ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 17 จากข้อมูลทั้งหมด 17 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | แนวทางการประชุมคณะรัฐมนตรีและการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี | นร.05 | 07/09/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. รับทราบการกำหนดวิธีการประชุมคณะรัฐมนตรี
ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้อนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑.๑ วัน
เวลา และสถานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๑.๑
จัดการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการกรณีปกติในทุกวันอังคาร ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐
น. เป็นต้นไป ณ ห้องประชุม ๕๐๑ ตึกบัญชาการ ๑ ทำเนียบรัฐบาล ๑.๑.๒
การประชุมคณะรัฐมนตรีกรณีปกติอาจเปลี่ยนแปลงวัน เวลา
และสถานที่ได้ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ๑.๑.๓
การประชุมคณะรัฐมนตรีกรณีปกติจะดำเนินการโดยเชิญรัฐมนตรีมาเข้าร่วมประชุม ณ
สถานที่ที่กำหนดตามข้อ ๑.๑.๑ หรือข้อ ๑.๑.๒ ๑.๒
องค์ประกอบของการประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๒.๑
องค์ประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๒.๑.๑
การประชุมคณะรัฐมนตรีในกรณีปกติให้ดำเนินการได้เมื่อมีรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนคณะรัฐมนตรีทั้งหมดที่มีอยู่โดยจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมให้รวมถึงผู้เข้าร่วมประชุมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งสามารถปรึกษาหารือกันได้แม้จะมิได้อยู่ในสถานที่เดียวกัน
๑.๒.๑.๒
ในกรณีจำเป็นเพื่อเป็นการรักษาประโยชน์สำคัญของประเทศหรือมีกรณีฉุกเฉินหรือเพื่อประโยชน์ในการรักษาความลับ
นายกรัฐมนตรีอาจพิจารณาเรื่องใดกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องตามที่นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อมีมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นได้
และเมื่อมีการประชุมเป็นกรณีปกติให้นายกรัฐมนตรีแจ้งให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบมติของคณะรัฐมนตรีดังกล่าวด้วย ๑.๒.๒
ผู้เข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย
๑.๒.๒.๑ ข้าราชการการเมืองได้แก่ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
๑ ๒.๒.๒ ข้าราชการประจำระดับสูง ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้ดำรงตำแหน่งตำแหน่งอื่น ๆ ตามที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ๑.๒.๓
ฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วย
๑.๒.๓.๑ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
๑.๒.๓.๒ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย) ปฏิบัติหน้าที่ในการนำเสนอระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
๑.๒.๓.๓ เจ้าหน้าที่ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมอบหมาย)
ปฏิบัติหน้าที่ในห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๓ ระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี
ประกอบด้วย ๑.๓.๑
เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุม ๑.๓.๒
เรื่องวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (ถ้ามี) ๑.๓.๓
เรื่องเพื่อพิจารณา ๑.๓.๔
เรื่องเพื่อทราบ (หากไม่มีข้อทักท้วงให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรีตามที่เสนอ) ๑.๓.๕
เรื่องเพื่อทราบ ๑.๓.๖
เรื่องอื่น ๆ ๑.๔
ประเภทแฟ้มระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี ประกอบด้วย ๑.๔.๑
เรื่องเพื่อพิจารณา แฟ้มสีชมพู ๑.๔.๒
เรื่องเพื่อทราบ (หากไม่มีข้อทักท้วงฯ) แฟ้มสีส้ม ๑.๔.๓
เรื่องเพื่อทราบ แฟ้มสีฟ้า ๑.๕
การจัดส่งระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ
พร้อมด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องให้คณะรัฐมนตรีทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๑ วัน ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี
โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ ให้คณะรัฐมนตรี ดังนี้ ๑.๕.๑
การประชุมคณะรัฐมนตรีในกรณีปกติทุกวันอังคาร จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ (ปกติ) ให้คณะรัฐมนตรีภายในวันศุกร์
และจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ (เพิ่มเติม) ภายในวันจันทร์ ส่วนระเบียบวาระการประชุมฯ
(วาระจร)
จะจัดส่งในวันประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบเรียกดูระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีด้วยเครื่องแท็บเล็ต
(M-VARA) เท่านั้น ๑.๕.๒
กรณีที่มีการเลื่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี จะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมให้คณะรัฐมนตรีล่วงหน้าไม่น้อยกว่า
๑ วันก่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดส่งระเบียบวาระการประชุมฯ ในระบบ M-VARA อีกช่องทางหนึ่งด้วย ๑.๖
คณะกรรมการรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีจะแต่งตั้งคณะบุคคลประกอบด้วย รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและบุคคลอื่นที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องที่จะพิจารณาเพื่อพิจารณากลั่นกรองเรื่องใดก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีก็ได้
เพื่อให้เรื่องที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีได้มีการพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ และประหยัดเวลาการประชุมคณะรัฐมนตรี ๑.๗
การลาประชุมคณะรัฐมนตรี
ให้รัฐมนตรีแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อแจ้งให้นายกรัฐมนตรีและที่ประชุมคณะรัฐมนตรีทราบ
ซึ่งรวมถึงกรณีการลาประชุมเป็นช่วงเวลาหรือกรณีที่ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมจนการประชุมสิ้นสุดได้ ๑.๘
สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยเปิดเผย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดทำสรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีทุกครั้งที่มีการประชุม
โดยจะจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์และถ่ายโอนข้อมูลไปยังระบบ M-VARA แล้วแจ้งให้รัฐมนตรีทราบ กรณีมีข้อทักท้วงหรือแก้ไขประการใด
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องโดยเร็ว ๒.
เห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการรักษาความลับของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
และการให้ข่าวสารแก่สื่อมวลชน ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ โดยให้รัฐมนตรี
เจ้าหน้าที่ซึ่งเข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรีถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด
ดังนี้ ๒.๑
ให้รักษาความลับหรือเอกสารของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรีตามประเภทชั้นความลับที่ได้กำหนดไว้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยแบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ ลับที่สุด ลับมาก และลับ
ซึ่งหากความลับดังกล่าวทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนรั่วไหลไปถึงบุคคลผู้ไม่มีหน้าที่ได้ทราบจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งรัฐ
ดังนั้น กรณีการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรีหรือรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจสั่งให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวตามเงื่อนไขที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนดตามนัยมาตรา
๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ ๒.๒
การพิจารณาหารือหรืออภิปรายของคณะรัฐมนตรีในการประชุมคณะรัฐมนตรีให้ถือเป็นความลับของทางราชการ
ดังนั้น รัฐมนตรีทุกท่าน ผู้เข้าร่วมการประชุม
และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
พึงระมัดระวังและไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ
เกี่ยวกับเรื่องที่พิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ๒.๓
ในการจัดทำระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี
หากหน่วยงานเจ้าของเรื่องเห็นว่าเรื่องที่เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่มีชั้นความลับ
มีความอ่อนไหวและมีผลกระทบสูงเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ
ความมั่นคง ประโยชน์สาธารณะ หรือประโยชน์ของประเทศชาติ หากถูกนำไปเปิดเผยต่อสาธารณชนแล้วจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลประโยชน์ของชาติอย่างร้ายแรงให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องระบุไว้ในหนังสือนำส่งเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีให้ชัดเจนว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่มีชั้นความลับ
มีความอ่อนไหว และมีผลกระทบสูงอย่างไร หรือหากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า
เป็นเรื่องที่เข้าลักษณะดังกล่าว
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะจัดทำระเบียบวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีโดยจะแจกเอกสารระหว่างการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในระบบ
M-VARA และหลังจากพิจารณาแล้วเสร็จจะถอนเรื่องดังกล่าวออกจากระบบ
M-VARA ทันที ๒.๔ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐดูแลและระมัดระวังมิให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารการประชุมคณะรัฐมนตรีเปิดเผยเอกสารดังกล่าวก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ๒.๕
กรณีมีผู้นำเอกสารหรือข้อความซึ่งเป็นความลับของทางราชการไปเผยแพร่จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
หรือเกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ
ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องที่ได้รับความเสียหายพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
(เช่น
กรณีข้าราชการพลเรือนฝ่าฝืนข้อปฏิบัติและถือเป็นผู้กระทำผิดวินัยหรือกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง)
อนึ่ง ตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๖๔
ได้วางหลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมในเรื่องการรักษาความลับของทางราชการไว้เช่นเดียวกัน
กล่าวคือ ตามข้อ ๗ (๓)
กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ
โดยอย่างน้อยต้องไม่นำข้อมูลข่าวสาวอันเป็นความลับของทางราชการซึ่งตนได้มาในระหว่างอยู่ในตำแหน่งไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เอกชนทั้งในระหว่างการดำรงตำแหน่งและเมื่อพ้นจากตำแหน่ง
และข้อ ๘ (๕) กำหนดให้ข้าราชการการเมืองต้องรักษาความลับของราชการ
เว้นแต่เป็นการปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย ๒.๖ เรื่องใดที่มีผลกระทบต่อประชาชนหรือประเทศชาติโดยส่วนรวม
เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติแล้ว ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องที่รับผิดชอบเป็นหน่วยงานหลักชี้แจงต่อสาธารณชนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องชี้แจงเพิ่มเติมให้เป็นใปในทิศทางเดียวกัน
กรณีเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหรืออนุมัติตามมติของคณะกรรมการต่าง ๆ
แล้ว
ให้ประธานกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการชี้แจงในทำนองเดียวกันด้วย ๒.๗
ให้โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่และอำนาจในการให้ข่าวสารเกี่ยวกับการประชุมคณะรัฐมนตรี
มติคณะรัฐมนตรี การดำเนินงานของคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือกระทรวง กรม ตลอดจนชี้แจงเมื่อปรากฏว่ามีการเสนอข่าวคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริง
หรือไม่ถูกต้อง ครบถ้วน อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคลากรหรือรัฐบาล
หรือการปฏิบัติผิดพลาดได้ ทั้งนี้ อาจขอให้โฆษกกระทรวงเป็นผู้แถลงข่าวหรือออกคำชี้แจงเอง
หรือร่วมกันแถลงข่าว หรือชี้แจงด้วยก็ได้ ๓.
เห็นชอบแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
ดังนี้ ๓.๑
การเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี
พ.ศ. ๒๕๔๘ และระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ.
๒๕๔๘ อย่างเคร่งครัด ดังนี้ ๓.๑.๑
ผู้ลงนามในหนังสือนำส่งเรื่อง ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องดำเนินการให้เป็นไปตามนัยมาตรา
๖ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘
ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้ลงนามเสนอเรื่อง ๓.๑.๒
กรณีเรื่องที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่จะต้องได้รับความเห็นชอบหรืออนุมัติจากหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นก่อน
(ตามระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อ ๙)
ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องขอความเห็นชอบหรือขออนุมัติจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้เสร็จสิ้นก่อน
แล้วจึงส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพร้อมกับความเห็นชอบหรือคำอนุมัตินั้น ๓.๒
กรณีเป็นเรื่องที่มีกรอบระยะเวลาในการดำเนินการอย่างชัดเจน
ซึ่งหน่วยงานเจ้าของเรื่องทราบล่วงหน้าอยู่แล้ว เช่น
เรื่องเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมนานาชาติ ให้เสนอเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก่อนถึงระยะเวลาที่กำหนดของเรื่องนั้น
ๆ อย่างน้อย ๑๕ วัน สำหรับกรณีที่เป็นเรื่องเร่งด่วน
ให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอย่างน้อย ๗
วัน ก่อนวันประชุมคณะรัฐมนตรี
|
||||||||||||||||||
2 | การให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยและฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย | นร.04 | 03/09/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี
(นายภูมิธรรม เวชยชัย) ปฏิบัติหน้าที่แทน นายกรัฐมนตรีเสนอว่า
เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยและฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเป็นไปอย่างรวดเร็ว
เห็นควรให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ
รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ ๑.
เร่งสำรวจความเสียหายของประชาชนทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่รับผิดชอบ
และกำหนดมาตรการช่วยเหลือเยียวยาภายหลังน้ำลด
รวมทั้งให้เร่งจัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อการให้ความช่วยเหลือ/เยียวยา/ชดเชย
แล้วเสนอขอใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยด่วน
ให้แล้วเสร็จทันภายในเดือนกันยายน ๒๕๖๗ ๒.
เร่งสำรวจความเสียหายของสถานที่ราชการในความรับผิดชอบและเร่งดำเนินการปรับปรุง/ซ่อมแซมให้สามารถใช้ปฏิบัติราชการได้ตามปกติโดยเร็วเพื่อให้สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างต่อเนื่องต่อไป ๓. เร่งจัดทำแผนฟื้นฟูความเสียหายจากอุทกภัยดังกล่าวข้างต้นและดำเนินการตามแผนดังกล่าวตามขั้นตอนโดยเร็วต่อไป ๔. เร่งจัดทำมาตรการป้องกันความเสียหายจากอุทกภัย
รวมทั้งให้จัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัยด้วย
เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นเหมาะสม ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ โดยให้คำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วน
เท่าทันต่อสถานการณ์และความพร้อมของหน่วยงานดำเนินการด้วย
|
||||||||||||||||||
3 | คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี รวม 3 ฉบับ (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 288/2567-290/2567) | นร 05 | 27/08/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
รวม ๓ ฉบับ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๘๘/๒๕๖๗ เรื่อง
มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๗ ๒. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๘๙/๒๕๖๗ เรื่อง
มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย
และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๗
|
||||||||||||||||||
4 | คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 286/2567 | นร.04 | 20/08/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๒๘๖/๒๕๖๓ เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
ลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๗ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||
5 | การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายและเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ | นร. | 20/08/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย ชุณหวชิร)
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอว่า
การลงทุนของภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้เม็ดเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีกระจายลงสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศได้โดยเร็วซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
(GDP) ได้โดยตรง
ดังนั้น
จึงเห็นควรให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินทั้งในส่วนของเงินงบประมาณรายจ่ายและเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ภายในกรอบระยะเวลาของปีงบประมาณ หรืออย่างช้าสุดภายในสิ้นปี ๒๕๖๗ เพื่อให้ทันรอบระยะเวลาของการคำนวณ
GDP ในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ส่วนราชการที่ได้รับการจัดสรรรายจ่ายลงทุนสูง เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ ขอให้ความสำคัญกับรายจ่ายลงทุนที่มีผล/เกี่ยวข้องกับการจ้างงานและการก่อสร้างเป็นลำดับแรกด้วย
|
||||||||||||||||||
6 | การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี | นร.04 | 20/08/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย)
ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ไม่อาจปฏิบัติราชการได้
คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ
ดังนี้ ๑.๑ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ๑.๒ นายพิชัย ชุณหวชิร ๑.๓ นายอนุทิน ชาญวีรกูล ๑.๔ พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ๑.๕ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ๒. ในระหว่างการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
ผู้รักษาราชการแทนข้างต้นจะสั่งการใดเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรีได้
ต้องได้รับความเห็นชอบจากรองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม เวชยชัย) ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีเสียก่อน
|
||||||||||||||||||
7 | การเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | นร.07 | 13/08/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดในแนวทาง หลักเกณฑ์
แผนและขั้นตอนการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๘ และมอบหมายให้สำนักงบประมาณนำเรื่องการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ ตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว
เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
|
||||||||||||||||||
8 | รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2566 | นร.11 สศช | 06/08/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
ประจำปี ๒๕๖๖ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเสนอ
โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑. การประมินผลในภาพรวมทั้ง ๖ มิติ โดยภาพรวมปรับตัวดีขึ้น
เช่น ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทยมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
เนื่องจากไทยสามารถปรับตัวต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ๑๙
ได้ดีขึ้น และความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคมในภาพรวมปรับตัวดีขึ้น โดยความก้าวหน้าทางสังคมในปี
๒๕๖๖ ไทยจัดอยู่ในอันดับที่ ๕๘ จาก ๑๗๐ ประเทศ ดีขึ้นจากอันดับที่ ๗๑
ของปีที่ผ่านมา ๒. การประเมินผลรายยุทธศาสตร์ชาติทั้ง ๖ ด้าน
