ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 7 จากทั้งหมด 46 หน้า แสดงรายการที่ 121 - 140 จากข้อมูลทั้งหมด 902 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
121 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ทส | 23/01/2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การจัดการน้ำเสีย พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อโอนย้ายองค์การจัดการน้ำเสียไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาฯ แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับคณะกรรมการองค์การจัดการน้ำเสีย เพื่อให้การบูรณาการงานด้านการจัดการน้ำเสียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. มอบหมายให้องค์การจัดการน้ำเสียรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๐ ที่กำหนดให้องค์การจัดการน้ำเสียซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจทบทวนปรับสถานภาพให้เป็นองค์การมหาชน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
122 | ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี | นร | 23/01/2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการ ดังนี้
๑. ด้านเศรษฐกิจ ๑.๑ ให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทาง มาตรการในการดำเนินการ หรือการเจรจาความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์สินค้าไทยของต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าอุปโภคบริโภคชนิดต่าง ๆ ๑.๒ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (การยางแห่งประเทศไทย) เร่งรัดการดำเนินการรวบรวมปริมาณความต้องการใช้ยางพาราของส่วนราชการให้ครบถ้วนภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๑ และดำเนินการต่อไปให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ๑.๓ ให้กระทรวงกลาโหมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าที่หลีกเสี่ยงภาษี เช่น กากถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม หรือสินค้าที่ผิดกฎหมายเข้าประเทศตามแนวชายแดน ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ให้หน่วยงานต้นสังกัดดำเนินการลงโทษอย่างเด็ดขาดด้วย ๒. ด้านสังคม ให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อส่งเสริมและจูงใจให้แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นครูสอนภาษาต่างประเทศในประเทศไทยเลือกไปสอนที่โรงเรียนในต่างจังหวัด ซึ่งขาดแคลนครูชาวต่างชาติทั้งในสายสามัญศึกษาและสายอาชีวศึกษา ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งรัดการดำเนินการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรครูชาวไทยในต่างประเทศให้มีความรู้ความสามารถด้านภาษาต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นด้วย ๓. ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและอื่น ๆ ๓.๑ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม [สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)] เป็นเจ้าภาพในการรวบรวมข้อมูลจากส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ของทุกหน่วยงานเพื่อจัดทำเป็นภาพรวมและแผนการขับเคลื่อนและการใช้ประโยชน์เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการฐานข้อมูลกลางภาครัฐภายใน ๓ เดือน และรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน นั้น เพื่อให้การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว จึงให้ดำเนินการ ดังนี้ ๓.๑.๑ มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) กำกับการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยให้ดำเนินการ (๑) เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนหรือจากต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษาในการดำเนินการ และ (๒) ติดตามและเร่งรัดการดำเนินการของคณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการฐานข้อมูลกลางภาครัฐและกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี โดยให้รายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย ๓.๑.๒ ให้ทุกส่วนราชการที่เป็นเจ้าของข้อมูลรับผิดชอบความถูกต้อง ครบถ้วน และความเป็นปัจจุบันของข้อมูล โดยให้ความสำคัญกับการจัดกลุ่มข้อมูลเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นการให้บริการประชาชน และข้อมูลที่เป็นเรื่องความมั่นคงหรือเรื่องที่มีชั้นความลับ ๓.๒ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร) เร่งรัดการรายงานความคืบหน้าในการจัดทำแผนก่อสร้างสถานที่จอดรถใต้ดินและการพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนร่วมลงทุนต่อคณะรัฐมนตรีโดยด่วนภายใน ๑ เดือน นั้น ๓.๒.๑ ให้กระทรวงมหาดไทย (กรุงเทพมหานคร) เร่งรัดการดำเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี โดยให้ประสานงานกับกระทรวงคมนาคมเพื่อร่วมดำเนินการด้วย และให้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีโดยด่วนภายใน ๑ เดือน ๓.๒.๒ มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) กำกับให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อให้ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศลงทุนในโครงการก่อสร้างสถานที่จอดรถใต้ดินในจุดต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับจอดรถยนต์และช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีรถยนต์และประชาชนสัญจรเป็นจำนวนมาก เช่น ศูนย์การค้า สถานีรถไฟฟ้า สถานที่ราชการ สถานศึกษา เป็นต้น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
123 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขององค์การมหาชน จำนวน 2 แห่ง | นร12 | 16/01/2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ฉบับที่ .. พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ รวม ๒ ฉบับ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับกรณีที่องค์การมหาชนทั้ง ๒ แห่ง มีการจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวกับพัสดุ จะต้องนำพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. .... มาถือปฏิบัติ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เห็นควรกำหนดแนวทางการกำหนดเครื่องแบบขององค์การมหาชนเพื่อให้การกำหนดเครื่องแบบของทุกองค์การมหาชนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
124 | รายงานการประเมินผลองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และรายงานการประเมินสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 | นร12 | 16/01/2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินผลองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ และให้องค์การมหาชนรายงานผลการดำเนินงานที่แสดงให้เห็นถึงการบรรลุวัตถุประสงค์การจัดตั้ง และมูลค่าทางเศรษฐกิจหรือทางสังคมที่เป็นผลลัพธ์ขององค์กร และรับทราบรายงานการประเมินสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามมติคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร เสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. รายงานผลการประเมินองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ จำนวน ๑๕ แห่ง มีค่าคะแนนเฉลี่ยในภาพรวม ๔.๒๙๙๕ คะแนน ซึ่งสูงกว่าเป้าหมาย (ค่าคะแนนมากกว่า ๓.๐๐ คะแนนขึ้นไป) (และลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนซึ่งคะแนนอยู่ที่ ๔.๓๓๙๘ คะแนน) ทั้งนี้ กพม. มีข้อสังเกตว่า องค์การมหาชนควรกำหนดตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับเป้าหมาย วิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กร บริบทสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นวัตกรรม การแข่งขันทางธุรกิจ เป็นต้น รวมถึงควรสะท้อนถึงผลลัพธ์และผลกระทบเชิงเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม ให้ชัดเจนด้วย ๒. รายงานการประเมิน สกสค. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ผลคะแนนโดยรวมของ สกสค. อยู่ที่ระดับคะแนน ๓.๔๕๘๑ ดีกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ (ระดับคะแนน ๓.๐ คะแนน) และมีค่าคะแนนสูงกว่าผลการประเมินเฉลี่ยย้อนหลัง ๓ ปีเล็กน้อย (ค่าเฉลี่ยปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๗ เท่ากับ ๓.๓๗๕๗ คะแนน) ทั้งนี้ กพม. มีข้อสังเกตว่า สกสค. ควรมอบหน่วยงานภายในหรือแต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบการดำเนินการตามตัวชี้วัดเพื่อผลักดันให้มีการดำเนินการตามตัวชี้วัดเกิดเป็นรูปธรรม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
125 | ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี | นร | 09/01/2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการ ดังนี้
๑. ด้านเศรษฐกิจ ๑.๑ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้แก่ภาคเอกชนในการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยสำหรับแรงงานต่างด้าวในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยในการจัดหาพื้นที่เพื่อการดังกล่าวให้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้คำนึงถึงประเด็นด้านความมั่นคงด้วย นั้น ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการตามข้อสั่งการดังกล่าว ให้มีการจัดระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ให้เหมาะสมด้วย รวมทั้งให้คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนในพื้นที่โดยรอบด้วย ทั้งนี้ ในการดำเนินการต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น หากมีประเด็นปัญหาเกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำเสนอให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) พิจารณาต่อไป ๑.๒ ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการจัดทำความร่วมมือในด้านการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กับสาธารณรัฐประชาชนจีนให้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่สาธารณรัฐประชาชนจีนมีความพร้อมดำเนินการและไทยมีขีดความสามารถที่จะพัฒนาได้ เช่น การตั้งโรงงานผลิตแอลกอฮอล์บริสุทธิ์เพื่อนำไปใช้ในทางการแพทย์ อุตสาหกรรมต่อเรือ เทคโนโลยีอวกาศ ๑.๓ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้ทุกส่วนราชการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับทะเบียนรายชื่อผู้รับรางวัลจากการแข่งขันระดับชาติและระดับนานาชาติประเภทต่าง ๆ และปรับปรุงฐานข้อมูลของกลุ่มบุคคลดังกล่าวเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลของกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถที่จะขับเคลื่อนประเทศให้มีความก้าวหน้าต่อไปได้ รวมทั้งให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งรัดดำเนินการสนับสนุนผู้ได้รับรางวัลจากการแข่งขันต่าง ๆ เช่น การให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญและความสามารถในด้านต่าง ๆ นั้น ให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งดำเนินการให้เป็นไปตามข้อสั่งการดังกล่าว โดยจัดทำฐานข้อมูลในภาพรวมให้เป็นปัจจุบันและกำหนดมาตรการในการสนับสนุนผู้ที่ได้รับรางวัลจากการแข่งขัน เช่น การเปิดโอกาสให้เข้ามาทำงานในภาคราชการหรือภาคเศรษฐกิจในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อนำความรู้ความสามารถมาใช้ในการพัฒนาประเทศต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรายงานผลการดำเนินการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบโดยเร็วต่อไป ๒. ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและอื่น ๆ ๒.๑ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ขับเคลื่อนการดำเนินงานในเรื่องการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) และศูนย์บริการร่วม ณ จุดเดียว (One Stop Service) ให้มีประสิทธิภาพและเกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลภาครัฐ (Government Data Center) โดยประสานหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ นำข้อมูลที่พร้อมให้บริการมาดำเนินการเป็นโครงการนำร่องให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๖๐ และข้อสั่งการที่ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นเจ้าภาพในการรวบรวมข้อมูลจากส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์ Big Data ของทุกหน่วยงานจัดทำเป็นภาพรวมและแผนการขับเคลื่อนและการใช้ประโยชน์เสนอคณะกรรมการขับเคลื่อนการบูรณาการฐานข้อมูลกลางภาครัฐภายใน ๓ เดือน นั้น ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเร่งดำเนินการตามข้อสั่งการดังกล่าว โดยให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ และรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือนด้วย ๒.๒ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) โดยเฉพาะพื้นที่ที่แนวเขตที่ดินได้ข้อยุติแล้ว เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปได้ นั้น ให้กระทรวงยุติธรรมเร่งรัดการดำเนินการตามข้อสั่งการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน ๓ เดือน ๒.๓ ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศการเฝ้าระวังปรากฏการณ์เอลนีโญ-ลานีญา เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ ว่ามีความเป็นไปได้ว่าในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ๒๕๖๑ ปริมาณฝนในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทยมีโอกาสร้อยละ ๕๐-๗๐ จะสูงกว่าปกติ นั้น เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันและแก้ไขเหตุอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด และจัดเตรียมแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ที่คาดว่าอาจได้รับผลกระทบจากปริมาณฝน รวมตลอดถึงการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ รองรับ เช่น การขยายหรือขุดลอกคูคลองที่เป็นทางระบายน้ำ และการจัดทำแก้มลิงเพิ่มเติม ทั้งนี้ ในการจ้างแรงงานเพื่อดำเนินการดังกล่าว ให้พิจารณาเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐได้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย ๒.๔ ให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาทบทวนความเหมาะสมของการกำหนดสัดส่วนของค่าปรับที่หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายได้รับจากการกระทำผิดกฎหมายแล้วหักไว้เพื่อเป็นค่าตอบแทนของพนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของหน่วยงาน ก่อนนำส่วนที่เหลือส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป ทั้งนี้ หากผลการพิจารณาเป็นประการใด ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามข้อกฎหมาย ระเบียบหลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
126 | รายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 | นร | 19/12/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงานที่สำคัญของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่ง สบร. ได้จัดให้มีระบบการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ภูมิปัญญาของประชาชนผ่านการเรียนรู้ที่ทันสมัย โดยดำเนินการ (๑) การขับเคลื่อนการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ (๒) การขยายผลต้นแบบแหล่งเรียนรู้ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ (๓) ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตประชาชนด้วยความคิดสร้างสรรค์ และ (๔) การบูรณาการพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ สำหรับแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ สบร. มีเป้าหมายในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยการส่งเสริมและพัฒนาความรู้ให้แก่ประชาชนผ่านสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ประชาชนนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยจะดำเนินการให้ครอบคลุมพื้นที่ในแต่ละภูมิภาคให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งขยายแนวคิดการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยให้แก่ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
127 | รายงานผลการขับเคลื่อนแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560 | มท | 12/12/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบรายงานผลการขับเคลื่อนแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ โดยมี ๒๐ กระทรวง ๙ หน่วยงาน (ไม่สังกัดกระทรวง) ได้แจ้งรายชื่อเอกสารที่ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐต้องการใช้ในการให้บริการประชาชน ซึ่งเอกสารที่หน่วยงานขอเชื่อมโยงตั้งแต่ ๑๒ หน่วยงานขึ้นไป เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หนังสือเดินทาง หนังสือรับรองนิติบุคคล ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานเจ้าของฐานข้อมูลเร่งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐให้แล้วเสร็จโดยเร็วภายใน ๑ ปี นับจากวันที่ได้รับแจ้งรายชื่อฐานข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๐ (เรื่อง การขับเคลื่อนแนวทางการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ) ๒. ให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐในส่วนที่มีความพร้อมและสามารถดำเนินการได้ทันทีให้แล้วเสร็จก่อน และนำฐานข้อมูลที่บูรณาการแล้วดังกล่าวมาใช้ในการอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป ทั้งนี้ ให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกและให้บริการของภาครัฐดังกล่าวให้ชัดเจนและทั่วถึงด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
128 | ร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... | ดศ | 21/11/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงระเบียบว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การสรรหาประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการองค์การมหาชน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมร่างระเบียบฯ บางประการ รวมทั้งแก้ไขหลักเกณฑ์การสรรหาประธานกรรมการและกรรมการในร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อมิให้ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอีก ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
129 | ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี | นร | 21/11/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการ ดังนี้
๑. ด้านเศรษฐกิจ ให้กระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินการให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อค้นหาข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยอาจสร้างการรับรู้ให้ประชาชนเข้าใช้งานศูนย์บริการต่าง ๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ศูนย์ดิจิทัลชุมชน ๒. ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและอื่น ๆ ๒.๑ ตามที่พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีผลใช้บังคับแล้ว นั้น ในการดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติและประเด็นการปฏิรูป ให้ทุกส่วนราชการประสานงานกับคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะดำเนินการต่อไป เพื่อให้การดำเนินการของส่วนราชการมีความสอดคล้อง เชื่อมโยง และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแนวทางการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการให้ประสานหารือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนที่จะดำเนินการต่อไปด้วย ๒.๒ ให้รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) กำกับให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม [สำนักงานสถิติแห่งชาติ และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)] เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการข้อมูลและสถิติที่สำคัญของแต่ละหน่วยงานให้เป็นระบบ ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เช่น ข้อมูลเศรษฐกิจ (มูลค่าการค้าการลงทุน มูลค่าการส่งออก ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ) ข้อมูลแรงงาน (กำลังแรงงานภาคเกษตรกรรม/อุตสาหกรรม ความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมแต่ละภาค) โดยพิจารณาจัดทำข้อมูลดังกล่าว เป็น ๒ ประเภท คือ (๑) ข้อมูลเพื่อการบริหารราชการสำหรับให้ส่วนราชการต่าง ๆ นำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (๒) ข้อมูลสำหรับให้บริการประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมถึงเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้แก่ประชาชนให้รับทราบถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของรัฐบาลด้วย ทั้งนี้ ให้เร่งดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ๒.๓ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินโครงการต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยภายในเดือนมกราคม ๒๕๖๑ ให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการระบายน้ำที่สำคัญ เช่น การจัดทำพื้นที่แก้มลิงเพิ่มเติม นั้น ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันพิจารณากำหนดมาตรการเพื่อเร่งระบายน้ำท่วมขังในพื้นที่ต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยอาจพิจารณาจัดทำในลักษณะต่อยอดหรือขยายผลจากแนวทางที่ดำเนินการอยู่ เช่น แก้มลิงพวง โดยทำเส้นทางระบายน้ำที่มีระยะทางสั้น ๆ เพื่อระบายน้ำไปยังพื้นที่กักเก็บน้ำจุดต่าง ๆ ๒.๔ ให้กระทรวงคมนาคมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาการจราจรในบริเวณต่าง ๆ ที่มักประสบปัญหาการจราจรติดขัดอยู่เป็นประจำ โดยให้พิจารณารูปแบบในการดำเนินการให้เหมาะสมและมีทัศนียภาพที่ดี เช่น การก่อสร้างอุโมงค์ทางลอด ทางยกระดับ เพื่อให้สามารถระบายความหนาแน่นของการจราจรได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดปริมาณรถติดสะสม ทั้งนี้ ให้เร่งรัดจัดทำแผนดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม ๒๕๖๐ ๒.๕ ให้กระทรวงมหาดไทย (กรมโยธาธิการและผังเมือง) ออกแบบการจัดวางผังเมืองในพื้นที่ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอกของพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ให้เหมาะสมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนถึงการจัดวางผังเมืองของประเทศในระยะต่อไป ทั้งนี้ ให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓ เดือน ๒.๖ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินโครงการขนาดเล็กในพื้นที่ต่าง ๆ โดยให้นำยางพารามาใช้ในการสร้าง/ซ่อมถนนในชุมชน และให้ประสานงานกับกระทรวงกลาโหม (กรมการทหารช่าง) เพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการดังกล่าว โดยให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓ เดือน นั้น ๒.๖.๑ ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหมเร่งรัดการดำเนินการตามข้อสั่งการดังกล่าว โดยให้เริ่มดำเนินการกับถนนในท้องถิ่นที่มีสภาพการใช้งานที่ไม่ต้องรับน้ำหนักบรรทุกมากเป็นลำดับแรก ๒.๖.๒ ให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดการพิจารณากำหนดมาตรฐานการใช้ยางพาราในการสร้างถนนในสัดส่วนที่มากกว่าที่กำหนดอยู่ในปัจจุบัน (มากกว่าร้อยละ ๕) เพื่อส่งเสริมให้มีการนำยางพารามาใช้ให้มากยิ่งขึ้น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
130 | มติคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2560 | ดศ | 21/11/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) ประธานกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
๑. รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินงาน เช่น (๑) คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๑๓/๒๕๖๐ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๐ เพื่อแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ รวม ๗ ท่าน (๒) การประกาศใช้พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ (๓) ผลการประชุมหารือร่วมกันระหว่างคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมวลชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐเพื่อความมั่นคง (๔) แนวทางการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการดาวเทียม ตามมาตรา ๖๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ (๕) ความคืบหน้าของการดำเนินการกรณีดาวเทียมไทยคม ๗ และไทยคม ๘ เป็นต้น ๒. พิจารณาประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ๒.๑ เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์อวกาศแห่งชาติ ปี ๒๕๖๐-๒๕๗๙ โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ฯ และนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พิจารณาภายในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ ก่อนนำเสนอประธานคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในเดือนกันยายน ๒๕๖๐ ๒.๒ เห็นชอบในหลักการการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารของภาครัฐ และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการประสานงานกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (บมจ.กสท.) เพื่อจัดทำรายละเอียดของโครงการ โดยมีทางเลือก (๑) บมจ.กสท. เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน โดยการเช่าใช้โครงข่ายดาวเทียมจากภาคเอกชน และนำความจุส่วนที่ใช้งานต่างประเทศขายส่งให้กับ Reseller และนำความจุส่วนที่ใช้งานในประเทศไทยมาใช้ตามโครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ (๒) บมจ.กสท. เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership : PPP) และ (๓) บริษัทเอกชนจัดสร้างโครงข่ายดาวเทียม ซึ่ง บมจ.กสท. จะจัดหาความจุส่วนที่ใช้งานในประเทศไทยมาใช้ตามโครงการดาวเทียมสื่อสารภาครัฐ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
131 | รายงานสรุปผลการดำเนินงานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ในช่วงปี พ.ศ. 2555 - 2560 | นร | 21/11/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.) ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๖๐ โดย สคช. ได้ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เช่น กำหนดหลักเกณฑ์พร้อมให้การรับรององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ จัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ พัฒนาระบบฐานข้อมูลการให้บริการระบบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลเกี่ยวกับระบบคุณวุฒิวิชาชีพและมาตรฐานอาชีพ ทบทวนกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อเทียบเคียงกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (NQF) สู่กรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (AQRF) และสร้างความร่วมมือกับภาคการศึกษาในการนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ เป็นต้น ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) กำกับการบริหารราชการ สคช. เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
132 | รายงานสรุปผลการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศญี่ปุ่น ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | วท | 14/11/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการเดินทางไปราชการ ณ ประเทศญี่ปุ่น ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างวันที่ ๑-๓ ตุลาคม ๒๕๖๐ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
๑. การพบปะหารือกับ Sir. Mark Walport (Chief Executive Designate of UK Research and Innovation : UKRI) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ (๑) การร่วมมือกันในด้านการวิจัยและพัฒนาในสาขาที่ทั้งสองประเทศมีความเชี่ยวชาญ และ (๒) การผลักดันการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร ๒. การพบปะหารือกับ Ms. Frederique Vidal (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา การวิจัยและนวัตกรรมของฝรั่งเศส) ฝ่ายไทยได้แสดงความสนใจต่อโครงการการแลกเปลี่ยนนักเรียนและนักวิจัยระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ซึ่งฝ่ายฝรั่งเศสได้ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intention : LOI) มีเนื้อหาเกี่ยวกับความตกลงที่จะปฏิบัติตามข้อเสนอเรื่องความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งฝ่ายไทย โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จะพิจารณาและดำเนินการต่อไป ๓. การเข้าร่วมประชุมประจำปี STS forum ครั้งที่ ๑๔ [The 14th Meeting on Science and Technology in Society (STS) forum] นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้กล่าวถึงความเชื่อมั่นต่อการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมบรรยายและนำเสนอมุมมองในการประชุม “Concurrent Session : Bridging Science and Technology with Society and Politics” โดยกล่าวถึงการเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสังคมและการเมือง และการให้วิสัยทัศน์ต่อนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของนักการเมือง เป็นต้น ๔. การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (S&T Minister’s Roundtable Meeting) โดยมีหัวข้อหลักการประชุม ได้แก่ “บทบาทของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสังคมแห่งอนาคต-สังคม ที่มนุษย์เป็นศูนย์กลาง” [The Role of Science, Technology and Innovation (STI) for Future Society-Human-Centered Society to be Reallzed through Society 5.0] ๕. การพบปะหารือกับผู้บริหารของธนาคาร Sumitomo Mitsui Banking Corp. (SMBC) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณะได้พบปะหารือกับบริษัทเอกชนด้านอาหารและยาขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น และได้เชิญชวนเข้ามาลงทุนในพื้นที่ Food Innopolis และเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of innovation : EECi) ของไทย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
133 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พ.ศ. .... | นร | 14/11/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (กสศ.) เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ ตามที่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (สบร.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา ๒. ให้ สบร. รับความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ ๒.๑ ความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรใช้ชื่อร่างระเบียบฯ ว่า "ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พ.ศ. ...." และเพิ่มเติมให้ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ศสบ.) ในฐานะที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ กสศ. ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการ ตลอดจนปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการมอบหมาย รวมทั้งควรกำหนดให้ชัดเจนว่าเมื่อการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (สศส.) แล้วเสร็จ ให้อำนาจหน้าที่ของ ศสบ. สบร. ตามร่างระเบียบฯ เป็นของ สศส. นอกจากนี้ควรเพิ่มเติมเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กสศ. ในร่างข้อ ๙ ว่าควรเพิ่มเติมให้การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีความสอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ระยะ ๕ ปี และตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศในระยะยาว และให้ กสศ. มีหน้าที่ ในการติดตามประเมินผลภาพรวมของการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศด้วย ๒.๒ ข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ว่า ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๑ (๘) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งมีสาระสำคัญเพื่อการแต่งตั้ง กสศ. เท่านั้น ซึ่งในการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๑ (๘) ดังกล่าว นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๗) ได้เคยมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว กรณีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. .... ว่า การออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๑๑ (๘) ดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นการออกระเบียบเพื่อวางระเบียบปฏิบัติราชการของส่วนราชการ แต่ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเกษตรกรและผู้ยากจนฯ มิได้มีสาระสำคัญในการวางระเบียบปฏิบัติราชการ แต่เป็นการออกระเบียบเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการฯ จึงไม่สามารถกระทำได้ ดังนั้น เมื่อร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ฯ มีสาระสำคัญเป็นเพียงการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ จึงไม่สามารถกระทำได้ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๗)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
134 | รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 | กค | 07/11/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกอบด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบรายได้และค่าใช้จ่ายของรัฐบาลกลางและหน่วยงานภาครัฐ ทุนหมุนเวียน รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๘,๓๔๙ หน่วยงาน จาก ๘,๔๑๑ หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๒๖ ๑.๒ เห็นชอบข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการจัดทำรายงานการเงินรวมภาครัฐ ดังนี้ (๑) หน่วยงานภาครัฐต้องนำส่งงบการเงินให้กรมบัญชีกลางเพื่อจัดทำรายงานการเงินรวมของภาครัฐให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ (๒) ควรให้มีการบูรณาการการบริหารสินทรัพย์และเงินลงทุนของกลุ่มส่วนราชการ (๓) ควรจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้สอดคล้องกับฐานะการเงินขององค์การมหาชนและหน่วยงานอิสระ (๔) ควรให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลังกำหนดแนวทางการบริหารเงินฝากธนาคารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ (๕) ควรมีการเพิ่มการใช้จ่ายของ อปท. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ น่าเชื่อถือ สามารถใช้ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ และตัดสินใจเชิงนโยบายด้านการเงินการคลังได้อย่างถูกต้อง ๒. ให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ (เรื่อง รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘) ที่กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งบันทึกและส่งข้อมูลงบการเงินภายในระยะเวลาที่กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) กำหนด รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดให้การบันทึกและส่งข้อมูลรายงานการเงินประจำปีเป็นเกณฑ์การประเมินของผู้บริหารระดับหน่วยงานนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด ๓. ให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับกรณีหน่วยงานที่มีรายได้เงินงบประมาณมากกว่าที่มีการใช้จ่ายจริง หรือมีเงินสะสมคงเหลือ เห็นควรพิจารณานำเงินดังกล่าวมาใช้จ่ายในลำดับแรก หรือสมทบกับเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีในการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงาน โดยคำนึงถึงความจำเป็น ความคุ้มค่า และความเหมาะสม เพื่อให้เม็ดเงินได้กระจายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และเป็นการแบ่งเบาภาระทางการคลังของประเทศ รวมทั้งควรเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลังอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การบริหารจัดการด้านการเงินการคลังของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
135 | การรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การรับรองมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่า | พณ | 24/10/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (๑๗ มกราคม ๒๕๖๐) เรื่อง การรับรองมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี และสมาคมการค้าที่เกี่ยวข้องได้หารือแนวทางการจัดทำระเบียบการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานเครื่องประดับโลหะมีค่าและตราสัญลักษณ์กลางสำหรับประทับรับรอง ซึ่งระเบียบดังกล่าวระบุให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติฯ เป็นหน่วยงานกลาง โดยผู้ผลิตจะต้องขอจดทะเบียนตราผู้ผลิตและผู้จำหน่ายตามที่สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติฯ กำหนด และการประทับตราชุดตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานจะประกอบด้วยตราสัญลักษณ์รับรองมาตรฐาน ๓ ตราประทับ คือ ตราสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติฯ ตรารับรองชนิดและความบริสุทธิ์ของโลหะมีค่า และตราผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย โดยจะประทับตราลงบนตำแหน่งบริเวณเนื้อโลหะของเครื่องประดับโลหะมีค่าชนิดนั้น ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
136 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร12 | 10/10/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๕ ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เร่งรัดดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนที่ยังไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว และนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป และให้รับความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เห็นควรกำหนดแนวทางการกำหนดเครื่องแบบขององค์การมหาชนไว้เพื่อให้การกำหนดเครื่องแบบของทุกองค์การมหาชนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งเครื่องหมายของแต่ละองค์การมหาชน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
137 | สรุปมติ - ข้อสั่งการที่สำคัญในการประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2560 | ปช | 10/10/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบมติ-ข้อสั่งการในการประชุมคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ โดยมีมติที่สำคัญ เช่น (๑) รับทราบผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ (๒) รับทราบผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) (๓) ให้ ศอตช. หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับโครงสร้างของ ศอตช. ให้สอดคล้องกับภารกิจในการแก้ไขปัญหาการทุจริตทั้งระบบ (๔) มอบหมายให้กรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จัดทำข้อมูลการเชื่อมโยงข้อมูลการจัดสรรงบประมาณกับข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างต่าง ๆ และ (๕) ให้กรมบัญชีกลางศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการกำหนดราคากลางซึ่งจะต้องกำหนดให้มีความเหมาะสมและสามารถนำมาปฏิบัติได้จริง รวมทั้งข้อสั่งการเพิ่มเติมว่า ในการพิจารณาอนุมัติ อนุญาตของทางราชการ จะต้องมีมาตรฐานในการดำเนินการที่ชัดเจน และเมื่อมีการอนุมัติ อนุญาตไปแล้ว ควรกำหนดให้มีการกำกับ ติดตาม และตรวจสอบความถูกต้องของการดำเนินการของผู้ขออนุญาตว่าเป็นไปด้วยความถูกต้องหรือไม่ด้วย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐเสนอ ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่า ข้อสั่งการเพิ่มเติมที่มอบหมายให้ ศอตช. หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับโครงสร้างของ ศอตช. เป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาร่วมกันอย่างรอบคอบและดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องบทบาท ภารกิจของ ศอตช. และทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ส่วนการดำเนินการร่วมกันระหว่างองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และสำนักงาน ก.พ.ร. ในโครงการ Citizen Feedback ซึ่งมีข้อสั่งการให้ใช้วิธีการประเมินที่เหมาะสม นั้น สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชนได้พัฒนาระบบการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มาใช้บริการของหน่วยงานภาครัฐผ่านระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสอบถามในด้านการพัฒนาประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการให้บริการประชาชน ซึ่งผลการทดลองใน ๕ หน่วยงานต้นแบบในระยะแรกจะนำไปขยายยังหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ ให้ครอบคลุมทั่วประเทศในระยะต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
138 | ข้อเสนอการพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร (Doing Business Portal) | นร12 | 10/10/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการข้อเสนอการพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร (Doing Business Portal) เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน ๔,๐๐๐ ล้านบาท และให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการคลัง และสำนักงาน ก.พ.ร. ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแผนการดำเนินการพัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร (Doing Business Portal) โดยให้กำหนดกิจกรรม/โครงการต่าง ๆ รวมทั้งระยะเวลาดำเนินการให้เหมาะสมและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีกิจกรรม/โครงการที่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จและเกิดผลเป็นรูปธรรมในระยะที่ ๑ (ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑) ให้มากยิ่งขึ้น แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณที่จะขอรับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ภายในกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน ๔,๐๐๐ ล้านบาท ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมีความชัดเจนด้านการพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ดี เพื่อให้ภาคประชาชนเกิดความมั่นใจและเข้าใช้ระบบดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งควรเผยแพร่ข้อมูลและสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องตามเป้าหมาย ซึ่งต้องปรับกระบวนการทำงานใหม่ตามกรอบ Doing Business Portal เพื่อให้เกิดความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง และสามารถบรรลุผลตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้ ควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์ทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้ภาคเอกชนเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
139 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร12 | 10/10/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๔ เพื่อปรับโครงสร้างและรูปแบบการทำงานของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สรอ.) ให้อยู่ภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรี ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณารวมกับร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนในการดำเนินการตามมติคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการปรับโครงสร้างและรูปแบบการทำงานของ สรอ. ให้อยู่ภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรี ให้สำนักงานคณะกรรมกฤษฎีกาทราบโดยด่วน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ต่อไป ๒. เห็นชอบให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเป็นคณะกรรมการระดับชาติ ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการ ก.พ.ร. และผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เป็นกรรมการและเลขานุการร่วม มีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สนับสนุนการบูรณาการข้อมูลและวิธีการทำงานด้านดิจิทัลระหว่างหน่วยงานของรัฐทุกแห่งให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนระดับชาติฯ และเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อปรับปรุงกฎหมายหรือระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ๓. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ยังไม่ได้มีการจัดทำหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชกฤษฎีกาฯ และควรจะกำหนดแนวทางการกำหนดเครื่องแบบขององค์การมหาชนไว้เพื่อให้การกำหนดเครื่องแบบของทุกองค์การมหาชนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งเครื่องหมายของแต่ละองค์การมหาชนด้วย นอกจากนี้ ควรมีการประสานการทำงานด้านนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลให้สอดรับกับคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการเฉพาะด้านตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ตลอดจนยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
140 | ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .... | ทส | 03/10/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานอัยการสูงสุด และฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติฯ ควรมีรายละเอียดที่สอดคล้องกับภารกิจถ่ายโอนตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ ๒) และในการจัดทำแผนจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเห็นชอบแล้ว ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการมีหน้าที่เสนอคำของบประมาณประจำปีนั้น ให้ส่วนราชการนั้นรายงานผลการดำเนินงานให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย รวมทั้งควรแก้ไขประเด็นเกี่ยวกับที่มาของเงินและทรัพย์สินของกองทุนสิ่งแวดล้อมในร่างมาตรา ๒๓ ที่กำหนดให้ส่วนหนึ่งมาจาก “เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีกำหนด” และให้มีบทบัญญัติเพิ่มเติมในหมวด ๘ ความรับผิดทางแพ่ง สำหรับการดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาที่รัฐเป็นผู้เสียหาย นอกจากนี้ หากมีกรณีจะต้องมีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ควรจะนำปัจจัยผลทางเศรษฐกิจที่ประเทศและประชาชนจะได้รับมาร่วมในการวิเคราะห์ผลกระทบในภาพรวมอย่างรอบด้าน และจะต้องคำนึงถึงค่าเสียโอกาสโดยรวมของประเทศ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ๒. มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอเรื่อง กองทุนสิ่งแวดล้อมต่อคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนตามนัยมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง แล้วแจ้งผลการพิจารณาเพื่อประกอบการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป ๓. มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการบริหารจัดการเชิงโครงสร้างระยะยาว โดยในส่วนของกองทุนสิ่งแวดล้อมควรมีการบริหารงานที่เป็นอิสระ มีความคล่องตัว มีแหล่งที่มาของรายได้กองทุนที่มั่นคงและสม่ำเสมอ โดยในระยะยาวอาจพิจารณาจัดตั้งกองทุนเป็นรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน หรืออาจพิจารณาจัดตั้งในลักษณะหน่วยงานอิสระ สำหรับโครงสร้างระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมควรมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ และกระบวนการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมควรเป็นภารกิจของหน่วยงานอิสระ โดยอาจพิจารณาประเด็นเรื่องการปฏิรูประบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในระยะยาว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ |