ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 10 จากทั้งหมด 46 หน้า แสดงรายการที่ 181 - 200 จากข้อมูลทั้งหมด 902 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
181 | สรุปผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 22 (COP 22) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 12 (CMP 12) และการประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ 1 (CMA 1) ณ เมืองมาร์ราเกซราชอาณาจักรโมร็อกโก | ทส | 24/01/2560 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบสรุปผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๒ (COP 22) การประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ ๑๒ (CMP 12) และการประชุมรัฐภาคีความตกลงปารีส สมัยที่ ๑ (CMA 1) ระหว่างวันที่ ๕-๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ เมืองมาร์ราเกซ ราชอาณาจักรโมร็อกโก และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ ๑.๑ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อกำหนดรายละเอียดการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านกลไกคณะทำงานเจรจาสำหรับการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ คณะอนุกรรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติด้านการประสานท่าทีเจรจาและความร่วมมือระหว่างประเทศ และคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ๑.๒ หน่วยงานที่มีการดำเนินภารกิจที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) จัดสรรงบประมาณเพื่อเข้าร่วมการประชุมภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการประชุมที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานในกรอบระหว่างประเทศและการดำเนินงานตามภารกิจภายในประเทศอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจน ๑.๓ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จัดทำแผนการเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง ๑.๔ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมร่วมกับสำนักงานประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และกระทรวงศึกษาธิการ จัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่และสร้างความตระหนักรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ และจัดทำหลักสูตรร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้อง ๑.๕ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เร่งวิเคราะห์ข้อดี-ข้อเสีย และศึกษาศักยภาพความพร้อมของประเทศไทยในการดำเนินความร่วมมือลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกตลาดระหว่างประเทศ เช่น กรอบทวิภาคีและกรอบพหุภาคีอื่น ๆ เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานด้านนโยบาย ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นต่อไป ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการพิจารณากำหนดกรอบเวลา การศึกษา และ/หรือการจัดทำแผนและนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ การศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างแนวทางดำเนินการของประเทศไทยภายใต้กลไกของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกับแนวทางการดำเนินการของประเทศไทยภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องเป็นแนวทางเดียวกัน การพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนของการให้ความช่วยเหลือของประเทศพัฒนาแล้ว ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำ อาหาร และพลังงานแบบเชื่อมโยงกัน (Water-Food-Energy Nexus) การพิจารณาให้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการพัฒนาในสาขาต่าง ๆ ที่คำนึงถึงปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ในลักษณะบูรณาการ และการพิจารณานำข้อเสนอของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูป เรื่อง การปฏิรูปการดำเนินการด้านการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยและแนวทางการดำเนินงานไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๓. สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินการดังกล่าว ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ได้รับการจัดสรร จำนวน ๔๑๒.๐๑๗๗ ล้านบาท หากมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายงบประมาณเพิ่มเติมขอให้ปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ตามความจำเป็นและเหมาะสมไปดำเนินการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในโอกาสแรกก่อน ส่วนค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
182 | แนวปฏิบัติในการเสนอเรื่องและขออนุมัติดำเนินโครงการลงทุนขององค์การมหาชนที่มีวงเงินลงทุนสูงเกินกว่า 1,000 ล้านบาท | นร12 | 24/01/2560 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการตามมติคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการเสนอเรื่องและขออนุมัติดำเนินโครงการลงทุนขององค์การมหาชนที่มีวงเงินลงทุนสูงเกินกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหน่วยงานพิจารณากลั่นกรองเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในโครงการลงทุนขององค์การมหาชนที่มีวงเงินลงทุนสูงเกินกว่า ๑,๐๐๐ ล้านบาท และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยให้องค์การมหาชนดำเนินการขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ให้เสร็จสิ้นก่อนแล้วจึงส่งเรื่องไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี พร้อมความเห็นของหน่วยงานข้างต้นเพื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้ดำเนินการนำเสนอคณะรัฐมนตรีตามขั้นตอนต่อไป ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและข้อสังเกตของสำนักงบประมาณที่เห็นว่า โครงการขององค์การมหาชนที่จะเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาต้องเป็นโครงการลงทุนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตลอดจนระยะเวลาการดำเนินงานโดยแน่ชัด อันมิใช่เป็นการบริหารงานตามปกติและการก่อสร้างอาคารสำนักงานของหน่วยงานนั้น ๆ รวมทั้งโครงการที่เสนอขออนุมัติควรมีความสอดคล้องกับร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนปฏิรูปประเทศ และแผนแม่บทของกระทรวง/หน่วยงาน และควรมีประมาณการค่าใช้จ่าย แหล่งเงินทั้งจากงบประมาณหรือแหล่งเงินอื่นใดที่ใช้ในการดำเนินการ และแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้ชัดเจน ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการต่อไปด้วย ๓. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเสนอโครงการลงทุนขององค์การมหาชนให้มีรายละเอียดครบถ้วน ชัดเจน รวมถึงการจัดเตรียมโครงการของหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เช่น ภาพรวมการดำเนินงาน ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศ และนโยบายรัฐบาล ความจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมทางด้านกายภาพและเทคนิค ความเหมาะสมทางด้านการเงินและเศรษฐกิจ ผลประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับ ความเหมาะสมด้านการบริหารโครงการ และการบริหารจัดการความเสี่ยง รวมทั้งผลกระทบของโครงการที่มีต่อสิ่งแวดล้อม (ถ้ามี) และซักซ้อมความเข้าใจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์การมหาชนทุกแห่งเพื่อถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
183 | มาตรการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลกและร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) | กค | 17/01/2560 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา ๑๒ แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสำเร็จรูป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ตัดเนื้อความในข้อ ๒ ของร่างประกาศออก เพื่อให้เป็นไปตามแบบของการร่างกฎหมาย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีท้ายประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. เห็นชอบมาตรการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งประกอบด้วย มาตรการทางภาษี มาตรการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ มาตรการยกระดับฝีมือแรงงานในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ และมาตรการทางการเงิน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒.๑ มอบหมายให้กระทรวงการคลังเร่งรัดจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามมาตรการทางภาษีเกี่ยวกับการให้ผู้ประกอบการหักรายจ่ายได้ ๒ เท่า ของรายจ่ายประเภทเงินเดือนและค่าจ้างของแรงงานเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ๒.๒ มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาจัดทำและพัฒนามาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโลกอย่างกว้างขวาง รวมถึงกำหนดตราสัญลักษณ์กลางที่ใช้รับประกันคุณภาพ (Hallmarking) สำหรับสินค้าในหมวดเครื่องประดับ ๒.๓ มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พิจารณากำหนดมาตรการเพื่อพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านกระบวนการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตจากผู้ประกอบการรายใหญ่และผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศไปสู่ผู้ประกอบการรายย่อย การจัดตั้งโรงเรียนเฉพาะทางเพื่อส่งเสริมและพัฒนาช่างศิลป์ และการพัฒนาทายาทช่างฝีมือเพื่ออนุรักษ์การผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ของไทย ๒.๔ มอบหมายให้กระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามมาตรการทางการเงินในการขยายระยะเวลาดำเนินมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับผู้ประกอบกิจการ SMEs ดังกล่าวต่อไป ๓. มอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาพิจารณากำหนดมาตรการประชาสัมพันธ์สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่มีคุณภาพของไทย การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวในย่านการค้าที่สำคัญ รวมถึงการประชาสัมพันธ์สินค้าที่มีคุณภาพให้แก่นักท่องเที่ยว ๔. ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้มีการพิจารณาการให้ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสำเร็จรูปให้มีความรอบด้าน รอบคอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยคำนึงถึงการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ผลิตอัญมณีไทยรายย่อย และให้มีการดำเนินการจัดทำรายละเอียดมาตรฐานฝีมือแรงงานและการจดทะเบียนช่างเครื่องประดับให้เรียบร้อยก่อน เพื่อให้การกำหนดมาตรการทางภาษีตามข้อเสนอเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม และเกิดความเป็นธรรม รวมทั้งควรเร่งการผลิตช่างฝีมือให้มีจำนวนมากขึ้นเพื่อรองรับความต้องการของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมด้วย และควรพิจารณาเพิ่มเติมการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการบริหารจัดการและทางด้านการตลาดสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับเพื่อให้การถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ประกอบการไทย ตลอดจนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำและพัฒนามาตรฐานสินค้าให้เป็นที่ยอมรับและกำหนดตราสัญลักษณ์กลางที่ใช้ในการรับประกันคุณภาพ และการพิจารณากำหนดมาตรการประชาสัมพันธ์สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับสำเร็จรูปให้แก่นักท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนให้เกิดความเชื่อมั่นต่อสินค้าอัญมณีไทยให้เป็นที่ยอมรับในวงกว้างมากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๕. ให้กระทรวงการคลังได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
184 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขององค์การมหาชน จำนวน 11 แห่ง | นร12 | 10/01/2560 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน ๑๐ ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน โดยปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการ แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ ๑.๑ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๒ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๓ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๔ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๕ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๖ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๗ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๘ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๙ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑.๑๐ ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๒. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เร่งรัดดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนที่ยังไม่แล้วเสร็จโดยเร็ว แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป และให้รับข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่เห็นควรกำหนดแนวทางการกำหนดเครื่องแบบขององค์การมหาชนเพื่อให้การกำหนดเครื่องแบบของทุกองค์การมหาชนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
185 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์คุณธรรม (นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์) | วธ | 04/01/2560 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. อนุมัติให้แต่งตั้ง นายณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารศูนย์คุณธรรม แทน คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ที่ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๙ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๔ มกราคม ๒๕๖๐) เป็นต้นไป และให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งไว้แล้ว ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ ๒. ให้ใช้ชื่อคณะกรรมการบริหารศูนย์คุณธรรม ตามแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กรณีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการขององค์การมหาชน ให้ใช้ชื่อตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชนที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันไปพลางก่อน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
186 | ร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. .... (แนวทางปฏิบัติในการเสนอร่างกฎหมาย) | สธ | 20/12/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ และให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๕ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขับเคลื่อนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์วัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔ ตามที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้ตัดบทบัญญัติเกี่ยวกับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรและการจัดเก็บเงินบำรุงสถาบันจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยสุราและกฎหมายว่าด้วยยาสูบตามร่างมาตรา ๑๖ (๓) และร่างมาตรา ๒๓ ออก และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงบประมาณ อาทิ การพิจารณารูปแบบการออกกฎหมายในการจัดเก็บภาษีในลักษณะกฎหมายภาษีโดยตรง การกำหนดรายได้สูงสุดของเงินบำรุงสถาบันฯ และให้มีการทบทวนทุก ๕ ปี รวมทั้งแก้ไขถ้อยคำในร่างพระราชบัญญัติฯ เช่น คำนิยาม คุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ และเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ๒. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรองและกรอบระยะเวลาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เสนอ ๓. อนุมัติเป็นหลักการว่าการเสนอร่างกฎหมายในเรื่องใดไม่ให้มีบทบัญญัติกำหนดให้จัดเก็บรายได้จากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายเกี่ยวกับสุราและยาสูบ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
187 | มติคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2559 และครั้งที่ 3/2559 | ดท | 20/12/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) ประธานกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติเสนอ ดังนี้ ๑.๑ มติคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๙ ที่ประชุมมีมติรับทราบและเห็นชอบ (๑) ในหลักการให้ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติชุดปัจจุบันดำรงตำแหน่งต่อไปอีก ๑ วาระ ยกเว้นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการป้องกันประเทศและด้านการต่างประเทศ ให้เห็นชอบตามรายชื่อที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเสนอมา (๒) แนวทางการบริหารจัดการกิจการดาวเทียมสื่อสาร หลังสิ้นสุดสัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ และ (๓) รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อพัฒนา (THEOS-2) ของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ.) ๑.๒ มติคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ ที่ประชุมมีมติรับทราบ (๑) ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายอวกาศในการพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการดาวเทียมสื่อสารภายใต้สัญญาดำเนินกิจการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศและภายใต้ระบบใบอนุญาต (๒) ผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการปรับปรุงแนวทางการพัฒนากิจการอวกาศของประเทศไทย ได้แก่ แนวทางการบริหารจัดการกิจการดาวเทียมสื่อสารของประเทศและโปรแกรมอวกาศแห่งชาติ (๓) ความคืบหน้าของการดำเนินการเกี่ยวกับโครงการ THEOS-2 โดย สทอภ. อยู่ระหว่างการจัดทำข้อเสนอเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา (๔) ความก้าวหน้าผลการศึกษาแนวทางการดำเนินงานดาวเทียมสื่อสารภาครัฐเพื่อความมั่นคง (๕) การนำเสนอผลงานดาวเทียม King Mongkut’s University of Technology North Bangkok Academic Challenge of Knowledge Satellite : KNACKSAT ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และเห็นชอบการแต่งตั้ง ผศ.ดร. ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง เป็นอนุกรรมการพัฒนากฎหมายอวกาศ ๒. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สทอภ. เร่งรัดดำเนินโครงการ THEOS-2 โดยให้คำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุนโครงการเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและสามารถพัฒนาต่อยอดได้ในอนาคต
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
188 | รายงานผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เรื่อง การจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร | ดท | 07/12/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร ตามที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เสนอ มีผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
๑. การวางแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลสถิติและบูรณาการข้อมูลสถิติภาครัฐ สสช. มีการวางแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูลสถิติและบูรณาการข้อมูลสถิติภาครัฐมาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากระบบสถิติของประเทศไทยเป็นแบบกระจายงานหน่วยงานภาครัฐต่างๆ สามารถผลิตข้อมูลสถิติได้ตามความต้องการเฉพาะของหน่วยงานจึงทำให้ระบบสถิติของประเทศไทยยังไม่มีเอกภาพเท่าที่ควร ทั้งนี้ ในการบริหารจัดการและบูรณาการข้อมูลสถิติภาครัฐนั้น สสช.ขับเคลื่อนโดยผ่านกลไกการดำเนินงานแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๔) โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลสถิติพื้นฐานและมีความสำคัญจำเป็นในการขับเคลื่อนของประเทศเป็นหลัก (ไม่รวมข้อมูลเชิงลึกหรือข้อมูลระดับบุคคลของหน่วยงาน) ๒. การบูรณาการข้อมูลสถิติที่สำคัญจำเป็น (Official Statistics) โดยบูรณาการข้อมูลสถิติที่สำคัญจำเป็นทั้งในส่วนที่ สสช. ผลิต และหน่วยงานอื่นๆ ผลิต เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนใช้ประโยชน์ร่วมกันและลดความซ้ำซ้อนในการผลิตสถิติ ทั้งนี้ สามารถจัดแบ่งข้อมูลสถิติตามการปฏิบัติงานเป็น ๒ ประเภท คือ (๑) ข้อมูลสถิติรายสาขา ๒๑ สาขา โดยจัดเป็นข้อมูล ๓ ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ (๒) ข้อมูลสถิติระดับพื้นที่ โดยจัดข้อมูลตามชุดข้อมูลที่ใช้ในการวางแผนและติดตามแผนพัฒนาสถิติระดับพื้นที่ (จังหวัด) ๓. การให้บริการข้อมูลสถิติที่สะดวกต่อการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม (Open data) เพื่อให้ทุกภาคส่วน สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลสถิติได้อย่างอิสระปราศจากข้อจำกัดในด้านสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ รวมทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการใช้ข้อมูลร่วมกันในการสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินและบริการประชาชน ๔. การบริหารจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศ (Management Information System : MIS) อาทิ ศึกษาแนวทางการดำเนินการจากประเทศต่างๆ เกี่ยวกับการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ การบูรณาการข้อมูล การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสานกับสำนักรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เพื่อนำเสนอชุดข้อมูลสถิติที่ สสช. ได้รวบรวมจากหน่วยงานต่างๆ ผ่าน Gov Channel และจัดทำชุดข้อมูลเพื่อการบริการ ได้แก่ นโยบายค่าตอบแทนแรงงาน ความพร้อมของสาธารณสุขไทยสู่การเป็น Medical Hub ๕. การดำเนินการในระยะต่อไป อาทิ สำรวจความพร้อมของหน่วยงานทั้งด้านข้อมูล สารสนเทศและเทคนิค (ระบบสารสนเทศต่างๆ) จัดการข้อมูลสถิติทั้งในส่วนของ demand และ supply ของหน่วยงานต่างๆ ให้สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ กำหนดมาตรฐานการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูล นำเข้าข้อมูลในระบบ และนำเสนอข้อมูล บริหารจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในภาพรวมของประเทศ โดยจัดทำสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจในมิติต่างๆ ทั้งในระดับพื้นที่ ประเทศ และระดับนานาชาติ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
189 | รายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 | กค | 07/12/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ รับทราบรายงานการเงินรวมภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งรวบรวมงบแสดงฐานะการเงิน งบรายได้และค่าใช้จ่ายของรัฐบาลกลางและหน่วยงานภาครัฐ ทุนหมุนเวียนรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน ๘,๒๘๑ หน่วยงาน จาก ๘,๔๑๒ หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ ๙๘.๔๔ ๑.๒ เห็นชอบข้อเสนอแนะในการจัดทำรายงานการเงินรวมภาครัฐ โดย ๑.๒.๑ ให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งบันทึกและส่งข้อมูลงบการเงินภายในระยะเวลาที่กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) กำหนด โดยรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ความสำคัญ ควบคุม กำกับดูแล หน่วยงานภายใต้สังกัดส่งรายงานการเงินของหน่วยงานภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่สามารถส่งรายงานการเงินให้กระทรวงการคลังได้ตามกำหนด หน่วยงานต้องรายงานเหตุผลหรือปัญหาอุปสรรคต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดให้การบันทึกและส่งข้อมูลรายงานการเงินประจำปีเป็นเกณฑ์การประเมินของผู้บริหารระดับหน่วยงาน และกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลรายงานการเงินของแต่ละหน่วยงานที่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว ไว้ในระบบรายงานการเงินรวมภาครัฐ (ระบบ CFS) ๑.๒.๒ ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบรายงานการเงินของหน่วยงานภาครัฐทุกแห่งเป็นประจำทุกปี และกำหนดระยะเวลาการตรวจสอบให้ชัดเจน เพื่อให้การจัดทำและนำเสนอรายงานการเงินรวมภาครัฐมีความถูกต้อง ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๑.๒.๓ ให้มีมาตรการส่งเสริมให้องค์การมหาชนและหน่วยงานอิสระที่มีสภาพคล่องส่วนเกินจำนวนมาก นำเงินสดส่วนเกินที่ฝากธนาคารพาณิชย์มาฝากกระทรวงการคลัง เพื่อให้รัฐบาลสามารถบริหารฐานะการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการแบ่งเบาภาระทางการคลังของประเทศ ๑.๒.๔ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพิจารณาจัดทำงบประมาณรายจ่ายให้สอดคล้องกับรายได้ที่ได้รับจัดสรร เพื่อให้มีการนำเงินสะสมที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหรือดำเนินงานบริการสาธารณะในพื้นที่ที่รับผิดชอบ และเพิ่มการใช้จ่ายด้านการลงทุนสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐานหรือรายจ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพในชุมชน รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายค้างจ่าย โดยเร่งดำเนินงานตามแผนงานโครงการที่ได้รับอนุมัติและจัดสรรเงินงบประมาณแล้ว ๒. ให้หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลังอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
190 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | วธ | 07/12/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๕๒ ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน เพื่อให้การบริหารงานหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับคำชี้แจงของกระทรวงวัฒนธรรมเกี่ยวกับชื่อของหน่วยงาน และความเห็นของกระทรวงการคลังที่ให้ปรับแก้ข้อความในร่างมาตรา ๑๗ เป็น “การบัญชีของหอภาพยนตร์ ให้จัดทำตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐ ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ...” เพื่อให้มีความชัดเจนในการเลือกใช้มาตรฐานการบัญชี ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
191 | การแต่งกายไว้ทุกข์ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ | นร | 29/11/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการเรื่อง การแต่งกายไว้ทุกข์ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งสวรรคต ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ว่าให้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่พึงปฏิบัติให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จึงให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ เจ้าหน้าที่องค์การมหาชน และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของรัฐแต่งกายไว้ทุกข์ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งสวรรคต ณ วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ มีกำหนด ๑ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ โดยให้แต่งกายไว้ทุกข์หรือมีเครื่องหมายแสดงการไว้ทุกข์ที่เหมาะสมตามประเพณีนิยม ในกรณีแต่งเครื่องแบบให้เป็นไปตามระเบียบเกี่ยวกับการแต่งเครื่องแบบที่เกี่ยวข้อง สำหรับประชาชนทั่วไปซึ่งพร้อมใจกันปฏิบัติได้เหมาะสมอยู่แล้ว รัฐบาลขอชื่นชมและเชิญชวนให้ปฏิบัติโดยอนุโลมตามนี้ต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
192 | ร่างหนังสือความตกลงว่าด้วยการดำเนินโครงการการใช้สารสนเทศจากดาวเทียมและการประกันภัยพืชผลเพื่อเศรษฐกิจยุคใหม่ ระยะที่ 2 (RIICE Phase II) ในประเทศไทย | กษ | 22/11/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑.๑ ร่างหนังสือความตกลงว่าด้วยการดำเนินโครงการการใช้สารสนเทศจากดาวเทียมและการประกันภัยพืชผลเพื่อเศรษฐกิจยุคใหม่ ระยะที่ ๒ (RIICE Phase II) ในประเทศไทย โดยการดำเนินโครงการ RIICE Phase II เป็นการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศจากดาวเทียมแบบ Synthetic Aperture Radar (SAR) ในการประเมินผลผลิตข้าว รวมทั้งจัดทำแผนที่ภูมิศาสตร์พื้นที่ปลูกข้าวและประเมินความเสียหายจากธรรมชาติในการผลิตข้าวของเกษตรกรระดับแปลงนาเพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบการประกันภัยพืชผลในอนาคต มีขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ได้แก่ การจัดหาข้อมูลระยะไกลจากดาวเทียมแปลภาพและจัดทำแผนที่ การติดตามสภาพจริงในแปลงนาและเจริญเติบโตของข้าวในพื้นที่เป้าหมาย การประเมินและพยากรณ์ผลผลิตโดยใช้แบบจำลอง การตรวจสอบความถูกต้องของแผนที่เพาะปลูกกับสภาพพื้นที่จริง รวมทั้งการจัดการด้านไอทีและฐานข้อมูล ๑.๒ การลงนามในหนังสือความตกลงฯ โดยมอบหมายให้อธิบดีกรมการข้าว ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้มีอำนาจในการลงนามในหนังสือความตกลงฯ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อาทิ ควรระบุรายละเอียดการดำเนินงานภายใต้ร่างหนังสือความตกลงฯ โดยให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาบุคลากรในด้านการประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศจากดาวเทียมชนิดเรดาร์ (Synthetic Aperture Radar : SAR) ในการประเมินผลผลิตข้าวร่วมกัน รวมทั้งเพิ่มสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลหรือร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์การผลิตข้าวของไทยเพื่อให้บุคลากรไทยสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์และดำเนินงานด้านการพยากรณ์ผลผลิต (Yield Prediction/Yield Estimation) เองได้อย่างยั่งยืน และควรให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลภูมิสารสนเทศจากดาวเทียมมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ทั้งในส่วนของโครงการ RIICE Phase II โครงการระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา (THEOS-2) และแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศจากดาวเทียม และสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรต่อไป เช่น การวางแผนผลผลิตข้าว และการปลูกพืชหมุนเวียน เป็นต้น เพื่อให้เป็น Smart farmers อย่างแท้จริง |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
193 | ร่างแผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ. 2560 - 2564 | กค | 15/11/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างแผนพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ โดยมีวิสัยทัศน์ คือ “ระบบการเงินที่สามารถตอบสนองความต้องการทางการเงินของประชาชนได้ทุกระดับอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน” ประกอบด้วย ๓ ยุทธศาสตร์ ได้แก่ (๑) การสร้างรายได้และพัฒนาศักยภาพด้านการเงินของประชาชนระดับฐานราก (๒) การพัฒนาผู้ให้บริการทางการเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง และ (๓) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน (Financial Infrastructure) ให้เหมาะสมต่อการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างยั่งยืน และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามร่างแผนพัฒนาฯ ต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นและข้อสังเกตของธนาคารแห่งประเทศไทย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยที่เห็นว่า มาตรการส่วนใหญ่ เช่น มาตรการด้านการสร้างรายได้และพัฒนาศักยภาพด้านการเงินของประชาชนระดับฐานราก และการสร้างความเข้มแข็งขององค์กรการเงินชุมชนให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างยั่งยืน ยังเน้นดำเนินการกับประชาชนฐานรากเท่านั้น ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแผนในการส่งเสริมให้มีระบบการเงินที่สามารถตอบสนองความต้องการทางการเงินของประชาชนได้ทุกระดับอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ส่วนมาตรการการส่งเสริมการจัดสวัสดิการโดยองค์กรการเงินหรือองค์กรสวัสดิการชุมชนและการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ ควรระบุองค์กรสวัสดิการชุมชนที่เป็นการจัดสวัสดิการของชุมชนที่ใช้เงินสมทบจากสามฝ่าย (ชุมชน รัฐ อปท.) รวมทั้งการพัฒนาผู้ให้บริการทางการเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการทางการเงินแก่ประชาชนอย่างทั่วถึง ควรนำร่างพระราชบัญญัติการเงินระดับฐานรากที่ผ่านความเห็นชอบของสภาปฏิรูปแห่งชาติและสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศแล้วมาบรรจุไว้ในแผนด้วย นอกจากนี้ ควรเพิ่มเติมให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในเรื่องการสร้างทักษะให้ประชาชนสามารถบริหารจัดการทางการเงินของตนเองได้อย่างเป็นระบบ รวมถึงการมีความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัย และการบริหารความเสี่ยง ไปพิจารณาประกอบการดำเนินงานต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
194 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน รวม 2 ฉบับ (ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าชเรือนกระจก (องค์การมหาชน)(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....) | ทส | 08/11/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน โดยปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการ แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังที่ให้ปรับแก้ข้อความในร่างมาตรา ๑๙ เป็น “การบัญชีขององค์การ ให้จัดทำตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐ และต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุขององค์การ ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ...” เพื่อให้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) มีความชัดเจนในการเลือกใช้มาตรฐานการบัญชี ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
195 | โครงการเปิดพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชมยามค่ำคืน เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ | นร | 08/11/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบโครงการเปิดพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชมยามค่ำคืน เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ภายใต้การดำเนินการของคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ ตามที่สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการบูรณาการด้านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้เสนอ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
๑. โครงการเปิดพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชมยามค่ำคืน เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีวัตถุประสงค์สำคัญและกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ เพื่อส่งเสริมให้เยาวชน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้ถึงพระราชกรณียกิจ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์สุขแก่พสกนิกรชาวไทยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ๒. สถานที่และรูปแบบการจัดงาน ได้แก่ พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ที่ตั้งอยู่บริเวณรอบเกาะรัตนโกสินทร์ และบริเวณพื้นที่ของหน่วยงานภายใต้คณะกรรมการบูรณาการฯ ที่อยู่นอกพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เปิดให้บริการพิเศษตอนกลางคืนร่วมกัน โดยใช้งบประมาณของแต่ละหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ เช่น มิวเซียมสยาม หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เป็นต้น และมีกรุงเทพมหานครสนับสนุนการจัดงานในด้านการดูแลรักษาความสะอาด ความปลอดภัย และการประชาสัมพันธ์การจัดงาน และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สนับสนุนการจัดงานโดยการประชาสัมพันธ์ผ่าน www.thailandtourism.org และช่องทางอื่น ๆ ของ ททท.
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
196 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน รวม 2 ฉบับ (ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....) | ดท | 08/11/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... สาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การมหาชน โดยปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการ แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ให้ปรับแก้ข้อความในร่างมาตรา ๑๕ เป็น “การบัญชีของสำนักงาน ให้จัดทำตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐ และต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี และการพัสดุของสำนักงาน ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ...” เพื่อให้สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ฯ มีความชัดเจนในการเลือกใช้มาตรฐานการบัญชี รวมทั้งแก้ไขร่างมาตรา ๖ เพื่อการควบคุมดูแลการดำเนินงานของสำนักงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
197 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับโครงสร้างองค์กรภาครัฐ จัดโครงสร้างการบริหารส่วนราชการด้านท่องเที่ยว ของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ | กก | 01/11/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปรับโครงสร้างองค์กรภาครัฐ จัดโครงสร้างการบริหารส่วนราชการด้านท่องเที่ยว ของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้จัดประชุมร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องแล้ว สรุปผลการพิจารณาได้ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับประเด็นปัญหาโครงสร้างการบริหารการท่องเที่ยวของประเทศ สำหรับการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มาสังกัดอยู่ภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬานั้น เห็นควรให้ยึดตามโครงสร้างเดิม โดยเฉพาะองค์การมหาชนทั้ง ๓ หน่วยงาน ได้แก่ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ควรสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงานและการดำเนินนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
198 | การบรรจุข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษากลับเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (บริหารระดับสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี) (ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล) | นร | 01/11/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการบรรจุกลับ ศาสตราจารย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล พนักงานมหาวิทยาลัย ตำแหน่งศาสตราจารย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเดิมเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ตำแหน่งศาสตราจารย์ ระดับ ๑๐ และเจ้าหน้าที่ขององค์การมหาชน ตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจากผู้ดำรงตำแหน่งเดิมเกษียณอายุราชการ ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
199 | การขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลในเรื่องความคืบหน้างานปฏิรูปการศึกษา | นร04 | 25/10/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบการขับเคลื่อนเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลเรื่อง ความคืบหน้างานปฏิรูปการศึกษา และความเห็นของคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (กขร.) ตามที่ กขร. เสนอ ดังนี้ ๑.๑ แผนปฏิรูปเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาความล่าช้าการบริหารงานบุคคลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... อยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฯ ให้สอดคล้องกับคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙ เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค ๑.๒ การปฏิรูประบบการเรียนรู้เพื่อสร้างคนไทยให้เป็นพลเมืองดี วินัยเด่น : คนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ มีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ เช่น การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการคิดและการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์โดยการจัดตั้งศูนย์ STEMS จำนวน ๑๓ ศูนย์ โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง และในปี ๒๕๖๐ จะขยายเพิ่มเขตการศึกษาละ ๑๐ โรงเรียน เห็นควรให้กระทรวงศึกษาธิการรับไปพิจารณากำหนดหลักการเหล่านี้ไว้ในร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ด้วย ๑.๓ การจัดการศึกษาตลอดชีวิตและร่างพระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. .... ได้ให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาก่อนวัยเรียนและการศึกษาอย่างทั่วถึงครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มและทุกวัย โดยการจัดการศึกษาแบบการเรียนรู้ตามสถานการณ์จำลองหรือการเผชิญกับปัญหา เห็นควรให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาตลอดชีวิต พ.ศ. .... โดยให้รับความเห็นของคณะกรรมการประสานงานรวม ๓ ฝ่าย (คณะรัฐมนตรี สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ) เช่น เรื่องความซ้ำซ้อนระหว่างบทบาทของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาตลอดชีวิตกับหน่วยงานที่มีหน้าที่คาบเกี่ยว เช่น สพฐ. ไปพิจารณาประกอบด้วย ๑.๔ แผนปฏิรูปเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ควรสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรทางการศึกษาทุกภาคส่วนในเรื่องการประเมินคุณภาพภายนอกและการประกันคุณภาพแนวใหม่ รวมทั้งให้ความสำคัญแก่การประเมินที่มุ่งเน้นคุณภาพมาตรฐานที่ดีอย่างแท้จริงของสถานศึกษา โดยให้มีข้อแนะนำเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงให้ได้มาตรฐานและคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไป ๒. ให้กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) รับความเห็นของ กขร. ในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาประกอบการดำเนินการ และรายงานความคืบหน้าให้ กขร. ทราบด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
200 | ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) | อื่นๆ | 18/10/2559 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ เหลืออัตราร้อยละ ๐.๐๑ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับถึงวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๒ ตามที่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา ๒. ให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรตัดการอ้างมาตรา ๑๐๓ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๑ ประกอบกับข้อ ๒ (๗) (ฎ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ออก เนื่องจากการออกประกาศในครั้งนี้มิใช่การกำหนดให้เรียกเก็บหรือลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แต่เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในการลดหย่อนค่าธรรมเนียมซึ่งต้องเป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และเห็นควรลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้เฉพาะในส่วนที่กำหนดให้ผู้ทำนิติกรรมซึ่งมีฐานะยากจนมีหน้าที่ต้องชำระ โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ยากจนที่จะได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมให้ชัดเจน สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีศักยภาพเพียงพอในการชำระค่าธรรมเนียมฯ ควรจะชำระตามอัตราเดิมที่กำหนด เพื่อให้ภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถนำเงินที่ได้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมหรือพัฒนาท้องที่ต่อไป ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|