ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 46 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 902 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | อื่นๆ | 05/02/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาดำเนินการของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (บจธ.) และแก้ไขการกำหนดอายุขั้นสูงของประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการ บจธ. ตามที่ บจธ. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้ขยายระยะเวลาดำเนินการของ บจธ. ออกไปอีกคราวละไม่เกิน ๑ ปี แต่รวมระยะเวลาแล้วไม่เกิน ๓ ปี โดยมีเงื่อนไขว่า หากคณะรัฐมนตรีเห็นว่าการดำเนินการของ บจธ. ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์หรือไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับภาระงบประมาณตามรายงานผลการดำเนินการในแต่ละปีที่ บจธ. ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน ก่อนครบกำหนดระยะเวลาในแต่ละ ๑ ปี และมีมติให้ยุบเลิก บจธ. ก็ให้ บจธ. เป็นอันยุบเลิก แล้วให้รัฐมนตรีประกาศยุบเลิก บจธ. ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๔ แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้ บจธ. ไปพิจารณาปรับปรุงการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนให้สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาการสูญเสียที่ดินและการจัดการที่ดินให้เกษตรกรนาแปลงรวม และรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน เช่น ควรเร่งผลักดันให้มีการจัดตั้งธนาคารที่ดินโดยเร็วขึ้น และควรกำหนดแผนและเป้าหมายการดำเนินการที่ชัดเจน ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดในเชิงคุณภาพและปริมาณของยุทธศาสตร์ในแผนบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรที่ดินของประเทศ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๕) เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
62 | แนวทางปฏิบัติในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป | ลต | 05/02/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑ เห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปตามมติที่ประชุมซี่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๒ ดังนี้ ๑.๑ ให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่และลูกจ้างในสังกัดของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อได้รับการร้องขอจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ๑.๒ ให้ข้าราชการ พนักงาน เจ้าหน้าที่และลูกจ้างในสังกัดทุกประเภท ทุกระดับ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นวางตัวเป็นกลางทางการเมือง ๑.๓ นับแต่มีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปจนถึงวันเลือกตั้ง การแต่งตั้ง (โยกย้าย) ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภทและทุกระดับ ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่นให้พิจารณาเท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้กระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้ง ๑.๔ ให้ข้าราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐให้การสนับสนุนสถานที่เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมทั้งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ๑.๕ ให้หน่วยงานทุกฝ่ายตามข้อ ๑.๔ สนับสนุนเกี่ยวกับสถานที่ปิดประกาศและที่ติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งให้เพียงพอและเท่าเทียมกัน ๑.๖ ให้มีการสนธิกำลังระหว่างทหาร ตำรวจ พลเรือน และอาสาสมัครด้านความปลอดภัยเพื่อให้การคุ้มครองประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่จัดการเลือกตั้งได้รับความปลอดภัย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒. ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๙ [เรื่อง การปรับปรุงแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการเลือกตั้ง] มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๔๓ [เรื่อง มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการเลือกตั้ง] มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๐ [เรื่อง สรุปผลการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการการเลือกตั้ง] และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [เรื่อง มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการเลือกตั้ง]
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
63 | การกู้ยืมเงินโดยการออกพันธบัตรเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 1 | กค | 29/01/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการกู้ยืมเงินโดยการออกพันธบัตรเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของ สพพ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ครั้งที่ ๑ ในกรอบวงเงินไม่เกิน ๑,๕๐๐ ล้านบาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง โดย สพพ. รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณที่เห็นควรจัดทำแผนการบริหารจัดการทางการเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงอันเกิดจากความไม่สอดคล้องกันของอายุเงินกู้และอายุเงินให้กู้ยืม รวมทั้งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวด้วยความรอบคอบ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้ การกระจายภาระการชำระหนี้ รวมถึงเสถียรภาพและความยั่งยืนทางการเงินของ สพพ. ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
64 | ข้อสังเกตของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับการนำรถยนต์ส่วนกลางไปใช้เสมือนเป็นรถประจำตำแหน่ง | ปช | 08/01/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับการนำรถยนต์ส่วนกลางไปใช้เสมือนเป็นรถประจำตำแหน่ง สืบเนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าข้าราชการบางหน่วยงานซึ่งมิได้ดำรงตำแหน่งที่ราชการจัดรถประจำตำแหน่งให้ ได้นำรถยนต์ส่วนกลางไปใช้เสมือนเป็นรถประจำตำแหน่งและเบิกจ่ายค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจากทางราชการ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้แจ้งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรถราชการ พ.ศ. ๒๕๒๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ควบคุมและตรวจสอบกรณีดังกล่าว ซึ่งต่อมาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้แจ้งข้อสังเกตของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้ส่วนราชการต่าง ๆ ที่อยู่ในบังคับของระเบียบฯ ทราบและถือปฏิบัติตามระเบียบฯ อย่างเคร่งครัดแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระเบียบฯ ไม่ครอบคลุมถึงรัฐวิสาหกิจ อปท. และองค์การมหาชน ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการให้หน่วยงานดังกล่าวปฏิบัติกำกับ ควบคุม ดูแล และตรวจสอบว่าผู้ใดที่มิได้ดำรงตำแหน่งที่มีรถประจำตำแหน่งจะนำรถยนต์ส่วนกลางไปใช้เสมือนรถประจำตำแหน่งมิได้ และผู้ใดกระทำการดังกล่าวให้ถือว่ามีความผิดวินัยร้ายแรงด้วย ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ และมอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย และสำนักงาน ก.พ.ร. รับไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การใช้รถยนต์ส่วนกลางของรัฐวิสาหกิจ อปท. และองค์การมหาชนเป็นไปตามข้อสังเกตของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในเรื่องนี้ต่อไป โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดนำรถส่วนกลางไปใช้เสมือนเป็นรถประจำตำแหน่งให้ถือว่ามีความผิดวินัยร้ายแรง นั้น สมควรให้เป็นดุลยพินิจของหน่วยงานแต่ละแห่งในการพิจารณาปรับปรุงระเบียบของหน่วยงานโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยของหน่วยงานนั้น ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
65 | ร่างพระราชกฤษฎีกายุบเลิกสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... | นร09 | 02/01/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกายุบเลิกสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการยุบเลิกสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) โดยยังไม่ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๖ จนกว่าการโอนส่วนงานของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) จะแล้วเสร็จตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ และรองรับสภาพนิติบุคคลของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ให้ยังคงดำรงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ และในระหว่างที่ยังดำเนินการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่แล้วเสร็จ ให้สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) มีอำนาจบริหารจัดการสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีและกิจการที่ต่อเนื่องจนกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) รับความเห็นของสำนักงบประมาณเกี่ยวกับค่าตอบแทนการเลิกจ้างและเงินช่วยเหลือเยียวยาแก่เจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) กรณีพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) เนื่องจากยุบเลิกหน่วยงานนั้น ให้ได้รับค่าตอบแทนการเลิกจ้างและเงินช่วยเหลือเยียวยาตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยให้ใช้จ่ายจากเงินรายได้หรือเงินสะสมของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
66 | การเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | วท | 02/01/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติในหลักการการยื่นคำของบประมาณรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป ตามนัยมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน ๒ โครงการ ได้แก่ (๑) โครงการพัฒนาโรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery) ในเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก : เมืองนวัตกรรมชีวภาพ (BIOPOLIS) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ (๒) โครงการสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนระดับพลังงาน ๓ GeV และห้องปฏิบัติการ ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอสำนักงบประมาณพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง [ซึ่งรวมถึงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ (เรื่อง การปรับปรุงแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณและมาตรการอื่นที่เกี่ยวข้อง) และ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๐ (เรื่อง แนวปฏิบัติในการเสนอเรื่องและขออนุมัติดำเนินโครงการลงทุนขององค์การมหาชนที่มีวงเงินลงทุนสูงเกินกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท)] อย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เช่น ควรเตรียมความพร้อมด้านอื่น ๆ เพื่อรองรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีชั้นสูงควบคู่กันไป โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. ส่วนโครงการวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) แผนงานบูรณาการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
67 | ของขวัญปีใหม่ (ปี พ.ศ. 2562) ให้แก่ประชาชน | นร12 | 18/12/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบของขวัญปีใหม่ (ปี พ.ศ. ๒๕๖๒) ให้แก่ประชาชน โดยสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการพัฒนาระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) เพื่อยกระดับการให้บริการประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ที่ https://biz.govchannel.go.th/ และการให้บริการข้อมูลภาครัฐในการติดต่อราชการผ่าน www.info.go.th ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แผนงาน/โครงการ “บริการฉับไว เว็บเดียวจบ ครบทุกเรื่อง” ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
68 | ขออนุมัติเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการค่าควบคุมการก่อสร้างอาคารสำนักงานสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย | ยธ | 26/11/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
๑. ให้สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันรายการค่าควบคุมงานก่อสร้างอาคารสำนักงานสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทยและสิ่งก่อสร้างประกอบ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑ แห่ง จากวงเงินเดิมจำนวน ๘,๗๔๐,๐๐๐ บาท เป็นวงเงินจำนวน ๑๘,๑๔๐,๐๐๐ บาท เป็นกรณีเฉพาะราย ตามนัยข้อ ๗ (๓) ของระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐-พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ได้รับจัดสรรแล้ว จำนวน ๕,๖๘๖,๓๐๐ บาท ส่วนที่เหลืออีกจำนวน ๑๒,๔๕๓,๗๐๐ บาท ให้สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) จัดทำรายละเอียดแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป และเนื่องจากค่าควบคุมงานก่อสร้างอาคารดังกล่าวมีระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าที่คณะรัฐมนตรีตามที่กรอบได้อนุมัติไว้ สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) จะต้องเสนอขออนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ตามนัยระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๗ (๒) ๒. เมื่อสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ได้ผลการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว ให้เสนอสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของราคาอีกครั้งหนึ่งก่อนทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ตามนัยระเบียบการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งขอให้สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) ดำเนินการให้เป็นไปตามนัยมาตรา ๓๗ ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ประกาศหรือคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
69 | นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม | ดศ | 26/11/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. อนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ดังนี้ ๑.๑ อนุมัติแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙) (แผนฯ ๒๐ ปี) สำหรับการประกาศใช้เป็นนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๕ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๗๙ หรือจนกว่าจะมีการแก้ไขปรับปรุงนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๑.๒ เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔) (แผนฯ ๕ ปี) โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑.๓ มอบหมายสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกาศใช้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (แผนฯ ๒๐ ปี) โดยทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑.๔ มอบหมายให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กรอิสระ และหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับกิจการใด ๆ ที่ใช้ประโยชน์จากดิจิทัลทุกหน่วยดำเนินการตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (แผนฯ ๒๐ ปี) รวมทั้งนำแผนฯ ๕ ปี ไปเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงาน โครงการรองรับ และให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณให้หน่วยงานของรัฐให้สอดคล้องเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๑ ๑.๕ มอบหมายให้สำนักงบประมาณนำแผนฯ ๒๐ ปี และแผนฯ ๕ ปี ไปเป็นกรอบในการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ และกรอบการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการในแต่ละปีงบประมาณ และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดตัวชี้วัดของหน่วยงานของรัฐให้สอดคล้อง พร้อมทั้งให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการในการวางแผนการสร้างและพัฒนากำลังคนดิจิทัลของรัฐให้สอดคล้องกับความต้องการตามบริบทการพัฒนาของประเทศ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดรายละเอียดกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินงานรองรับ ๑.๖ ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๙ เฉพาะในส่วนที่ให้กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัล ระยะ ๓ ปี ของหน่วยงาน และมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดำเนินการตามภารกิจที่กำหนดในแผนฯ ๒๐ ปี และแผนฯ ๕ ปี จัดทำหรือปรับปรุงแผนปฏิบัติการ หรือแผนงานของหน่วยงานที่มีอยู่ให้สอดคล้อง โดยมุ่งเน้นการทำงานในลักษณะบูรณาการร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำหรับนำเสนอคณะกรรมการเฉพาะด้านตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๒๒ ต่อไป ๒. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เช่น การกำหนดมาตรการและแนวทางการส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการอินเทอร์เน็ตประชารัฐให้มากขึ้น การจัดทำฐานข้อมูล แนวทางในการพัฒนาตัวชี้วัดให้ครอบคลุมเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในแผนทั้งสองฉบับ และการกำหนดให้มีรายละเอียดการดำเนินงานในลักษณะบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้สามารถนำนโยบายไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติของหน่วยงานระดับต่าง ๆ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพิจารณาปรับปรุงระยะเวลาของแผนฯ ๒๐ ปี จากเดิม พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙ เป็น พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐ เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาของยุทธศาสตร์ชาติ รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงเนื้อหาของแผนฯ ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติตามความจำเป็นเหมาะสมด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
