ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....) | กค. | 22/12/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการกระตุ้นการเดินทาง
“Workation Thailand ทำงานเที่ยวได้
รวมใจช่วยชาติ” และสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย
ซี่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ส่งผลให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง และอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ
จากเดิมที่มีผลใช้บังคับตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๙๗) พ.ศ. ๒๕๖๓ กำหนดให้สิ้นสุดวันที่ ๓๑
ธันวาคม ๒๕๖๓ เป็นสิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรสร้างความรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าวให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
ตลอดจนติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าว
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวและการกระจายรายได้สู่พื้นที่เมืองรอง
รวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมตามนโยบายของรัฐบาล
โดยให้กระทรวงการคลังประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินมาตรการ
ตลอดจนภาระทางการคลังที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินมาตรการ
และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2565-2568) | กค. | 22/12/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ ๒๕๖๕-๒๕๖๘)
เพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้
การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป
ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ ๒.
ให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ กระทรวงการคลัง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นว่า
ในการบริหารนโยบายการคลังในปี ๒๕๖๔
ควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านรายรับและรายจ่าย เพื่อรักษาดุลการคลังให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ และในระยะปานกลางควรให้ความสำคัญกับการเร่งรัดดำเนินการปฏิรูปการจัดเก็บรายได้โดยการทบทวนโครงสร้างภาษีในปัจจุบันควบคู่กับใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดเก็บรายได้
การควบคุมการจัดสรรงบประมาณ
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำงบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน และการเพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และการบริหารหนี้สาธารณะตามที่เสนอไว้ในแผนการคลังระยะปานกลาง
เพื่อรักษากรอบวินัยการเงินการคลังและฐานะการคลังของภาครัฐ นอกจากนี้
ควรมีการประเมินผลกระทบต่อฐานะการคลังภายใต้สถานการณ์จำลองต่าง ๆ (scenario
planning) เพื่อให้สามารถวางแผนรับมือได้อย่างทันการณ์
และให้ความสำคัญกับการสื่อสารต่อสาธารณชนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อแนวทางการดำเนินนโยบายการคลังและฐานะการคลังในระยะข้างหน้า
โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพสู่ความยั่งยืนทางการคลังผ่านหลัก 3Rs ได้แก่ (๑) Reform : การปฏิรูปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้
(๒) Reshape : การปรับโครงสร้างการจัดสรรงบประมาณ และ (๓) Resilience
: การบริหารหนี้สาธารณะอย่างมีภูมิคุ้มกันและสามารถรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|