ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 5 จากข้อมูลทั้งหมด 5 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง | กต. | 12/01/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน
ครั้งที่ ๓๗ และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง รวม ๑๔ การประชุม
ซี่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในฐานะประธานอาเซียน ปี ๒๕๖๓
ได้จัดการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
โดยภาพรวมของการประชุมฯ
ประเด็นสำคัญที่มีการหารือกันอย่างกว้างขวางและทุกประเทศให้ความสำคัญ ได้แก่
การขับเคลื่อนประชาคมอาเซียน
การรับมือกับการแพร่ระบาดและผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙)
การฟื้นฟูและสร้างอนาคตที่เข้มแข็งและยั่งยืนในยุคหลังโควิด-๑๙ และสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ
โดยมีเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมในครั้งนี้รวมทั้งสิ้น ๒๐ ฉบับ
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ที่เสนอขอปรับปรุงตารางติดตามผลการประชุมฯ
ไปพิจารณาดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | เอกสารที่จะมีการรับรองในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 1 | ดศ. | 12/01/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล
ครั้งที่ ๑ (The 1st ASEAN Digital Ministers Meeting :
ADGMIN ครั้งที่ ๑) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๘-๒๒ มกราคม
๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจสังคม
หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารดังกล่าว ได้แก่ ร่างแผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล
ค.ศ. .๒๐๒๕ (ASEAN Digital Masterplan 2025 : ADM
2025) ร่างแนวทางการดำเนินงานสำหรับกรอบการจัดการข้อมูลอาเซียนและกลไกการไหลเวียนข้อมูลข้ามพรมแดนของอาเซียน
(Implementing Guidelines for ASEAN Data Management Framework and ASEAN
Cross Border Data Flows Mechanism) ร่างปฏิญญาปุตราจายา (Putrajaya
Declaration) และร่างข้อริเริ่มอาเซียนในการอำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดระบบนิเวศโอทีทีที่ยั่งยืน
(ASEAN Initiative for Facilitating Sustainable Over-the-Top OTT Ecosystem) ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารดังกล่าว
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้
โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศที่เห็นว่า
(๑) แผนแม่บทอาเซียนด้านดิจิทัล ค.ศ. ๒๐๒๕ ควรผลักดันให้การดำเนินการเป็นไปในแนวทางที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์สำคัญต่าง
ๆ ของอาเซียน อาทิ วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. ๒๐๒๕ แผนงานประชาคมอาเซียนทั้ง ๓
เสา และแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. ๒๐๒๕
ตลอดจนสนับสนุนการฟื้นฟูและการสร้างความเข้มแข็งของภูมิภาคอาเซียนหลังการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙
ตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน และ (๒)
ร่างแนวทางการดำเนินงานสำหรับการจัดการข้อมูลอาเซียนและกลไกการไหลเวียนข้อมูลข้ามพรมแดนของอาเซียน
ในส่วนของความร่วมมือกับภาคีภายนอกเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของอาเซียนในด้านการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
ควรคำนึงถึงความละเอียดอ่อนในประเด็นเรื่องการแข่งขันของภาคีภายนอกที่มีผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จากระบบหรือเทคโนโลยีในด้านดังกล่าว
ซึ่งในเรื่องนี้ อาเซียนควรพิจารณาถึงความต้องการ ความพร้อม
และผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 (โครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค) | นร.11 | 12/01/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๔
ที่ได้มีการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ
รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค
ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
โดยให้แก้ไขเอกสารในส่วนของชื่อโครงการ จากเดิม “โครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการ
รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙” เป็น
“โครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ
รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค”
ด้วย ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ๒.
ให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเตรียมความพร้อมให้ทันต่อสถานการณ์
โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการบริการสุขภาพให้มีการกระจายลงสู่พื้นที่อย่างทั่วถึง
เร่งรัดการใช้จ่ายและปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรี ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ระยะเวลาดำเนินการ และความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติ ซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
อัตราค่าใช้จ่าย และมาตรฐานของทางราชการอย่างประหยัด
ไม่มีความซ้ำซ้อนกับโครงการอื่น ๆ ของภาครัฐ
รวมทั้งให้ความสำคัญกับระบบการติดตามและประเมินผลให้ทันต่อสถานการณ์
และให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ไปดำเนินการอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารงานภาครัฐ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓.
ให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ขอความเห็นชอบการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี กรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี | คค. | 12/01/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้เลื่อนการพิจารณาเรื่อง
ขอความเห็นชอบการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนการออกแบบและก่อสร้างงานโยธา การจัดหาระบบรถไฟฟ้า
การให้บริการการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย–มีนบุรี
กรณีโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช–เมืองทองธานี ออกไปก่อน
เพื่อตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
ก่อนแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การรับรองแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเอเปค พ.ศ. 2563 - 2567 | กก. | 12/01/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวเอเปค พ.ศ. ๒๕๖๓-๒๕๖๗ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้การรับรองร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ
ร่วมกับรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค โดยร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ
เป็นเอกสารที่คณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ ๕๔ จัดทำขึ้นและเสนอต่อรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปคเพื่อให้การรับรอง
โดยวิธีการแจ้งเวียน (ad referendum)
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคเอเปค
ครอบคลุมยุทธศาสตร์ ๔ ด้าน ได้แก่ (๑) การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล (๒) การพัฒนาทุนมนุษย์
(๓) การอำนวยความสะดวกในการเดินทางและความสามารถในการแข่งขัน และ (๔) การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) ที่เห็นว่า
ร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ
ครอบคลุมประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญและจะมีส่วนช่วยพัฒนาเขตเศรษฐกิจไทยสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพ
(Quality Destination) อาทิ
สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดการดูแล
มลพิษที่เกิดจากการท่องเที่ยว
รวมถึงการจัดทำบัญชีประชาชาติด้านการท่องเที่ยวที่รวมต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม (Tourism
Satellite Account-System of Environmental Economic Accounting : TSA-SEEA) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |