ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 2 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 28 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.07 | 28/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
ดังนี้ ๑. การปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ๒.
การขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ (เรื่อง
การปรับปรุงแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ
และมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้อง) ที่กำหนดให้รายการรายจ่ายลงทุนที่จะขอผูกพันข้ามปีงบประมาณทุกรายการต้องได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปีแรกเป็นจำนวนเงินไม่ต่ำกว่าร้อยละ
๒๐ ของวงเงินรายจ่ายส่วนที่เป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้นของรายจ่ายลงทุนนั้น ๆ
โดยไม่รวมวงเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด ๓.
ให้สำนักงบประมาณนำข้อเสนอการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗
ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปรับฟังความคิดเห็นให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๗๗ วรรคสอง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.07 | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
ซึ่งได้มีการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | รายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562-2565) | ยธ. | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๖๒-๒๕๖๕) แผนสิทธิมนุษยชนฯ เป็นเครื่องมือ กลไก และมาตรการให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ในการส่งเสริม
ปกป้อง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชน ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำและขับเคลื่อนแผนดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง
โดยแผนสิทธิมนุษยชนฯ ประกอบด้วย โครงการ/กิจกรรม จำนวน ๒,๔๐๙ โครงการ มีโครงการที่ทำเสร็จ
จำนวน ๑,๘๓๗ โครงการ คิดเป็นร้อยละ ๗๖.๒๖
และมีผลการดำเนินการในภาพรวม โดยมอบหมายกระทรวงยุติธรรม (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ)
รับผิดชอบกำหนดแนวทาง วิธีการ รายงานผล และแบบรายงาน ทั้งนี้
เมื่อสิ้นสุดวาระการบังคับใช้แผนฯ กระทรวงยุติธรรมจึงได้รวบรวมข้อมูล
และจัดทำรายงานประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานตามแผนฯ
เพื่อแสดงถึงพัฒนาการความก้าวหน้า ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักการคุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม
ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์และสร้างความเสมอภาคบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้ร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา ดำเนินการผลักดัน
(ร่าง) พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... เกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย
โดยอีกหลายกลุ่มไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิบางประการ เช่น การกำหนดสถานะของบุคคล
การมีสิทธิอาศัยและใช้ประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งมีการทับซ้อนกับพื้นที่อนุรักษ์หรือพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของทางราชการที่ไม่สามารถอนุญาตให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ตามกฎหมาย
และการขาดโอกาสการเข้าถึงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน เป็นต้น ควรพิจารณากำหนดตัวชี้วัดในภาพรวม
อาทิ ดัชนีเสรีภาพ (Freedom in the world) พร้อมทั้งกำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดแต่ละด้านให้ชัดเจน
เพื่อให้การติดตามประเมินผลสามารถสะท้อนความก้าวหน้าและผลสำเร็จในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศอย่างแท้จริง
วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกับสนธิสัญญา/อนุสัญญาระหว่างประเทศ
ปฏิญญาสากลด้านสิทธิมนุษยชน หรือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชน และมีกลไกติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า
(Early warning) ในกรณีที่พบความเสี่ยงหรือปัญหาจากการดำเนินงาน
และหาแนวทางลดความเสี่ยงหรือแก้ไขได้ทันสถานการณ์
เพื่อให้การพัฒนางานด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | ดศ. | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โดยมีข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
ประกอบด้วย (๑) ระยะเร่งด่วน ๓๐ วัน เช่น ให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตรวจสอบข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
(PDPC Eagle Eye) และเร่งตรวจสอบค้นหาเฝ้าระวัง
การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลว่าเกิดขึ้นจากหน่วยงานใด หรือช่องทางใด
และเมื่อพบข้อบกพร่องของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ
เร่งประสานแจ้งเดือนการรั่วไหลของ/ข้อมูลส่วนบุคคลแก่หน่วยงานนั้น
เพื่อระงับยับยั้งไม่ให้เกิดความเสี่ยงหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยเร็ว ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีเร่งรัดมาตรการปิดกั้นกรณีการซื้อ-ขายข้อมูลส่วนบุคคลที่ผิดกฎหมายและสืบสวนดำเนินคดี
ตลอดจนจับกุมผู้กระทำความผิดโดยเร็ว เป็นต้น (๒) ระยะ ๖ เดือน เพื่อป้องกันและลดปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลจากการที่หน่วยงานภาครัฐส่งข้อมูลแก่หน่วยงานภายนอก
หรือขาดบุคลากรในการกำกับดูแลงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของหน่วยงาน
เห็นควรส่งเสริมการใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นระบบที่มีความมั่นคงปลอดภัยตามหลักวิชาการสากล
สามารถรองรับการใช้งานของบุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัยไม่เกิดการโจรกรรมหรือการรั่วไหลของข้อมูล
และ (๓) ระยะ ๑๒ เดือน ประเมินและปรับปรุง
พัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สามารถบังคับใช้กฎหมายให้ทันสมัยต่อบริบทของสังคมและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนไป
เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบและป้องกันอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่ดียิ่งขึ้น
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 (Thailand Biennale, Chiang Rai 2023) | นร. | 21/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า โดยที่จะมีการจัดงานมหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ
ไทยแลนด์เบียนนาเล่ เชียงราย 2023 (Thailand Biennale,
Chiang Rai 2023) ระหว่างวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๖-๓๐ เมษายน ๒๕๖๗
ซึ่งเป็นการจัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินไทยและต่างชาติ ภายใต้แนวคิด : เปิดโลก (The Open World) อันจะเป็นการเปิดมิติทางศิลปะวัฒนธรรมเพื่อยกระดับเมืองเชียงรายสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับโลก
จึงขอให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐร่วมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การจัดงานมหกรรมดังกล่าวให้แพร่หลายและกว้างขวางออกไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
รวมทั้งเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานดังกล่าว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของประเทศต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.07 | 14/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้ ๑.
การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ และที่ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเสนอเพิ่มเติมว่า
ขอแก้ไขปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
ในส่วนของระยะเวลาการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๗ จากที่เสนอไว้เดิม ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๖
เป็น ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การกำกับ ติดตาม และเร่งรัดการดำเนินโครงการของภาครัฐ | นร. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เพื่อให้การดำเนินโครงการของภาครัฐเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
มีประสิทธิภาพ มีการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า เหมาะสม และไม่เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานต่าง
ๆ อันอาจเกิดผลกระทบเสียหายแก่ทางราชการได้ จึงขอให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่มีการจัดซื้อจัดจ้างเอกชนในการดำเนินโครงการต่าง
ๆ ต้องกำกับ ติดตาม และเร่งรัดเอกชนคู่สัญญาให้ดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ
เป็นไปตามกรอบระยะเวลาและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในสัญญาอย่างเคร่งครัด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการดำเนินการและมีวงเงินงบประมาณสูง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ | ทส. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำร่างกฎกระทรวงหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ
พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. ๒๕๖๑ หมวด ๖ การอนุรักษ์และการพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ
มาตรา ๗๘ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นควรกำชับให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคำนึงถึงระยะเวลาการตรวจพิจารณาและการประกาศบังคับใช้กฎหมายลำดับรองดังกล่าวให้สอดคล้องกับกรอบระยะเวลาที่ขอขยายข้างต้น
ไปประกอบการพิจารณาด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | รายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ ประจำปี พ.ศ. 2566 | พณ. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการจัดสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไทยตามกฎหมายการค้าสหรัฐอเมริกาว่าด้วยว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
มาตรา ๓๐๑ พิเศษ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ และมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ดำเนินการส่งเสริมการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑. หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย ได้แก่
กระทรวงกลาโหม (กองทัพบกและกองทัพเรือ) กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร)
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ)
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการพอกเงิน
และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกวดขันปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังและเต็มประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในท้องตลาดและช่องทางออนไลน์และเร่งดำเนินคดีกับผู้ผลิตสินค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาต้นน้ำ
การละเมิดลิซสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภาคเอกชนและการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ผ่านอุปกรณ์หรือแอปพลิเคชันสำหรับการสตรีมและดาวน์โหลด ๒. หน่วยงานภาครัฐปฏิบัติตาม “แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์
(Software : ซอฟต์แวร์)
และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์สำหรับหน่วยงานภาครัฐ”
อย่างเคร่งครัดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๔ ๓.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเร่งรัดการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เพื่อนำไปสู่การออกกฎหมายให้เท่าทันกับสถานการณ์และรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศต่อไป ๔.
กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเร่งรัดการพิจารณากำหนดให้ตำแหน่งผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเป็นตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษให้ได้รับเงินเพิ่ม ๕. กรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับกรมบัญชีกลาง
กระทรวงการคลังพิจารณาแนวทางการขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งเข้าเงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเพื่อช่วยสะสางงานค้างสะสม โดยให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงยุติธรรม และสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นว่ากรณีการขอหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาที่ต้องส่งเข้าเงินคงคลังไว้เป็นค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการของผู้ตรวจสอบสิทธิบัตรเพื่อช่วยสะสางงานค้างสะสม
นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.
๒๔๙๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๔ วรรคสอง กำหนดข้อบังคับกระทรวงการคลังว่าด้วยการหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม อนุญาตให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาหักเงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาก่อนนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการส่งเสริมและคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้ตามหลักเกณฑ์
เงื่อนไข และวงเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด ควรให้มีการบูรณาการและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง
และการมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ
ส่งเสริมการคุ้มครองและป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาให้มีประสิทธิภาพ นั้น
ในขั้นตอนการปฏิบัติ หน่วยงานต่าง ๆ จะต้องพิจารณาดำเนินการ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับกฎหมาย
ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การป้องกันและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นร. | 07/11/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ปัจจุบันปัญหาการโจรกรรมข้อมูลและการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาเปิดเผยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
อันเป็นการกระทำผิดกฎหมายและสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลและผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก
ดังนั้น จึงขอมอบหมาย ดังนี้ ๑.
ให้รัฐมนตรีทุกท่านกำชับหน่วยงานในความรับผิดชอบให้ระมัดระวังการเก็บรักษา และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีอยู่อย่างรัดกุมและมีความปลอดภัย
โดยให้จัดทำระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลให้สามารถป้องกันการโจรกรรมข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งห้ามไม่ให้มีการเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลแก่สาธารณชนหรือนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานอย่างเด็ดขาด
ทั้งนี้
ให้ทุกหน่วยงานถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี (เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมายและระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี) | นร.04 | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๙๒/๒๕๖๖ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2566 | นร.11 สศช | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๖๖
เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๖ ดังนี้ (๑) รับทราบการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ปี ๒๕๖๔ ของกระทรวงมหาดไทย (จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสุพรรณบุรี)
โดยยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน ๓ โครงการ วงเงิน ๗.๙๖๕๐ ล้านบาท เนื่องจากไม่สามารถลงนามและผูกพันสัญญาได้ภายในเดือนพฤษภาคม
๒๕๖๕ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ และ (๒) รับทราบผลการนำส่งเงินกู้เหลือจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ
พ.ศ. ๒๕๖๓ คืนคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ของสำนักบริหารหนี้สาธารณะ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานเจ้าของโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
และกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้เป็นไปอย่างคุ้มค่า
มีประสิทธิภาพ และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้ ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ข้อ ๒๒ และ ๒๓ สำหรับโครงการที่ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว
หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินกู้ตามโครงการอีก
หากมีเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการนั้น ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการ รายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้กระทรวงการคลังทราบ
และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังภายใน ๓ เดือน
นับจากวันที่สิ้นสุดการดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๖
เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ควรกำกับติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงานโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
และกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัด
และหน่วยงานรับผิดชอบโครงการจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามหลักเกณฑ์
อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2566 | นร.11 สศช | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔ ในคราวประชุม
ครั้งที่ ๑๒/๒๕๖๖ เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๖ โดยอนุมัติให้จังหวัด
เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ปี ๒๕๖๕
พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งปรับปรุงรายละเอียดของโครงการในระบบ
eMENSCR ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
และมอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากแหล่งเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ
เพิ่มเติม พ.ศ. ๒๕๖๔
และอยู่ระหว่างดำเนินการให้เร่งรัดการดำเนินงานและต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีได้
เห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการต่อไปให้แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
โดยใช้จ่ายจากแหล่งเงินอื่นต่อไปตามนัยมติเมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๖ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ให้ขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการจังหวัดยะลา จำนวน ๓ โครงการ จังหวัดหนองบัวลำภู
จำนวน ๑ โครงการ จากเดิมที่เสนอไว้ให้สิ้นสุดวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๖
เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ และให้กระทรวงต้นสังกัดและหน่วยงานเจ้าของโครงการรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่เห็นควรให้กระทรวงต้นสังกัดติดตามหน่วยงานเจ้าของโครงการในการดำเนินโครงการอย่างใกล้ชิด
และกำกับดูแลหน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด
เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้เป็นไปอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ
และบรรลุผลสัมฤทธิ์ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้
และจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน
เป็นไปตามหลักเกณฑ์ อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | เร่งรัดการเสนอร่างพระราชบัญญัติเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล | นร. | 31/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
เพื่อให้การพิจารณาร่างกฎหมายต่าง ๆ
ของคณะรัฐมนตรีเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา
จึงขอมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน)
กำกับและติดตามให้ทุกส่วนราชการเร่งรัดการเสนอร่างพระราชบัญญัติที่อยู่ในความรับผิดชอบต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
เพื่อให้สามารถนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาให้ทันสมัยการประชุมรัฐสภาครั้งถัดไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | การสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ของประเทศ | นร. | 24/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้ว่า
รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการสร้างพลังสร้างสรรค์ หรือ Soft Power ของประเทศ
เพื่อยกระดับและพัฒนาความรู้ ความสามารถ
และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้สร้างมูลค่าและสร้างรายได้ รวมทั้งการอนุรักษ์
ฟื้นฟู และพัฒนาต่อยอดศิลปะ วัฒนธรรม และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
เพื่อนำมาต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่ม นั้น
ขอให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐร่วมกันขับเคลื่อนและผลักดัน Soft
Power ประเภทต่าง ๆ
ของไทยในส่วนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่หรือที่เกี่ยวข้อง เช่น สถานที่ท่องเที่ยว ศิลปะ
ประเพณี วัฒนธรรม การแสดง อาหาร ดนตรี ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและขยายวงกว้างออกไปมากยิ่งขึ้นโดยเร็วต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การเลื่อนวันหยุดชดเชยวันหยุดราชการ ประจำปี 2566 และการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษประจำปี 2567 | นร.05 | 24/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบให้เลื่อนวันหยุดชดเชยวันสิ้นปี ประจำปี
๒๕๖๖ จากวันอังคารที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๗ เป็นวันศุกร์ที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๖ ๒. เห็นชอบการกำหนดวันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ
ประจำปี ๒๕๖๗ จำนวน ๑ วัน คือวันจันทร์ที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๗
และรับทราบภาพรวมวันหยุดราชการ ประจำปี ๒๕๖๗ จำนวน ๒๐ วัน ๓. ในกรณีที่หน่วยงานใด มีภารกิจในการให้บริการประชาชน
หรือมีความจำเป็น หรือราชการสำคัญในวันหยุดดังกล่าวที่ได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว
ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหายหรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน
ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยมิให้เกิดความสียหายแก่ทางราชการและกระทบต่อการให้บริการประชาชน ๔. ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน
ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย
และกระทรวงแรงงานพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมของการกำหนดให้วันดังกล่าวข้างต้น เป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
แล้วแต่กรณีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การประสานขอความร่วมมือจากคณะรัฐมนตรีในเรื่องต่าง ๆ ของคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา | นร. | 24/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรีเสนอ (นายสมศักดิ์
เทพสุทิน) ในฐานะกรรมาธิการในคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา รายงานว่า
ในคราวประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ครั้งที่ ๒๕/๒๕๖๖ เมื่อวันพุธที่
๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๖ ที่ประชุมได้ขอให้ประสานกับคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังต่อไปนี้ ๑.๑ ขอความร่วมมือให้รัฐมนตรีมาตอบกระทู้ถามในเรื่องที่ประชุมวุฒิสภา
และหากรัฐมนตรีติดภารกิจขอให้มีหนังสือเลื่อนพร้อมระบุวันที่จะมาตอบกระทู้ในครั้งถัดไปอย่างชัดเจนด้วย ๑.๒
ขอให้รัฐบาลเร่งผลักดันร่างกฎหมายที่สำคัญ ร่างกฎหมายที่จะสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล
หรือร่างกฎหมายที่เห็นว่าเป็นประโยชน์
รวมทั้งข้อตกลงหรือพันธกรณีระหว่างประเทศที่รัฐสภาต้องให้สัตยาบันเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา
ตลอดจนพิจารณาทบทวนร่างกฎหมายที่ได้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาแล้วแต่ตกไปเพราะเหตุมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา
๑๔๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาอีกครั้งให้ทันสมัยการประชุมรัฐสภาครั้งถัดไป ๑.๓
เพื่อให้การลงพื้นที่ตามโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน ของวุฒิสภา
มีการประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จึงขอให้รัฐบาลมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมและให้การสนับสนุนการลงพื้นที่ของสมาชิกวุฒิสภาด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การกำหนดให้การจัดการขยะเป็นวาระเร่งด่วน | นร. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า เนื่องจากปัญหาขยะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัยของประชาชนจำเป็นจะต้องร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
ให้สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน
จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้ ๑. ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเป็นหน่วยงานนำร่องในการดำเนินการบริหารจัดการขยะภายในหน่วยงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีความต่อเนื่อง
โดยให้ดำเนินการให้ครอบคลุมทั้งระบบ ตั้งแต่ในระดับต้นทาง เน้นการลดปริมาณขยะ (Reduce) การนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ระดับกลางทาง
เน้นการส่งเสริมให้มีการแยกขยะเพื่อให้สามารถนำขยะกลับมาใช้ซ้ำหรือใช้ใหม่
และนำขยะเข้าสู่กระบวนการกำจัดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และระดับปลายทาง
มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีภารกิจจัดการขยะเร่งดำเนินการกำจัดขยะที่มีอยู่ให้หมดไปและไม่เกิดการตกค้าง
รวมทั้งให้จัดหาพื้นที่กำจัดขยะที่ถูกสุขลักษณะ
โดยใช้วิธีการกำจัดขยะที่เหมาะสมกับขยะแต่ละประเภทตามหลักวิชาการและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณากำหนดแนวทางการลดปริมาณขยะของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้ชัดเจน
เหมาะสม เช่น การลดการใช้ขวดและถุงพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ
แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว
เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี (เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี) | นร.04 | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๗๐/๒๕๖๖ เรื่อง
แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย
และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๖
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | การสนับสนุนการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ | นร. | 16/10/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
ตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้
สรุปว่ารัฐบาลจะไม่ละเลยเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
สานต่อนโยบาย Carbon Neutrality เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ
และจะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นั้น
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว
ผ่านการส่งเสริมการผลิตและการใช้ยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero
Emission Vehicle) ซึ่งกำหนดเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ร้อยละ
๓๐ ของกำลังการผลิตยานยนต์ภายในประเทศภายในปี ๒๕๗๓
จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ ๑.
ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐพิจารณาดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างรถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) มาใช้ในราชการแทนรถยนต์เดิมที่จะหมดอายุการใช้งานหรือที่จะต้องจัดซื้อจัดจ้างขึ้นใหม่เพื่อรองรับภารกิจใหม่หรือผู้ดำรงตำแหน่งใหม่
รวมทั้งให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงพลังงานสำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่าง
ๆ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าวให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับกระทรวงการคลังพิจารณากำหนดมาตรการและมาตรฐานเพื่อขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนรถสาธารณะทุกชนิด
[เช่น รถโดยสารประจำทาง
รถยนต์รับจ้าง (แท็กซี่) และรถสามล้อ] ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้า (EV)
และดำเนินการตามขั้นตอนให้ถูกต้อง
เพื่อให้มีผลใช้บังคับโดยเร็วต่อไป ๓.
ให้กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการเพื่อสนับสนุนการก่อสร้างโครงข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ
รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานตามความจำเป็นเร่งด่วนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ๔.
ให้กระทรวงคมนาคมประสานความร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและสงเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาและกำหนดนโยบายและมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์สันดาปภายในมาเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
(EV) เช่น
การส่งเสริมให้เกิดตลาดรถยนต์ใช้แล้วสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
การส่งเสริมผู้ประกอบการซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้า การกำจัดรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งาน (End
of Life Vehicle) และการนำชิ้นส่วนรถยนต์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)
รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ค่าเบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้ามีความเหมาะสมและจูงใจให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ๕.
ให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการทุน
และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพิจารณากำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อส่งเสริมให้เกิดห่วงโซ่อุปทาน
(Supply Chain) ยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศอย่างครบวงจร
โดยเฉพาะการผลิตชิ้นส่วนสำคัญ (เช่น แบตเตอรี่ และระบบส่งกำลังด้วยไฟฟ้า)
ภายในประเทศ เพื่อรองรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ภายในประเทศ
และรองรับการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนสำคัญของภูมิภาค
|