ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 5 จากข้อมูลทั้งหมด 5 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ | ศธ. | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ ระยะเวลา ๑๐ ปี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะนักเรียนทางด้านวิทยาศาสตร์
คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี [ระดับประถมศึกษา (ชั้น ป. ๔-๖) และระดับมัธยมศึกษา (ชั้น ม. ๑-๖)] ผ่านกระบวนการของหลักสูตรและเครือข่ายการพัฒนาศักยภาพมหาวิทยาลัย โรงเรียน
ครูผู้สอน และนักเรียน ภายในกรอบวงเงิน ๙,๖๑๙.๘๘ ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินงาน ๑๐ ปี
(ปีการศึกษา ๒๕๖๔-๒๕๗๓) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) พิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ โอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๒ ไปดำเนินการ ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ให้ สพฐ. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ รวมทั้งให้กระทรวงศึกษาธิการ และ สพฐ. รับความเห็น
ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ในประเด็นการกำหนดเป้าหมายของโครงการฯ
และการกำหนดตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งการติดตามและประเมินผลของโครงการฯ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงศึกษาธิการรายงานผลการดำเนินโครงการฯ ให้นายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ
เป็นรายไตรมาส
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นจากประชาชน ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 | นร.01 | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
รับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นจากประชาชน ไตรมาสที่ ๓
ของปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ และในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓
พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็น พบว่า
ประชาชนได้ยื่นเรื่องร้องทุกข์/เสนอความคิดเห็นผ่านช่องสายด่วนของรัฐบาล ๑๑๑๑
มากที่สุด โดยยื่นเรื่องประเด็นค่าครองชีพมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขอความช่วยเหลือของผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (โควิด-19) และขอให้พิจารณาทบทวนสิทธิและเร่งรัดการจ่ายเงินตามมาตรการดูแลและเยียวยาต่าง
ๆ เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง
ๆ โดยเร็ว ๒.
ขอความร่วมมือให้ทุกส่วนราชการพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
๒.๑
แจ้งความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และเร่งรัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้มีผลเป็นที่ยุติด้วยความเป็นธรรม
ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
๒.๒
รวบรวมสถิติระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ในแต่ละประเภทเรื่องที่ประชาชนร้องทุกข์ไปยังหน่วยงาน
เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการกำหนดเป็นข้อตกลงระยะเวลาแล้วเสร็จของงานการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ต่อไป
๒.๓
เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ของหน่วยงานเข้ากับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
และให้หน่วยงานที่ไม่มีระบบบฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ของตนเองเข้าร่วมใช้งานระบบการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
เพื่อเป็นการรวบรวมเรื่องร้องทุกข์ให้เป็นภาพรวมของประเทศ ๓.
มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีขยายผลการดำเนินโครงการศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล
โดยพัฒนาให้มีระบบการติดตามผลและสถานะเรื่องร้องทุกข์ (Tracking
System) เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามเรื่องร้องทุกข์ด้วยตนเองได้ทุกที่ทุกเวลา
รวมทั้งจัดให้มีระบบรายงานผล (Dashboard) สำหรับผู้บริหารใช้ในการกำกับติดตามการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2564 | นร.11 | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ในคราวประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
ซึ่งได้พิจารณาอนุมัติให้นำกรอบวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา ๕ (๓)
มาใช้เพื่อการตามมาตรา ๕ (๒) (ครั้งที่ ๒) จำนวน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาท อนุมัติโครงการ ม
๓๓ เรารักกัน ของกระทรวงแรงงาน และอนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กระทรวงการคลังปรับปรุงรายละเอียดโครงการเราชนะ
ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของการนำกรอบวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา ๕ (๓)
แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ มาใช้เพื่อการตามมาตรา ๕ (๒) นั้น
คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา
๕ (๒) คงเหลือ ๖,๒๔๖.๗๘๘๕ ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับดำเนินโครงการ ม ๓๓
เรารักกัน ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา ๕ (๓) มาใช้เพื่อการตามมาตรา ๕
(๒) เพิ่มเติมเป็นจำนวน ๓๕,๐๐๐ ล้านบาทได้ โดยเมื่อรวมวงเงินกู้ทั้งหมดยังไม่เกินหนึ่งล้านล้านบาท
ตามที่กฎหมายกำหนด ๒.
ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรเร่งปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายที่จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
อัตราค่าใช้จ่ายมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด
โดยไม่มีความซ้ำซ้อนของกลุ่มเป้าหมาย
หรือสิทธิที่พึงได้รับจากภาครัฐไปแล้วผ่านกลไกการตรวจสอบจากเลขบัตรประจำตัวประชาชน
๑๓ หลัก อย่างเคร่งครัด และพิจารณาให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ ระลอกใหม่ เป็นสำคัญ รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ สร้างความรับรู้ ความเข้าใจ
ให้ถูกต้องครบถ้วน ถึงสิทธิและข้อจำกัดของการเข้าร่วมโครงการที่กลุ่มเป้าหมายจะได้รับในครั้งนี้
และให้ความสำคัญกับระบบการติดตามและประเมินผลให้ทันต่อสถานการณ์
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | มาตรการด้านการเงินเพื่อดูแลและเยียวยาผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มเติม | กค. | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ดังนี้
๑.๑ การปรับปรุงการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) โดยขยายระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเพิ่มเติม
จากเดิม ๖ เดือน เป็นไม่เกิน ๑๒ เดือน
โดยให้ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สามารถกำหนดระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยได้ตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีสูงสุดไม่เกิน
๑๒ เดือน โดยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขให้เป็นไปตามที่ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. กำหนด
รวมทั้งขยายระยะเวลากู้ จากเดิมไม่เกิน ๒ ปี ๖ เดือน เป็นไม่เกิน ๓ ปี
๑.๒ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ SMEs มีที่ มีเงิน
สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยว เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กิจการ
และเพื่อไถ่ถอนจากการขายฝากเอกชนที่ทำสัญญาขายฝาก
โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวม ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท
ให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและสาขาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
(Supply Chain) โดยใช้ที่ดินว่างเปล่า
และ/หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินเป็นหลักประกัน
และไม่ต้องผ่านการตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกินร้อยละ ๗๐
ของราคาประเมินที่ดินของทางราชการ สูงสุดไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท
กรณีผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา และสูงสุดไม่เกิน ๕๐ ล้านบาท กรณีผู้กู้เป็นนิติบุคคล
ระยะเวลากู้ ๓ ปี คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๐.๑๐ ต่อปี ในปีแรก ร้อยละ ๐.๙๙ ต่อปี
ในปีที่ ๒ และร้อยละ ๕.๙๙ ต่อปี ในปีที่ ๓ ระยะเวลายื่นขอสินเชื่อกับธนาคารออมสินได้ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ หรือจนกว่าวงเงินโครงการจะหมด แล้วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งก่อน
และให้ธนาคารออมสินเบิกจ่ายสินเชื่อให้เสร็จสิ้นภายใน ๖ เดือน นับตั้งแต่วันสิ้นสุดรับคำขอกู้
และรัฐบาลชดเชยต้นทุนเงินให้กับธนาคารออมสินในอัตราร้อยละ ๓ ต่อปี เป็นระยะเวลา ๒
ปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน ๖๐๐ ล้านบาท ๒. สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตามโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
SMEs
มีที่ มีเงิน สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยว
ให้ธนาคารออมสินจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามขั้นตอนต่อไป
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานการดำเนินงานตามมาตรการเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
นอกจากนี้ ควรทำการติดตาม ศึกษา
และวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินมาตรการในช่วงที่ผ่านมา
โดยเฉพาะมาตรการที่ยังมีวงเงินคงเหลือและไม่สามารถจัดสรรให้กับประชาชนและผู้ประกอบการได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
เพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็นแนวทางในการปรับมาตรการและกำหนดมาตรการที่มีความเหมาะสม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การจัดทำประกาศ (Declaration) เกี่ยวกับสถานะอาวุธนิวเคลียร์สำหรับสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons–TPNW) | กต. | 15/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศ (Declaration) เกี่ยวกับสถานะอาวุธนิวเคลียร์สำหรับสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty
on the Prohibition of Nuclear Weapons-TPNW) และให้กระทรวงการต่างประเทศ
โดยคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก จัดทำและนำส่งประกาศฯ
ต่อเลขาธิการสหประชาชาติ โดยร่างประกาศฯ
มีสาระสำคัญเป็นการประกาศเกี่ยวกับสถานะอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศไทย โดยประกาศว่าราชอาณาจักรไทยไม่เป็นหรือเคยเป็นเจ้าของ
ครอบครอง หรือควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ หรือระเบิดนิวเคลียร์อื่น ๆ
รวมถึงไม่เคยมีโครงการด้านอาวุธนิวเคลียร์และไม่มีอาวุธนิวเคลียร์หรือระเบิดนิวเคลียร์อื่น
ๆ ในอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย หรือ ณ ที่ใด
ภายใต้เขตอำนาจหรือการควบคุมของราชอาณาจักรไทยที่รัฐอื่นเป็นเจ้าของ ครอบครอง
หรือควบคุม ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างประกาศฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ที่เห็นว่า ข้อ ๑
(บรรทัดที่ ๓) ของประกาศฯ ใช้ถ้อยคำว่า ‘…nuclear weapons-programme
…” แต่ ข้อ ๒ วรรคหนึ่ง (เอ)
ของตัวบทของสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ใช้ถ้อยคำว่า ‘…nuclear-weapos programme …” ดังนั้น
จึงควรพิจารณาเปลี่ยนข้อความในร่างประกาศ ให้ตรงตามถ้อยคำดังกล่าวในตัวบทของสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |