนเพื่อมาพิจารณาข้อเรียกร้องดังกล่าว
ประกอบกับมีหลายกรณีเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาดำเนินการในระดับนโยบาย
ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาให้ความเห็นประกอบการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาตามหน้าที่และอำนาจ
โดยละเอียดรอบคอบและเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวมีความจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการรวบรวม
ข้อมูล ข้อเท็จจริงในการแก้ไขปัญหา
อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายกรณีปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนของประชาชนและอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขปัญหาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
หากปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนไม่ได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่องจนได้ข้อยุติ
อาจเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
และทำให้กลุ่มประชาชนผู้ไร้ที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินมีจำนวนที่สูงขึ้น
และนำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน
และกำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องด้วยความเรียบร้อย
ตามที่คณะกรรมการกำกับติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของมวลชนเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา | สว. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี (เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมายและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี) | นร.04 | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๙๒/๒๕๖๖ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | รายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เรื่อง โครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ) | สผผ. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | รายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญเเห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เรื่อง การบังคับใช้กฎหมายกรณีการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน) | สผผ. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | รายงานกรณีที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วนตามหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (เรื่อง ความเดือดร้อนจากการดำเนินโครงการเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร – พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย) | สผผ. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | รายงานสถานการณ์เพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็ก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | รง. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์เพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็ก
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ มีสาระสำคัญในประเด็นต่าง ๆ เช่น (๑) สถานการณ์เด็กทำงานในประเทศไทย
(๒) สถานการณ์การใช้แรงงานเด็กที่เลวร้าย ในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ (๓)
ผลการประเมินจัดระดับสถานการณ์แรงงานเด็ก ตามรายงานประจำปี ๒๕๖๔
ของกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา (๔)
การขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายของประเทศไทย
และ (๕) ข้อเสนอแนะจากการวิเคราะห์สถานการณ์และการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | โครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล) | กค. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย
(อิสราเอล) ภายในกรอบวงเงินประมาณ ๑,๒๐๐ ล้านบาท
พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นให้ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงตามขั้นตอน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 | นร.11 สศช | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2566 | นร.11 สศช | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุม
ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๖ โดยอนุมัติให้จังหวัด
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ปี ๒๕๖๕
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ
eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
และมอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากแหล่งเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
และอยู่ระหว่างดำเนินการให้เร่งรัดการดำเนินงานและต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีได้
เห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการต่อไปให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
โดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นต่อไปตามนัยมติเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการจังหวัดยะลา จำนวน ๓ โครงการ จังหวัดหนองบัวลำภู
จำนวน ๑ โครงการ จากเดิมที่เสนอไว้ให้สิ้นสุดวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖
เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานเจ้าของโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
และกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้เป็นไปอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ
และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้
และจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 | พณ. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดสินค้าควบคุม ปี ๒๕๖๖ เพิ่มจำนวน ๑ รายการ
ได้แก่ น้ำตาลทราย ตามมติคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เพื่อป้องกันการกำหนดราคาซื้อ
ราคาจำหน่ายหรือการกำหนดเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรม และกำกับดูแลสินค้าน้ำตาลทรายให้มีราคาที่เป็นธรรมและมีปริมาณที่เพียงพอ
และเห็นควรพิจารณามอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยให้ได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
สอดคล้องกับต้นทุนการผลิตอ้อยในแต่ละช่วงเวลา โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชน | พน. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชน
เพื่อให้มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นไปตามแนวนโยบายของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๓ กันยายน ๒๕๖๖ และสามารถดำเนินการได้ทันท่วงที เพื่อลดผลกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน
และให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
และมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ประชาชนให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคประชาชนระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | อว. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคประชาชนระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญคือ
ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนกิจกรรมการแลกเปลี่ยนภายใต้โครงการที่จะดำเนินการร่วมกัน
ได้แก่ (๑) โครงการแลกเปลี่ยนระดับประชาชนสำหรับนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ (๒)
การเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือสำหรับสถาบันวิจัย และ (๓)
การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาวิชาการ และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการแลกเปลี่ยนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคประชาชนระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นว่าควรจัดเตรียมแนวทางการดำเนินงานร่วมกันทั้งในส่วนของประเด็นความร่วมมือที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ
ยกระดับความสามารถในการดูดซับวิทยาการและเทคโนโลยีใหม่ (Absorptive Capacity) ของนักวิจัยและผู้ประกอบการไทย
และแนวทางการแบ่งปันผลประโยชน์จากผลงานการวิจัย เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของทั้ง
๒ ประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | การเร่งรัดเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด | สลน. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
รัฐบาลตระหนักและให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นควัน PM2.5
ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเกิดการบูรณาการอย่างยั่งยืน มีประสิทธิภาพ เกิดผลเป็นรูปธรรม
และเท่าทันต่อสถานการณ์ จึงขอมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก
พัชรวาท วงษ์สุวรรณ)
เร่งรัดเสนอร่างกฎหายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน ตามมาตรา ๗๗
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒
รวมทั้งการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากฎหมายและสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | การสนับสนุนสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ | นร. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้ว่า รัฐบาลจะผลักดันให้มีกฎหมายสนับสนุนสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ
นั้น เพื่อให้การดำเนินนโยบายดังกล่าวเกิดผลเป็นรูปธรรม จึงขอมอบหมาย ดังนี้ ๑. ให้เลขาธิการนายกรัฐมนตรีรับไปดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ
เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการสมรสเท่าเทียม การรับรองเพศสภาพ
การยกเลิกการปราบปราบการค้าประเวณี โดยให้กำหนดองค์ประกอบ
และหน้าที่และอำนาจให้เหมาะสมและครบถ้วนด้วย ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่..) พ.ศ. .... (สมรสเท่าเทียม) อย่างรอบด้าน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา
๗๗ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ.
