ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 46 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 902 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | มาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระแก่ประชาชน (การไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้ จากประชาชน) | นร12 | 02/10/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอร่างมาตรการอำนวยความสะดวกและลดภาระแก่ประชาชน (การไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้ จากประชาชน) เพื่อให้หน่วยงานของรัฐภายในฝ่ายบริหารทุกหน่วยงานต้องปฏิบัติ ดังนี้ ๑.๑ มาตรการระยะสั้น (ภายในวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๖๑) ๑.๑.๑ ให้หน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับให้ประชาชนต้องยื่นหรือส่งสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้ ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ต้องทำบันทึกข้อตกลง (MoU) ๑.๑.๒ เมื่อประชาชนมาติดต่อขอรับบริการ ให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้สั่งพิมพ์เอกสารหรือหลักฐานที่ต้องใช้จากระบบที่เชื่อมโยงไว้และลงนามรับรอง โดยประชาชนผู้มาติดต่อไม่ต้องเป็นผู้นำสำเนามาและไม่ต้องลงนามรับรอง ๑.๑.๓ การให้บริการที่เป็นตัวเงินแก่ประชาชนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใด รวมทั้งการจ่ายเงินและสวัสดิการต่าง ๆ ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ กรรมการ อนุกรรมการ และคณะทำงานของหน่วยงานของรัฐทั้งหมด ให้ดำเนินการผ่านระบบ National e-Payment ภายในวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ ๑.๑.๔ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เปิดช่องทางการสื่อสารผ่าน Social network เพื่อรับข้อร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว และให้รายงานรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของหน่วยงานนั้นทราบเพื่อนำไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานด้วย ๑.๒ มาตรการระยะกลาง (ภายในปี ๒๕๖๒) ๑.๒.๑ ให้หน่วยงานพัฒนาระบบสารสนเทศหรือแอปพลิเคชันที่ให้บริการประชาชนเพื่อเชื่อมต่อกับ Linkage Center ของกรมการปกครอง เพื่อให้สามารถดึงข้อมูลของประชาชน เพื่อกรอกลงในแบบคำร้องดิจิทัลของหน่วยงานได้โดยอัตโนมัติ ๑.๒.๒ ให้หน่วยงานพิจารณาลดรายการเอกสารสำเนาที่ประชาชนต้องใช้ในการขอรับบริการ ๑.๓ มาตรการระยะยาว (ภายในปี ๒๕๖๓) ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ร่วมกันพัฒนาศูนย์กลางแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ (Government Data Exchange Center : GDX) ให้ครอบคลุมรายการเอกสารที่เชื่อมโยงมากขึ้น เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเรียกดูและบันทึกเอกสารทางราชการระหว่างหน่วยงานได้และให้บริการออนไลน์ได้ ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงบประมาณ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรปรับเพิ่มเนื้อหาของมาตรการดังกล่าวในเรื่องการให้บริการที่เป็นตัวเงินแก่ประชาชนให้ครอบคลุมถึงการดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐอื่น ๆ นอกเหนือจากระบบ National e-Payment เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ๓. ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งเร่งรัดการดำเนินการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของหน่วยงานตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ [เรื่อง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)] ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐบูรณาการการจัดการความมั่นคงทางไซเบอร์ระหว่างหน่วยงาน และพัฒนาขีดความสามารถองค์กรทุกภาคส่วน/บุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้ความชำนาญด้านไซเบอร์อย่างต่อเนื่องต่อไป ๔. ให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลกับกระทรวงมหาดไทยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้แล้วเสร็จครบถ้วนโดยเร็ว เพื่อให้สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชนของผู้มาขอรับบริการในการเข้าถึงเอกสารหรือหลักฐานต่าง ๆ ที่ทางราชการออกให้เพื่อประกอบการอนุมัติ อนุญาต ออกใบอนุญาต รับจดทะเบียน รับจดแจ้ง รับแจ้ง การชำระภาษีอากร และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ต่อไป ทั้งนี้ ให้เร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการระยะแรกให้แล้วเสร็จและพร้อมให้บริการประชาชนได้ภายในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ๕. ข้อมูลที่จะนำมาเชื่อมโยงไว้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมถึงข้อมูลของทางราชการที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคลด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลและเอกสารที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการให้บริการในการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต หรือออกใบอนุญาตทุกประเภท เช่น หนังสือบริคณห์สนธิ และใบทะเบียนพาณิชย์ เป็นต้น ๖. สำหรับการรับรองความถูกต้องของเอกสารหรือหลักฐานที่ได้สั่งพิมพ์ (Print out) ออกมาจากระบบที่เชื่อมโยงไว้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณากำหนดวิธีการและวางระบบการรับรองความถูกต้องของเอกสารหรือหลักฐานดังกล่าวให้ชัดเจน เหมาะสม และมีความคล่องตัว ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ๗. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหัวหน้าหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยเร่งดำเนินการสร้างการรับรู้ของทั้งหน่วยงานที่ให้บริการข้อมูลและหน่วยงานที่นำข้อมูลไปใช้ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 เรื่อง การยกระดับการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่ Thailand 4.0 | นร12 | 25/09/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบหลักเกณฑ์กลางในการบริหารองค์การมหาชนด้านการวิจัย เพื่อให้องค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป รวมทั้งให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเป็นองค์การมหาชนด้านการวิจัย และสามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์กลางที่กำหนดไว้ โดยหลักเกณฑ์กลางดังกล่าวมีสาระสำคัญครอบคลุม ๒ ประเด็นหลัก ได้แก่ (๑) ลักษณะขององค์การมหาชนที่จะถือว่าเป็นองค์การมหาชนด้านการวิจัย เช่น กฎหมายจัดตั้งองค์การมหาชนกำหนดให้มีภารกิจ “ดำเนินการวิจัย” เป็นหลัก มีงบประมาณเพื่อดำเนินการวิจัยเป็นหลัก มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรวิจัยเป็นหลัก และจำนวนบุคลากรวิจัยมากกว่าบุคลากรสายงานอื่น และ (๒) แนวทางการบริหารองค์การมหาชนด้านการวิจัย ได้แก่ การกำหนดอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้อำนวยการองค์การมหาชนที่ยังคงหลักการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๗ แนวทางการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษแก่ผู้อำนวยการองค์การมหาชน ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนที่กำหนดว่าหากเกินกว่าร้อยละ ๓๐ ของแผนการใช้จ่ายเงิน ก็ให้เสนอคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนพิจารณายกเว้นให้เป็นรายกรณี การประเมินผลการปฏิบัติงาน และแนวทางการดำเนินการเพื่อเข้าร่วมเป็นองค์การมหาชนด้านการวิจัย ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรกำหนดตัวชี้วัดด้านการวิจัยที่สามารถวัดผลการปฏิบัติงานด้านการวิจัยที่มีประสิทธิภาพและแสดงถึงความคุ้มค่า รวมทั้งควรเพิ่มตัวชี้วัดระดับของการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เร่งรัดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ (ที่กำหนดให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดให้มีกลไกในการทบทวนความเหมาะสมของสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง โดยให้คำนึงถึงภารกิจ รายได้ และเงินทุนสะสมของแต่ละองค์การมหาชน รวมทั้งยึดหลักการที่มิให้มีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเกินกว่าจำเป็น และไม่เป็นภาระงบประมาณของประเทศ/และนำเสนอคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเพื่อพิจารณาเป็นประจำทุกปีด้วย เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์การมหาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้ ให้พิจารณาให้ครอบคลุมถึงความเหมาะสมของสัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนด้านการวิจัยด้วย ๓. ให้คณะกรรมการพิจารณาโครงสร้างหน่วยงานและระบบค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐเร่งรัดการดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ เกี่ยวกับการพิจารณาปรับปรุงระบบค่าตอบแทนของบุคลากรภาครัฐในภาพรวมทั้งระบบ ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐให้สามารถดึงดูด รักษา จูงใจผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานได้อย่างเป็นมืออาชีพสอดคล้องตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๖๕) ต่อไป ๔. ให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และองค์การมหาชนด้านการวิจัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมประสานงานและบูรณาการการดำเนินโครงการ/แผนงานด้านการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมในเรื่องต่าง ๆ ร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนและยกระดับการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดความซ้ำซ้อน และตอบสนองต่อเป้าหมายในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่ Thailand 4.0 ต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สำหรับโครงการพัฒนาถนนหมายเลข 11 (R11) ช่วงครกข้าวดอ-บ้านโนนสะหวัน-สานะคาม-บ้านวัง-บ้านน้ำสัง | กค | 18/09/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการพัฒนาถนนหมายเลข ๑๑ (R11) ช่วงครกข้าวดอ-บ้านโนนสะหวัน-สานะคาม-บ้านวัง-บ้านน้ำสัง ในวงเงินรวม ๑,๘๒๖.๕๐ ล้านบาท ตามขอบเขตของโครงการ แหล่งที่มาของเงินทุน รูปแบบ วิธีการ และเงื่อนไขทางการเงินสำหรับการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ สปป.ลาว และให้ สพพ. ตกลงกับสำนักงบประมาณในรายละเอียดการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง โดย สพพ. เสนอ และให้ สพพ. รับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้งบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม สำหรับการชดเชยค่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้และดอกเบี้ยที่ สพพ. กู้ รวมทั้งความเสี่ยงกรณี สปป.ลาว ผิดนัดชำระหนี้ เห็นควรให้ สพพ. ใช้เงินสะสมของหน่วยงาน และกำหนดแนวทางและวิธีการบริหารจัดการเพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นโดยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนัยของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการคลัง โดย สพพ. ประเมินและติดตามความเสี่ยงด้านความสามารถในการชำระหนี้ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวอย่างต่อเนื่อง และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น เร่งผลักดันการใช้ประโยชน์จากเส้นทางคมนาคมตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ เชียงใหม่-นครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อขยายการค้าการลงทุนระหว่างไทยและ สปป.ลาว ให้มากยิ่งขึ้นต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | การขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า | นร | 18/09/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า เพื่อให้ประเทศไทยมีชุมชนไม้มีค่า ๒๐,๐๐๐ ชุมชน ใน ๑๐ ปี รวมทั้งมีการปรับปรุงร่างกฎหมาย กฎ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการชุมชนไม้มีค่าเพื่อนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) กรมป่าไม้ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการขับเคลื่อนโครงการชุมชนไม้มีค่า และมอบหมายหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางในการส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพให้เพิ่มมากยิ่ง ๆ ขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในภาพรวมของประเทศและเป็นการเพิ่มรายได้ของประชาชน ทั้งนี้ ให้พิจารณาถึงการปลูกป่าในพื้นที่เขาหัวโล้นและพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมด้วย โดยให้พิจารณากำหนดเงื่อนไข/หลักเกณฑ์ ให้ถูกต้องและเหมาะสมด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี | นร04 | 11/09/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๑๘/๒๕๖๑ เรื่อง ปรับปรุงคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๖๑ โดยให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๒๒/๒๕๖๑ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๑ และปรับปรุงการมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในส่วนของรองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) โดยให้ยกเลิกความในข้อ ๒.๒ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๓๒๓/๒๕๖๐ ลงวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“๒.๒ มอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้ ๒.๒.๑ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ๒.๒.๒ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ๒.๒.๓ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ๒.๒.๔ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ๒.๒.๕ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)”
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | รายงานผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ศูนย์บริการร่วม ณ จุดเดียว (One Stop Service) การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลภาครัฐ (Government Data Center) และความก้าวหน้าผลการดำเนินการคณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูล 4 คณะ (ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2561) | ดศ | 28/08/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีเรื่อง แนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ศูนย์บริการร่วม ณ จุดเดียว (One Stop Service) การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลภาครัฐ (Government Data Center) และความก้าวหน้าผลการดำเนินการคณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูล ๔ คณะ (ประจำเดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๑) ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. การขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ประกอบด้วย (๑) การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) และคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ (๒) การจัดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินการ “การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)” (๓) การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)” ครั้งที่ ๒ โดยมีการนำเสนอแนวคิด กระบวนการ และผลจากโจทย์ที่ได้จากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งที่ ๑ และการนำเสนอแนวคิดการดำเนินการเกี่ยวกับ Big Data Sandbox (๔) การขับเคลื่อนการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ของกระทรวงต่าง ๆ (๕) ความก้าวหน้าการจัดตั้งหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ (Special Delivery Unit : SDU) โดยจัดตั้งสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลภาครัฐ เพื่อรองรับการให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐเพื่อการตัดสินใจของประเทศ (๖) ความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ ๓ คณะ และ (๗) แผนการดำเนินการในระยะต่อไป ได้แก่ การจัดทำร่างรายงานการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบบูรณาการฐานข้อมูลภาครัฐ รวมทั้งการหารือและคัดเลือกหน่วยงานนำร่องที่มีความพร้อมด้านข้อมูลและบุคลการเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ๒. ศูนย์บริการร่วม ณ จุดเดียว (One Stop Service) มีผลการดำเนินการในส่วนของการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ การเชื่อมโยงข้อมูลเปิดภาครัฐ การเชื่อมโยงศูนย์กลางแอปพลิเคชันภาครัฐ การเชื่อมโยงกับเว็บไซต์กลางบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ การเชื่อมโยงกับข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ การเชื่อมโยงกับข้อมูลสถิติและสารสนเทศภาครัฐ ตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ และระบบอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแบบครบวงจร (Doing Business Portal) ๓. การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลภาครัฐ (Government Data Center) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้สำรวจเกี่ยวกับด้านมาตรฐานบริการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ และด้านงบประมาณหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งเข้าหารือในระดับนโยบายกับกระทรวงครบทั้ง ๒๐ กระทรวงแล้ว และอยู่ระหว่างติดตามการตอบแบบสำรวจจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงที่ยังไม่ได้ให้ข้อมูล ๔. ความก้าวหน้าผลการดำเนินการคณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูล ๔ คณะ ประกอบด้วย (๑) คณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูลด้านความมั่นคง (๒) คณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ (๓) คณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูลประชาชนและบริการภาครัฐ และ (๔) คณะกรรมการบูรณาการฐานข้อมูลด้านทรัพยากรและบริการโครงสร้างภาครัฐ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร12 | 21/08/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ ๔ ปี และแผนนิติบัญญัติ และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกำหนดให้การบริการประชาชนและการประสานงานระหว่างส่วนราชการต้องกระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้รับความเห็นของคณะรัฐมนตรีซึ่งให้จัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการเป็นระยะเวลา ๕ ปี เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และให้รับความเห็นของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ในประเด็นการกำหนดหน้าที่ให้ สพร. จัดทำแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์กลาง ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของ สพร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการลงนามในระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 6 | พณ | 21/08/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการลงนามในระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ ๖ (The 6th Joint Committee on Trade, Investment and Economic Cooperation between Thailand and China : JC) จำนวน ๖ ฉบับ ได้แก่ ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม JC เศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ ๖ และร่างบันทึกความเข้าใจ/ร่างพิธีสารของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก ๕ ฉบับ ๑.๒ อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุม JC เศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ ๖ ๑.๓ อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการค้าอย่างไร้อุปสรรคระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ๑.๔ อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างพิธีสารระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทยกับสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยหลักเกณฑ์การตรวจสอบ การกักกัน และสุขอนามัยทางสัตวแพทย์ เพื่อการส่งออกเนื้อสัตว์ปีกแช่แข็งและชิ้นส่วนสัตว์ปีกจากประเทศไทยไปยังประเทศจีน ๑.๕ อนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งราชอาณาจักรไทยกับสภาส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศจีน ๑.๖ อนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับกระทรวงพาณิชย์ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ๑.๗ อนุมัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศของไทยกับสถาบันอวกาศแห่งชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีนเรื่องความร่วมมือด้านอวกาศ ๒. หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) ด้วย ๓. ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)] สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศที่เห็นควรปรับแก้ถ้อยคำบางประการในร่างเอกสารฯ ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนการลงนาม และให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ประเทศไทยควรเน้นย้ำในเรื่องการดำเนินงาน ๓ ฝ่าย (ไทย-สปป.ลาว-จีน) ตามความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ให้สามารถปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่ออำนวยความสะดวกการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย และขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ รวมทั้งควรผลักดันและสนับสนุนการลงทุนจากจีนในอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยเฉพาะการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมฉลุง จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองประเทศภายใต้แผนงานความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๔. ให้กระทรวงพาณิชย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี | นร | 21/08/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการ ดังนี้
๑. ด้านความมั่นคง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด ใช้การประชุมคณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเป็นกลไกหลักในการบูรณาการการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น ในการขับเคลื่อนและติดตามการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและการพัฒนาการท่องเที่ยว รวมทั้งการดูแลความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยของแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ในจังหวัด ให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ ๒. ด้านเศรษฐกิจ ๒.๑ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความแออัดของผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง รวมทั้งเป็นการเตรียมการรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต ตามนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล จึงให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑.๑ โอนท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยาน ได้แก่ ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานสกลนคร ท่าอากาศยานตาก และท่าอากาศยานชุมพร ไปให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการ ทั้งนี้ ให้เร่งดำเนินการโอนให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว สำหรับท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานที่เหลืออยู่อีก ๒๔ แห่ง ให้กรมท่าอากาศยานเร่งจัดทำแผนการบริหารจัดการท่าอากาศยานแต่ละแห่งให้เหมาะสมและชัดเจนด้วย ๒.๑.๒ เร่งหาข้อสรุปจากผลการศึกษาความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการลงทุนพัฒนาท่าอากาศยานแห่งต่าง ๆ ในภูมิภาค เช่น ท่าอากาศยานภูเก็ตแห่งที่ ๒ ท่าอากาศยานเชียงใหม่แห่งที่ ๒ เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้เดินทางและการเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในอนาคต เพื่อให้มีการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวออกไปยังท่าอากาศยานต่าง ๆ ในภูมิภาคและลดการกระจุกตัวของจำนวนผู้โดยสาร ณ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง โดยในการศึกษาความเหมาะสมและเป็นไปได้ดังกล่าวให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมถึงประเด็นต่าง ๆ ให้ชัดเจน ครบถ้วนด้วย เช่น รูปแบบการลงทุน ผู้ลงทุน บทบาทของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และบทบาทของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ทั้งนี้ ให้รายงานข้อสรุปจากผลการศึกษาดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยด่วนด้วย ๒.๒ เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมและเศรษฐกิจดิจิทัลและรัฐบาลดิจิทัลตามนโยบาย ๔.๐ เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว จึงให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานหลักจัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจร่วมกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อทำหน้าที่บูรณาการและขับเคลื่อนการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุผลใน ๒ เรื่องหลักที่สำคัญ คือ (๑) สังคมไร้กระดาษ (paperless) และ (๒) สังคมไร้เงินสด (cashless) ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนี้ ๒.๒.๑ ให้กระทรวงมหาดไทยเร่งดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลกลาง ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนผ่านเลขประจำตัวประชาชน โดยมีระบบรองรับให้หน่วยงานอื่นสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลได้ เมื่อได้รับความยินยอม (consent) จากเจ้าของข้อมูล และในกรณีที่ต้องการยืนยันตัวตนก็ให้สามารถทำได้ โดยอาศัยข้อมูลทางชีวมิติ (biometrics) เช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา เป็นต้น ๒.๒.๒ ให้กระทรวงการคลังพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดมาตรการจูงใจ เช่น มาตรการด้านภาษีและค่าธรรมเนียม เป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ประกอบการซื้อขายสินค้า ชำระเงิน หรือทำธุรกรรมอื่น ๆ ผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) มากยิ่งขึ้น ๒.๓ มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเร่งดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีโครงการต่าง ๆ ภายใต้กองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานที่ถูกร้องเรียนและยังไม่สามารถชี้แจงเหตุผลหรือความจำเป็นที่ชัดเจน เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและไม่เกิดการบิดเบือนข้อมูล โดยให้ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ๒.๔ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการเน็ตประชารัฐที่มีข้อร้องเรียนเรื่องคุณภาพของสัญญาณ และการเข้าถึงการใช้งานด้วย และรายงานให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีทราบภายใน ๑ เดือน ๒.