70 | สรุปผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ 6/2561 | นร04 | 13/11/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ครั้งที่ ๖/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๑ โดยได้มีการติดตามเร่งรัดการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาล ๕ เรื่อง ตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลเสนอ สรุปได้ดังนี้
๑. โครงการทบทวนใบอนุญาตของทางราชการ ที่ประชุม กขร. มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วนที่ให้เร่งสร้างความเข้าใจกระบวนการในการทบทวนกฎหมายและกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตทางราชการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและขอความร่วมมือให้ทุกหน่วยงานดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป ๒. การพัฒนาระบบการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไปให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท ที่ประชุม กขร. มีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอจะดำเนินการประชุมร่วมกับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลประเภทต่าง ๆ ภายในเดือนตุลาคม ๒๕๖๑ เพื่อรายงานผลการดำเนินการต่อองค์กรกลางบริหารงานบุคคลและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีได้ภายในระยะเวลา ๒ เดือน (ภายในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๑) ๓. โครงการ National e-Library) ที่ประชุม กขร. มีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานโดยมอบหมาบให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลักร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการรวบรวมข้อมูล (Metadata) และไฟล์ของสื่อเนื้อหาอิเล็กทรอนิกส์จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ ตลอดจนขอสนับสนุนอุปกรณ์ ซอฟแวร์ และบุคลากร เพื่อใช้ในการผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ขอให้ดำเนินการภายใน ๑ เดือน (ภายในเดือนตุลาคม ๒๕๖๑) และวางเป้าหมายให้ดำเนินการทันวันเด็กในเดือนมกราคม ๒๕๖๒ ๔. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง พ.ศ. .... ที่ประชุม กขร. มีมติเห็นชอบในหลักการการเสนอร่างระเบียบฯ และมอบหมายให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) รับความเห็นและข้อสังเกตที่ประชุม กขร. ในประเด็นจำนวนสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิของสภาพัฒนาตำบลกับสภาองค์กรชุมชน และการเปิดโอกาสให้มีการคัดเลือกโดยไม่ได้ระบุจำนวนสมาชิกไว้ ไปพิจารณาปรับปรุงและเร่งรัดเสนอร่างระเบียบฯ ตามขั้นตอนเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน ๑-๒ เดือน ๕. โครงการพัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนและพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมชุมชน ที่ประชุม กขร. มีมติ เห็นชอบในหลักการโครงการฯ และมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาในรายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีภายใน ๑-๒ เดือน (ภายในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๑)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
71 | ขอรายงานผลการดำเนินงานตามภารกิจสำคัญของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 | นร04 | 06/11/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับราบรายงานผลการดำเนินงานตามภารกิจสำคัญของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ ตามที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) เสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. การดำเนินงานตามภารกิจสำคัญของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ เช่น การขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ การจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพแล้วเสร็จพร้อมให้การรับรองสมรรถนะ การสร้างความร่วมมือกับภาคการศึกษาในการนำระบบคุณวุฒิวิชาชีพไปใช้ การพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐ การพัฒนากรอบคุณวุฒิวิชาชีพ จาก ๗ ระดับ เป็น ๘ ระดับ เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และการสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนรวมถึงหน่วยงานจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสนับสนุนให้เกิดการยอมรับมาตรฐานอาชีพในระดับสากล เป็นต้น ๒. การดำเนินงานในระยะต่อไป ได้แก่ การสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับคุณวุฒิวิชาชีพ การเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันและนำไปสู่การปรับหลักสูตรของภาคการศึกษา ตลอดจนศึกษาแนวทางการเทียบโอนคุณวุฒิวิชาชีพกับคุณวุฒิการศึกษา การพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อขับเคลื่อนคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาต่าง ๆ ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ การจัดทำและทบทวนมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพที่ได้จัดทำให้เป็นไปตามทิศทางการพัฒนาประเทศที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี และการสนับสนุนประเทศไทย ๔.๐ การเร่งให้การรับรององค์กรที่มีหน้าที่รับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชาชีพ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
72 | รายงานประจำปี 2559 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) | พณ | 24/10/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๕๙ ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. ผลการดำเนินงาน ได้แก่ การจัดการฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ให้กับประชาชน บุคลากรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ การสนับสนุนการจัดทำผลงานทางวิชาการ และการขยายเครือข่ายการสร้างองค์ความรู้และการให้บริการวิชาการเพื่อการค้าและการพัฒนาทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ๒. ผลการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙ ในภาพรวม ได้คะแนน ๔.๗๐๒๙ ๓. งบแสดงฐานะทางการเงิน ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๙ ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบและรับรองแล้ว โดยเห็นว่า งบการเงินดังกล่าวถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังประกาศใช้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
