ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 8 จากทั้งหมด 10 หน้า แสดงรายการที่ 141 - 160 จากข้อมูลทั้งหมด 188 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
141 | ขอความเห็นชอบรับโอนและขออนุมัติแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (นายไพศาล กุวลัยรัตน์) | นร | 10/06/2546 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
25 มีนาคม 2546 เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการระดับ 10 (จำนวน 8 ราย) เฉพาะรายนายไพศาล กุวลัยรัตน์ ตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (นักบริหาร 10) และอนุมัติให้โอนไปดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (ระดับ 10) สำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป |
||||||||||||||||||
142 | แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ, นายวิโรจ อิ่มพิทักษ์) | กค | 19/05/2546 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้แก่ นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ ผู้แทนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นกรรมการแทน นายไพศาล กุวลัยรัตน์ และนายวิโรจน์ อิ่มพิทักษ์ เป็นกรรมการแทน นายกิตติ ลิ่มสกุล ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 พฤษภาคม 2546) เป็นต้นไป |
||||||||||||||||||
143 | กระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อตอบในราชกิจจานุเบกษา (กระทู้ถามที่ 961 ร. เรื่อง การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำวังปูน บ้านหนองกะท้าว ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก) | สผ | 13/05/2546 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอคำตอบกระทู้ถามที่ 961 ร. เรื่อง
การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำวังปูน บ้านหนองกะท้าว ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ของนาย นคร มาฉิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยสาระสำคัญ ของคำตอบสรุปได้ว่า (1) พื้นที่บริเวณที่จะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำวังปูน อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขากระยาง (โซนอี) ซึ่งกรมป่าไม้ได้มอบให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เพื่อนำมาปฏิรูปที่ดิน โดย บริเวณพื้นที่ที่จะก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ฯ อยู่ในพื้นที่ที่จะกำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินต่อไป แต่ขณะนี้ยังมิได้มีพระ ราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เนื่องจากต้องรอผลการตรวจสภาพป่าก่อน และหากเมื่อประกาศให้ พื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว ส.ป.ก. จะแจ้งให้กรมชลประทานมายื่นคำขออนุญาตใช้ที่ดินให้ถูกต้อง เพื่อจะ ได้ประสานงานของบประมาณค่าใช้จ่ายจากส่วนกลางมาดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำต่อไป และกรมชลประทาน แจ้งว่าขณะนี้โครงการอ่างเก็บน้ำวังปูนปัจจุบันอยู่ระหว่างการสำรวจ ออกแบบ และได้จัดเข้าแผนงานโครงการ ก่อสร้างและปรับปรุงระบบชลประทานขนาดเล็กลงสู่ท้องถิ่นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 และ (2) เมื่อได้มีการ ตรวจสภาพป่าโดยละเอียดเรียบร้อยแล้ว ส.ป.ก. จะได้เร่งดำเนินการเสนอออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้พื้นที่ ดังกล่าวเป็นเขตปฏิรูปที่ดินโดยเร็ว และดำเนินการเพื่ออนุญาตให้กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ต่อไป ซึ่งกรมชลประทานแจ้งว่าโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำวังปูนจะสามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จได้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 |
||||||||||||||||||
144 | กระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อตอบในราชกิจจานุเบกษา (กระทู้ถามที่ 924 ร. เรื่อง การขยายเขตทางบ้านสวนมะเดื่อ - โป่งเกตุ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ประกาศเขตทับที่ดินทำกินของราษฎร) | สผ | 08/04/2546 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอคำตอบกระทู้ถามที่ 924 ร.
เรื่อง การขยายเขตทางบ้านสวนมะเดื่อ-โป่งเกตุ อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ประกาศเขตทับที่ดินทำกินของราษฎร ของนายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรจังหวัดลพบุรี และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยสาระสำคัญของคำตอบสรุปได้ว่า (1) ที่ ดินในเขตปฏิรูปที่ดินสวนมะเดื่อ-โป่งเกตุ และในเขตอำเภอพัฒนานิคม ตำบลมะนาวหวาน ตำบลห้วยขุนราม ตำบลน้ำสุด และตำบลอื่น ๆ ของจังหวัดลพบุรี แขวงการทางลพบุรีที่ 2 (ลำนารายณ์) กรมทางหลวง ได้ยื่น คำขออนุญาตใช้ที่ดินตามระเบียบคำสั่งของ ส.ป.ก. และ ส.ป.ก. จังหวัดลพบุรี ทั้งนี้ ส.ป.ก. ได้อนุญาตให้กรม ทางหลวงใช้ที่ดินตามที่ยื่นคำขออนุญาต ขณะนี้กรมทางหลวงสามารถเข้าไปปฏิบัติงานบูรณะซ่อมแซมเส้น ทางตามที่ขออนุญาตได้แล้ว (2) ตามคำสั่ง ส.ป.ก. ที่ 746/2534 เรื่อง การกำหนดแบบและขั้นตอนในการ พิจารณาคำขออนุญาตใช้ที่ดินเพื่อกิจการสาธารณูปโภคและกิจการอื่น ๆ ในเขตปฏิรูปที่ดิน ให้ผู้ขออนุญาต ปฏิบัติตามวิธีการ ขั้นตอน ที่กำหนดไว้ หากผู้ขออนุญาตปฏิบัติตามวิธีการ ขั้นตอนที่กำหนดไว้โดยประสาน งานทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. การพิจารณา การอนุญาตก็จะเป็นไปด้วยความรวดเร็ว (3) ส.ป.ก. และกรมที่ดิน ได้ดำเนินการรังวัดออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของรัฐ ในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินจังหวัดลพบุรี โดย หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจะออกในนาม ส.ป.ก. ก่อน เมื่อเกษตรกรมีความพร้อม และประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ ส.ป.ก จะให้เกษตรกรทำสัญญาเช่าซื้อกับ ส.ป.ก. และเมื่อชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ป.ก. จะโอนกรรมสิทธิ์ให้ แก่เกษตรกรต่อไป และ (4) กรณีที่เกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์เช่าหรือเช่าซื้อที่ดินกับ ส.ป.ก. หากมี การโอนหรือตกทอดทางมรดกสิทธิ โดยได้รับอนุญาตจาก ส.ป.ก. แล้ว ส.ป.ก. จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือภาษีจากเกษตรกร เพราะถือว่าที่ดินยังเป็นกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก อยู่ แต่หากเกษตรกรทำสัญญาเช่าซื้อกับ ส.ป.ก. และชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ส.ป.ก. จะโอนกรรมสิทธิ์ให้กับเกษตรกร ในขั้นตอนการโอนกรรมสิทธิ์จะ เริ่มเข้าสู่กระบวนการเก็บค่าธรรมเนียม ค่าภาษี ซึ่งกรมที่ดินเป็นผู้ดำเนินการต่อไป |
||||||||||||||||||
145 | การแต่งตั้งข้าราชการระดับ 10 (จำนวน 8 ราย) | กษ | 25/03/2546 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ระดับ
10 ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 8 ราย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง เป็น ต้นไป ดังนี้ (1) นายอำพน กิตติอำพน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร แห่งชาติ (2) นายสุทธิพร จีระพันธุ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (3) นายวรเวทย์ ธำรงธัญลักษณ์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (4) นายฉัตรชัย รัตโนภาส ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมป่าไม้ (5) นายวีรพันธุ์ ศรีบุญลือ ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (6) นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (7) นายไพศาล กุวลัย รัตน์ ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร และ (8) นายอดิศักดิ์ ศรีสรรพกิจ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม |
||||||||||||||||||
146 | กระทู้ถามที่ 245 ร. เรื่อง ขอเพิ่มเที่ยวบินสายกรุงเทพ ฯ - เพชรบูรณ์ - ลำปาง กระทู้ถามที่ 251 ร. เรื่อง ผลประกอบการเที่ยวบินภายในประเทศของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และกระทู้ถามที่ 255 ร. เรื่อง ปัญหาความเดือดร้อนกรณีราษฎรไม่ได้รับเงินทดแทนค่ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง | สผ | 14/01/2546 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอคำตอบกระทู้ถามที่ 245 ร. เรื่อง ขอเพิ่มเที่ยว
บินสายกรุงเทพ ฯ-เพชรบูรณ์-ลำปาง ของนายไพศาล จันทรภักดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบูรณ์ กระทู้ถามที่ 251 ร. เรื่อง ผลประกอบการเที่ยวบินภายในประเทศของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ของ นายนพดล อินนา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (บัญชีรายชื่อ) และกระทู้ถามที่ 255 ร. เรื่อง ปัญหาความเดือด ร้อนกรณีราษฎรไม่ได้รับเงินทดแทนค่ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ของนายอำนวย คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลพบุรี โดย (1) กระทู้ถามที่ 245 ร. สรุปได้ว่า การขอเพิ่มเที่ยวบินจากกรุงเทพ ฯ-เพชรบูรณ์-ลำปาง จากสัปดาห์ละ 3 วัน ๆ ละ 1 เที่ยวบิน เป็นสัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 1 เที่ยวบินนั้น เนื่องจากในการให้บริการขึ้น อยู่กับตลาดหรือปริมาณจราจร ซึ่งปริมาณการจราจรทั้งสองเส้นทางมีปริมาณไม่มากนัก และหากปริมาณความ ต้องการเดินทางเพิ่มมากขึ้น ทางราชการก็มีนโยบายสนับสนุนให้บริษัทเพิ่มการบริการให้เพียงพอกับความต้อง การต่อไป ส่วนสนามบินเพชรบูรณ์มีพื้นที่ทั้งหมด 4020-1-98 ไร่ ไม่ได้มีการเวนคืน เนื่องจากที่ตั้งของสนาม บินดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ แต่ได้มีการจ่ายค่าชดเชยการทำประโยชน์ในที่ดินให้แก่ราษฎรที่ครอบครอง ทำประโยชน์อยู่ก่อน จำนวน 247 ราย ในอัตราไร่ละ 30,000 บาท พร้อมค่าชดเชยพืชผลและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งสิ้น 127,404,821 บาท (2) กระทู้ถามที่ 251 ร. สรุปได้ว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการขาดทุนของ เที่ยวบินภายในประเทศ ของบริษัท การบินไทย ฯ ได้แก่ โครงสร้างอัตราค่าโดยสารภายในประเทศ ไม่สะท้อน ต้นทุนที่แท้จริงของการดำเนินการ และจำนวนผู้โดยสารภายในประเทศบางเส้นทางมีจำนวนผู้โดยสารไม่มาก นัก และการขยายตัวของผู้โดยสารเป็นไปอย่างช้า ๆ เนื่องจากมีผู้ใช้บริการเป็นกลุ่มคนจำนวนหนึ่งเท่านั้น บริษัท การบินไทย ฯ ได้กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาการขาดทุน โดยปรับตารางการบินและการใช้ ฝูงบินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นำระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Ticketing) มาเริ่มให้บริการ ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2544 เป็นต้นไป ร่วมมือกับพันธมิตรการบินภายในประเทศในเชิงพาณิชย์ ดำเนิน การขออนุมัติปรับปรุงอัตราค่าโดยสารภายในประเทศให้สอดคล้องกับต้นทุน สนับสนุนให้มีการแข่งขันการให้ บริการโดยเสรีและมีอัตราค่าโดยสารที่ลอยตัว รวมทั้งได้ดำเนินการโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสิ่ง อำนวยความสะดวกอื่น ๆ รวม 4 โครงการ และ (3) กระทู้ถามที่ 255 ร. สรุปได้ว่า รัฐบาลได้ดำเนินการก่อ สร้างทางหลวงหมายเลข 2282 สาย บ้านมะนาวหวาน-บ้านสวนมะเดื่อ ระหว่างกิโลเมตรที่ 18+225 ถึง กิโลเมตรที่ 18+868 สำหรับราษฎรตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี จำนวน 94 ราย ที่ได้รับความเดือดร้อนต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อไปปลูกสร้างที่ใหม่เนื่องจากกรมทาง หลวงได้ดำเนินการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 2282 สายดังกล่าวนั้น สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวอยู่ในที่ดินของ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จึงต้องดำเนินการขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ตามระเบียบ ซึ่งต้องได้รับความยินยอมจากเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวก่อน จึงทำให้เกิดความล่าช้า และเนื่อง จากสิ่งปลูกสร้างอยู่ในที่ดิน ส.ป.ก. ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐที่ไม่ต้องเวนคืน การจ่ายเงินค่ารื้อถอนจะต้องจ่ายในรูป เงินช่วยเหลือ และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป |
||||||||||||||||||
147 | กระทู้ถามที่ 759 ร. เรื่อง ปัญหาการเวนคืนที่ดินของกรมทางหลวง กระทู้ถามที่ 768 ร. เรื่อง การดำเนินการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร ในถนนถีนานนท์ช่วงจากตัวเมืองมหาสารคาม - ปากทางเข้ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และกระทู้ถามที่ 770 ร. เรื่อง การซ่อมแซมถนนสายมหาสารคาม - กมลาไสย | สผ | 07/01/2546 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอคำตอบกระทู้ถามที่ 759 ร. เรื่อง ปัญหาการ
เวนคืนที่ดินของกรมทางหลวง ของนายสุรศักดิ์ นาคดี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์ กระทู้ถามที่ 768 ร. เรื่อง การดำเนินการก่อสร้างถนน 4 ช่องจราจร ในถนนถีนานนท์ ช่วงจากตัวเมืองมหาสารคาม - ปากทาง เข้ามหาวิทยาลัยมหาสารคาม และกระทู้ถามที่ 770 ร. เรื่อง การซ่อมแซมถนนสายมหาสารคาม - กมลาไสย ของนายกริช กงเพชร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม โดยกระทู้ถามที่ 759 ร. สรุปได้ว่า ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 2378 สายแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (สตึก - จอมพระ) ได้ดำเนินการก่อสร้างทาง และปรับปรุงผิวจราจรเสร็จแล้ว แต่การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อให้ได้เขตทางตามแบบก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จในช่วง กม. 37+000 - กม. 42+000 เนื่องจากที่ดินช่วงดังกล่าวเป็นที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ( ส.ป.ก. ) การขออนุญาตใช้ที่ดินต้องแนบหลักฐานหนังสือยินยอมของผู้ครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินด้วย ประกอบกับต้องทราบว่าเนื้อที่ดินของ ส.ป.ก. มีผู้ครอบครองอยู่แต่ละแปลงในแต่ละรายถูกเขตทางเป็นเนื้อที่เท่าไร ทั้งนี้ กรมทางหลวงสามารถให้ ส.ป.ก. บุรีรัมย์ ดำเนินการรังวัดได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 และจะได้จัดสรรเงิน งบประมาณปี พ.ศ. 2546 ให้ดำเนินการรังวัดที่ดินเพื่อจะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องค่าทดแทนความเสียหายพิเศษ สำหรับการครอบครองที่ดินในเขต ส.ป.ก. กระทู้ถามที่ 768 ร. สรุปได้ว่า ถนนถีนานนท์ คือทางหลวงหมายเลข 213 สายมหาสารคาม-กาฬสินธุ์ กรมทางหลวงมีโครงการปรับปรุงย่านชุมชนตอนบ้านท่าขอนยาง-แขวงการทาง มหาสารคามระยะทางประมาณ 0.570 กิโลเมตร วงเงินค่าก่อสร้าง 13 ล้านบาท โดยได้ดำเนินการจัดไว้ในแผนงบ ประมาณปี พ.ศ. 2546 และกระทู้ถามที่ 770 ร. สรุปได้ว่า ทางหลวงสายมหาสารคาม - กมลาไสย คือ ทางหลวง หมายเลข 2367 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 23 - บ.ม่วง ในเขตตำบลเกิ้ง และตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ได้ดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมช่วงกิโลเมตรที่ 1+600 ถึง 7+350 เป็นช่วง ๆ เพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนของผู้ใช้เส้นทาง และได้ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2545 นอกจากนี้ได้พิจารณา ดำเนินการซ่อมแซมถนนสายดังกล่าวในช่วงอื่น ๆ อีก ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 และให้ประกาศในราชกิจจา นุเบกษาต่อไป |
||||||||||||||||||
148 | ขออนุมัติงบกลางเพื่อซ่อมแซมทรัพย์สินของทางราชการในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเสียหายเนื่องจากอุทกภัย | กษ | 14/05/2545 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เบิก
จ่ายงบกลางเพื่อซ่อมแซมถนนในเขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ตามสารบบรายงานความเสียหายจากอุทกภัยปี พ.ศ. 2544/2545 ที่จังหวัดต่าง ๆ รายงาน โดยเครื่องจักรกลของ ส.ป.ก. ตามที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เสนอขอเฉพาะรายการซ่อมแซมถนนลูกรังสายหลัก 12 จังหวัด ระยะทาง 310.276 กิโลเมตร จำนวนเงิน 17,468,500 บาท ส่วนรายการซ่อมแซมถนนลูกรังสายซอย 14 จังหวัด ให้ใช้จ่ายจากงบ ประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ของ ส.ป.ก. ไปดำเนินการ ระยะทาง 286.356 กิโล เมตร จำนวนเงิน 10,938,800 บาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ |
||||||||||||||||||
149 | กระทู้ถามที่ 419 ร. เรื่อง การออกเอกสารสิทธิที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม | สผ | 08/01/2545 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำตอบกระทู้ถามที่ 419 ร. เรื่อง การออกเอกสารสิทธิที่ดินของสำนัก
งานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ของนายนคร มาฉิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งถามว่า สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รับมอบที่ดินจากกรมป่าไม้ในเขตอำเภอนครไทย อำเภอชาติตระ การ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ทั้งหมดจำนวนกี่แปลง และแต่ละแปลงมีกี่ไร่ อยู่ในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบลใด บ้าง และได้ดำเนินการออกเอกสารสิทธิที่ดินให้แก่เกษตรกรในอำเภอดังกล่าวไปแล้วบ้างหรือไม่ ถ้าได้ดำเนิน การไปแล้วจำนวนกี่แปลง รวมกี่ไร่ และที่เหลือยังไม่ได้ออกเอกสารสิทธิมีกี่แปลง กี่ไร่ และจะดำเนินการให้แล้ว เสร็จภายในปี 2545 ได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้เพราะเหตุใด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป |
||||||||||||||||||
150 | รายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ราย 2 สัปดาห์ (ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงวันที่ 15 กันยายน 2544) | กค | 25/09/2544 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบ
ประมาณ พ.ศ. 2544 ราย 2 สัปดาห์ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 15 กันยายน 2544 โดยการเบิกจ่าย ในภาพรวม ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายจากคลังแล้ว จำนวน 736,318 ล้านบาท หรือร้อยละ 80.91 ของวงเงินงบประมาณ 910,000 ล้านบาท เปรียบเทียบกับอัตราการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง ระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อนจะต่ำกว่าร้อยละ 0.14 ส่วนผลของการเบิกจ่ายงบลงทุนจำแนกตาม กระทรวง มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 129,283 ล้านบาท หรือร้อยละ 58.62 ของบประมาณรายจ่ายลงทุน 220,529 ล้านบาท โดยกระทรวงที่มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สำนักนายก รัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม และกระทรวงพาณิชย์ และผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของหน่วยงานที่ได้รับจัด สรรงบลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 แห่ง มีการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 113,866 ล้านบาท จากงบ ลงทุน 188,463 ล้านบาท หน่วยงานที่เบิกจ่ายงบลงทุนต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กอง ทัพบก และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย สำหรับผลการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการถ่ายโอนงาน กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ วันที่ 15 กันยายน 2544 มีการเบิกจ่ายเงินในส่วน ของรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนจากคลังแล้ว 18,956 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97.21 ของวงเงินงบ ประมาณ 32,374 ล้านบาท โดยหน่วยงานที่มีอัตราการเบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทางหลวง และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม |
||||||||||||||||||
151 | รายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ราย 2 สัปดาห์ (ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2544) | กค | 18/09/2544 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานสรุปผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2544 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2544 โดยการเบิกจ่ายในภาพรวมของ ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว จำนวน 714,808 ล้านบาท หรือร้อยละ 78.55 ของ วงเงินงบประมาณ (910,000 ล้านบาท) เปรียบเทียบกับอัตราการเบิกจ่ายในช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อน สูงกว่าร้อยละ 0.34 ส่วนการเบิกจ่ายงบลงทุน จำแนกตามกระทรวง มีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 119,870 ล้าน บาท หรือร้อยละ 54.38 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน (220,429 ล้านบาท) โดยกระทรวงพาณิชย์ กระทรวง ยุติธรรม และสำนักนายกรัฐมนตรี มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนต่ำสุด สำหรับผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของหน่วย งานที่ได้รับจัดสรรงบลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 แห่ง มีการเบิกจ่ายงบลงทุนแล้วจำนวน 105,572 ล้านบาท หรือร้อยละ 56.02 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุนในกลุ่มนี้ (188,463 ล้านบาท) โดยกรุงเทพมหา นคร กองทัพบก และสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนต่ำสุด นอกจากนี้ ผลการ เบิกจ่ายเงินงบประมาณของโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดย ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2544 มีการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้วจำนวน 17,888 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.25 ของวง เงินงบประมาณ (32,374 ล้านบาท) แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุน โดยกรมพัฒนาที่ดิน กรมทาง หลวง และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนโครงการถ่ายโอน ฯ ต่ำสุด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ |
||||||||||||||||||
152 | รายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ราย 2 สัปดาห์ (ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2544) | กค | 14/08/2544 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ประจำปีงบ
ประมาณ พ.ศ. 2544 ราย 2 สัปดาห์ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 โดยการเบิกจ่ายใน ภาพรวม ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายเงินจากคลังแล้ว จำนวน 642,924 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.65 ของวงเงินงบประมาณ 910,000 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน มีอัตราการเบิกจ่ายสูงกว่าร้อยละ 0.02 ส่วนผลการเบิกจ่ายงบลงทุน จำแนกตามกระทรวง มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 103,173 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.68 ของงบประมาณรายจ่ายลงทุน 221,023 ล้านบาท โดยกระทรวง ยุติธรรม กระทรวงพาณิชย์ และสำนักนายกรัฐมนตรี มีอัตราการเบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับแรก และผลการเบิก จ่ายงบลงทุนของหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท จำนวน 32 แห่ง มีการเบิกจ่ายแล้ว 90,847 ล้านบาท จากงบลงทุน 189,026 ล้านบาท หน่วยงานที่เบิกจ่ายงบลงทุนต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และกองทัพบก สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ ของโครงการถ่ายโอนงาน/กิจกรรมสาธารณะให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่ง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2544 มีการเบิกจ่ายเงินในส่วนของรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนจากคลังแล้ว จำนวน 15,656 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48.36 ของวงเงินงบประมาณ 32,374 ล้านบาท โดยหน่วยงานที่มีอัตราการเบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทางหลวง และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทั้งนี้ จากการ ประเมินสถานการณ์การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 คาดว่า หน่วยงานต่าง ๆ จะมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม 2544 เท่ากับ 719,424 ล้านบาท หรือร้อยละ 79.06 ของวงเงินงบประมาณ รวมทั้งการเบิกจ่ายในภาพรวม ณ สิ้นปีงบ ประมาณ พ.ศ. 2544 จะเป็นไปตามเป้าหมาย คือ ร้อยละ 90 ของวงเงินงบประมาณ หรือ 819,000 ล้านบาท |
||||||||||||||||||
153 | กระทู้ถามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อตอบในราชกิจจานุเบกษา (กระทู้ถามที่ 007 ร. เรื่อง ขอให้กันพื้นที่ดำเนินการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก) กรณีพื้นที่นั้นมีเอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินหนาแน่น) | สผ | 07/08/2544 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำตอบกระทู้ถามที่ 007 ร. เรื่อง ขอให้กันพื้นที่ดำเนินการของสำนักงาน
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กรณีพื้นที่นั้นมีเอกสารสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินหนาแน่น ของ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น ซึ่งถามว่า พื้นที่ดำเนินการของ ส.ป.ก. และมี หนังสือแสดงสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน เช่น น.ส. 3. น.ส. 3 ก หรือ ส.ค. 1 อยู่หนาแน่น กระทรวงเกษตร และสหกรณ์มีนโยบายกันพื้นที่ ส.ป.ก. ออก เพื่อมอบให้กระทรวงมหาดไทยนำไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินหรือ ไม่ ถ้ามีได้ดำเนินการไปแล้วเพียงใด และจังหวัดขอนแก่นมีกรณีดังกล่าวนี้หรือไม่ ถ้ามีได้แก่ท้องที่ในอำเภอใด ส่วน กรณีที่กระทรวงเกษตร ฯ โดย ส.ป.ก. ได้ประกาศเขตพื้นที่ดำเนินการทับที่ดินบริเวณที่ราษฎรอาศัยอยู่หนาแน่น แต่มีเอกสารตามประมวลกฎหมายที่ดินมาก่อนการประกาศเป็นเขตพื้นที่ดำเนินการของ ส.ป.ก. แล้ว จะมอบให้ กระทรวงมหาดไทยเพื่อเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่ ถ้าได้จังหวัดขอนแก่นมีอำเภอใดบ้างที่ดำเนินการได้ ถ้าไม่ได้ดำเนินการเพราะเหตุใด ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ต่อไป |
||||||||||||||||||
154 | การแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน | กษ | 16/01/2544 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลความคืบหน้าการแก้ไขปัญหา
สมัชชาคนจน โดยกรณีป่าสงวนแห่งชาติป่าหลังภู อำเภอโขงเจียม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปเตรียมการสำรวจรังวัดจัดที่ดินให้แก่ราษฎรแล้ว ซึ่งจะเริ่มดำเนินการสำรวจรัง วัดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ส่วนโครงการป่ากุดชุมภูและป่าชุมชนทับที่ดินทำกินของราษฎร อำเภอสิรินธร นั้น ส.ป.ก. จะดำเนินการออก ส.ป.ก.4-01 ให้แก่ราษฎรในพื้นที่เฉพาะที่ดินมือเปล่า ส่วนราษฎรที่มี นส.3 จะ ดำเนินการกันออก ซึ่ง ส.ป.ก. อุบลราชธานีจะกำหนดแผนที่จัดที่ดินให้กับราษฎรที่ประสงค์จะรับ ส.ป.ก.4-01 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ต่อไป สำหรับกลุ่มปัญหาป่าไม้ ที่ดิน ยังไม่มีการดำเนินการเนื่องจากคณะรัฐมนตรี มีมติไม่เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมป่าไม้อยู่ระหว่าง ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เกี่ยวกับมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ ดินในพื้นที่ป่าไม้ ซึ่งคาดว่าจะแก้ไขปัญหาราษฎรได้ประมาณ 47,000 ราย 56 พื้นที่ รวมทั้งได้กำหนดแนวทาง ในการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญด้วย |
||||||||||||||||||
155 | แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (นายไพศาล กุวลัยรัตน์) | กค | 16/01/2544 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้แต่งตั้ง นายไพศาล กุวลัยรัตน์ ผู้แทนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แทน นายอุดร ขจรเวหาศน์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2544 เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ |
||||||||||||||||||
156 | การจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่อง กรมป่าไม้ขอกำหนดพื้นที่สวนป่าชะอำ (กำหนดเป็นสวนรุกขชาติชะอำ) เป็นป่าไม้ถาวร จังหวัดเพชรบุรี (ขอเปลี่ยนแปลงมติคณะรัฐมนตรีเดิม เฉพาะแห่ง) และเรื่อง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรมขอคืนพื้นที่จำแนกที่ไม่เหมาะสมต่อการปฏิรูปที่ดิน | กษ | 15/08/2543 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามมติคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน ตามที่กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เสนอ โดยเปลี่ยนแปลงมติคณะรัฐมนตรี (23 มกราคม 2516) เกี่ยวกับการจำแนกที่ดินจังหวัดนคร ศรีธรรมราชเฉพาะแห่ง จำนวน 4 ป่า เนื้อที่ประมาณ 10,728 ไร่ เป็น ให้รักษาไว้เป็นป่าไม้ถาวรตามเดิม เนื้อ ที่ประมาณ 7,563 ไร่ มอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการ และจำแนกออกจากป่าไม้ถาวรซึ่งอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่ง ชาติเพื่อเป็นที่ทำกินของราษฎร หรือเพื่อให้ใช้ประโยชน์อย่างอื่น ๆ เนื้อที่ประมาณ 3,165 ไร่ รวมที่ทำเล เลี้ยงสัตว์ เนื้อที่ประมาณ 1,075 ไร่ ด้วย โดยมอบให้คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติดำเนินการ กับให้เปลี่ยน แปลงมติคณะรัฐมนตรี (21 กันยายน 2525) เกี่ยวกับการจำแนกที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี เฉพาะแห่ง เป็น ให้รักษาเป็นป่าไม้ถาวรทั้งหมด จำนวน 1 ป่า เนื้อที่ประมาณ 2,829 ไร่ มอบให้กรมป่าไม้ดำเนินการ และเป็น หลักการว่า "พื้นที่จำแนกที่คณะรัฐมนตรีมีมติมอบโดยตรงให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) รับไปดำเนินการโดยไม่ผ่านคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ และเมื่อ สปก. ไม่สามารถดำเนินการได้ก็ให้คณะ กรรมการจัดที่ดิน ฯ พิจารณาพื้นที่จำแนกดังกล่าวไปได้เลย โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอีก" รวมทั้งเปลี่ยน แปลงมติคณะรัฐมนตรี (2 สิงหาคม 2514) เกี่ยวกับพื้นที่สวนป่าชะอำ เนื้อที่ประมาณ 625 ไร่ โดยกำหนด พื้นที่สวนป่าชะอำ (กำหนดเป็นสวนรุกขชาติชะอำ) เป็นป่าไม้ถาวร
|
||||||||||||||||||
157 | ขออนุมัติงบกลางซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ประสบอุทกภัยจังหวัดจันทบุรี | กษ | 25/01/2543 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนำเงินคงเหลือตามแผนงาน
พัฒนาชนบทประจำปี 2543 โครงการจัดหาน้ำกินน้ำใช้ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ระยะที่ 2) หมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ ดินและสิ่งก่อสร้าง รายการขุดบ่อบาดาลติดสูบมือโยกมาเจียดจ่ายใช้ในการซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ ประสบอุทกภัยจังหวัดจันทบุรีได้ โดยให้ทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง ตาม ความเห็นของสำนักงบประมาณ |
||||||||||||||||||
158 | ร่างพระราชกฤษฎีกาโอนกรรมสิทธิ์ที่ธรณีสงฆ์ ในท้องที่ตำบลคู้สลอด อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ของวัดใหม่หญ้าไทร ตำบลลาดบัวหลวง อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา ให้แก่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... | ศธ | 22/06/2542 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาโอนกรรมสิทธิ์ที่ธรณีสงฆ์ ในท้องที่ตำบลคู้สลอด
อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของวัดใหม่หญ้าไทร ตำบลลาดบัวหลวง อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ให้แก่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และ ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
||||||||||||||||||
159 | ผลการดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายเรื่องค่าเช่าที่ทำการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สปน) | นร | 25/05/2542 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2541
เกี่ยวกับเรื่อง ค่าเช่าที่ทำการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) (สรุปได้ว่า ททท. ได้เจรจาต่อรองราคากับ บริษัท ทุนดำรงค์ จำกัด แล้ว ได้อัตราค่าเช่าอาคารที่ทำการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอาคารของ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) บริเวณถนนราชดำเนินนอก ลงจากเดิมตารางเมตรละ 430 บาท/เดือน เป็นตารางเมตรละ 320 บาท/เดือน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับราคาค่าเช่าอาคารในบริเวณถนนรัชดา ภิเษกและถนนพระราม 9 อยู่ในระดับราคาที่ใกล้เคียงกัน โดยผลจากการเจรจาต่อรองราคาทำให้ประหยัดงบ ประมาณเดือนละ 1,563,320 บาท หรือปีละ 18,759,840 บาท) ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี) รายงาน |
||||||||||||||||||
160 | กระทู้ถามที่ 223 ร. เรื่อง การออกเอกสารสิทธิ์ให้กับราษฏร | สผ | 05/04/2542 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบคำตอบกระทู้ถามที่ 223 ร. เรื่อง การออกเอกสารสิทธิ์ให้กับราษฎร
ของนางมยุรา อุรเคนทร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป (โดยสาระสำคัญของคำตอบสรุปได้ว่า รัฐบาลได้ทราบปัญหา ความเดือดร้อนของราษฎรตำบลหนองเหล็กและตำบลเหล่า อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เกี่ยวกับ การไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน และจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่า ราษฎรดังกล่าวได้ครอบครองและ ทำประโยชน์ในที่ดินที่อยู่ในเขตป่าไม้ถาวรและป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดินแดง และป่าวังกุง ซึ่งเดิมคณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2506 ให้รักษาป่าวังกุงไว้เป็นป่าไม้ถาวร เนื้อที่ประมาณ 45,625 ไร่ แต่ต่อ มาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2536 ให้จำแนกพื้นที่บางส่วนของปาวังกุง ดังนี้ (1) ให้เป็นที่ ทำกินของราษฎรหรือให้ใช้ประโยชน์อย่างอื่น ๆ เนื้อที่ประมาณ 28,135 ไร่ แบ่งเป็น ที่ลำเลเลี้ยงสัตว์ เนื้อ ที่ประมาณ 1,422 ไร่ และที่ดินที่จะจัดให้เป็นที่ทำกินของราษฎร เนื้อที่ประมาณ 26,713 ไร่ (2) จัดเป็น ป่าชุมชน เนื้อที่ประมาณ 501 ไร่ (3) ป่าวังกุงในท้องที่อำเภอโกสุมพิสัย และอำเภอบรบือ แบ่งออกเป็น 8 แปลง เนื้อที่ 26,713 ไร่ โดยแปลงที่ 1, 4, 5, 6, 7 และ 8 จำนวน 6 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 25,150 ไร่ ได้มีการออกเอกสารสิทธิ์แล้วเป็นส่วนใหญ่ ให้กรมที่ดินดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน ส่วนแปลงที่ 2 และ 3 จำนวน 2 แปลง รวมเนื้อที่ประมาณ 1,563 ไร่ ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดำเนิน การตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (4) ป่าชุมชน 4 แห่ง เนื้อที่ประมาณ 501 ไร่ ให้ กรมที่ดินรับไปดำเนินการสงวนหวงห้าม และ (5) ที่ทำเลเลี้ยงสัตว์ เนื้อที่ประมาณ 1,422 ไร่ ให้กรมที่ดิน ดำเนินการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงต่อไป สำหรับการออกเอกสารสิทธิ์ น.ส.3 นั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 กรมที่ดินได้มีแผนงานโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ในท้องที่ อำเภอนาเชือก อำเภอยางสีสุราช อำเภอบรบือ และอำเภอกุดรัง และได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานในพื้นที่ ตามโครงการดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 ส่วนที่อำเภอโกสุมพิสัย กรมที่ดินได้ประสานงาน ไปยังจังหวัดมหาสารคามเพื่อพิจารณาประกาศเขตเดินสำรวจ ฯ เพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2542 เช่นเดียว กันคาดว่าจะสามารถส่งสายสำรวจเข้าไปดำเนินการได้ประมาณเดือนเมษายน 2542 ส่วนเอกสารประเภท ส.ป.ก. 4-01 ทางสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะดำเนินการนำเสนอคณะกรรมการปฏิรูปที่ ดินดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายปฏิรูปที่ดินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2542 เป็นต้นไป) |