๕ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวัน ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐ ให้ทุกหน่วยงานภาครัฐสำรวจการนำดิจิทัลมาใช้ประโยชน์ในภารกิจของหน่วยงานและภารกิจเพื่อการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นเจ้าภาพในการรวบรวมข้อมูลจากส่วนราชการและหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์ Big Data ของทุกหน่วยงานจัดทำเป็นภาพรวมและแผนการขับเคลื่อนและการใช้ประโยชน์ นั้น ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)] และกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น ดำเนินการสำรวจและรวบรวมข้อมูลด้านการเกษตรและการปศุสัตว์ให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการทำการเกษตรแปลงใหญ่ การทำเกษตรแบบผสมผสาน การเพาะปลูกพืชหลัก ๖ ประเภท (ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา อ้อย และข้าวโพด) โดยข้อมูลเกี่ยวกับพืชหลักดังกล่าวจะต้องมีรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนด้วย เช่น พื้นที่เพาะปลูก ปริมาณการเพาะปลูก ผลผลิต ปริมาณการบริโภค และรายได้ เป็นต้น เพื่อให้สามารถนำข้อมูลต่าง ๆ ดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ ประกอบการพิจารณาตัดสินใจในการดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกำหนดนโยบายด้านการเกษตร การบริหารจัดการงบประมาณระหว่างหน่วยงาน การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายใน ๓ เดือน และรายงานผลการดำเนินการให้นายกรัฐมนตรีทราบต่อไปด้วย ๓. ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและอื่น ๆ ๓.๑ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงวัฒนธรรม เป็นต้น พิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการประกาศกำหนดให้ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ เพื่อยกระดับความสำคัญของสถานที่ดังกล่าวที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของสถานที่ดังกล่าวต่อไป ๓.๒ ให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานรับผิดชอบเพื่อสานต่อการดำเนินโครงการ ๙๑๐๑ ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาฟื้นฟูอาชีพด้านการเกษตรแก่เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัยปี ๒๕๖๐ โดยให้ดำเนินการภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | ผลการดำเนินการตามมาตรา 5/8 แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เรื่อง หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงิน การถือหุ้นหรือการเข้าเป็นหุ้นส่วน การเข้าร่วมทุนในกิจการของนิติบุคคลอื่น และการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญขององค์การมหาชน | นร12 | 14/08/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ดังนี้ ๑.๑ ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงิน การถือหุ้นหรือการเข้าเป็นหุ้นส่วน การเข้าร่วมทุนในกิจการของนิติบุคคลอื่น การจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญขององค์การมหาชน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ ๑.๒ ผลการดำเนินการตามมาตรา ๕/๘ แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ เรื่อง หลักเกณฑ์การกู้ยืมเงิน การถือหุ้นหรือการเข้าเป็นหุ้นส่วน การเข้าร่วมทุนในกิจการของนิติบุคคลอื่น การจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีเป็นสูญขององค์การมหาชนของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ซึ่งได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๒ โดยปรับถ้อยคำให้สอดคล้องและตรงตามเจตนารมณ์กับพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ปรับวงเงินการกู้ยืมเงินเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน กำหนดกรอบวงเงินกรณีการเข้าร่วมทุนและผู้มีอำนาจอนุมัติวงเงินที่องค์การมหาชนเข้าร่วมทุนให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงินตามที่กำหนด โดยมิต้องเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรีทุกกรณี เพื่อให้มีความคล่องตัวยิ่งขึ้น ตลอดจนกำหนดให้องค์การมหาชนที่จะเข้าร่วมทุนต้องจัดทำคำชี้แจงประกอบการเสนอคณะกรรมการ รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีพิจารณา และกำหนดให้การจำหน่ายพัสดุเป็นสูญต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติเรื่องการจำหน่ายหนี้สูญขององค์การมหาชน รวมทั้งปรับปรุงรูปแบบของหลักเกณฑ์ให้เป็นไปตามแบบของการร่างกฎหมาย และให้องค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม นำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติต่อไป ๑.๓ เห็นชอบให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเป็นผู้วินิจฉัยในกรณีที่องค์การมหาชนไม่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น การกู้ยืมเงินเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องในการดำเนินงาน เห็นควรให้กระทำเฉพาะเท่าที่จำเป็น และการกู้ยืมเงินควรต้องนำไปใช้จ่ายเพื่อการลงทุนเท่านั้น การกำหนดนิยามคำว่า “การเข้าร่วมทุน” การแก้ไขถ้อยคำในข้อ ๙ การคงหลักการในส่วนการถือหุ้นหรือการเข้าเป็นหุ้นส่วนการเข้าร่วมทุนไว้ในหลักเกณฑ์ฉบับใหม่นี้ด้วย โดยต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเป็นไปตามภารกิจขององค์การมหาชนนั้นด้วย การพิจารณาความสอดคล้องกับกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ เมื่อสำนักงาน ก.พ.ร. ปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามความเห็นและข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว ให้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาต พ.ศ. .... | นร12 | 14/08/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาตขึ้นเป็นส่วนราชการในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับคำขอตามกฎหมายว่าด้วยการอนุญาต ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงาน ก.พ. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบแผนการจัดตั้งศูนย์รับคำขออนุญาต ประกอบด้วย โครงสร้างของศูนย์ฯ อัตรากำลัง และงบประมาณสำหรับการดำเนินการของศูนย์ฯ ในระยะเริ่มแรก ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ๓. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นว่า แผนการจัดตั้งศูนย์ฯ ควรกำหนดการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและการดำเนินการของศูนย์ฯ ให้ผู้บริการสามารถยื่นคำขอได้ภายในจุดเดียวครั้งเดียว ควรเร่งรัดการนำ digital service สมบูรณ์แบบมาใช้โดยเร็ว ควรมีการประเมินผลการดำเนินงาน ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของการคงไว้ซึ่งภารกิจเป็นประจำทุกปี และตัดข้อความในร่างมาตรา ๓ วรรคสาม “... ศูนย์ฯ มีสิทธิเรียกเก็บค่าบริการนอกเหนือจากค่าธรรมเนียม” ออก ควรให้มีการทดลองเปิดใช้ระบบของศูนย์ฯ ก่อนที่ขยายสาขา ควรมีแนวทางปฏิบัติและการสื่อสารที่ชัดเจน ควรมีการกำหนดแผนงานที่ชัดเจนเพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเตรียมการรองรับภารกิจในการจัดเตรียมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเชื่อมโยงฐานข้อมูลหน่วยงานกับศูนย์ฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ควรให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) วางระบบการดำเนินงานของศูนย์ฯ ให้สามารถให้บริการทุกกระบวนงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตและต้องสามารถเชื่อมโยงข้อมูลของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน ส่วนการรับชำระค่าคำขอ ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ให้ดำเนินการผ่านระบบ Nation e-Payment และต้องมีระบบที่ผู้ยื่นคำขอสามารถตรวจสอบสถานะของคำขอต่าง ๆ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตด้วย โดยระบบดังกล่าวควรให้บริการได้ตั้งแต่วันแรกที่ศูนย์ฯ เปิดดำเนินการ ควรให้สำนักงาน ก.