73 | การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | นร12 | 24/10/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แบบที่ ๑ มีการรวมสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยไว้ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) รวมทั้งบัญชีท้ายร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายตามบัญชีท้ายร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตรวจสอบความครบถ้วนให้แล้วเสร็จภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติคณะรัฐมนตรีนี้ แล้วแจ้งผลการดำเนินการไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการตรวจพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ หากไม่มีการแก้ไขในสาระสำคัญ ให้ส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ๒. รับทราบร่างพระราชบัญญัติ รวม ๖ ฉบับ ได้แก่ (๑) ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (๒) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (๓) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (๔) ร่างพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (๕) ร่างพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และ (๖) ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการวิจัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ รวม ๖ ฉบับดังกล่าวให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติในข้อ ๑ ด้วย และให้สำนักงาน ก.พ.ร. เร่งรัดการดำเนินการตามมาตรา ๗๗ วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๐ แล้วส่งผลการดำเนินการไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการตรวจพิจารณาต่อไป แล้วให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกานำร่างพระราชบัญญัติ รวม ๖ ฉบับดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ๓. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ (๑) พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ (๒) พระราชบัญญัติว่าด้วยการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปร่วมชันสูตรพลิกศพ ตามมาตรา ๑๔๘ (๓) (๔) และ (๕) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. ๒๕๕๐ (๓) พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๑ (๔) พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ๒๕๕๘ และ (๕) พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙ ไปร่วมพิจารณากับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาว่า ควรจะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้รักษาการหรือผู้รักษาการร่วมตามพระราชบัญญัติดังกล่าวหรือไม่ ๔. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับข้อสังเกตของนายกรัฐมนตรีว่า ในการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่มีภารกิจด้านการวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวข้องกันหลายหน่วยงาน ควรกำหนดให้มีคณะกรรมการระดับชาติ (Superboard) ซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นกลไกในการเชื่อมโยง บูรณาการ และการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการวิจัยและการสร้างนวัตกรรมของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวิจัย เพื่อให้การวิจัยและการสร้างนวัตกรรมมีความเป็นเอกภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งสามารถนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ให้นำข้อสังเกตของนายกรัฐมนตรีว่า ในส่วนของการจัดตั้งองค์การมหาชนขึ้นมารองรับการดำเนินงานดังกล่าว ไปประกอบการพิจารณาด้วย และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเร่งรัดการยกร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๑ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ๕. ให้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) นำร่างพระราชบัญญัติการวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. .... ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และร่างพระราชบัญญัติการวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม พ.ศ. .... ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาทบทวนและปรับปรุงเป็นร่างเดียวเพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติในข้อ ๑ และร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. .... ที่อยู่ระหว่างการยกร่างของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อให้การจัดตั้งกระทรวงดังกล่าวเกิดผลสัมฤทธิ์ และมีความเป็นเอกภาพในการบริหารราชการของกระทรวงที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ แล้วให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยเร็ว โดยให้เชิญผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มาร่วมให้ความเห็น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
