ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 46 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 902 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | รายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2559 | นร12 | 26/09/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้เสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ดังนี้
๑. รายงานผลการพัฒนาระบบราชการที่สำคัญ ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกอบด้วย ผลที่เกิดจากการผลักดันของ ก.พ.ร. ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อนำนโยบายของรัฐไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองความต้องการของประชาชน ได้แก่ การประเมินการปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ ส่วนราชการ จังหวัด สถาบันอุดมศึกษา และองค์การมหาชน การอำนวยความสะดวกและสร้างความเป็นเลิศในการให้บริการประชาชน การพัฒนาองค์การให้มีขีดสมรรถนะสูง การบริหารราชการแบบบูรณาการ และการสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในการบริหารราชการแผ่นดิน ๒. รายงานการดำเนินงานของสำนักงาน ก.พ.ร. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของสำนักงาน ก.พ.ร. และผลการดำเนินงานที่สำคัญ ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้แก่ วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ โครงสร้าง อัตรากำลัง งบประมาณรายจ่ายประจำปี ผลการดำเนินงานที่สำคัญ และงบแสดงฐานะการเงิน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
142 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... | สว | 26/09/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบต่อไป โดยมีผลการดำเนินการ ดังนี้
๑. องค์การมหาชนใดมีความประสงค์ให้มีระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อบัญญัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุขึ้นใช้เองทั้งหมดหรือแต่บางส่วน เพื่อให้การดำเนินการยืดหยุ่นและคล่องตัว สามารถขอยกเว้นมายังคณะกรรมการนโยบาย สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุของสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการยกเว้นตามพระราชบัญญัติที่ไม่สามารถดำเนินการได้ขณะนี้ กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เพื่อนำมากำหนดเป็นหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมทุกสถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่จัดซื้อจัดจ้างในเรื่องดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความทันต่อเวลาเป็นสำคัญ และการป้องกันการทุจริต ซึ่งรายละเอียดในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจะกำหนดในระเบียบที่จะออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ต่อไป และกำหนดให้มีความยืดหยุ่นของระยะเวลาการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้เกิดความเหมาะสม ๒. การกำหนดให้เจ้าหน้าที่ซึ่งดำรงตำแหน่งที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับพัสดุ ได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษหรือเงินอื่นทำนองเดียวกัน กรมบัญชีกลางพิจารณาร่วมกับสำนักงาน ก.พ. แล้ว เห็นว่า การกำหนดเงินเพิ่มดังกล่าวถือเป็นกรณีที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดในเรื่องดังกล่าว จึงไม่ต้องพิจารณาตามระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษของข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๒ แต่อย่างใด ๓. ได้จัดทำร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... นำเสนอรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาลงนามประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ แล้ว และกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีการจัดซื้อจัดจ้างสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะที่เกี่ยวกับหน่วยงานของรัฐนั้น จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายนี้ และกฎหมายอื่นประกอบด้วย เช่น พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ตรงต่อวัตถุประสงค์ของการใช้งานอันมีผลกระทบต่อประชาชนหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
143 | ร่างแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล | นร10 | 26/09/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบในหลักการตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ ดังนี้ ๑.๑ ร่างแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ เพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัลเพื่อให้ใช้เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพกำลังคนภาครัฐ ๑.๒ ให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเร่งพัฒนาตนเองและสนับสนุนการพัฒนาผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีทักษะด้านดิจิทัลในระดับที่สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงานหรือการให้บริการภาครัฐที่ทันสมัยและมีการเชื่อมโยงการทำงานและข้อมูลข้ามหน่วยงานด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ โดยนำร่างแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาด้วย ๑.๓ ให้ทุกส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ องค์กรกลางบริหารงานบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการนำร่างแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลไปปรับใช้ในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพกำลังคนในสังกัด ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล และการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการนำทักษะด้านดิจิทัลที่พัฒนาไปใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมการทำงานและการให้บริการของรัฐ การสร้างองค์กรภาครัฐที่ทันสมัย การเชื่อมโยงการทำงานและข้อมูลข้ามหน่วยงาน และการสร้างรัฐบาลแบบเปิดด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรมด้วย ๑.๔ ให้สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยงานในสังกัด สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนให้การสนับสนุนการดำเนินงาน งบประมาณ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ตามร่างแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐอย่างต่อเนื่องด้วย ๒. ให้สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ที่เห็นควรจัดทำแผนการส่งเสริมดำเนินการพัฒนาข้าราชการและบุคลากรภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร่งด่วน และควรกำหนดวิธีการและรูปแบบการประเมินทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐให้มีความชัดเจน เพื่อให้การส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐในแต่ละหน่วยงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นระบบ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเพื่อการดังกล่าว เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปดำเนินการเมื่อร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกาศใช้บังคับแล้ว ส่วนปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้เสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
144 | ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี | นร | 26/09/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการในด้านการบริหารราชการแผ่นดินและอื่น ๆ ดังนี้
๑. ตามที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการนำการขับเคลื่อนการปฏิรูปการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) มาใช้ประกอบการพัฒนาแผนงานหรือโครงการสำคัญของประเทศให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม นั้น มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนโดยเร็ว เพื่อให้สามารถกำหนดกรอบการบริหารจัดการพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศได้อย่างเหมาะสม และให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพัฒนาแผนงานหรือโครงการสำคัญเร่งด่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ๒. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๐ รับทราบหนังสือบัญชีนวัตกรรมไทย ฉบับมิถุนายน ๒๕๖๐ ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ และให้ทุกหน่วยงานนำไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมให้ตรงกับความต้องการใช้งานของแต่ละหน่วยงานตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยอย่างน้อยให้แต่ละหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างผลิตภัณฑ์และบริการนวัตกรรมในอัตราส่วนร้อยละ ๓๐ ของความต้องการใช้งานทั้งหมดของหน่วยงาน ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ต่อไป และให้สำนักงบประมาณติดตามและตรวจสอบการดำเนินการเรื่องนี้ให้เป็นไปตามแนวทางดังกล่าวด้วย นั้น ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการดำเนินการเพื่อนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับภารกิจของหน่วยงานตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดซื้อพัสดุและครุภัณฑ์ของภาครัฐตามรายการในบัญชีนวัตกรรมไทย โดยให้เร่งรัดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ทั้งนี้ ให้สำนักงบประมาณติดตามและรายงานผลการดำเนินการดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ ด้วย ๓. ตามที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงคมนาคมพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้รถโดยสารประจำทางขนาดเล็กในการให้บริการการเดินทางแก่ประชาชนระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียงแทนการใช้รถตู้โดยสารที่ไม่ได้มาตรฐานความปลอดภัย นั้น ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการรถตู้โดยสารเดิมดังกล่าวด้วย ๔. ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานในระดับท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการของรัฐบาลในระยะต่อไปที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ ทั้งนี้ ให้จัดทำสรุปข้อมูลความต้องการดังกล่าวเสนอต่อนายกรัฐมนตรีภายใน ๓ เดือน ๕. ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะโครงการที่เป็นการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแลและติดตามการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย ๖. เพื่อให้การขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการพัฒนาระบบ Big Data ของภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีทิศทางเดียวกัน จึงให้ดำเนินการ ดังนี้ ๖.๑ ให้ทุกหน่วยงานภาครัฐสำรวจการนำดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในภารกิจของหน่วยงานและภารกิจเพื่อการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน แล้วรายงานต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ๖.