ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 7 จากข้อมูลทั้งหมด 7 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดสรรเงินอุดหนุนโครงการพัฒนาไม้ผลและไม้ยืนต้น และโครงการศูนย์เฉพาะกิจป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า | ทส. | 30/03/2564 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘
กรกฎาคม ๒๕๒๑ (เรื่อง การดำเนินการโครงการพัฒนาไม้ผลและไม้ยืนต้น
และขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการตามโครงการ) ในส่วนข้อที่ ๑ ที่กำหนดให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จัดสรรเงินกำไรปีละ
๒๐ ล้านบาท ทุกปี นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๒ เป็นต้นไป เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการพัฒนาไม้ผลและไม้ยืนต้น
และเห็นชอบให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๘ กรกฎาคม ๒๕๒๑ โดยไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายค้างจ้ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ รวมถึงค่าใช้จ่ายค้างจ่าย จำนวน ๑๕ ล้านบาท ๑.๒ ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔
เมษายน ๒๕๒๕ (เรื่อง การป้องกันแก้ไขการบุกรุกทำลายป่าไม้ของชาติ) ในส่วนข้อที่ ๓
ให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้จัดสรรเงินรายได้โดยไม่ต้องนำส่งคลัง จำนวน ๒๐
ล้านบาทต่อปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๒๕ เป็นต้นไป เนื่องจากเป็นนโยบายพิเศษเร่งด่วนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานเกี่ยวกับการป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าไม้แก่กรมป่าไม้
และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ (เรื่อง
การป้องกันแก้ไขการบุกรุกทำลายป่าไม้ของชาติ) และเห็นชอบให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๔ เมษายน ๒๕๒๕ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖
โดยไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายค้างจ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๔
จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ รวมถึงค่าใช้จ่ายค้างจ้าย จำนวน ๑๗.๙๔๒ ล้านบาท ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการประเมินความจำเป็นในการดำเนินโครงการพัฒนาไม้ผลและไม้ยืนต้น
และโครงการศูนย์เฉพาะกิจป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายป่า ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||
2 | การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์) | คค. | 30/03/2564 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
(นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ
|
||||||||||||||||||
3 | การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน | นร. | 30/03/2564 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายกุลพัชร ภูมิใจอวด ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป
แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ และให้นายกุลพัชร ภูมิใจอวด
ลาออกจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินก่อนลงนามในสัญญาจ้างด้วย
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เสนอ
|
||||||||||||||||||
4 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ | กค. | 30/03/2564 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง
นายสุริยะ วงศ์คงคาเทพ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการสร้างเสริมสุขภาพในคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ แทนผู้ที่ลาออกโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
(๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔) เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||
5 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (1. นายประเสริฐ ตปนียางกูร) | กค. | 30/03/2564 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ จำนวน ๕ คน
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายประเสริฐ ตปนียางกูร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาวิศวกร ๒. พลอากาศตรี หม่อมหลวงประกิตติ เกษมสันต์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาสถาปนิก ๓. นายเทพ วงษ์วานิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ๔. นายพีระ เพชรพาณิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ๕ นายวิเชียร พงศธร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงการคลังดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการตามกฎหมาย/กรรมการและผู้บริหารขององค์การมหาชน)
|
||||||||||||||||||
6 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล และ นายไพโรจน์ โชติกเสถียร | รง. | 30/03/2564 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ
สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๒ ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอ
ดังนี้ ๑. นายสุชาติ พรชัยวิเศษกุล ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระะทรวง
สำนักงานปลัดกระทรวง
|
||||||||||||||||||
7 | สรุปผลการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 1/2564 | นร.10 | 30/03/2564 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๔ ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
และได้มีประเด็นข้อสั่งการสำคัญที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้คณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่ารับไปดำเนินการ
ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ดังนี้ ๑.
ให้ทุกส่วนราชการพิจารณาข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อน กระตุ้น และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
รวมถึงการใช้ชีวิตวิถีใหม่ของประชาชน
ภายใต้บริบทการบริหารจัดการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยมีจำนวนผู้ติดเชื้อภายในประเทศลดลง
และเริ่มมีการฉีดวัคซีนให้ประชาชนแล้ว ทั้งนี้
ให้ทุกส่วนราชการพิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบการปฏิบัติงาน
และการให้บริการประชาชนให้สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ด้วย ๒.
ให้ทุกส่วนราชการจัดทำวิดีทัศน์นำเสนอผลงานของหน่วยงานที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล
เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อประชาชนเกี่ยวกับผลงานและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน
ทั้งนี้ วิดีทัศน์ควรมีรูปแบบการนำเสนอที่น่าสนใจ
ทันยุคสมัยและให้มีการเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง ๓.
ให้ทุกส่วนราชการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติงาน
การอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชน โดยอาจพิจารณาสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนที่มีความรู้
ความชำนาญ และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ๔.
ให้ทุกส่วนราชการเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนตามที่ได้รับการประสานจากศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีด้วยความรวดเร็ว ๕. ให้ทุกส่วนราชการพิจารณาจัดส่งข้อมูลให้กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับการร้องขอ
ทั้งนี้ ขอให้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยเคร่งครัด ๖.
ให้ทุกส่วนราชการให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมจิตอาสา
โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมจิตอาสาในพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ๗.
ให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อาทิ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เตรียมแนวทางในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นองค์รวมภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น อาทิ ภัยแล้ง ปัญหาน้ำทะเลหนุน ๘.
ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ร่วมกันพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตร รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าทางการเกษตร
อาทิ (๑) การสร้างห้องเย็นเพื่อให้สามารถจัดเก็บสินค้าทางเกษตรได้นานขึ้น (๒)
การควบคุมความสมดุลระหว่างความสามารถในการเพาะปลูกพืชผล สินค้าทางการเกษตร
และความต้องการผลผลิตทางการเกษตร (๓)
การนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้ในการควบคุมปริมาณการใช้น้ำสำหรับการเพาะปลูกพืชพันธุ์แต่ละชนิดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำลง และ (๔) การสนับสนุนความรู้
สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน
เพื่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ได้อย่างเหมาะสมตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๙.
ให้กระทรวงมหาดไทยสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจใหม่แบบองค์รวม
หรือ Bioeconomy, Circular Economy and Green Economy (BCG) ซึ่งเกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ ในเชิงพื้นที่
เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้
ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำนโยบายดังกล่าวไปพิจารณาประกอบการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ ๑๓ ต่อไปด้วย ๑๐. ให้สำนักงาน ก.พ.
จัดทำข้อเสนอรูปแบบการจ้างงานที่หลากหลาย
รวมถึงแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนและการจัดสวัสดิการที่เหมาะสม เพื่อดึงดูด
จูงใจ และรักษาไว้ซึ่งกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถให้อยู่ในระบบราชการ ๑๑. ให้ทุกส่วนราชการเร่งรัดการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการสรรหา
สอบคัดเลือก
และบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการหรือปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐเพื่อทดแทนอัตราว่างจากการเกษียณอายุและอัตราตั้งใหม่ที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้วแต่ยังไม่ได้มีการบรรจุแต่งตั้งให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ทั้งนี้
เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีงานทำของประชาชนและบรรเทาผลกระทบของการว่างงานจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๔
๑๒.
ให้ทุกส่วนราชการกวดขันและเข้มงวดในการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐของหน่วยงานทุกระดับให้เป็นไปด้วยความซื่อสัตย์
สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
เพื่อลดโอกาสในการทุจริตประพฤติมิชอบ
|