74 | ร่างพระราชบัญญัติกระจายหน้าที่และอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... | นร01 | 24/10/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกระจายหน้าที่และอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการการกระจายหน้าที่และอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. เช่น การกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งหรือตั้งแต่ ๒ แห่งขึ้นไป อาจดำเนินกิจการที่มีลักษณะเป็นการพาณิชย์หรือการบริการสาธารณะขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบรัฐวิสาหกิจท้องถิ่นหรือองค์การมหาชนท้องถิ่น ตามร่างมาตรา ๒๗ และการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการกระจายหน้าที่และอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร และควรจะมีการสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความเหมาะสมและรูปแบบเฉพาะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่และรูปแบบ และควรจะต้องคำนึงถึงภารกิจและอำนาจหน้าที่โดยไม่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการ เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ๓. ให้ยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ เกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการกระจายหน้าที่และอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเร่งรัดดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แล้วแจ้งผลการดำเนินการการจัดตั้งสำนักงานดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อประกอบการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป ๔. ให้สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
75 | การโอนบรรดาหน้าที่และอำนาจ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ งบประมาณ และเงินรายได้ของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เฉพาะในส่วนของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบไปเป็นของสำนักงานส่งเสริม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) | นร | 24/10/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้โอนบรรดาหน้าที่และอำนาจ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ งบประมาณ และเงินรายได้ของสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เฉพาะในส่วนของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ไปเป็นของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) เสนอ ทั้งนี้ ในส่วนของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ที่ได้รับจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ จำนวน ๒๔๙,๔๗๖,๐๐๐ บาท ให้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
76 | ร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. .... | กห | 24/10/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. .... ของกระทรวงกลาโหม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยเป็นการขยายขอบเขตการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิจัย พัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีป้องกันประเทศ บูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวในภาคธุรกิจ เพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมป้องกันประเทศขึ้นในประเทศไทย และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาดำเนินการแก้ไขร่างมาตรา ๒๔ ให้ครอบคลุมการขายให้หน่วยงานของรัฐและการขายโดยประการอื่นตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ตามความเห็นของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
77 | รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแข่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในทางและการควบคุุมสถานบริการหรือสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ | ยธ | 10/10/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้ ๑.๑ รับทราบผลการดำเนินงานตามมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแข่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในทาง และการควบคุมสถานบริการหรือสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ ซึ่งการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวส่วนใหญ่สามารถดำเนินการจนบรรลุผล เช่น ทบทวนและปรับปรุงการกำหนดเขตพื้นที่เพื่อตั้งสถานบริการ (Zoning) ครบถ้วนแล้ว ๗๗ จังหวัด และจัดทำโครงการจัดทำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่โซนนิ่งบริเวณใกล้เคียงสถานศึกษา และการกระทำผิดกฎหมายตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๒/๒๕๕๘ เป็นต้น สำหรับปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ ได้แก่ ปัญหาอุปสรรคในการส่งต่อข้อมูลจากตำรวจมายังกรมกิจการเด็กและเยาวชน (บ้านพักเด็กและครอบครัว) ในกรณีที่มีการจับกุมเด็กและเยาวชนที่มีพฤติกรรมรวมกลุ่มหรือมั่วสุมในลักษณะหรือมีพฤติการณ์ที่น่าจะนำไปสู่การแข่งรถในทาง และกรณีเด็กประพฤติตนไม่สมควรเข้าไปใช้บริการในสถานบริการหรือสถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายกับสถานบริการ ๑.๒ เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรค ได้แก่ (๑) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีอำนาจหน้าที่หรือที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ เข้ามาช่วยในการติดตามเยี่ยมบ้านเด็กและเยาวชน และ (๒) ให้กรมกิจการเด็กและเยาวชนเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จัดทำฐานข้อมูลกลางของเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่มีพฤติกรรมกลุ่มหรือมั่วสุมในลักษณะหรือมีพฤติการณ์ที่น่าจะนำไปสู่การแข่งรถในทาง หรือประพฤติตนไม่สมควร หรือเป็นแกนนำในการก่อเหตุทะเลาะวิวาท ๒. ให้กระทรวงยุติธรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางการดำเนินการเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละประเภทพื้นที่เชิงบวกควบคู่กับการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งควรกำหนดแนวทางและระยะเวลาในการส่งต่อข้อมูลให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน เพื่อดำเนินการจัดทำฐานข้อมูลเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่สุ่มเสี่ยง ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓. ให้กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่เพื่อส่งเสริมและสร้างภาพลักษณ์ของสังคมไทยให้เป็นสังคมที่มีความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น การปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนมีจิตใจโอบอ้อมอารี ให้ความช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน การจัดตั้งด่านตรวจของเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองในสายทาง/บริเวณที่เป็นจุดล่อแหลมหรือจุดเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุและอาชญากรรมขึ้น การตรวจค้นบุคคลหรือยานพาหนะที่มีความเสี่ยงในการกระทำผิดกฎหมายอย่างเหมาะสม เพื่อเป็นการป้องปรามการกระทำผิดและสร้างความเชื่อมั่นในด้านการรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนในพื้นที่ เป็นต้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