๒ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม [สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)] เป็นเจ้าภาพในการรวบรวมข้อมูลจากส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์ Big Data ของทุกหน่วยงานจัดทำเป็นภาพรวมและแผนการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการฐานข้อมูลกลางภาครัฐภายใน ๓ เดือน ๖.๓ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม [สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ] รับไปดำเนินการสร้างการรับรู้แก่ประชาชนผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ ให้รับทราบและเข้าใจถึงข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินการ การเข้าถึง ตลอดจนการใช้ประโยชน์ของดิจิทัลในด้านต่าง ๆ ตามนโยบายรัฐบาล เช่น ด้านการเกษตร การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การศึกษา การสาธารณสุข โดยให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน ๒ สัปดาห์
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
145 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... | นร | 19/09/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นใหม่ โดยแยกภารกิจในส่วนของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ซึ่งเดิมอยู่ในสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) มาจัดตั้งเป็นสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ สศส. ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) ในฐานะรัฐมนตรีกำกับดูแลสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เห็นควรปรับเพิ่มวัตถุประสงค์ของ สศส. ให้เกิดความชัดเจนและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศทั้งระบบครบวงจรได้อย่างแท้จริง รวมทั้งการดำเนินงานควรมุ่งเน้นการทำงานแบบเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการทำงานในลักษณะที่เป็นการต่อยอดส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดการใช้งบประมาณในการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์อย่างมีประสิทธิภาพ บูรณาการ และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ นอกจากนี้ ควรเพิ่มผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อเป็นการเสริมประสิทธิภาพการทำงานด้านการพัฒนาผู้ประกอบการให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดรวมกัน เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. มอบหมายให้ สศส. รับความเห็นของสำนักงบประมาณเกี่ยวกับแหล่งเงินที่จะนำมาใช้จ่ายในการดำเนินงานของ สศส. ในเบื้องต้น เห็นควรใช้จ่ายจากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมา ส่วนค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป โดยจะต้องดำเนินการตามภารกิจที่กำหนดอย่างคุ้มค่า รวมทั้งกำหนดให้มีบุคลากรอย่างเหมาะสมเท่าที่จำเป็น ตลอดจนต้องไม่มีความซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วยเมื่อได้มีการจัดตั้ง สศส. แล้ว ๓. มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางในการกำหนดเครื่องแบบและเครื่องหมายขององค์การมหาชน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี (๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘) ที่ให้โอนภารกิจด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไปไว้ที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และมอบให้เป็นภารกิจของ สศส.
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
146 | ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี | นร | 12/09/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการ ดังนี้
๑. ด้านเศรษฐกิจ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการขยายความร่วมมือการทำการเกษตรกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น การปลูกข้าวโพด โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรทั้งสองฝ่ายมีการดำเนินการร่วมกันอย่างใกล้ชิดและเป็นระบบตั้งแต่ต้นทาง (การเพาะปลูก) ไปจนถึงปลายทาง (การตลาด) โดยให้พิจารณากำหนดช่วงเวลาเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนกับการออกสู่ฤดูกาลของผลผลิตในประเทศ ๒. ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและอื่น ๆ ๒.๑ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ รับทราบและเห็นชอบมติคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ ครั้งที่ ๙/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ ซึ่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) รับไปดำเนินการปรับโครงสร้างและรูปแบบการทำงานของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) โดยให้อยู่ภายใต้กำกับของนายกรัฐมนตรี มีการเชื่อมโยงการทำงานตั้งแต่ระดับนโยบายผ่านศูนย์ PMOC และศูนย์บริการครบวงจร (One Stop Service) ที่ผ่านการบูรณาการระดับกระทรวงในทุกกิจกรรม นั้น ให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ขับเคลื่อนการดำเนินงานในเรื่องการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และศูนย์บริการร่วม ณ จุดเดียว (One Stop Service) ให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลภาครัฐ (Government Data Center) โดยประสานหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ นำข้อมูลที่พร้อมให้บริการมาดำเนินการเป็นโครงการนำร่องให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายในปี ๒๕๖๐ ด้วย ๒.๒ มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กำกับดูแลให้กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางในการกำหนดค่าครองชีพและค่าตอบแทนให้แก่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐชั้นผู้น้อย ให้เหมาะสมและเป็นธรรม โดยให้ประสานงานกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อกำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ในประเด็นการปฏิรูปต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
147 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 เพื่อขอขยายกรอบระยะเวลาการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการโครงการตามภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) | อื่นๆ | 05/09/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ (เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เรื่อง การแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง) โดยขยายกรอบระยะเวลาดำเนินงานของแผนปฏิบัติการโครงการตามภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (บจธ.) ที่คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ได้มีมติให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานและงบประมาณแล้ว จากเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๐ เป็นต่อเนื่องจนถึงเดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ จำนวน ๓ โครงการ งบประมาณรวมทั้งสิ้น จำนวน ๔๒๖,๗๙๕,๘๑๑ บาท ได้แก่ (๑) โครงการต้นแบบการบริหารจัดการที่ดินแบบครบวงจร งบประมาณ ๒๔๙,๑๙๕,๑๑๓ บาท (๒) โครงการแก้ไขปัญหาเกษตรกรและผู้ยากจนซึ่งมีปัญหาจะสูญเสียสิทธิในที่ดินจากปัญหาการจำนองและขายฝาก งบประมาณ ๑๓๔,๖๖๐,๒๑๓ บาท และ (๓) โครงการนำร่องธนาคารที่ดินในพื้นที่นำร่อง ๕ ชุมชน งบประมาณ ๔๒,๙๔๐,๔๘๕ บาท ตามที่ บจธ. เสนอ ๒. ให้ บจธ. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้ บจธ. เร่งรัดดำเนินการตามแผนปฏิบัติการให้แล้วเสร็จเป็นไปตามแผนที่วางไว้และรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบเมื่อเสร็จสิ้นในแต่ละโครงการ และควรพิจารณาถึงความยั่งยืนทางการเงินในการแก้ไขปัญหาเกษตรกรและผู้ยากจนซึ่งมีปัญหาจะสูญเสียสิทธิในที่ดินจากการจำนองและขายฝากและโครงการนำร่องธนาคารที่ดินในพื้นที่นำร่อง ๕ ชุมชนด้วย รวมทั้งควรมีระบบกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายและระยะเวลาที่กำหนด นอกจากนี้ บจธ. ควรปรับปรุงแผนปฏิบัติ กิจกรรม และงบประมาณสำหรับการดำเนินงานในปี ๒๕๖๑ ให้เป็นไปตามระบบงบประมาณปกติ โดยโครงการของ บจธ. ที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานควรบูรณาการการดำเนินงานกับโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนภายใต้ คทช. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๓. ให้กระทรวงมหาดไทย (กรมที่ดิน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดกระบวนการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนให้ บจธ. สามารถดำเนินการได้บรรลุตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด เช่น กระบวนการจัดทำรังวัดที่ดิน เป็นต้น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
148 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลกำลังคนอาชีวศึกษา (www.v-cop.net) ของคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ | สว | 29/08/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลกำลังคนอาชีวศึกษา (www.v-cop.net) โดยกระทรวงศึกษาธิการได้จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ประชุมได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลกำลังคนอาชีวศึกษาดังกล่าวควรมีการบูรณาการงบประมาณในการจัดเก็บฐานข้อมูลระบบ Cloud และมี Server บางส่วนอยู่ที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และควรมีการจัดทำแผนพัฒนาสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษาที่มีศักยภาพ สมบูรณ์ และต่อเนื่อง โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้จัดทำแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕) แล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษากับฐานข้อมูลสถานประกอบการ และกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพื่อใช้ฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
149 | ขออนุมัติการจัดทำและลงนามร่างความตกลงระหว่างองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และรัฐบาลไทย ว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมดาราศาสตร์นานาชาติ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ราชอาณาจักรไทย ในฐานะศูนย์ประเภทที่ 2 ภายใต้ยูเนสโก | วท | 29/08/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบร่างความตกลงระหว่างองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) และรัฐบาลไทย ว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมดาราศาสตร์นานาชาติ ณ จังหวัดเชียงใหม่ ราชอาณาจักรไทย ในฐานะศูนย์ประเภทที่ ๒ ภายใต้ยูเนสโก (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมในระดับนานาชาติ ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อดำเนินการฝึกอบรมให้แก่นักวิจัยรุ่นใหม่ ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา เพื่อเติมเต็มช่องว่างในการจัดการศึกษาและวิจัยทางด้านดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาศักยภาพทางดาราศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพ และเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและวิชาการทางดาราศาสตร์ โดยจะมีการลงนามในร่างความตกลงฯ ในโอกาสการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของผู้อำนวยการใหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ในวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ ๑.๒ อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงฯ ๒. หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ด้วย ๓. สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโครงการศูนย์ฝึกอบรมดาราศาสตร์นานาชาติภายใต้ยูเนสโกที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้รับการจัดสรรงบประมาณตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการดังกล่าวไว้แล้ว จำนวน ๑๗,๗๕๘,๒๐๐ บาท สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
150 | รายงานผลการดำเนินงาน สสค. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 - 2559 | นร | 08/08/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙ ตามที่ประธานกรรมการ สสค. เสนอ มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
๑. ผลงานสำคัญปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙ ประกอบด้วย ๔ ด้าน คือ (๑) การสร้างองค์ความรู้ (๒) การนำองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริงด้วยการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ (๓) การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของสถานศึกษาและครู และ (๔) การสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ๒. ข้อจำกัดในการดำเนินงาน สสค. ไม่มีฐานะเป็นหน่วยงานหรือนิติบุคคลที่จะขอตั้งหรือรับงบประมาณได้เอง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๕๙ ได้ใช้งบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้การดำเนินงานขาดความคล่องตัวและต่อเนื่อง ไม่สามารถต่อยอดขยายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขาดเอกภาพทางนโยบาย รวมทั้งไม่สามารถดึงดูดบุคลากรให้อยู่ต่อได้ ๓. ทิศทางการดำเนินงานต่อไป ในคราวประชุมคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ได้มีมติเห็นควรสนับสนุนให้จัดตั้งเป็นสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (องค์การมหาชน) ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
151 | ผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย - เมียนมา เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (JCC) ครั้งที่ 8 | นร11 | 08/08/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมา เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (Joint Coordinating Committee for the Comprehensive Development of the Dawei Special Economic Zone and its Related Projects Areas : JCC) ครั้งที่ ๘ เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งที่ประชุมฯ รับทราบการใช้แผนแม่บทการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะสมบูรณ์ (Integrated Dawei Special Economic Zone Master Plan) เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย รับทราบถึงกลไกความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับประสานงาน และระดับปฏิบัติการ รวมถึงการจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (Special Purpose Vehicle : SPV) ในลักษณะการร่วมทุนระหว่างไทย-เมียนมา-ญี่ปุ่น เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยสนับสนุนการดำเนินงานในระดับปฏิบัติการ เป็นต้น นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้จัดตั้งคณะทำงานร่วมเฉพาะกิจระหว่างไทย-เมียนมา สำหรับโครงการถนนสองช่องทางเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายสู่ชายแดนไทย-เมียนมา และคณะทำงานร่วมเฉพาะกิจระหว่างไทย-เมียนมา สำหรับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะแรก ๒. มอบหมายให้หน่วยงานในองค์ประกอบคณะทำงานร่วมเฉพาะกิจทั้ง ๒ คณะ เร่งรัดประสานฝ่ายเมียนมาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมดำเนินการให้ได้ข้อสรุป และจัดทำข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมา เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (JCC) โดยด่วนต่อไป ได้แก่ ๒.๑ คณะทำงานร่วมเฉพาะกิจระหว่างไทย-เมียนมา สำหรับโครงการถนนสองช่องทางเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายสู่ชายแดนไทย-เมียนมา ประกอบด้วย สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) และกระทรวงคมนาคม (กรมทางหลวง) ๒.๒ คณะทำงานร่วมเฉพาะกิจระหว่างไทย-เมียนมา สำหรับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะแรก ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) ๓. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการประสานงานร่วมระหว่างไทย-เมียนมา เพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง (JCC) รับความเห็นของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ในประเด็นที่ฝ่ายเมียนมาเสนอให้จัดตั้งสำนักงานของบริษัท ทวาย เอสอีแซด ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (SPV) ในเมียนมา นั้น เห็นควรคงสถานะให้บริษัท ทวายฯ เป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทยและจัดตั้งสำนักงานสาขาในเมียนมาแทน ตามที่ระบุไว้ในสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น ฉบับที่ ๒ (Shareholders Agreement II) และสัญญากรอบความตกลง ฉบับที่ ๒ (Framework Agreement II) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
152 | การเปลี่ยนโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | ดศ | 18/07/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จากเดิม นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็น นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตามคำสั่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ ๔๔/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ เรื่อง แต่งตั้งโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตามมที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
153 | รายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 | นร12 | 18/07/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งผลการประเมินการปฏิบัติงานฯ ขององค์การมหาชน รวม ๓๑ แห่ง พบว่า ไม่มีองค์การมหาชนใดที่มีคะแนนรวมต่ำกว่าเป้าหมาย โดยองค์การมหาชนที่มีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย มีจำนวน ๒ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๖.๔๕ ได้แก่ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ได้คะแนน ๓.๗๐๘๙ และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ได้คะแนน ๓.๙๔๘๒ ส่วนองค์การมหาชนที่มีผลการดำเนินงานดีกว่าเป้าหมาย มีจำนวน ๗ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๒๒.๕๘ เช่น โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้คะแนน ๔.๓๑๔๖ และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ได้คะแนน ๔.๑๑๗๑ เป็นต้น และองค์การมหาชนที่มีผลการดำเนินงานดีกว่าเป้าหมายมาก มีจำนวน ๒๒ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๗๐.๙๗ เช่น สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ได้คะแนน ๔.๙๔๒๐ และสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง ได้คะแนน ๔.๘๓๒๙ เป็นต้น ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
154 | ผลการดำเนินการตามมาตรา 5/8 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 | นร12 | 11/07/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. อนุมัติผลการดำเนินการตามมาตรา ๕/๘ แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ๒๕๕๙ ของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน จำนวน ๔ เรื่อง ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ดังนี้ ๑.๑ หลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์การมหาชน ๑.๒ หลักเกณฑ์การสรรหาประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การมหาชน และผู้อำนวยการองค์การมหาชน ๑.๓ หลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน ๑.๔ ให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลเป็นองค์การมหาชนในกลุ่มที่ ๑ พัฒนาและดำเนินการตามนโยบายสำคัญของรัฐเฉพาะด้าน (อัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการ อยู่ระหว่าง ๑๐๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ บาท) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๗ ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรกำหนดแนวทางและรายละเอียดของแต่ละหลักเกณฑ์ให้ชัดเจนเพื่อให้เป็นมาตรฐานและแนวทางเดียวกัน รวมทั้งกำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามหลักสมรรถนะแบบเข้มข้นไว้ในหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์การมหาชนเสนอคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
155 | การขับเคลื่อนแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ | มท | 04/07/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับการขับเคลื่อนแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ดังนี้
๑. ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเร่งดำเนินการแจ้งรายชื่อฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน ซึ่งต้องใช้ในการบริการประชาชนไปยังกระทรวงมหาดไทยภายใน ๓ เดือน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ แล้วให้กระทรวงมหาดไทยรวบรวมและพิจารณารายชื่อฐานข้อมูลดังกล่าวแจ้งให้หน่วยงานเจ้าของฐานข้อมูลทราบโดยเร็ว ๒. ให้หน่วยงานเจ้าของฐานข้อมูลจัดเตรียมฐานข้อมูลให้แล้วเสร็จภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ได้รับแจ้งรายชื่อฐานข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย แล้วให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการเชื่อมระบบฐานข้อมูลดังกล่าวกับระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรและเปิดให้หน่วยงานที่ร้องขอใช้งานได้โดยเร็ว สำหรับภาระงบประมาณ หากมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณโดยคำนึงถึงการจัดทำงบประมาณแบบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๓. ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ในการขับเคลื่อนแนวทางบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐให้บรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรม รวมทั้งติดตามและประเมินผลการเชื่อมโยงข้อมูลของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเป็นระยะ ๆ ต่อไป ๔. ให้กระทรงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมีการศึกษาข้อมูลสถานภาพและความพร้อมของฐานข้อมูลเพื่อวางแผนการให้บริการในอนาคต โดยให้กระทรวงมหาดไทยติดตามผลการเชื่อมโยงข้อมูลของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการสนับสนุนเครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐมีการปรับปรุงระบบบริการประชาชนที่รองรับกับการใช้เครื่องอ่านบัตรดังกล่าว รวมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐและพิจารณากรอบการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลและบริการกลางในแต่ละด้าน โดยเฉพาะการรักษาสมดุลระหว่างความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล กับการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย ๕. ให้กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐของกระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในส่วนที่ประชาชนสามารถเข้าใช้บริการได้แล้ว ณ ปัจจุบัน ให้ประชาชนได้ทราบอย่างถูกต้องและทั่วถึง เพื่อให้ประชาชนได้เลือกใช้บริการได้ตามความเหมาะสมต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
156 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (นายสมชาย ศิริสมฤทัย) | อื่นๆ | 04/07/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายสมชาย ศิริสมฤทัย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินเพิ่มเติม ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐) เป็นต้นไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
157 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์] | กค | 27/06/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์] มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จ่ายค่าซื้อ หรือค้าจ้างทำ หรือค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้ในการประกอบกิจการจากผู้ประกอบการที่ขาย หรือรับจ้างทำหรือให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ปัจจุบันถูกยุบเลิกไปแล้วโดยพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐) สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักเป็นรายจ่ายได้ ๒ เท่า ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่เห็นว่าสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ถูกยุบเลิกไปแล้วเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งกำหนดให้ยุบเลิกสำนักงานและให้โอนกิจการ เงิน และทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณของสำนักงานไปเป็นของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จึงเห็นควรแก้ไขถ้อยคำในร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณเกี่ยวกับการดำเนินมาตรการดังกล่าวควรจะสร้างความรับรู้และความเข้าใจ และประโยชน์ที่ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) จะได้รับในโอกาสแรก ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
158 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร12 | 20/06/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารรงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขผู้รับผิดชอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานของหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ พ.ศ. ๒๕๕๐ จากคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เป็นคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
159 | การขยายระยะเวลาความตกลงทวิภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนากลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM) | ทส | 20/06/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบการขยายระยะเวลาความตกลงทวิภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นในการพัฒนากลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism : JCM) ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๓ โดยร่างความตกลงฯ ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อทดแทนความตกลงฯ ฉบับเดิมที่ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งกลไก JCM เพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำระหว่างกัน โดยเป็นการส่งเสริมการลงทุน และการใช้เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ ระบบ บริการ และโครงสร้างพื้นฐานคาร์บอนต่ำในการบรรลุการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำในประเทศไทย ๑.๒ มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) ประสานกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย อบก. รับความเห็นของกระทรวงพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมีการติดตามประเมินผลการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากโครงการ JCM เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาการผลิตเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูงในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้สามารถลดการพึ่งพาเทคโนโลยีนำเข้าจากประเทศพัฒนาแล้วในอนาคต สำหรับแนวทางในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้ JCM นั้น ควรคำนึงถึงเป้าหมายตาม Nationally Determined Contribution (NDC) ของประเทศไทยเป็นสำคัญ และควรพิจารณาการบูรณาการในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้ JCM กับกลไกการถ่ายทอดเทคโนโลยีของ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) ในประเทศไทยผ่าน National Designated Entity (NDE) รวมทั้งการส่งเสริมผู้ประกอบการและ SMEs ของประเทศไทยในการเข้าร่วมและได้รับประโยชน์จากโครงการ JCM ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือทางธุรกิจอุตสาหกรรมเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพ การเข้าถึงเงินทุน และสร้างโอกาสให้กับอุตสาหกรรมไทย นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการ JCM ที่จะต้องถูกแบ่งปันคาร์บอนเครดิตกลับไปให้ฝ่ายญี่ปุ่นในปริมาณไม่เกินร้อยละ ๕๐ ไปพิจารณาดำเนินการ รวมทั้งให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้ JCM และรายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
160 | รายงานการประเมินผลองค์การมหาชนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 เรื่อง การทบทวนความจำเป็นในการมีอยู่ขององค์การมหาชน | นร12 | 20/06/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอเพิ่มเติม
๑. ให้องค์การมหาชนที่มีผลการปฏิบัติงานที่บรรลุวัตถุประสงค์การจัดตั้ง มีผลสัมฤทธิ์ มีประสิทธิภาพที่สอดคล้องและเหมาะสมกับงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร และมีธรรมาภิบาล จำนวน ๓๒ แห่ง คงเป็นองค์การมหาชนต่อไป ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยไม่ให้มีการเพิ่มอัตรากำลังขึ้นอีก ๒. ให้องค์การมหาชนที่มีผลการปฏิบัติงานที่บรรลุวัตถุประสงค์การจัดตั้ง มีผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ และมีธรรมาภิบาล จำนวน ๓ แห่ง คงเป็นองค์การมหาชนต่อไป ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยมีรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนของแต่ละแห่ง ดังนี้ ๒.๑ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) โดยเปลี่ยนให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๓ และแก้ไขในร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อไป ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) เห็นชอบด้วยแล้ว ๒.๒ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) โดยคงให้นายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๕ ตามเดิม ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร) เห็นชอบด้วยแล้ว ทั้งนี้ ให้มีการพิจารณาความจำเป็นเหมาะสมเกี่ยวกับรัฐมนตรีรักษาการในรอบการประเมินครั้งต่อไป ๒.๓ สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) (สคพ.) โดยเปลี่ยนให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๔ และแก้ไขในร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อไป ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เห็นชอบด้วยแล้ว ๓. ให้องค์การมหาชน จำนวน ๒ แห่ง คงเป็นองค์การมหาชนต่อไป แต่ต้องปรับบทบาทภารกิจ ปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน และแก้ไขในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนให้เหมาะสม ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ดังนี้ ๓.๑ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) (อพท.) ทั้งนี้ ไม่ให้มีการเพิ่มอัตรากำลังขึ้นอีก และให้พิจารณาปรับลดงบประมาณค่าใช้จ่ายด้านการบริหารงานภายในองค์กรลงให้เหมาะสม โดยคงให้นายกรัฐมนตรีเป็นรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ ตามเดิม ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร) เห็นชอบด้วยแล้ว ๓.๒ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.)ให้คงเหลือภารกิจสำคัญที่ต้องปฏิบัติ ๒ ภารกิจ ได้แก่ (๑) ภารกิจของอุทยานการเรียนรู้ และ (๒) ภารกิจของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ และให้แยกศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบไปจัดตั้งเป็นสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) โดยให้เสนอคำขอจัดตั้งองค์การมหาชนตามขั้นตอนของสำนักงาน ก.พ.ร. ต่อไป และกำหนดให้องค์การมหาชนแห่งใหม่นี้มีภารกิจสนับสนุน และช่วยแก้ไขปัญหาด้านการออกแบบสินค้าและบริการของ SME ด้วย โดยควรเน้นการออกแบบให้เกิดมูลค่าสูงเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสังคม ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) เห็นชอบด้วยแล้ว ทั้งนี้ เมื่อแยกศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบออกไปแล้ว สบร. ต้องไม่เพิ่มอัตรากำลังและงบประมาณค่าใช้จ่ายเกินจำเป็น ๔. ให้สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) (สพค.) และหน่วยงานภายในปรับเปลี่ยนสถานภาพ บทบาท ภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบประมาณของสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (องค์การสวนสัตว์) และศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบพระชนมพรรษา ไปเป็นของกระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์) ทั้งนี้ ให้ สพค. องค์การสวนสัตว์ และกรมธนารักษ์ดำเนินการตามมติคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน และแนวทางปฏิบัติที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธานกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ได้หารือกับผู้เกี่ยวข้องแล้วเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐ ให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบหลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
|