ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 7 จากทั้งหมด 6030 หน้า แสดงรายการที่ 121 - 140 จากข้อมูลทั้งหมด 120582 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
121 | รายงานสรุปข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | นร.05 | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) ดำเนินการประกาศราคาน้ำตาลทรายภายในราชอาณาจักรตามอำนาจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามข้อเสนอแนวทางการบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
ข้อ ๓.๕ โดยด่วน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ให้กระทรวงพาณิชย์
(กรมการค้าภายใน ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ)
นำเสนอคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการพิจารณาทบทวนมาตรการที่เกี่ยวข้องกับสินค้าน้ำตาลทราย
โดยกำหนดมาตรการให้สอดคล้องกับข้อเสนอของคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และให้กระทรวงอุตสาหกรรม
(สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย) และกระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าภายใน)
พิจารณามาตรการกำกับดูแลให้มีน้ำตาลทรายในปริมาณที่เพียงพอ สำหรับการบริโภคในประเทศ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงอุตสาหกรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรมีการหารือร่วมกันโดยคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการ
และผู้บริโภค รวมทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเร่งส่งเสริมให้เกษตรกรตัดอ้อยสดแทนการเผาเพื่อลดมลพิษทางอากาศจากการเผาอ้อย
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
122 | ขออนุมัติเพิ่มวงเงินงบประมาณและขยายระยะเวลาผูกพันปีงบประมาณ รายการค่าก่อสร้างและค่าควบคุมงาน โครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว | กต. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงการต่างประเทศรับเรื่องนี้คืนไปพิจารณาทบทวนในรายละเอียดร่วมกับสำนักงบประมาณเพื่อปรับลดวงเงินงบประมาณของโครงการให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น
ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
123 | การติดตามความคืบหน้าในการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) | นร. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า การจัดทำความตกลงการค้าเสรี
(Free Trade Agreement : FTA) กับประเทศคู่ค้าของไทยให้ได้มากที่สุด จะเป็นกลไกสำคัญในการขยายโอกาสทางการค้า
การลงทุน และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น
จึงขอให้รองนายกรัฐมนตรี (นายปานปรีย์ พหิทธานุกร) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศรับเรื่องนี้ไปประสานกับกระทรวงพณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อจัดทำแผนงาน กรอบระยะเวลาการเจรจาและการลงนาม
และกำหนดเวลามีผลใช้บังคับของความตกลงกับประเทศคู่เจรจาต่าง ๆ
ให้ชัดเจนตามลำดับความสำคัญเร่งด่วน และขับเคลื่อนตามขั้นตอนให้บรรลุผลเป็นรูปธรรมตามกรอบระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้ต่อไป
ทั้งนี้
ให้เผยแพร่ข้อมูลและผลการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้สาธารณชนทราบอย่างถูกต้องและทั่วถึงตามความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
124 | ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | สปสช. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๖๗ ภายในวงเงิน ๒๑๗,๖๒๘,๙๕๙,๖๐๐ บาท สำหรับงบประมาณบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วงเงิน ๒,๐๘๖,๕๕๘,๘๐๐ บาท นั้น
เห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ให้ตามความจำเป็นเหมาะสม ประหยัดและสอดคล้องกับภารกิจการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้
ขอให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามนัยมาตรา ๙ และมาตรา ๑๐
แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
เพื่อให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุข ตลอดจนปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
โดยให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพิจารณาดำเนินการตามข้อสังเกตคณะกรรมาธิการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๖ สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะยังผลประโยชน์ให้กับประชาชนในพื้นที่ต่อไป และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยืนยันความเห็นเดิม
เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ เนื่องด้วยข้อเสนอการขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ ในครั้งนี้ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ได้มีการปรับแก้ไขกรอบวงเงินหรือรายละเอียดสาระสำคัญใด
ๆ จากข้อเสนอในคราวก่อนหน้า ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
125 | ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 30 | กค. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค
ครั้งที่ ๓o (Joint Ministerial
Statement of the 30th APEC Finance
Ministers’ Meeting) จะจัดขึ้นในวันที่
๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ
โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงินการคลังระหว่างกัน
เพื่อขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของภูมิภาคเอเปคอย่างครอบคลุมและยั่งยืน โดยมีประเด็นสำคัญที่ต้องการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างเป็นรูปธรรม
เช่น (๑) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการเติบโตของเศรษฐกิจโลก (๒)
เศรษฐศาสตร์อุปทานสมัยใหม่ (๓) การพัฒนานวัตกรรมและสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีความรับผิดชอบ
และ (๔) การเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวมทั้งข้อสังเกตของธนาคารแห่งประเทศไทย
เช่น ย่อหน้า ๒
น่าจะสามารถเพิ่มถ้อยคำเพื่อย้ำความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายกรุงเทพมหานคร
ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Economy) เพื่อสะท้อนการสานต่อผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปี
๒๕๖๕ และย่อหน้า ๓
ถ้อยคำเรื่องสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์และผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อเขตเศรษฐกิจเอเปค
ซึ่งคาดว่าน่าจะหมายถึงสถานการณ์รัสเชีย-ยูเครน กระทรวงการต่างประเทศไม่มีข้อขัดข้องหากจะมีการใช้ถ้อยคำเดิม
(Agreed Language) ในประเด็นดังกล่าวตามที่ปรากฏในร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีเอเปค
และปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๒ และร่างเอกสารดังกล่าวปรากฏการใช้คำว่า
“Commit” ที่มีลักษณะผูกมัดการดำเนินนโยบายของประเทศ
ซึ่งอาจเกินกว่าแนวทางความร่วมมือภายใต้กรอบ APEC ที่ผ่านมา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการกำกับดูแลสินทรัพย์ดิจิทัล
และการเงินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงอาจพิจารณาปรับถ้อยคำให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาของเรื่องดังกล่าวในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค
ครั้งที่ ๓๐ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
126 | การเร่งรัดจัดทำกฎหมายว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษ (ยาบ้า) | นร. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ
(๓ และ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๖) มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมร่วมกับกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการทบทวนกฎหมายและอนุบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งหมดที่อาจเป็นอุปสรรคและส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
และให้พิจารณาการกำหนดปริมาณยาเสพติดในครอบครองของบุคคลที่เข้าข่ายเป็นผู้เสพยาเสพติดที่ต้องรับโทษตามกฎหมายให้ชัดเจน
ครบถ้วน
รวมทั้งให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องบูรณาการแผนงาน ประสานงานขับเคลื่อน
และติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดในภาพรวม นั้น
โดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือกัน เพื่อกำหนดปริมาณยาเสพติด (ยาบ้า)
ในครอบครองของบุคคลที่เข้าข่ายเป็นผู้เสพยาเสพติดหรือเป็นผู้จำหน่ายยาเสพติดเสร็จเรียบร้อยแล้ว
รวมทั้งให้มีการสืบสวนขยายผลไปสู่ต้นตอของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ดังนั้น จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการจัดทำกฎหมายว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษ
(ยาบ้า) และที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรีโดยด่วน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
127 | ร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ปปท. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่
.. ) พ.ศ .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
พ.ศ. ๒๕๕๑ แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจ
และหน้าที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
ในส่วนที่เกี่ยวกับการคดีทุจริตต่อหน้าที่ที่ต้องดำเนินการแทนตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมอบหมาย
และส่วนการประพฤติมิชอบซึ่งเป็นหน้าที่และอำนาจโดยตรงของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
เพื่อให้เป็นไปตามการดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
128 | การเร่งรัดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก | นร. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่ได้เดินทางไปตรวจราชการในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและได้รับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินการในหลายด้าน
แต่พบว่ายังมีปัญหาอุปสรรคหลายประการที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนของภาคเอกชน
เช่น การรับรู้เกี่ยวกับความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ในพื้นที่
สิทธิประโยชน์ การอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ให้กับภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุน
จึงได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ)
มีหน้าที่และอำนาจในการเร่งรัดติดตาม กำกับดูแล
และบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งรัดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
และเสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางปฏิบัติ
พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติต่อนายกรัฐมนตรี
ดังนั้น จึงขอให้คณะกรรมการเร่งรัดการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจดังกล่าวข้างต้น
รวมถึงบูรณาการการทำงานกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคเอกชนในทุกมิติด้วย
เช่น สาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง การอนุมัติ อนุญาต
และการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ
เพื่อให้เกิดการลงทุนที่เป็นรูปธรรมของภาคเอกชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
129 | การแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยและน้ำตาลทราย | นร. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เนื่องจากปัจจุบันการกำหนดราคาน้ำตาลทรายภายในประเทศไม่สอดคล้องกับราคาในตลาดโลก
อีกทั้งอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยยังได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีสรรพสามิตในการจัดเก็บภาษีสินค้าเครื่องดื่มตามปริมาณน้ำตาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีของผู้บริโภค
ประกอบกับระบบแบ่งปันผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่ใช้มานานจนถึงปัจจุบันสมควรพิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ต่าง
ๆ ที่เปลี่ยนไปเพื่อให้สามารถคุ้มครองดูแลและแบ่งปันผลประโยชน์ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย
โรงงานน้ำตาล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งสามารถสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยใช้วิธีการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวอ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
ดังนั้น จึงขอมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรับไปดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง
โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน อธิบดีกรมสรรพสามิต และเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นกรรมการ
รวมทั้งมีผู้แทนหน่วยงาน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการให้ครบถ้วน
โดยให้มีหน้าที่และอำนาจในการศึกษาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบให้ครบถ้วนในทุกมิติ
โดยให้นำข้อมูลและข้อเสนอแนะของคณะทำงานบริหารความสมดุลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของกระทรวงพาณิชย์มาประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย
ทั้งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเร่งรัดดำเนินการในเรื่องดังกล่าวข้างต้นตามขั้นตอนให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
130 | การแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 | นร. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืนขึ้น
โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ นั้น
โดยที่ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 ในปีนี้เกิดขึ้นเร็วและมีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงกว่าในปีที่ผ่านมา
จึงขอให้คณะกรรมการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศเพื่อความยั่งยืนเร่งรัดการดำเนินการจัดทำแผนและมาตรการเพื่อลดฝุ่นควัน
PM25
ทั้งระบบให้แล้วเสร็จโดยเร็วและดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
131 | การยกระดับหน่วยงานในการส่งเสริมและกำกับดูแลอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลไทย | นร. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ปัจจุบันการผลิตอาหารฮาลาลเพื่อส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศมีมูลค่ามากกว่า
๖ พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของไทยที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการส่งเสริมและผลักดันอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลของไทยให้เติบโตต่อไป
สมควรจะมีหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในการส่งเสริมและกำกับดูแลการประกอบการอุตสาหกรรมฮาลาลของไทยอย่างเป็นระบบครบวงจรเป็นการเฉพาะ
จึงขอมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับเรื่องนี้ไปประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงพาณิชย์ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร.