78 | ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... | ดศ | 10/10/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... รวม ๒ ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงให้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทั้งปรับปรุงกลไกในการกำกับดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ชัดเจนและสอดคล้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และปรับปรุงสถานะและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เพื่อให้สามารถรองรับการปฏิบัติงานตามภารกิจได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... จากคำว่า “อำนาจหน้าที่” เป็น “หน้าที่และอำนาจ” และแก้ไขถ้อยคำในตอนท้ายร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าว จากคำว่า “ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ” เป็น “ผู้รับสนองพระราชโองการ” ตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้เสนอคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติรวม ๒ ฉบับดังกล่าว ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ๓. ให้ยุติการดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
79 | รายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM) | ทส | 02/10/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการติดตามผละประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism : JCM) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. การให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาโครงการ JCM Model Project โดยกระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น ได้ให้ทุนสนับสนุนการพัฒนาโครงการ JCM Model Project จำนวน ๒๖ โครงการ มูลค่ามากกว่า ๒ พันล้านบาท ก่อให้เกิดการลงทุนมากกว่า ๖ พันล้านบาท มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้จากโครงการทั้งหมดเท่ากับ ๑๒๙,๙๕๘ ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ๒. การประชุมคณะกรรมการร่วมกลไกเครดิตร่วม จำนวน ๔ ครั้ง โดยที่ประชุมมีมติรับรองกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำเนินงานภายใต้กลไกเครดิตร่วม รับรองระเบียบวิธีการคำนวณปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก จำนวน ๗ วิธี สำหรับโครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การใช้เครื่องอัดอากาศประสิทธิภาพสูง การใช้เครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูงแบบอินเวอร์เตอร์ เครื่องทำน้ำเย็นประสิทธิภาพสูงแบบนันอินเวอร์เตอร์ เครื่องทอผ้าประสิทธิภาพสูงที่ลดการใช้ลมในการทอผ้า ระบบระบายอากาศประสิทธิภาพสูง และระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากความร้อนทิ้งของหม้อเผาปูนซีเมนต์ พร้อมทั้งรับรองผู้ตรวจประเมินโครงการ จำนวน ๔ ราย ขึ้นทะเบียนโครงการ จำนวน ๔ โครงการ และรับรองคาร์บอนเครดิต ๓. การจัดงานอบรม/สัมมนาร่วมกับหน่วยงานของประเทศญี่ปุ่น จำนวน ๑๒ ครั้ง มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด ๗๘๑ คน และมีการเข้าร่วมการประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการที่จะขอขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ JCM จำนวน ๘ โครงการ รวมทั้งเยี่ยมชมโครงการ จำนวน ๑๑ โครงการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
80 | ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. .... | สพร. | 02/10/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล โดยให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อมูลและบริการในรูปแบบดิจิทัล (Digitization) แลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานของรัฐ (Integration) และเปิดเผยข้อมูลภาครัฐในรูปแบบดิจิทัล (Open Government Data) เพื่อให้มีกฎหมายในการขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชนตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และสำนักงานศาลยุติธรรม เช่น ให้มีการเปิดเผยข้อมูลระดับปฐมภูมิที่อยู่ภายใต้การครอบครองของรัฐที่ได้ผ่านการปกปิดตัวตน (Anonymized Data) การกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่รับข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานอื่นใช้และเก็บข้อมูลดังกล่าวตามอำนาจและหน้าที่เท่าที่จำเป็นและทำลายเมื่อหมดความจำเป็น การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ควบคู่ไปกับร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล พ.ศ. .... การกำหนดคำนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. .... การจำกัดขอบเขตความชัดเจนในการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับศาลยุติธรรมให้ชัดเจนเหมาะสม และระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ควรจะสอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ. .... เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เสนอ ๓. ให้สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงาน ก.พ. ที่เห็นควรมีการพัฒนาขีดความสามารถเชิงดิจิทัลให้กับบุคลากรของรัฐรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ รวมทั้งควรมีการวางแผนและจัดเตรียมกำลังคน และในกรณีที่จะมีการขอกำหนดอัตรากำลังเพิ่มเติมให้แก่สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ควรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสนับสนุนการทำงานแทน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |