ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 10 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 186 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 2 ฉบับ | กษ | 18/10/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา จำนวน ๒ ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ ๑.๑ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง และตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียง และตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ๑.๒ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลยางฮอม ตำบลต้า อำเภอขุนตาล และตำบลตับเต่า ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลยางฮอม ตำบลต้า อำเภอขุนตาล และตำบลตับเต่า ตำบลเวียง ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับตามข้อ ๑ มีแนวเขตปฏิรูปที่ดินบางส่วนอยู่ในพื้นที่ควรสงวนไว้ไม่นำไปปฏิรูปที่ดิน สมควรที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องประสานกับกรมป่าไม้เมื่อจะเข้าดำเนินการปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
82 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่จังหวัดลำปาง จำนวน 2 ฉบับ | กษ | 20/09/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา จำนวน ๒ ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ ๑.๑ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ๑.๒ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านแลง ตำบลบ้านเสด็จ และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลบ้านแลง ตำบลบ้านเสด็จ และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง ๒ ฉบับมีแนวเขตปฏิรูปที่ดินบางส่วนอยู่ในพื้นที่ควรสงวนไว้ไม่นำไปปฏิรูปที่ดิน สมควรที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องประสานกับกรมป่าไม้เมื่อจะเข้าดำเนินการปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
83 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่จังหวัดตาก และจังหวัดแพร่ จำนวน 3 ฉบับ | กษ | 20/09/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา จำนวน ๓ ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ ๑.๑ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่กาษา ตำบลพะวอ ตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลแม่ปะ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด และตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลแม่กาษา ตำบลพะวอ ตำบลด่านแม่ละเมา ตำบลแม่ปะ ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด และตำบลแม่จะเรา อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ๑.๒ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านถิ่น ตำบลสวนเขื่อน และตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านถิ่น ตำบลสวนเขื่อน และตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ๑.๓ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลป่าแดง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ และตำบลบ้านเหล่า ตำบลดอนมูล ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลป่าแดง ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ และตำบลบ้านเหล่า ตำบลดอนมูล ตำบลหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง ๓ ฉบับมีแนวเขตปฏิรูปที่ดินบางส่วนอยู่ในพื้นที่ควรสงวนไว้ไม่นำไปปฏิรูปที่ดิน สมควรที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องประสานกับกรมป่าไม้เมื่อจะเข้าดำเนินการปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
84 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังทอง ตำบลวังซ้าย และตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 20/09/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังทอง ตำบลวังซ้าย และตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดินในทองที่ตำบลวังซ้าย และตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีร่างพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีแนวเขตปฏิรูปที่ดินบางส่วนอยู่ในพื้นที่ควรสงวนไว้ไม่นำไปปฏิรูปที่ดิน สมควรที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องประสานกับกรมป่าไม้เมื่อจะเข้าดำเนินการปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
85 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลใหม่พัฒนา ตำบลไหล่หิน ตำบลเกาะคา ตำบลนาแก้ว ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา ตำบลเสริมขวา ตำบล ทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม และตำบลแม่กัวะ ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 20/09/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลใหม่พัฒนา ตำบลไหล่หิน ตำบลเกาะคา ตำบลนาแก้ว ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา ตำบลเสริมขวา ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม และตำบลแม่กัวะ ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลใหม่พัฒนา ตำบลไหล่หิน ตำบลเกาะคา ตำบลนาแก้ว ตำบลนาแส่ง อำเภอเกาะคา ตำบลเสริมขวา ตำบลทุ่งงาม อำเภอเสริมงาม และตำบลแม่กัวะ ตำบลนายาง อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีแนวเขตปฏิรูปที่ดินบางส่วนอยู่ในพื้นที่ควรสงวนไว้ไม่นำไปปฏิรูปที่ดิน สมควรที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องประสานกับกรมป่าไม้เมื่อจะเข้าไปดำเนินการปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
86 | ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง | นร | 03/05/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ตามที่คณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิฯ เสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. การดำเนินการในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าแม่เมาะ” บ้านเมาะหลวง ที่มีการถอนสภาพป่าแม่เมาะ และกำหนดพื้นที่ป่าไม้ถาวร “ป่าแม่เมาะ” เรียบร้อยแล้ว ในบริเวณที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออกโฉนดที่ดินในบริเวณที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎร ซึ่งกรมที่ดินได้ดำเนินแล้ว จำนวน ๑,๖๖๕ แปลง ส่วนการออกเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔ - ๐๑ ในที่ดินทำกินให้แก่ราษฎร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้กำหนดเขตตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๕ และมอบเอกสารสิทธิหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. ๔ - ๐๑) ให้แก่ราษฎร จำนวน ๑๖๗ ราย เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ๒. การดำเนินงานในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่จาง (ตอนขุน) บ้านใหม่รัตนโกสินทร์ โดยในส่วนของที่ทำกิน ส.ป.ก. จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลนาสัก อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขรายละเอียดแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ตรวจสอบและยืนยันแนวเขตแจ้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สำหรับในส่วนของที่อยู่อาศัย ได้มีการตรวจสอบรับรองแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติจากกรมป่าไม้ ในระวางแผนที่มาตราส่วน ๑ : ๔,๐๐๐ จำนวน ๓ ระวาง หมายเลข ๔๙๔๕/๙๐๒๔ ๙๐๒๖ ๙๐๒๘ และได้ดำเนินการออกโฉนดที่ดินให้กับราษฎร จำนวน ๒๘๖ ราย และได้มอบโฉนดให้กับราษฎร ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ๓. การดำเนินงานในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่จาง บ้านท่าปะตุ่น - นาแขม ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนของพื้นที่ป่าไม้ถาวร เขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตปฏิรูปที่ดิน ส.ป.ก. ได้ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลพระบาท ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง ตำบลแม่ทะ ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ และตำบลแม่ทะ ตำบลหัวเสือ ตำบลดอนไฟ ตำบลวังเงิน อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... บริเวณพื้นที่ป่าแม่จาง (E) ซึ่งเป็นการปรับปรุงเขตปฏิรูปที่ดินโดยกันพื้นที่บางส่วนเนื้อที่ประมาณ ๑,๓๐๕ - ๒ - ๘๑ ไร่ ออกจากเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อให้กรมที่ดินนำไปออกโฉนดให้ราษฎรที่อพยพจากบ้านท่าปะตุ่น - นาแขม (ที่อยู่อาศัย) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขรายละเอียดแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งกรมป่าไม้ได้ตรวจสอบและยืนยันแนวเขตแจ้งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||
87 | การแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้ยากจนไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง | กษ | 03/05/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการจัดซื้อที่ดินของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) จำนวน ๑๕,๘๒๗ - ๓ - ๐๔.๒ ไร่ และเสนอของบประมาณเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างขั้นพื้นฐาน และค่าดำเนินการเกี่ยวกับแหล่งน้ำ โดยให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นหน่วยงานในการจัดซื้อที่ดินเพื่อนำที่ดินมาจัดให้เกษตรกรตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ตามมติคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๔ รวมทั้งกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อดำเนินการ จำนวน ๑,๖๔๑,๑๖๕,๓๐๐ บาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้งนี้