โดยส่วนใหญ่ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น ขีดความสามารถในการแข่งขัน
การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ของไทยมีการพัฒนาที่ดีขึ้น
โดยอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในอันดับที่ ๓๐ ดีขึ้นจากอันดับที่
๓๓ จากปีที่ผ่านมา และการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
สถานการณ์ด้านความเหลื่อมล้ำของไทยดีขึ้นจากการพัฒนาในระยะที่ผ่านมามีความก้าวหน้าในการลดสัดส่วนความยากจน ๓ ประเด็นท้าทายที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมาย เช่น
หน่วยงานของรัฐอาจยังไม่ได้นำผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล อาทิ รายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ
รายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนระดับที่ ๓ ไปใช้ประกอบการปรับปรุงการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน
ทำให้ในกระบวนการจัดสรรงบประมาณ อาจยังไม่สอดคล้องกับช่องว่างในการพัฒนาประเทศ ๔. ข้อเสนอแนะเพื่อการดำเนินการในระยะต่อไป เช่น ทุกหน่วยงานของรัฐต้องให้ความสำคัญในการนำเข้าทุกข้อมูลของแผนระดับที่
๓ ในระบบ eMENSCR ให้ครบถ้วน พร้อมทั้งการรายงานผลสัมฤทธิ์
ผลการดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้หน่วยงานและภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลที่ครอบคลุมทุกการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติของหน่วยงานของรัฐไปใช้ประกอบการวิเคราะห์การดำเนินงานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ต่อไป
|
||||||||||||||||||
9 | การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของเมืองน่าเที่ยว | นร. | 06/08/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน
ชาญวีรกูล) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอว่า ที่ผ่านมามีการใช้คำว่า “เมืองรอง”
เพื่อใช้เรียกจังหวัดที่ไม่ได้เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักมาโดยตลอด อย่างไรก็ดี
เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย IGNITE TOURISM THAILAND ของรัฐบาลที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Tourism Hub ของโลกด้วยกลยุทธ์ “เมืองหลักและเมืองน่าเที่ยว”
จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ใช้คำว่า “เมืองน่าเที่ยว” แทนคำว่า “เมืองรอง”
ซึ่งจะทำให้การเรียกจังหวัดต่าง ๆ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศมากยิ่งขึ้น
|
||||||||||||||||||
10 | ปรับปรุงการมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | นร.07 | 16/07/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการปรับปรุงการมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘ ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
|
||||||||||||||||||
11 | การเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 | นร.07 | 16/07/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเสนอขอเพิ่มและเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่ายในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๘ ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ
|
||||||||||||||||||
12 | การทบทวนแนวปฏิบัติการดำเนินการภายในของไทยในการพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียน | กต. | 16/07/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการแนวปฏิบัติการให้ความเห็นชอบเอกสารในกรอบอาเซียน
๒ ประเกท [เอกสารระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในนามอาเซียนในฐานะองค์การระหว่างประเทศระดับรัฐบาล
และแผนงาน (Work Plan) และแผนดำเนินการ (Plan
of Action) ระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกที่ไทยต้องร่วมรับรอง]
ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้
ให้ส่วนราชการ/หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องส่งเอกสารดังกล่าวให้กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นชอบด้วยทุกครั้งก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมรการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการคลัง เห็นว่าเอกสารที่ประเทศไทยต้องร่วมรับรอง
(Adopt) ที่ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งให้ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ
ซึ่งไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ นั้น ในส่วนของกระทรวงการคลัง
จะเป็นแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ในระดับรัฐมนตรี ซึ่งทางเจ้าภาพจะยกร่างมาในเวลากระชั้นชิดก่อนการประชุม
การต้องได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงการต่างประเทศก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี
และการต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนการรับรองนั้น
ก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำงานในระยะเวลาที่จำกัด
จึงขอให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาทบทวนขั้นตอนการปฏิบัติด้วย |
||||||||||||||||||
13 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 | นร.01 | 16/07/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่
๑ ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน
สรุปสาระสำคัญได้ ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนฯ
ที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ ๑๑๑๑ รวมทั้งสิ้น ๓๒,๕๑๗ ครั้ง (๑๗,๐๕๐ เรื่อง)
สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ ๑๓,๕๒๕ เรื่อง คิดเป็นร้อยละ
๗๙.๓๓ โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับการประสานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
มากที่สุด (๑,๘๗๗ เรื่อง) ๒.
การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นฯ มีสถิติเรื่องร้องทุกข์
๑๗,๐๕๐ เรื่อง มากกว่าไตรมาสที่ ๑
ของปีงบประมาณ ๒๕๖๖ จำนวน ๒,๖๑๑ เรื่อง (มีเรื่องร้องทุกข์
๑๔,๔๓๙ เรื่อง) โดยประเด็นที่ประชาชนยื่นเรื่องร้องทุกข์มากที่สุดคือ
การน้ำเข้าและส่งออกสัตว์นอกราชอาณาจักร (๑,๗๑๐ เรื่อง
ซึ่งดำเนินการจนได้ข้อยุติแล้ว ๑,๖๙๐ เรื่อง) ๓.
ปัญหาและความต้องการของประชาชนที่ร้องทุกข์/หน่วยรับการประสานเรื่องร้องทุกข์ เช่น
หน่วยงานของรัฐควรปรับปรุงคุณภาพการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ
กรณีช้างพลายที่ส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรี
รัฐบาลควรให้ความสำคัญและควรตรวจสอบข้อเท็จจริง
เพื่อสื่อสารให้ประชาชนมั่นใจในความเป็นอยู่ของช้างพลาย ๔.
ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน เช่น
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและแจ้งความคืบหน้าให้กับประชาชนทราบ
ให้กระทรวงการต่างประเทศประสานทางการทูตเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีช้างพลายและสื่อสารให้ประชาชนทราบ ทั้งนี้
ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ที่มีข้อสังเกตว่า กรณีการนำช้างพลายที่ส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรีกลับประเทศไทย นั้น เห็นควรที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาให้เหมาะสม
และละเอียดรอบคอบทุกมิติ
โดยคำนึงถึงความพร้อมด้านสุขภาพของช้างและความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายและขนส่งเป็นสำคัญ รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงพาณิชย์ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เห็นควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน
และแจ้งความคืบหน้าให้ประชาชนทราบตามระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งหาแนวทางเพื่อป้องกันการร้องเรียนซ้ำในประเด็นเดิม
ซึ่งจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนการดำเนินงานและพัฒนาปรับปรุงการให้บริการของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เห็นว่าปัญหาเรื่องเสียงที่เกิดจากการจุดพลุดอกไม้ไฟ
ประเด็นดังกล่าวควรนำรายละเอียดเรื่องการร้องทุกข์มาประกอบการพิจารณาปรับปรุงประกาศเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการป้องกันและรักษาความปลอดภัยและการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนในการจุดและปล่อยหรือการกระทำการอย่างใด
เพื่อให้บั้งไฟ พลุ ตะไล โคมลอย โคมไฟ โคมควัน หรือวัตถุที่คล้ายคลึงกันขึ้นสู่อากาศ
ในประเด็นของสถานที่และวันอนุญาต ปริมาณ ความถี่
และระยะเวลาการจุดให้มีความเหมาะสม
เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและป้องกันการร้องเรียนซ้ำ |
||||||||||||||||||
14 | การเร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 | นร.05 | 16/07/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว เห็นว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๘
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ (เรื่อง การเร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา
๒๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒) เห็นชอบแนวทางการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยให้หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยเร่งรัดออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด
ตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งต่อมาหน่วยงานต่าง ๆ
ได้เสนอขอขยายระยะเวลาดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว นั้น บัดนี้
จะครบกำหนดการขยายระยะเวลาการดำเนินการดังกล่าว
โดยเฉพาะกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะต้องออกตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะครบกำหนดในวันที่
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ดังนั้น
เพื่อให้การดำเนินการออกกฎหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและตรงตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการดังกล่าว ให้มีผลบังคับใช้ก่อนวันที่
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
|
||||||||||||||||||
15 | การดูแลรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ | นร. | 23/01/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่
๖ กรกฎาคม ๒๕๔๒ (เรื่อง การปรับปรุง แก้ไข
หรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ)
กำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐจัดให้มีเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการหรือหน่วยงานนอกเวลาราชการและในวันหยุดราชการ
นั้น
พบว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมามีครูและบุคลากรทางการศึกษาเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากการที่ต้องมาปฏิบัติหน้าที่เวรรักษาการณ์ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง
ประกอบกับปัจจุบันมีบุคคลและเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ช่วยดูแลรักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐแทนได้
เช่น การใช้พนักงานรักษาความปลอดภัย การจ้างเอกชนให้บริการดูแลรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อย
การติดตั้งกล้องโทรทัศน์วงจรปิด นอกจากนี้
การให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาอยู่เวรรักษาการณ์ในสถานศึกษายังอาจเป็นการกำหนดหน้าที่ที่เพิ่มความเสี่ยงให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยไม่จำเป็น
ดังนั้น จึงเห็นควรดำเนินการ ดังนี้ ๑. ให้กระทรวงศึกษาธิการ (สถานศึกษาในสังกัด
รวมทั้งกระทรวงอื่น ๆ ที่มีสถานศึกษาในสังกัด เช่น กระทรวงกลาโหม
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงมหาดไทย ตลอดจนสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๖ กรกฎาคม ๒๕๔๒ (เรื่อง การปรับปรุง แก้ไข
หรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ประจำสถานที่ราชการ)
และมอบหมายกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (หน่วยงานในสังกัดในแต่ละพื้นที่)
ประสานกับสถานศึกษาในพื้นที่แต่ละแห่ง
เพื่อจัดเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสถานศึกษาดังกล่าวทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการตามความจำเป็นและเหมาะสม
|
||||||||||||||||||
16 | การส่งเสริมและสนับสนุนสินค้าของโครงการอันเนื่่องมาจากพระราชดำริและสินค้า OTOP | นร. | 23/01/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า สืบเนื่องจากการลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๗ และได้นำภาคธุรกิจเอกชนเยี่ยมชมการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่าง
ๆ เช่น โครงการศูนย์บริการการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รวมทั้งสินค้าชนิดต่าง ๆ จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ภาคธุรกิจเอกชนจะได้ประสานความร่วมมือกับเกษตรกรและชุมชนในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน
ลดขั้นตอนการผลิตสินค้า
และเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้าให้แพร่หลายกว้างขวางมากยิ่งขึ้นทั้งในตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ
ซึ่งจะส่งผลให้สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าของสินค้าของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้สูงขึ้นได้
ซึ่งจะเป็นการพัฒนาและยกระดับสินค้าของท้องถิ่นและชุมชนต่าง ๆ
ของไทยในภาพรวมให้มีความยั่งยืนต่อไป ดังนั้น
จึงขอให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้ความร่วมมือในการช่วยเหลือ สนับสนุน
และส่งเสริมการดำเนินกิจการ
ตลอดจนการอุดหนุนสินค้าของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รวมถึงสินค้าจากโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ให้มากยิ่งขึ้นต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||
17 | แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการ | นร.05 | 02/01/2567 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งมาพิจารณาก่อนรับหลักการ
ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้ ๑.
เมื่อสภาผู้แทนราษฎรอนุมัติให้คณะรัฐมนตรีรับร่างพระราชบัญญัติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปพิจารณาก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะลงมติรับหลักการแล้ว
ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาดำเนินการ
โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเชิญผู้แทนกระทรวง ทบวง กรม
ที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาร่วมพิจารณาโดยด่วนให้แล้วเสร็จและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรภายในกำหนดเวลาที่ขอรับมา
ทั้งนี้
ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรทราบด้วย ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเชิญผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณร่วมพิจารณาด้วย
เพื่อให้การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีความสอดคล้องกับทิศทางนโยบายของคณะรัฐมนตรีและกรอบของงบประมาณ
|