ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 50 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 993 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานประจำปี 2564 ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) | พณ. | 17/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี ๒๕๖๔ ของสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
(องค์การมหาชน) โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (๑) การจัดฝึกอบรม ประชุม สัมมนา
ให้กับประชาชนและบุคลากรของภาครัฐและเอกชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
โดยครอบคลุมการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ด้านการค้า การลงทุน
และการพัฒนาระหว่างประเทศ (๒) การดำเนินโครงการวิจัย จำนวน ๖ โครงการ ในประเด็นเกี่ยวกับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
เช่น โครงการศูนย์วิเคราะห์แนวโน้มด้านการค้าและการพัฒนา
และโครงการพัฒนาศักยภาพระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมโยงการค้าและการลงทุนกับประตูการค้าฝั่งตะวันตก
และเผยแพร่ผลงานวิชาการผ่านช่องทางต่าง ๆ และขยายเครือข่ายการสร้างองค์ความรู้และการให้บริการวิชาการเพื่อการค้าและการพัฒนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร กรณีกองทุนประกันชีวิต และกองทุนประกันวินาศภัย | นร.12 | 10/01/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจำแนกให้กองทุนประกันชีวิต และกองทุนประกันวินาศภัยเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหารประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ เรื่อง
การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับฝ่ายบริหาร
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง
สำนักงาน ก.พ.ร.
และคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนรับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณและความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่เห็นควรจะมีรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ตามพระราชบัญญัติ หรือส่วนราชการ
เป็นหน่วยธุรการรองรับการทำหน้าที่รับผิดชอบในงานธุรการของคณะกรรมการบริหารกองทุน
และควรมีการกำหนดขั้นตอนการพิจารณา กรอบระยะเวลาดำเนินงาน
และหลักการจำแนกหน่วยงานให้มีความชัดเจน
เพื่อให้การดำเนินงานมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ร่างกฎหมายขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวม 2 ฉบับ [ร่างพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ) และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน)] | กค. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม ๒ ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ)
มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่เกิดจากการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตในประเทศตามโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจที่ได้ขึ้นทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
(องค์การมหาชน) ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม
๒๕๗๐ และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อน)
มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา
และขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
สำหรับเงินที่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้บริจาคผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Donation)
ของกรมสรรพากรให้แก่กรมป่าไม้
เพื่อสนับสนุนโครงการภาคีสนับสนุนป่าชุมชนลดโลกร้อนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๗๐ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมป่าไม้
และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
ร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจมาตรการภาษี
เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ร่วมทั้งรวมติดตามและประเมินประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการนี้ เช่น
มูลค่าเงินลงทุนของโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ
มูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง
และปริมาณกักเก็บคาร์บอนที่ได้
และนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้แก่กระทรวงการคลังเป็นรายปีจนสิ้นสุดมาตรการเพื่อประกอบการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับจากการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงกับประมาณการตามมาตรา
๒๗ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๓.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่เห็นควรครอบคลุมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดรองด้วย
เพื่อให้เกิดการสร้างแรงจูงใจที่ครอบคลุมภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกดังกล่าว
ส่งเสริมให้ตลาดมีสภาพคล่องมากยิ่งขึ้นอันจะผลักดันให้คาร์บอนเครดิตมีมูลค่าสูงขึ้น
และส่งผลให้เกิดการพัฒนาโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน รายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริงดังกล่าว
จนกว่าการดำเนินการดังกล่าวจะแล้วเสร็จตามนัยมาตรา ๒๗
แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา | กก. | 27/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. รับทราบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มทะเลทราบสงขลาขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) และให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา [องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)]
รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นว่าในการดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
ขอให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ควรมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของงบประมาณแผ่นดิน
และคำนึงถึงภารกิจหน้าที่และความรับผิดชอบของหน่วยงานเป็นหลัก
และการดำเนินงานด้านงบประมาณต้องพิจารณาอย่างละเอียด รอบคอบ
และเป็นไปตามกฎหมายของทางราชการ รวมทั้ง
ไม่ส่งผลต่อวงเงินงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่เป็นสำคัญ
ควรกำหนดเพิ่มเติมในแผนยุทธศาสตร์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาว่า
กรณีเป็นแผนหรือโครงการที่ต้องดำเนินการในเขตโบราณสถาน
จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ก่อนดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการดังกล่าว
และควรกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนฯ ให้มีความชัดเจน
รวมทั้งควรพิจารณาถึงกรอบวงเงินรวมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
อย่างเคร่งครัดในการจัดตั้งสำนักงานการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของงบประมาณในอนาคต
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการเสนอแผนงานยุทธศาสตร์ชาติการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
และดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับการขอรับการจัดสรรงบประมาณ ๓.
ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่า
เมื่อการพิจารณาประกาศกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้ผ่านขั้นตอนการพิจารณาตามลำดับในลักษณะ
Bottom Up จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องไปสู่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติแล้ว
ยังสมควรที่จะต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการประกาศกำหนดพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่
ประการใด เพื่อพิจารณาทบทวนและแก้ไขพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) [ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ....] | ดศ. | 13/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ
(องค์การมหาชน) พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการยกฐานะของสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ
(Government Big Data Institute : GBDI)
หน่วยงานภายในภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
ให้เป็นสถาบันคลังข้อมูลขนาดใหญ่แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (National Big
Data Institute : NBDI) ซึ่งเป็นองค์การมหาชน
เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการขับเคลื่อน วิเคราะห์
และบูรณาการข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศโดยตรง ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้แก้ไขชื่อหน่วยงาน ตัดคำว่า
“คลัง” และ “แห่งชาติ” ออก เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
ตลอดจนมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ที่กำหนดว่า
“ไม่ควรใช้คำว่า “แห่งชาติ”
ในการกำหนดชื่อหน่วยงานของรัฐเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเอกรัฐ
และหน่วยงานของรัฐทุกแห่งทำหน้าที่ในฐานะ “แห่งชาติ” อยู่แล้ว” และให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เช่น การกู้ยืมเงินของ NDBI ต้องทำด้วยความระมัดระวัง
รอบคอบ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (Default Risk)
โดยจะต้องยู่ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะและกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ตลอดจนระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรให้ผู้บริหารหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับมิติด้านเศรษฐกิจ
สังคมและสิ่งแวดล้อม ร่วมเป็นกรรมการด้วย
ให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาปรับเปลี่ยนองค์กรรูปแบบใหม่
เมื่อได้ดำเนินการจัดตั้ง NDBI ครบ ๒ ปี เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | รายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565 - พ.ศ. 2567) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ | ดศ. | 06/12/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
หรือ Digital ID และกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗) เพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ
ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของข้อเสนอที่ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรายงานการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
(Digital Infrastructure)
ในส่วนของการพัฒนาระบบ Digital ID
ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๒. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามที่ระบุไว้ในแผนที่ปฏิบัติการของกรอบการขับเคลื่อนการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลประเทศไทย
ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๗)
จัดทำโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากสำนักงบประมาณ
และดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบการขับเคลื่อนที่กำหนด
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
โครงการที่ขอการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะต้องอยู่ภายใต้กรอบวัตถุประสงค์การใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมด้วย
ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง | คค. | 29/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงที่ดิน
โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ด้านระบบราง (Memorandum of
Cooperation between the Ministry of Transport of the Kingdom of Thailand and
the Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism of Japan in the
field of Railways) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทย
โดยร่างบันทึกความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจร่วมกันด้านนโยบาย
กฎหมายและระเบียบ
การพัฒนาและเตรียมการจัดตั้งสถาบันด้านระบบรางในราชอาณาจักรไทยและญี่ปุ่น
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีเฉพาะด้านที่มีความสนใจร่วมกัน
และสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างบันทึกความร่วมมือฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมอบหมายให้กรมการขนส่งทางรางร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
(องค์การมหาชน)
พิจารณาแนวทางการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเทคโนโลยีเฉพาะด้านภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือฯ
เพื่อช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งของประเทศ
และการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้อย่างเป็นรูปธรรม
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 | อว. | 22/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติมว่า
การดำเนินการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติในสถานะของส่วนราชการภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมสามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและภารกิจตามหน้าที่และอำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพมาโดยตลอด
รวมทั้งผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวมก็มิได้น้อยกว่าหน่วยงานบริการและจัดการกองทุนอื่น
ๆ ที่มีสถานะเป็นองค์การมหาชนแต่ประการใด นอกจากนี้
บุคลากรของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติได้แสดงความประสงค์ขอคงสถานะของหน่วยงานให้เป็นส่วนราชการ
ดังนั้น จึงเห็นควรให้คงสถานะของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติเป็นส่วนราชการไว้ดังเดิมและที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมชี้แจงเพิ่มเติม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน | นร.12 | 01/11/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบองค์การมหาชน ที่กำหนดโครงสร้างและองค์ประกอบ
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม อำนาจหน้าที่ การประชุม การประเมินผลงาน และการบังคับใช้
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์กระทรวงการคลัง
ว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงบประมาณ ที่เห็นควรเพิ่มคุณสมบัติของประธานกรรมการตรวจสอบให้มาจากการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
หรือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การมหาชนเพื่อให้การเสนอแนะและการให้ข้อคิดเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กรณีที่กำหนดให้คณะกรรมการตรวจสอบต้องอุทิศเวลาในการปฏิบัติหน้าที่
อาจแปลความหมายในลักษณะบทบาทเจ้าหน้าที่ประจำหรือไม่
หรือหากต้องการกำหนดชัดเจนว่าบุคคลหนึ่งห้ามเป็นคณะกรรมการตรวจสอบในองค์การมหาชนหรือคณะกรรมการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันก็ควรกำหนดให้ชัดเจนไปเลยในลักษณะเช่นเดียวกับคณะกรรมการองค์การมหาชน
สำหรับภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเพิ่มขึ้นจากการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบฯ
เห็นสมควรให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๕-๒๕๖๖ ไปดำเนินการ และ/หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณตามความเหมาะสมและจำเป็นต่อไป
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน | นร.12 | 11/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการให้องค์การทั้ง ๓ ประเภท ต้องได้รับการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี
และให้ปรับระยะเวลาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒
ได้แก่ องค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน ๒๔ แห่ง
รวมทั้งองค์การมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติสภานโยบายการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยให้เริ่มประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชนในระยะที่ ๒ เมื่อดำเนินการระยะที่
๑ ครบ ๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๙) ๒. เห็นชอบให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนดแนวทางการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
รวมถึงการปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ ทั้งนี้
ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและสำนักงาน ก.พ.ร.
รับความเห็นและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรคำนึงถึงความสอดคล้องกับภารกิจ
บทบาท หน้าที่
และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการที่กำกับดูแลหน่วยงานนั้น
ควรสนับสนุนการพิจารณาความคุ้มค่าขององค์การมหาชนจากบทบาทและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานในระบบนิเวศที่องค์การมหาชนรับผิดชอบ
ควรให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามกรอบการประเมินความคุ้มค่าขององค์การมหาชนที่จัดตั้งโดยพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การมหาชน
พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำนักงาน ก.พ.ร. ควรระบุในข้อตกลงขอบเขตงาน (Term of Reference : TOR) ให้ที่ปรึกษามีกระบวนการบริหารจัดการความรู้เพื่อให้องค์การมหาชนมีองค์ความรู้ในการประยุกต์ใช้ประเมินตนเองในปีถัดไป
สำหรับการจัดตั้งองค์การมหาชนแห่งใหม่ขึ้นอีกในอนาคต
ควรพิจารณาเรื่องการเตรียมความพร้อมในการประเมินความคุ้มค่า
โดยให้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำคำขอจัดตั้งองค์การมหาชน
ควรมีการกำหนดแนวทางและขั้นตอนการดำเนินการ
เพื่อให้กรอบระยะเวลาดำเนินงานชัดเจนและใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในส่วนของการใช้งบประมาณจัดจ้างที่ปรึกษาอย่างน้อยทุกห้าปี
อาจส่งผลต่อภาระงบประมาณของภาครัฐในอนาคต ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย
แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ๓. ในส่วนขององค์การมหาชนสมทบงบประมาณเพื่อใช้ในการจัดการจ้างที่ปรึกษาในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
นั้น ให้สำนักงาน ก.พ.ร. หารือกับองค์การมหาชนที่เกี่ยวข้อง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน โดยให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงพลังงาน เช่น
ให้หน่วยงานสามารถเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปพลางก่อนจนกว่าจะมีเงินทุนสะสมหรือรายได้เพียงพอกับอัตราที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนกำหนด
พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การสมทบงบประมาณ
โดยแบ่งตามสัดส่วนเงินทุนสะสมหรือรายได้แต่ละองค์การมหาชน
พิจารณากำหนดมาตรการอื่นหรือสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมให้กับองค์การมหาชน
เพื่อใช้ในการจัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการประเมินความคุ้มค่าเพื่อพัฒนาองค์การมหาชน
ควรเสนอของบประมาณจากสำนักงบประมาณโดยตรงมากกว่ามาใช้งบสมทบจากองค์การมหาชนหากต้องการดำเนินการให้เป็นภาคบังคับ
และเสนอแนะให้มีการวิเคราะห์เพื่อกำหนดอัตราสมทบที่แตกต่างกันขึ้นกับชุดปัจจัยจำนวนหนึ่งที่สะท้อนการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
และควรกำหนดแนวทางการดำเนินงานและแหล่งที่มาของงบประมาณสำหรับองค์การมหาชนที่ไม่มีเงินทุนและรายได้ไว้
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี 2022 : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) | วธ. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างเอกสารวาระบาหลี ๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali
Agenda 2022 : A Global Roadmap for Creative Economy) เพื่อให้ทันต่อกำหนดเวลาในการรับรองเอกสารวาระบาหลี
๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali
Agenda 2022 : A Global Roadmap for Creative Economy)
ระหว่างการประชุม World Conference on Creative Economy
ครั้งที่ ๓ วันที่ ๕-๗ ตุลาคม ๒๕๖๕ ซึ่งจะจัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน ณ Bali
International Convention Center (BICC) เมืองบาหลี
สาธารณรัฐอินโนนีเซีย และอนุมัติให้ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี
๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali
Agenda 2022 : A Global Roadmap for Creative Economy) ตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอ
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารวาระบาหลี ๒๐๒๒ : แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022 :
A Global Roadmap for Creative Economy)
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒. ให้กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
(องค์การมหาชน)
บูรณาการและขับเคลื่อนการดำเนินการด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยในภาพรวม
ให้สอดคล้องและเป็นไปตามแนวทางการประชุม World Conference on Creative Economy (WCCE) ครั้งที่
๓ และแผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
(องค์การมหาชน) ต่อไป ๓.
ให้กระทรวงวัฒนธรรมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขอรับการจัดสรรงบประมาณทุนประเดิมตามมาตรา 9 และมาตรา 48 ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) โดยใช้รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) | คค. | 13/09/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๓๖๓,๐๐๓,๙๐๐ บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง
(องค์การมหาชน) ตามที่กะทรวงคมนาคมเสนอ และให้กระทรวงคมนาคม [สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรให้ความสำคัญในการควบคุม กำกับ ดูแล
การใช้จ่ายเงินงบประมาณของสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การใช้งบประมาณมีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
และเร่งจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) ของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางที่จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาระบบรางของประเทศให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้า
พร้อมทั้งกำหนดกลไกการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาต่อยอดงานวิจัยไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศเป็นลำดับแรก
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (1. ศาสตราจารย์ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ ฯลฯ จำนวน 8 ราย) | พณ. | 30/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย รวม ๘ คน ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
(องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓๐
สิงหาคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอ
ดังนี้ ๑. ศาสตราจารย์ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์ ประธานกรรมการ ๒. นางสาวดารุณี ธรรมโพธิ์ดล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านศิลปหัตถกรรม ๓. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกพงษ์ ตรีตรง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์รุ่งโรจน์ โชคงามวงศ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ๕. รองศาสตราจารย์ธีร เจียศิริพงษ์กุล
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านบริหาร ๖. นายปรีชา เอื้ออนันตธนกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านบัญชี ๗. หม่อมราชวงศ์ศศิพฤนท์ จันทรทัต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ด้านการตลาด ๘. นายชายพงษ์ นิยมกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการตลาด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กรณีการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ | นร.12 | 23/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบให้ทบทวนการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ (เรื่อง
รายงานการประเมินผลองค์การมหาชนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๖ มกราคม
๒๕๕๘ เรื่อง การทบทวนความจำเป็นในการมีอยู่ขององค์การมหาชน)
และให้พิจารณาการจัดตั้งองค์การบริหารไนท์ซาฟารี (องค์การมหาชน) ต่อไป
ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอ ๒. ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงาน
ก.พ.ร. ที่ควรเร่งดำเนินการจัดทำข้อมูลในรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่า
ต้นทุนและผลประโยชน์ที่จะได้รับทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
จากการดำเนินการโอนสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีไปเป็นขององค์การสวนสัตว์
เปรียบเทียบกับการจัดตั้งสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเป็นองค์การมหาชน
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาทบทวนแนวทางในการดำเนินการ
โดยคำนึงถึงภาระด้านงบประมาณของภาครัฐ
และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการอย่างรอบด้าน
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | รายงานผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 | นร.12 | 02/08/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการประเมินองค์การมหาชน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ประกอบด้วย (๑) กรอบการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ (๒) สรุปผลการประเมินองค์การมหาชน ตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) [ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอน และการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด] | บจธ. | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗
สำหรับการบริหารจัดการธนาคารที่ดินของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (บจธ.) เกี่ยวกับค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์
จากอัตราร้อยละ ๒ และร้อยละ ๑ ตามลำดับ เหลืออัตราร้อยละ
๐.๐๑ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ถึงวันที่ ๗ มิถุนายน
๒๕๖๘ ตามที่ บจธ. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | หลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 | นร.12 | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณาให้สอดคล้องกับเรื่องการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาการอนุญาตของทางราชการ
พ.ศ. ๒๕๕๘ และรับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และธนาคารแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารศึกษาในคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ | สธ. | 28/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติแต่งตั้ง
รองศาสตราจารย์สิรี ชัยเสรี เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(ด้านอาหารศึกษา) ในคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ
แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระเนื่องจากถึงแก่กรรม ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๘ มิถุนายน
๒๕๖๕) เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ซึ่งตนแทน
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่) | กษ. | 14/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.เห็นชอบการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่
จำนวน ๒ โครงการ ประกอบด้วย โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดปราจีนบุรี จากเดิม ๑๓ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๕ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓-พ.ศ. ๒๕๖๗) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๙,๐๗๘,๐๐๐,๐๐๐ บาท และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา
จังหวัดเชียงใหม่ จากเดิม ๑๑ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๖๕) เป็น ๑๖ ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕-พ.ศ. ๒๕๗๐) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
๑๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐
บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
เร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เช่น
ควรรายงานให้สำนักงบประมาณทราบภายในกำหนดระยะเวลา ตามนัยข้อ ๗ (๒)
ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ดำเนินการตามระเบียบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรพิจารณาผลกระทบสุขภาพที่เกิดขึ้นกับชุมชนที่เป็นผลมาจากการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ
ควรรายงานความคืบหน้าในการก่อสร้างเสนอคณะลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากลั่นกรองและเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเพื่อทราบทุก
๖ เดือน ต่อไป ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างการรับรู้
และการมีส่วนร่วมให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มเติมจากที่ดำเนินการอยู่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. มอหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ประสานงานกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
(องค์การมหาชน)
ศึกษาและพัฒนาเทคนิควิธีการสำรวจพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการชลประทานต่าง ๆ
ให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น รวมทั้งให้มีการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการให้ครบถ้วนรอบด้านในทุกมิติ
เพื่อมิให้เกิดปัญหาการดำเนินงานล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร.09 | 24/05/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งแก้ไขวันใช้บังคับของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จาก
“ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป” เป็น
“ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป”
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลัง
(ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร)
ประสานงานร่วมกับสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)
ในการดำเนินการให้เกษตรกรเช่าที่ดินในราคาที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของเกษตรกร
|