พ.ร. ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นลำดับแรกก่อน สำหรับในปีต่อ ๆ ไปให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีรองรับตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ควรให้มีการทบทวนบทบาทโดยพิจารณาถึงการปรับโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐทั้งระบบ ผลการดำเนินงานต้องมีผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์และผลประโยชน์ที่ประชาชนและภาคธุรกิจได้รับจริงสอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล โดยไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและเป็นภาระงบประมาณแผ่นดิน นอกจากนี้ อาจกำหนดหน้าที่เพิ่มเติมให้ศูนย์บริการร่วมที่มีอยู่แล้วสามารถดำเนินการตามภารกิจดังกล่าวแทนการจัดตั้งศูนย์ฯ แต่หากจำเป็นต้องจัดตั้งศูนย์ฯ ขึ้นใหม่ อาจกำหนดให้เป็นหน่วยงานภายในสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อทำหน้าที่ในการเสนอแนะนโยบายและประสานการพัฒนาระบบการขออนุญาตผ่านระบบแอปพลิเคชัน รวมถึงการพัฒนาเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในศูนย์บริการร่วมที่มีอยู่ให้สามารถปฏิบัติงานผ่านระบบแอปพลิเคชันดังกล่าวได้ และให้ศูนย์บริการร่วมให้บริการประชาชนแบบเบ็ดเสร็จ ครอบคลุมตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๕๘ รวมทั้งควรเพิ่มบทบาทของศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน ๑๑๑๑ ในการเป็นศูนย์กลางการให้บริการภาครัฐในเรื่องต่าง ๆ ให้สามารถทำหน้าที่ให้บริการประชาชนเกี่ยวกับการรับคำขออนุญาต ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | แนวทางการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของหน่วยงานภายใต้คณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ | นร | 14/08/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของหน่วยงานภายใต้คณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ซึ่งคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๑ มีมติเห็นชอบแนวทางดังกล่าวแล้ว ประกอบด้วย (๑) การเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย EEC และอุตสาหกรรมเป้าหมาย ผ่านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ใน ๓ จังหวัดพื้นที่ EEC (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง) (๒) การจัดทำแผนที่และข้อมูลพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ EEC โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ๑๐ อุตสาหกรรม ทั้งพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ของรัฐและเอกชน และ (๓) การจัดกิจกรรมบูรณาการการเรียนรู้ของพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะของเด็กและเยาวชนในพื้นที่ EEC ตามที่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | รายงานผลการประเมินองค์การมหาชนและผู้อำนวยการองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 5/2559 เรื่อง มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ) | นร12 | 31/07/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ๑.๑ รับทราบรายงานผลการประเมินองค์การมหาชนและผู้อำนวยการองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ และผลการคัดเลือกโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นองค์การมหาชนดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ สรุปได้ ดังนี้ ๑.๑.๑ ผลการประเมินองค์การมหาชนและผู้อำนวยการองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ มีองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่เข้ารับการประเมิน ๓๗ แห่ง มี ๒๙ แห่ง ที่จัดอยู่ในระดับ “คุณภาพ” อยู่ในระดับ “มาตรฐาน” จำนวน ๕ แห่ง และอยู่ในระดับ “ต้องปรับปรุง” จำนวน ๓ แห่ง ส่วนองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่เข้ารับการประเมินมี ๑๕ แห่ง อยู่ในระดับ “คุณภาพ” จำนวน ๘ แห่ง อยู่ในระดับ “มาตรฐาน” จำนวน ๕ แห่ง และอยู่ในระดับ “ต้องปรับปรุง” จำนวน ๒ แห่ง ๑.๑.๒ ผลการคัดเลือกองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน เห็นชอบเกณฑ์การคัดเลือกองค์การมหาชนดีเด่นและคัดเลือกโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นองค์การมหาชนดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ และเห็นควรเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนผันแปรแก่ผู้อำนวยการองค์การมหาชนเป็นแนวทางที่เป็นคำแนะนำในการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงให้เป็นคำแนะนำสำหรับคณะกรรมการขององค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ๑.๒ เห็นชอบให้เพิ่มเติมเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนผันแปรของผู้อำนวยการองค์การมหาชน เป็นแนวทางที่เป็นคำแนะนำในการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [ผลการดำเนินการตามมาตรา ๕/๘ แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๙ เรื่อง แนวทางการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน] และให้เป็นคำแนะนำสำหรับคณะกรรมการขององค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะด้วย โดยให้ได้รับเต็มตามจำนวนเมื่อมีผลการประเมินองค์การมหาชนและผู้อำนวยการองค์การมหาชนอยู่ในระดับ “คุณภาพ” ขึ้นไป และให้เริ่มใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้นไป ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงแรงงาน สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น การพิจารณาเพิ่มค่าตอบแทนผันแปรของผู้อำนวยการองค์การมหาชนไม่ควรเกินกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชน เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๓. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. โดยคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน กำกับดูแลให้องค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะนำแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๕๒ (เรื่อง กรอบประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ) ไปปฏิบัติด้วย เพื่อให้เกิดการศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการบริหารองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่เหมาะสมต่อไป รวมทั้งกำกับดูแลให้มีการประเมินองค์การมหาชนและผู้อำนวยการองค์การมหาชนให้ครบถ้วนทุกแห่งอย่างเคร่งครัดโดยพิจารณาถึงความเหมาะสมของเกณฑ์การประเมินอย่างต่อเนื่องด้วย ๔. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลการประเมินองค์การมหาชนและผู้อำนวยการองค์การมหาชนประจำปีเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนและเพื่อให้เป็นกลไกหนึ่งในการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงข่าวร่วมในโอกาสการเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี | กต | 17/07/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างแถลงข่าวร่วมในโอกาสการเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี (Joint Press Statement on the Official Visit of His Excellency General Prayut Chan-o-cha, Prime Minister of the Kingdom of Thailand, to the Kingdom of Bhutan) เพื่อเป็นเอกสารที่จะมีการออกประกาศแถลงข่าวร่วมในโอกาสการเยือนราชอาณาจักรภูฏานอย่างเป็นทางของนายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑ โดยร่างแถลงข่าวร่วมฯ มีสาระสำคัญครอบคลุมในประเด็นกิจกรรมและความร่วมมือทวิภาคีที่เกี่ยวข้องที่ทั้งสองประเทศจะผลักดันร่วมกัน เช่น (๑) การพัฒนาชุมชนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy Philosophy : SEP) (๒) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน โดยหาโอกาสที่จะลงทุนร่วมกัน (๓) การส่งเสริมด้านสุขอนามัย ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ไทยจะสนับสนุนการจัดตั้ง “ศูนย์แพทย์ด้านหู ตา คอ จมูก” ในภูฏาน และ (๔) การส่งเสริมด้านการเกษตรผ่านโครงการผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Gewog One Product : OGOP) เป็นต้น ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงข่าวร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้การสนับสนุนเพิ่มบทบาทของหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของไทย คือ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) และกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการให้ความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือทางวิชาการ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อพัฒนาศักยภาพภาคการก่อสร้าง บริการและท่องเที่ยว ให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนของไทยในภูฏาน และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความมุ่งมั่นของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศกำลังพัฒนาแบบใต้-ใต้ (South-South Cooperation) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | การกู้ยืมเงินโดยการออกพันธบัตรเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 1 | กค | 10/07/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการกู้ยืมเงินโดยการออกพันธบัตรเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของ สพพ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ครั้งที่ ๑ ในกรอบวงเงินไม่เกิน ๑,๕๐๐ ล้านบาท โดยการกู้ยืมเงินดังกล่าวจะช่วยให้ สพพ. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่สอดคล้องกันของอายุเงินกู้และอายุเงินให้กู้ยืม (Mismatch Maturity) และความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Risk) และสร้างความน่าเชื่อถือถึงฐานะของ สพพ. ในตลาดทุน ซึ่งจะส่งผลให้ สพพ. สามารถปฏิบัติภารกิจให้ความช่วยเหลือทางการเงินและทางวิชาการในการร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ในขั้นตอนการออกพันธบัตร ให้ สพพ. ดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. .... | นร | 10/07/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จะช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนจากภาครัฐ และจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการจากภาคเอกชนเข้ามาประกอบกิจการหรือดำเนินการเพื่อสังคมมากขึ้น ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้ตัดร่างมาตรา ๒๙ (๑) เงินประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ ออก ตามความเห็นของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน และให้รับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสังคม เช่น การจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามมาตรา ๑๘ และกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามมาตรา ๒๙ ของร่างพระราชบัญญัติฯ จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานหรือกองทุนหมุนเวียนอื่นที่จัดตั้งไว้แล้ว และมาตรา ๑๙ (๒) ของร่างพระราชบัญญัติฯ ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม มีอำนาจการกู้ยืมเงินตามความเห็นชอบของคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม นั้น ขอให้พิจารณาตามนัยมาตรา ๗ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ กรณีการก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ ความคุ้มค่า ต้นทุน และผลประโยชน์ที่จะได้รับ เป็นต้น นอกจากนี้ การกำหนดลักษณะของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่กำหนดให้ต้องนำผลกำไรไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ กลับไปลงทุนในกิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่น ๆ อาจทำให้ขาดความยืดหยุ่นและไม่สอดคล้องกับเป้าหมายที่ต้องการสนับสนุนให้วิสาหกิจเพื่อสังคมสามารถขอรับเงินสนับสนุนจากผู้ลงทุนภาคเอกชน นอกเหนือจากการสนับสนุนของภาครัฐและเงินบริจาค ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติฯ ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอ ๓. ให้ยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๙ (เรื่อง ขั้นตอนการจัดตั้งองค์การมหาชน) และให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเร่งรัดดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ตามความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ 3/2561 | นร04 | 03/07/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๑ ซึ่งมีความคืบหน้าการติดตามเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ๓ เรื่อง ตามที่ กขร. เสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. .... เห็นควรให้คณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วนเร่งรัดดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน ๓ เดือน ๒. ร่างพระราชบัญญัติรัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. .... เห็นควรให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมร่วมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เร่งรัดดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน ๑ เดือน ๓. การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการปลูกไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ เห็นควรให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเร่งรัดดำเนินการโดยประสานสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน ๓ เดือน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | การยกระดับการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศสู่ Thailand 4.0 | วท | 03/07/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์กลางในการบริหารองค์การมหาชนที่เป็นหน่วยงานด้านการวิจัยทั้งระบบ (รวมถึงหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราเงินเดือนและค่าตอบแทน การประเมิน และการบริหารงานของคณะกรรมการองค์การมหาชน) โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย Thailand 4.0 ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๑ และคณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ในคราวประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เช่น ให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หาแนวทางสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานมีขีดความสามารถด้านวิจัยสูงขึ้น และให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์กลางในการบริหารองค์การมหาชนที่เป็นหน่วยงานด้านการวิจัยทั้งระบบ เป็นต้น ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย ทั้งนี้ ให้เร่งรัดการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือน และนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยในการนำเสนอให้แบ่งเป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็นเร่งด่วนของแต่ละหน่วยงาน ๒. เห็นชอบในหลักการของการพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในการจัดทำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนานวัตกรรมตามความต้องการของภาครัฐ โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย Thailand 4.0 ในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๑ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เช่น ควรคำนึงถึงประชาชนหรือกลุ่มผู้รับประโยชน์เป็นเป้าหมายหลัก และให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหารืออย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมในทุกระดับของหน่วยงานในระบบวิจัยและผู้ใช้ประโยชน์ เป็นต้น ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย ๓. รับทราบแนวทางการจัดตั้ง Holding Company ที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบเอกชน ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ และให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการตามนัยพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๓๔ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย Thailand 4.0 รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเช่น ควรศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. สำหรับการจัดตั้ง Holding Company ที่ดำเนินการในรูปแบบเอกชน และควรคำนึงถึงการนำระบบธรรมาภิบาลมาใช้ในการกำกับดูแลกิจการ เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยและนวัตกรรมต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อให้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนการยกระดับการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมของประเทศให้เหมาะสมและมีความยั่งยืนต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (นายจิรชัย มูลทองโร่ย) | นร | 27/06/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติแต่งตั้ง นายจิรชัย มูลทองโร่ย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน แทนตำแหน่งที่ว่าง ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๑) เป็นต้นไป ๒. ให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ดำเนินการสรรหาเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดินในครั้งต่อไป ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | รายงานผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ 1/2561 | อื่นๆ | 19/06/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ และข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ในการประชุมฯ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๑ ตามที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. ที่ประชุมฯ รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย ระยะ ๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๑) ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ๔ ยุทธศาสตร์ ซึ่งมีโครงการตามยุทธศาสตร์ทั้งสิ้น ๓๔ โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ ๑๒ โครงการ (ร้อยละ ๓๕.๓) และอยู่ระหว่างดำเนินการ ๒๒ โครงการ (ร้อยละ ๖๔.๗) โดยมอบหมายให้ สพร. พิจารณาจัดทำโครงการสำคัญ (Flagship) เพื่อพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล เพื่อรองรับนโยบายไทยแลนด์ ๔.๐ และระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) เพิ่มเติมด้วย ๒. ที่ประชุมฯ เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยกำหนดให้ดำเนินการแล้วเสร็จในระยะเวลา ๓ ปี ภายใต้ ๔ แนวทาง คือ (๑) ด้านการบริการประชาชนด้วยดิจิทัล (๒) ด้านการบริหารราชการแผ่นดินด้วยดิจิทัล (๓) ด้านการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจอย่างมีคุณภาพ และ (๔) ด้านความมั่นคงปลอดภัยโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลภาครัฐ และเห็นชอบในหลักการให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลที่เชื่อมโยงกับ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี โดยให้หารือในรายละเอียดกับรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ต่อไป ๓. นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการ ให้ สพร. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเหมาะสมในการนำเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น Cloud หรือ Big Data มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ และตอบสนองความต้องการของประชาชนในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งพัฒนาศูนย์บริการร่วมเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (OSS) ให้เป็นศูนย์กลางการให้บริการภาครัฐแบบออนไลน์เพียงแห่งเดียว และให้หน่วยงานภาครัฐรับแนวคิดการพัฒนารัฐบาลดิจิทัลไปปฏิบัติโดยมุ่งเน้นการลดภาระของประชาชนในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐเป็นสำคัญ
|