ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 9 จากทั้งหมด 46 หน้า แสดงรายการที่ 161 - 180 จากข้อมูลทั้งหมด 902 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
161 | แผนการดำเนินงาน (Roadmap) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2563 [สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)] | นร04 | 06/06/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบแผนการดำเนินงาน (Roadmap) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๓ ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) มีเป้าหมาย คือ สถานศึกษาได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ แบ่งเป็น (๑) แผนเร่งด่วนภายในระยะเวลา ๑ ปี (เดือนมกราคม-ธันวาคม ๒๕๖๐) และ (๒) แผนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๓ ทั้งนี้ จะเริ่มดำเนินการประเมินระยะที่ ๑ ในไตรมาสที่ ๔/๒๕๖๐ (เดือนกรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๐) โดยมีเป้าหมาย คือ สถานศึกษาระดับปฐมวัยขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ทั่วประเทศ ๓๕๓ แห่ง ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) เสนอ และให้ สมศ. เร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานฯ ต่อไป ๒. ให้รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) กำกับให้ สมศ. ดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ของระบบการศึกษาในปัจจุบันตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยเน้นผลที่เกิดกับนักเรียน ครู และผลการเรียน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาระบบการศึกษาและการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาให้เหมาะสมต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
162 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเคหะชุมชนคลองเตย ระยะที่ 3 | คค | 30/05/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับโครงการพัฒนาเคหะชุมชนคลองเตย ระยะที่ ๓ ซึ่งเดิมมีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยให้กับชาวชุมชนแออัด เพื่อให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยสามารถนำอาคารแฟลตดังกล่าวมาบริหารจัดการด้านที่อยู่อาศัยให้แก่พนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยคัดเลือกพนักงานชั้นผู้น้อยที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเองเข้าพักในอาคารแฟลต ๒๖-๒๙ จำนวน ๖๒๐ หน่วยเป็นลำดับแรก ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการที่อยู่อาศัยในอนาคต ให้สำรวจความต้องการของชุมชนก่อนดำเนินการ และเสนอผลการสำรวจประกอบการพิจารณาอนุมัติโครงการตามความเห็นของสำนักงบประมาณด้วย ๒. ให้กระทรวงคมนาคม โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทยเร่งพิจารณาจัดทำแผนการบริหารจัดการชุมชนแออัดในปัจจุบันให้มีความชัดเจนและเหมาะสมตามความเห็นของกระทรวงการคลัง รวมทั้งกำหนดมาตรการไม่ให้เกิดการบุกรุกที่ดินว่างเปล่าขึ้นอีก ตามความเห็นของกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้มุ่งเน้นการทำความเข้าใจกับชาวชุมชนอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงด้วย ๓. ให้กระทรวงคมนาคม โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทยร่วมกับการเคหะแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาใช้ประโยชน์จากโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาลโครงการอื่น เช่น โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง โครงการบ้านประชารัฐ เป็นต้น เพื่อให้ชาวชุมชนมีทางเลือกที่อยู่อาศัยที่หลากหลายและตรงกับความต้องการของชาวชุมชนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างคุ้มค่าต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
163 | ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ สสค. ปีงบประมาณ 2560 ครึ่งปีแรก | นร | 23/05/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานของสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ครึ่งปีแรก ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) ประธานกรรมการ สสค. เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
๑. แผนการดำเนินงานปีงบประมาณ ๒๕๖๐ สสค. เน้นให้ความสำคัญกับปัจจัยที่จะส่งผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพเยาวชนและเพิ่มประสิทธิภาพในการสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษา ได้แก่ การส่งเสริมคุณภาพของครูและสถานศึกษา การสร้างความพร้อมแก่เยาวชนในการประกอบอาชีพรวมถึงการแนะแนว และการพัฒนาและนำข้อมูลและสารสนเทศไปใช้ในลักษณะบูรณาการ ๒. ผลงานสำคัญปีงบประมาณ ๒๕๖๐ ครึ่งปีแรก ได้แก่ (๑) ร่วมกับ OECD/PISA พัฒนาเครื่องมือสำหรับครูใช้ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สร้างสรรค์ เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการพัฒนากำลังคนที่มีทักษะสอดคล้องกับศตวรรษที่ ๒๑ (๒) วิจัยพัฒนาฐานข้อมูลตลาดแรงงานครบถ้วนทั้ง ๑๘ กลุ่มจังหวัด เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ส่งเสริมให้เยาวชนมีความพร้อมในการประกอบอาชีพ และ (๓) พัฒนาระบบสารสนเทศ และ APP เพื่อคัดกรองเด็กยากจน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรงบประมาณและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ๓. ทิศทางการดำเนินงานในภาพรวม ภารกิจของ สสค. มีลักษณะเป็นการสนับสนุนรัฐบาลในการเตรียม “คนไทย ๔.๐” ให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามยุทธศาสตร์ชาติ "Thailand 4.0" โดยเน้นบทบาทในการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ ๔. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เนื่องจาก สสค. ไม่มีฐานะเป็นหน่วยงานที่จะขอตั้งหรือรับงบประมาณได้เอง ทำให้ยังไม่สามารถดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ๔ จังหวัด ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการได้ คณะกรรมการ สสค. จึงได้มีมติให้เสนอขอจัดตั้งเป็นสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (องค์การมหาชน) ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
164 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขององค์การมหาชน จำนวน 8 แห่ง | นร12 | 23/05/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน จำนวน ๘ ฉบับ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการปรับปรุงบทอาศัยอำนาจตามร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนทั้ง ๘ แห่ง ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน การกำหนดให้องค์การมหาชนแจ้งแผนการบริหารหนี้สาธารณะ และรายงานสถานะหนี้สาธารณะตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๔๙ ตลอดจนความชัดเจนในการใช้มาตรฐานการบัญชีที่นำมาจัดทำบัญชีขององค์การมหาชน ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ ๑.๑ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๒ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๓ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๔ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ๑.๕ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๖ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๗ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๘ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เห็นควรกำหนดแนวทางการกำหนดเครื่องแบบขององค์การมหาชนเพื่อให้การกำหนดเครื่องแบบของทุกองค์การมหาชนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
165 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. .... | ดศ | 09/05/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจแสะสังคม พ.ศ. .... โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ดำเนินการยกร่างระเบียบการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และดำเนินการปรับโครงสร้างของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรองรับกับภารกิจ อำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ รวมทั้งได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาทบทวนแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอีกครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ตลอดจนได้มีการประสานแจ้งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนมีการยุบเลิกสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) แล้ว ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
166 | รายงานการประชุมด้านการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 10 | คค | 09/05/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประชุมด้านการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ ๑๐ [10th Regional Environmentally Sustainable Transport (EST) Forum in Asia] ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๖ มีนาคม ๒๕๖๐ ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านคมนาคม หน่วยงานด้านการขนส่ง การพัฒนาและสิ่งแวดล้อมจากประเทศสมาชิก และผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพิชิต อัคราทิตย์) พร้อมคณะเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
๑. ผลการประชุมด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมฯ ประเทศไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าของการดำเนินการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ความสอดคล้องของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการขนส่งของประเทศไทยในระยะ ๒๐ ปี กับแผนการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในด้านการพัฒนาการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ สะอาด และปลอดภัย โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในภาคการขนส่งเพื่อสร้างความเท่าเทียมด้านการเดินทางให้แก่ประชาชน และแผนพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยตามแนวทางของปฏิญญากรุงเทพ ๒๐๒๐ ว่าประเทศไทยได้กำหนดให้มีแผนการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ ๒๐-๒๒ ผ่านการดำเนินการ (๑) การหลีกเลี่ยง (Avoid) การเดินทางที่ไกลเกินความจำเป็นและลดระยะทางในการเดินทาง (๒) เปลี่ยนรูปแบบ (Shift) ของการขนส่งไปสู่รูปแบบที่ยั่งยืน (๓) ปรับปรุง (Improve) มาตรฐานต่าง ๆ ของภาคการขนส่งทางถนน โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ และ (๔) เพิ่มความปลอดภัยต่อชีวิตและสุขภาพในภาคการขนส่ง ๒. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพิชิต อัคราทิตย์) พร้อมคณะได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว (นาย Bounchanh Sinthavong) โดยนาย Bounchanh ได้แสดงความขอบคุณกระทรวงคมนาคมและสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ที่ให้ความช่วยเหลือ สปป.ลาว ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ อาทิ สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ซึ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและการท่องเที่ยวแก่ประชาชนของทั้งสองประเทศ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในระดับอนุภูมิภาค
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
167 | สรุปสาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ ครั้งที่ 5/2560 | นร | 09/05/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปสาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ (บยศ.) ครั้งที่ ๕/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ตามที่ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ บยศ. เสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. ความคืบหน้าโครงการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ที่ประชุมมีมติรับทราบความคืบหน้าโครงการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ และมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพิจารณาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานโดยเฉพาะการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ของโครงข่ายฯ และแนวทางการบริหารจัดการภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบต่อไป ๒. การขับเคลื่อนด้านการศึกษา ที่ประชุมมีมติ ๒.๑ มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของที่ประชุมไปปรับปรุงการขับเคลื่อนการศึกษาในกรอบระยะเวลาช่วง ๑ ปี ๔ เดือน และในช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ โดยให้กำหนดเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์ที่ชัดเจน รวมทั้งให้สร้างการรับรู้และรับฟังความคิดเห็นจากผู้ปฏิบัติงานในแต่ละระดับเพื่อวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสมบูรณ์ของทักษะการเรียนรู้ ทักษะการใช้ชีวิต คุณธรรมจริยธรรม ระเบียบวินัย และจิตสำนึกต่อส่วนรวม และรายงานผลการดำเนินงานให้ บยศ. ทราบต่อไป ๒.๒ เห็นชอบในหลักการการอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนในโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญศึกษา โดยในส่วนของงบประมาณให้กระทรวงศึกษาธิการทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาประเมินผลประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนและกำหนดเงื่อนไขการใช้เงินอุดหนุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือโรงเรียนอื่น ๆ เช่น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้ครบถ้วนและเหมาะสมด้วย ๓. การนำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบ Big Data ของภาครัฐ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นเจ้าภาพในการดำเนินงาน และคณะทำงานประกอบด้วยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสถิติแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) โดยให้นำเสนอแผนแม่บทการพัฒนา Big Data ของภาครัฐต่อ บยศ. ภายใน ๓ เดือน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
168 | มติคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2560 | ดศ | 25/04/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ สรุปได้ ดังนี้
๑. รับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายอวกาศ ซึ่งอยู่ระหว่างพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การบริหารและยุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติ และเห็นชอบให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) จัดตั้งคณะทำงาน ซึ่งสทอภ. ได้ดำเนินการแล้ว ๒. รับทราบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ เกี่ยวกับแนวทางการบริหารกิจการดาวเทียมสื่อสารของประเทศ ๓. รับทราบความคืบหน้าโครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา (THEOS-2) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐) อนุมัติการดำเนินโครงการแล้ว ๔. เห็นชอบในหลักการของร่างยุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติ ปี ๒๕๖๐-๒๕๗๙ และให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงแนวทางการพัฒนากิจการอวกาศของประเทศไทยปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ เช่น ปรับแก้วิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ ควรเพิ่มยุทธศาสตร์การสื่อสาร และควรคำนึงถึงการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับภารกิจต่าง ๆ เป็นต้น ๕. เห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐภายในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ และเห็นควรให้คณะอนุกรรมการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐเพื่อความมั่นคงเชิญหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมดำเนินการจัดทำรายละเอียดของโครงการให้มีความสมบูรณ์ เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ขอให้ผ่านหลักเกณฑ์การจัดทำโครงการที่มีงบประมาณสูงของภาครัฐ โดยการจัดทำโครงการจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และให้เสนอผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการมาพร้อมกันในการประชุมครั้งต่อไป ๖. รับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินงานของคณะทำงานพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการการดำเนินงานกิจการดาวเทียมสื่อสาร ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และมีข้อเสนอแนะให้คณะทำงานสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการบริหารจัดการการดำเนินงานกิจการดาวเทียมสื่อสารต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
169 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมและแนวทางการจัดหาดาวเทียมสื่อสารภาครัฐของคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ | ดศ | 18/04/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียม และแนวทางการจัดหาดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบต่อไป ดังนี้
๑. คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับนโยบายการบริหารกิจการดาวเทียมสื่อสารในระยะยาว ภายหลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นผลลง โดยเห็นควรเปิดตลาดให้มีการแข่งขันแบบมีข้อตกลงกับรัฐบาล (Market with Undertaking/Deed of Agreement) โดยใช้ระบบใบอนุญาต (licensing) เป็นรายระบบดาวเทียมสื่อสาร ๒. นโยบายการบริหารกิจการดาวเทียมสื่อสารในช่วงเปลี่ยนผ่าน (๑) กรณีดาวเทียมไทยคม ๔, ๕ และ ๖ และเอกสารข่ายงานอื่น ๆ ภายหลังสัญญาสัมปทานสิ้นผลลงและดาวเทียมยังมีอายุการใช้งานเหลืออยู่ เห็นควรให้คัดเลือกเอกชนเพื่อใช้สิทธิและหน้าที่การรักษาวงโคจร รวมถึงการประกอบการกิจการดาวเทียมสื่อสารที่ใช้สิทธิในวงโคจรดังกล่าวตามระบบใบอนุญาตแบบมีเงื่อนไข และ (๒) สำหรับดาวเทียมดวงต่อ ๆ ไปที่อาจจัดส่งขึ้นก่อนสัญญาสิ้นผลลง ยังคงมีความผูกพันที่จะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขของสัญญาสัมปทานฯ ให้ครบถ้วน อีกทั้งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการประชุมแก้ไขร่างยุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติ ปี ๒๕๖๐-๒๕๗๙ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ๓. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ได้จัดทำโครงสร้าง ภารกิจ และอำนาจหน้าที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติ และตั้งคณะทำงานเพื่อยกร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศแห่งชาติ รวมถึงรายละเอียดแนวทางการจัดตั้งองค์การอวกาศ ตลอดจนได้ว่าจ้างคณะผู้วิจัยจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อศึกษาวิเคราะห์เหตุผลและความจำเป็นในการยกร่างกฎหมายอวกาศและกิจการดาวเทียมตามบริบทของประเทศไทย ตลอดจนศึกษาพันธกรณีระหว่างประเทศด้านกฎหมายอวกาศ และศึกษาแนวทางในการยกร่างกฎหมายอวกาศเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ๔. แนวทางการจัดหาดาวเทียมสื่อสารภาครัฐนั้น เนื่องจากภาครัฐมีการใช้งานระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมในปริมาณไม่มากนัก จึงไม่คุ้มค่าหากภาครัฐมีดาวเทียมเป็นของตนเอง รวมทั้งปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐเช่าใช้ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมจากบริษัทเอกชนกับการสร้างร่วมมือในการดำเนินโครงการดาวเทียมระหว่างภาครัฐกับเอกชน (Public Private Partnership : PPP) ซึ่งใช้งบประมาณที่ต่ำกว่า ทำให้สามารถประหยัดเงินงบประมาณได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
170 | การวิจัยพัฒนาและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม | กห | 18/04/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการวิจัยพัฒนาและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. ขีดความสามารถของส่วนราชการในกระทรวงกลาโหมในการวิจัยพัฒนาและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ได้แก่ (๑) สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เช่น พัฒนาโรงงานที่มีสายการผลิตตามมาตรฐานทางทหาร ผลิตเครื่องช่วยฝึกการยิงปืนใหญ่ ขนาด ๑๔.๕ มิลลิเมตร ผลิตแบตเตอรี่และวัตถุพลอยได้จากการผลิตแบตเตอรี่ เป็นต้น (๒) กองทัพบก เช่น โครงการวิจัยและพัฒนารถยนต์บรรทุก ขนาด ๑/๔ ตัน การซ่อมบำรุงยานพาหนะตระกูลเบนซ์ รถหุ้มเกราะ และยานยนต์สายพาน การผลิตยางรถยนต์ แบตเตอรี่แห้ง และเครื่องแต่งกายทหาร เป็นต้น (๓) กองทัพเรือ เช่น โครงการวิจัยเสื้อเกราะกันกระสุน เครื่องบินทะเล ขนาด ๒ ที่นั่ง การวิจัยและผลิตอากาศยานไร้นักบิน ปีกนิ่งขึ้น-ลงทางดิ่ง การซ่อมเรือ การซ่อมอากาศยานกองทัพเรือ การซ่อมรถยนต์สงครามชนิดรบ การสร้างเรือเพื่อใช้ในราชการ เป็นต้น (๔) กองทัพอากาศ เช่น โครงการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี โครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับยุทธวิธีระยะประชิด การซ่อมบำรุงอุปกรณ์ด้านสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในระดับหน่วย ระดับกลาง และระดับโรงงาน ซ่อมบำรุงอาวุธนำวิถีในระดับกลาง เป็นต้น และ (๕) สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ได้แก่ โครงการการบูรณาการระบบงานวิจัยพัฒนาและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่ได้ดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน เช่น โครงการผลิต/ประกอบกระสุน ขนาด ๓๐ มิลลิเมตร โครงการอากาศยานไร้นักบิน เป็นต้น ๒. การบูรณาการความร่วมมือระหว่างส่วนราชการในการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยกำหนดเป้าหมายสำหรับใช้เป็นแผนที่นำทาง (Roadmap) การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม ได้แก่ (๑) ภายในปี ๒๕๖๐ มุ่งจัดระเบียบหน่วยผลิตภายในกระทรวงกลาโหม (๒) ภายในปี ๒๕๖๔ มุ่งปฏิรูปกรอบงานการกำหนดความต้องการขีดความสามารถของกองทัพ (๓) ภายในปี ๒๕๖๙ มุ่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการภาคเอกชน (๔) ภายในปี ๒๕๗๔ มุ่งส่งผ่านการผลิตและซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์โดยภาครัฐไปสู่ภาคเอกชนโดยสมบูรณ์ และ (๕) ภายในปี ๒๕๗๙ มุ่งให้เกิดความยั่งยืนโดยภาคเอกชนเป็นฐานการผลิตยุทโธปกรณ์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
171 | การลงนามเอกสารโครงการและหนังสือความตกลงรับทุนสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกภายใต้โครงการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน | ทส | 11/04/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
๑. เห็นชอบการลงนามเอกสารโครงการและหนังสือความตกลงรับทุนสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility : GEF) ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) ภายใต้โครงการพัฒนาเมืองคาร์บอนต่ำผ่านระบบการจัดการเมืองอย่างยั่งยืน (Achieving Low Carbon Growth in Cities through Sustainable Urban Systems Management in Thailand Project) ๒. มอบหมายให้ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเป็นผู้ลงนามเอกสารโครงการและหนังสือความตกลงรับการสนับสนุนฝ่ายไทย ๓. มอบหมายให้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่เป็นหน่วยดำเนินโครงการ (Implementing Agency) เพื่อดำเนินงานดังกล่าวต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
172 | รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินการโครงการในวาระแห่งชาติด้านวัคซีน ภายใต้นโยบายและแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 | สธ | 11/04/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินการโครงการในวาระแห่งชาติด้านวัคซีน ภายใต้นโยบายและแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จำนวน ๑๐ โครงการ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. โครงการที่เป็นไปตามเป้าหมาย และตัวชี้วัดตามแผนที่กำหนด จำนวน ๕ โครงการ ได้แก่ โครงการจัดเตรียมคลังเก็บวัคซีนมาตรฐานของภูมิภาค โครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อการผลิตวัคซีนป้องกันโรคไอกรนชนิดไร้เซลล์ โครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านวัคซีนโดยหน่วยงานกลางแห่งชาติด้านวัคซีน โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวัคซีนอย่างเป็นระบบ และโครงการวิจัยพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกสู่ระดับอุตสาหกรรมในประเทศ ๒. โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ มีความก้าวหน้าแต่ช้ากว่าแผน จำนวน ๒ โครงการ ได้แก่ โครงการจัดตั้งเครือข่ายศูนย์ทรัพยากรชีวภาพทางการแพทย์เพื่องานวิจัยพัฒนาด้านวัคซีน และโครงการวิจัยพัฒนาวัคซีนไข้สมองอักเสบจีอีชนิดเชื้อเป็นโดยใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรม ๓. โครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ด้วยงบประมาณของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ จำนวน ๒ โครงการ ได้แก่ โครงการเตรียมความพร้อมโรงงานผลิตวัคซีนระดับกึ่งอุตสาหกรรมมาตรฐาน GMP และโครงการผลิตวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนและการผลิตวัคซีนผสมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และตับอักเสบ ๔. ชะลอการดำเนินโครงการ และเลื่อนกำหนดการดำเนินงาน ๑ โครงการ คือ โครงการขยายกำลังการผลิตวัคซีนป้องกันวัณโรคเพื่อรองรับการจำหน่าย UNICEF
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
173 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (จำนวน 3 คน 1. นายนคร ศิลปอาชา ฯลฯ) | นร04 | 04/04/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. อนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ จำนวน ๓ คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปีแล้ว เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๔ เมษายน ๒๕๖๐) เป็นต้นไป ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) เสนอ ดังนี้ ๑.๑ นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการ ๑.๒ นายถาวร ชลัษเฐียร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๑.๓ นางสิริรักษ์ รัชชุศานติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ๒. ให้ใช้ชื่อคณะกรรมการบริหารสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพดังแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ (เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ) กรณีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการขององค์การมหาชน ให้ใช้ชื่อตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไปพลางก่อน และให้สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ดำเนินการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวในครั้งต่อไปให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
174 | รายงานประจำปี 2558 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) | ศธ | 28/03/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๕๘ ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) (สคพ.) ประกอบด้วย ผลการดำเนินงานของ สคพ. ผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ และงบแสดงฐานะการเงินของ สคพ. ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๘ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
175 | ท่าทีไทยและกรอบการเจรจาสำหรับการเจรจาตราสารห้ามอาวุธนิวเคลียร์ | กต | 21/03/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบในหลักการและรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบในหลักการต่อท่าทีไทยและกรอบการเจรจาสำหรับการเจรจาตราสารห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งครอบคลุมประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่ไทยได้ให้ความสำคัญ เช่น (๑) สนับสนุนการจัดทำตราสารห้ามอาวุธนิวเคลียร์โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านมนุษยธรรมต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม (๒) พันธกรณีของตราสารฯ ควรสอดคล้อง สนับสนุน และส่งเสริมการดำเนินงานภายใต้สนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ไทยเป็นภาคี (๓) เนื้อหาสาระโดยรวมของตราสารฯ ควรมีข้อบทที่สำคัญเช่นเดียวกับอนุสัญญาห้ามอาวุธชนิดอื่น ๆ เพื่อให้มีแนวปฏิบัติด้านการลดอาวุธที่สอดคล้องกัน (๔) เน้นการห้าม (prohibition) เป็นหลัก เพื่อสร้างบรรทัดฐานระหว่างประเทศว่าการมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง รวมทั้งการผลิต จัดหา และพัฒนาเป็นสิ่งที่ไม่ชอบธรรมไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และ (๕) คำนึงถึงขีดความสามารถ บริบท และผลประโยชน์ของชาติ และไม่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาลไทยบนพื้นฐานของบรรทัดฐานระหว่างประเทศและหลักการสากล ๑.๒ รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมเพื่อเจรจาตราสารห้ามอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งมีเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย โดยกระทรวงการต่างประเทศจะทำหนังสือแต่งตั้งคณะผู้แทนไทย (credentials) เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามต่อไป ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรพิจารณาให้มีผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เข้าร่วมเป็นองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการเจรจาไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังที่ไทยเข้าร่วมเป็นภาคีตราสารห้ามอาวุธนิวเคลียร์ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเป็นลำดับแรก ส่วนค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป เห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๓. หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
176 | โครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา (THEOS-2) | วท | 14/03/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติการดำเนินโครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา (THEOS-2) วงเงิน ๗,๘๐๐ ล้านบาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรศุลกากร) ระยะเวลาดำเนินการ ๕ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐-พ.ศ. ๒๕๖๔) โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) รับผิดชอบโครงการ THEOS-2 ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ส่วนรายละเอียดค่าใช้จ่ายของโครงการ THEOS-2 ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยให้ สทอภ. ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ และเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน ๑,๐๕๙ ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาระบบดาวเทียมสำรวจพร้อมระบบภาคพื้นดินและระบบแอปพลิเคชันภูมิสารสนเทศ และการก่อสร้างอาคารประกอบและทดสอบดาวเทียม สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ICT และงบดำเนินงานบริหารโครงการ เห็นควรให้ สทอภ. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ๒. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สทอภ. ดำเนินการตามมติคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ เช่น จัดทำแผนเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงของโครงการการส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาและการสร้างรายได้ เป็นต้น และให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ เช่น ให้จัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ICT ให้คณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐพิจารณาให้ความเห็นชอบ เนื่องจากเป็นกรณีการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมูลค่าเกินกว่า ๑๐๐ ล้านบาท และควรขยายขอบข่ายการพัฒนาเทคโนโลยีให้ครอบคลุมในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น ด้านระบบนำทางผ่านระบบสัญญาณเซ็นเซอร์ GPS และด้านสาธารณสุข เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการด้วย ๓. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการลงทุนของโครงการ THEOS-2 จากเดิมที่เป็นการลงทุนของรัฐเพื่อการพัฒนาระบบสำรวจโลกของประเทศผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงจากประเทศเจ้าของเทคโนโลยีแบบรัฐต่อรัฐ (Government to Government : G to G) เป็นการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สทอภ. ตรวจสอบระเบียบสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๕๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วยว่าจะต้องดำเนินการประการใดหรือไม่เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามกฎหมาย/ระเบียบที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เช่น พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้น และให้ สทอภ. ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ๔. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเร่งรัดติดตามการดำเนินโครงการ THEOS-2 ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ต่อไป รวมทั้งติดตามการดำเนินการเพื่อให้บุคลากรของไทยได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาดาวเทียมในการปฏิบัติงานจริงทุกขั้นตอน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาดาวเทียมเป็นของตนเองและพัฒนาบุคลากรในสาขานี้อย่างครบวงจรด้วย ๕. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประสานงานกับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งจัดฝึกอบรมในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีและข้อมูลต่าง ๆ จากโครงการ THEOS-2 มาใช้ประโยชน์ร่วมกันและเกิดความคุ้มค่าแก่ทางราชการในภาพรวมให้มากที่สุด รวมทั้งให้พิจารณาจัดทำแผนการสร้างรายได้และกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อจำหน่ายภาพถ่ายดาวเทียมให้แก่ประเทศต่าง ๆ ที่ดาวเทียม THEOS-2 โคจรผ่านเพื่อให้มีรายได้กลับมาชดเชยการลงทุนของโครงการ THEOS-2 ได้อย่างต่อเนื่อง |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
177 | มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2560 [(เรื่อง การพัฒนาบุคคลากรภาครัฐโดยการจัดหาหลักสูตรฝึกอบรมของหน่วยงานต่าง ๆ (เพิ่มเติม)] | นร | 07/03/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ (เรื่อง การพัฒนาบุคลากรภาครัฐโดยการจัดหลักสูตรฝึกอบรมของหน่วยงานต่าง ๆ) และตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ อย่างเคร่งครัดด้วยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ โดยการจัดหลักสูตรฝึกอบรมของหน่วยงานต่าง ๆ นั้น ขอให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวโดยเคร่งครัด โดยเฉพาะในเรื่องการไปดูงานในต่างประเทศ เพราะหน่วยงานดังกล่าวมีเวลาปรับแผนการเรียนและแผนการดูงานนานพอสมควรแล้ว และในเรื่องการเผยแพร่รายงานการดูงานทางเว็บไซต์ ตลอดจนส่งรายงานการค้นคว้าวิจัยที่มีคุณภาพดีเด่นให้ผู้บังคับบัญชาหรือคณะรัฐมนตรีทราบ นอกจากนี้ เพื่อให้การปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมีความชัดเจน โปร่งใส และตรวจสอบได้ เห็นควรให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐที่เป็นเจ้าของหลักสูตรเผยแพร่รายชื่อผู้เข้ารับการอบรมในหลักสูตรนั้น ๆ ทางเว็บไซต์ของหน่วยงานให้เป็นที่ทราบโดยทั่วกันด้วยทุกครั้ง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
178 | ขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2561 โครงการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สาขาขอนแก่น | นร04 | 21/02/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๑ เพื่อเป็นค่าก่อสร้างโครงการจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สาขาขอนแก่น ภายในกรอบวงเงิน จำนวน ๗๖,๕๗๒,๓๐๐ บาท ตามผลการสำรวจออกแบบและค่าควบคุมงาน ภายในกรอบวงเงิน จำนวน ๑,๓๖๕,๐๐๐ บาท ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ได้รับจัดสรรแล้ว จำนวน ๒๔,๓๘๐,๐๐๐ บาท และผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ อีกจำนวน ๕๓,๕๕๗,๓๐๐ บาท โดยเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามที่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เสนอ ๒. ให้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) กำกับดูแลให้ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเร่งดำเนินงานส่งเสริมการออกแบบที่ทันสมัยตอบสนองต่อนวัตกรรมและสอดคล้องกับการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นกำกับดูแลให้การก่อสร้างดำเนินการไปตามแผนงานที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
179 | รายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 2/2559 | อื่นๆ | 07/02/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบรายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแผนปฏิบัติการโครงการตามกรอบระยะเวลาการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล (ถึงเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐) โดยมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการโครงการฯ และอนุมัติให้ใช้งบประมาณเพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการโครงการฯ ได้ทันที ตามที่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) เสนอ ดังนี้ ๑.๑ โครงการศึกษากระบวนการดำเนินงานของธนาคารที่ดิน จำนวน ๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๑.๒ โครงการศึกษาวิจัยระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการที่ดิน จำนวน ๕๘,๑๒๗,๖๐๐ บาท ๑.๓ โครงการต้นแบบการบริหารจัดการที่ดินแบบครบวงจร จำนวน ๒๖๑,๐๗๒,๔๐๐ บาท ๑.๔ โครงการแก้ไขปัญหาเกษตรกรและผู้ยากจนซึ่งมีปัญหาจะสูญเสียสิทธิในที่ดินจากปัญหาการจำนองและขายฝาก จำนวน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๑.๕ โครงการนำร่องธนาคารที่ดิน ในพื้นที่นำร่อง ๕ ชุมชน จำนวน ๑๖๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๒. ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พิจารณาแนวทางการจัดตั้งธนาคารที่ดินขึ้น โดยไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นที่มีวัตถุประสงค์การจัดตั้งในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้ว เช่น กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นต้น รวมทั้งให้พิจารณาแนวทางการจัดหารายได้สำหรับการดำเนินงานของธนาคารดังกล่าว โดยไม่ให้เป็นภาระงบประมาณแผ่นดินเกินความจำเป็น แล้วให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
180 | รายงานการประเมินองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 และรายงานการประเมินสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 | นร12 | 24/01/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ รวม ๑๓ แห่ง และรายงานการประเมินสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยผลการประเมินองค์การมหาชนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ในภาพรวม องค์การมหาชนฯ ทั้ง ๑๓ แห่ง มีผลการประเมินการปฏิบัติงานในภาพรวมสูงกว่าเป้าหมาย (คะแนนมากกว่า ๓.๐๐๐๐ คะแนนขึ้นไป) โดยหน่วยงานส่วนใหญ่มีค่าคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย (๔.๒๓๓๘ คะแนน) มีเพียง ๕ หน่วยงานที่มีระดับคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย สำหรับองค์การมหาชนฯ ที่มีผลคะแนนรวมสูงสุด คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และที่มีผลคะแนนรวมต่ำสุด คือ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และจากการพิจารณาเปรียบเทียบคะแนนระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ กับ พ.ศ. ๒๕๕๗ พบว่า มี ๖ หน่วยงานที่คะแนนเพิ่มขึ้น และมี ๕ หน่วยงานที่คะแนนลดลง โดยหน่วยงานที่มีระดับคะแนนเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ส่วนหน่วยงานที่มีระดับคะแนนลดลงมากที่สุด คือ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
|