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาความจำเป็น เหมาะสม
และเป็นไปได้ในการยกระดับหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลและจัดตั้งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจในเรื่องนี้อย่างครบวงจรเป็นการเฉพาะ
เพื่อส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในภูมิภาคนี้ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
132 | การดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ | ทส. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำร่างกฎกระทรวงหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ
พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๖ การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ
มาตรา ๗๘ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นควรกำชับให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคำนึงถึงระยะเวลาการตรวจพิจารณาและการประกาศบังคับใช้กฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาที่ขอขยายข้างต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
133 | การกำกับ ติดตาม และเร่งรัดการดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 | นร. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่ได้เดินทางไปตรวจราชการในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเมื่อวันที่
๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ที่ผ่านมาได้ทราบว่ามีความล่าช้าในการดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง
ระยะที่ ๓
ซึ่งเป็นโครงการสำคัญของรัฐบาลในการเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือเพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต
อันจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกจึงขอมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำกับ
ติดตาม และเร่งรัดให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง
ระยะที่ ๓ ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานถมทะเลเพื่อรองรับงานก่อสร้างท่าเทียบเรือและโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของท่าเทียบเรือ
F
เพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่การก่อสร้างให้เอกชนคู่สัญญาได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
134 | การเร่งรัดโครงการเหมืองแร่โพแทช | นร. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า แร่โพแทชเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม
เนื่องจากเป็นแร่หลักที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยเคมีชนิดต่าง ๆ และปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณแร่โพแทชสำรองมากเป็นอันดับ
๒ ของโลกรองจากประเทศแคนาดา ซึ่งในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา
ได้มีการออกประทานบัตรเหมืองแร่โพแทชให้แก่ผู้ประกอบการไปแล้ว ๓ ราย แต่พบว่าจนถึงปัจจุบันยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดที่ได้ดำเนินการผลิตแร่โพแทชออกมาได้จริง
ดังนั้น
จึงขอมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ติดตามความคืบหน้าและเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับประทานบัตรดังกล่าวดำเนินการผลิตแร่โพแทชให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
เพื่อให้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม
และการส่งออกไปยังต่างประเทศตามความเหมาะสมต่อไป และในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินการตามที่ได้รับประทานบัตรได้
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาความเป็นไปได้ในการเพิกถอนประทานบัตรดังกล่าวและพิจารณาอนุญาตออกประทานบัตรให้แก่ผู้ประกอบการรายอื่นที่เสนอขอประทานบัตรเพื่อดำเนินโครงการเหมืองแร่โพแทชในพื้นที่นั้น
ๆ แทนต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
135 | การประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 3 ณ สาธารณรัฐเคนยา | ทส. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
136 | การเร่งรัดการให้ความช่วยเหลือแรงงานไทยที่เดินทางกับจากรัฐอิสราเอล | นร. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๖ มอบหมายให้กระทรวงแรงงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดสิทธิประโยชน์และเงินช่วยเหลือชดเชยให้แก่แรงงานไทยที่เดินทางกลับจากรัฐอิสราเอลให้เหมาะสมเป็นกรณีพิเศษ
นั้น ขอให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้นให้แล้วเสร็จครบถ้วน
รวมทั้งให้เร่งรัด กำกับ ติดตามการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยต่าง
ๆ ให้ถึงมือแรงงานไทยให้ถูกต้อง ทั่วถึงโดยด่วนด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
137 | สรุปผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 43 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
138 | นายกรัฐมนตรีลากิจในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 | นร. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งว่า
นายกรัฐมนตรีได้ลากิจในวันพฤหัสบดีที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ตั้งแต่เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๓๐ น.
ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้จัดทำหนังสือเวียนแจ้งให้รัฐมนตรีทุกท่านทราบแล้ว
ทั้งนี้ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๔๑
กำหนดให้การลาทุกประเภทของนายกรัฐมนตรี ให้อยู่ในดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรี
และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
139 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายอินทพร จั่นเอี่ยม) | พศ. | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
140 | คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ) | นร.14 | 07/11/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ซึ่งยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ต่อไป
โดยได้ตรวจสอบปรับปรุงส่วนประกอบของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ องค์ประกอบ
ส่วนที่ ๒ อำนาจหน้าที่ ส่วนที่ ๓
บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติ และส่วนที่ ๔
องค์ประกอบคณะผู้แทนไทย ในคณะมนตรีและคณะกรรมการร่วมในคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันแล้ว ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ เป็นต้นไป
|