๒๕๖๒
รวมทั้งให้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายให้สอดคล้องกับสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าว
ก่อนเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..)
(สมรสเท่าเทียม) ต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป ๓. ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางพวงเพ็ชร
ชุนละเอียด) รับไปประสานกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันให้ไทยเป็นเจ้าภาพการจัดงาน
World Pride ในปี ๒๕๗๑
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2566 ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมและสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย | อก. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (สินค้าน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน) | กค. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราภาษีสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันประเภทน้ำมันเบนซิน
๑ บาทต่อลิตร โดยให้อนุพันธ์ของน้ำมันดังกล่าวมีการปรับลดอัตราภาษีตามสัดส่วนเนื้อน้ำมันที่ผสมอยู่
ตั้งแต่วันที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๗
และหลังจากนั้นให้อัตราภาษีกลับสู่อัตราเดิมก่อนการปรับลด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. มอบหมายกระทรวงพลังงานใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อปรับราคาขายปลีกให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะรัฐมนตรีในการลดราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์
๙๑ ต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าว
รวมถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซินที่สะท้อนต้นทุนตามข้อเท็จจริง ประชาชนตระหนักถึงภาระการชดเชยต้นทุนส่วนต่าง
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์
และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการทางภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และให้ความสำคัญกับการดูแลแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและราคาน้ำมัน
และพิจารณาให้ราคาน้ำมันเบนซินเคลื่อนไหวสอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลก
เพื่อให้ประชาชนและระบบเศรษฐกิจมีการปรับตัวไปสู่การประหยัดพลังงาน
รวมทั้งลดแรงกดดันทางด้านการคลัง
และรักษาขีดความสามารถของกลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในการรองรับความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | การยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติอินเดียและไต้หวัน เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว | กต. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติอินเดียและไต้หวัน
เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖-๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๗
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒. เห็นชอบในหลักการการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติอินเดียและไต้หวัน
เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๓.
ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปดำเนินการ โดยแยกประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็น
๒ ฉบับ เนื่องจากฐานอำนาจในการดำเนินการต่างกัน และดำเนินการดังนี้ ๓.๑
แก้ไขชื่อร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยในส่วนของการยกเว้นการตรวจลงตราผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสาธารณรัฐอินเดีย
เป็น “ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง
ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยว
ได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และให้อยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินสามสิบวัน
เป็นกรณีพิเศษ” เพื่อให้สอดคล้องกับข้อ ๑๓ (๓) (ก) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเทศการตรวจลงตรา พ.ศ.
๒๕๔๕ และประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับทั่วไปที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ๓.๒
การจัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย สำหรับกรณีไต้หวัน แยกอีกฉบับหนึ่ง
โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ ๔. ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นว่ากระทรวงการต่างประเทศควรเป็นหน่วยงานหลักในการประสานความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน
ต่อมาตรการการตรวจลงตราฯ ดังกล่าว หน่วยงานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ
อาทิ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ควรมีการติดตามเฝ้าระวัง
และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญในกลุ่มนักท่องเที่ยวสัญชาติอินเดีย
เพื่อให้มาตรการยกเว้นการตรวจลงตราฯ เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทยอย่างคุ้มค่าและแท้จริง
ควรเร่งประเมินความพร้อมและศักยภาพของประเทศไทยในการเปิดรับนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ
โดยจัดทำเป็นแผนงาน การดำเนินงาน (road map) ที่ระบุถึงกลุ่มประเทศที่จะมีการยกเว้นการตรวจลงตรา
และระยะเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างโอกาส
และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวให้ดีขึ้นในระยะต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๕. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กระทรวงมหาดไทย สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมีการเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผลการเข้ามาของนักท่องเที่ยวทั้งสองสัญชาติอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง
หากพบว่าผลกระทบด้านความมั่นคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงสามารถเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกหรือปรับเปลี่ยนมาตรการยกเว้นการตรวจลงตราฯ
ควรมีการติดตามเฝ้าระวัง
และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาทัวร์ศูนย์เหรียญในกลุ่มนักท่องเที่ยวสัญชาติอินเดีย
เพื่อให้มาตรการยกเว้นการตรวจลงตราฯ
เกิดประโยชน์ด้านเศรษฐกิจต่อประเทศไทยอย่างคุ้มค่าและแท้จริง และควรเร่งประเมินความพร้อมและศักยภาพของประเทศไทยในการเปิดรับนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ
โดยจัดทำเป็นแผนงาน การดำเนินงาน (road map) ที่ระบุถึงกลุ่มประเทศที่จะมีการยกเว้นการตรวจลงตรา
และระยะเวลาที่เหมาะสมในการดำเนินการ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถสร้างโอกาส
และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวให้ดีขึ้นในระยะต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | ขอความเห็นชอบต่อการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กษ. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายเอกรัฐ พลซื่อ) | นร.04 | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายเอกรัฐ พลซื่อ
เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖) เป็นต้นไป ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|