๑. การจัดซื้อที่ดินของ บสท. รวมทั้งการบริหารจัดการที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งน้ำ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ มอบหมายให้ธนาคารที่ดิน เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยให้ประสานงานและหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ๒. รูปแบบและการจัดให้เกษตรกรเข้าทำกินในที่ดิน มอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประสานงานและร่วมพิจารณากับสำนักงานโฉนดชุมชน ส.ป.ก. และธนาคารที่ดิน เพื่อดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรให้ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่ข้อความในมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ ๑ และ ๒ มีความคลาดเคลื่อน จึงขอแก้ไขให้ถูกต้องตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๖/๑๔๗๑๐ ลงวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๔ เป็น ดังนี้ ๑. การจัดซื้อที่ดินของ บสท. รวมทั้งการบริหารจัดการที่ดิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแหล่งน้ำ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ มอบหมายให้สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ โดยให้ประสานงานและหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย ๒. รูปแบบและการจัดให้เกษตรกรเข้าทำกินในที่ดิน มอบหมายให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรประสานงานและร่วมพิจารณากับสำนักงานโฉนดชุมชน ส.ป.ก. และสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) เพื่อดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรให้ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน |
|||||||||||||||||||||||||||
88 | ขอความเห็นชอบการแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง | นร | 03/05/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ) ประธานกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรผู้ยากจนและไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ให้กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) รับผิดชอบการดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรผู้สมควรได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการ ๑.๒ ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) รับผิดชอบการดำเนินการด้านการจัดการที่ดิน เพื่อจัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรผู้สมควรได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการ ๒. ให้ กอ.รมน. ประสานการดำเนินงานกับสำนักงานโฉนดชุมชนให้รอบคอบ เหมาะสม โดยกรณีเป็นผู้บุกรุกที่ดินใหม่ไม่สมควรได้รับความช่วยเหลือจากทางราชการในการจัดหาที่ดินทำกิน
|
|||||||||||||||||||||||||||
89 | การจัดตั้งส่วนราชการประจำจังหวัดบึงกาฬ | นร | 03/05/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๔ เกี่ยวกับหลักการกำหนดส่วนราชการประจำจังหวัดบึงกาฬ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ โดยมติคณะกรรมการฯ มี ดังนี้
๑. กรณีที่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ มีการกำหนดให้มีราชการบริหารส่วนภูมิภาค และไม่ได้กำหนดจำนวนหรือเงื่อนไขไว้ เนื่องจากเป็นภารกิจพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีในพื้นที่ทุกจังหวัด ก็ให้ส่วนราชการดำเนินการจัดตั้งส่วนราชการประจำจังหวัดบึงกาฬขึ้นได้ทันที โดยให้เกลี่ยอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่มีอยู่ไปปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการประจำจังหวัดบึงกาฬที่ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ (เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ....) ๒. กรณีที่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ มีการกำหนดให้มีราชการบริหารส่วนภูมิภาค และไม่ได้กำหนดจำนวนหรือเงื่อนไขไว้ แต่มีกฎหมายเฉพาะในการกำหนดให้มีการจัดตั้งส่วนราชการประจำจังหวัด ซึ่งเป็นกรณีของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนั้น การจัดตั้งส่วนราชการประจำจังหวัดบึงกาฬของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะต้องเป็นไปตามบทบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ด้วย ๓. กรณีที่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ มีการกำหนดให้มีราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่มีการกำหนดเงื่อนไขให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ๓.๑ กรณีกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและกระทรวงพลังงาน หากส่วนราชการวิเคราะห์และเห็นควรจัดตั้งส่วนราชการประจำจังหวัดบึงกาฬ เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาคเพิ่มขึ้น ส่วนราชการจะต้องดำเนินการตามแนวทางหนังสือสำนักงาน ก.พ.ร. ที่ นร ๑๒๐๐๐/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐ ๓.๒ กรณีกรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรมโดยที่รัฐมนตรีได้มีการประกาศกำหนดให้มีเรือนจำอำเภอบึงกาฬแล้ว กรณีนี้ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้ส่วนราชการดังกล่าวเป็นเรือนจำจังหวัดได้ทันที ๔. ทั้ง ๓ กรณีข้างต้น ไม่ต้องแก้ไขกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกรมต่าง ๆ แต่ประการใด
|
|||||||||||||||||||||||||||
90 | รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเกษตรกรสภาประชาชน 4 ภาค (ครั้งที่ 3) | กษ | 20/04/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินเกษตรกรสภาประชาชน ๔ ภาค (ครั้งที่ ๓) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
๑. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรสภาประชาชน ๔ ภาค สรุปผลการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ จนถึงวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ ดังนี้ ๑.๑ รับคำเสนอขายที่ดิน จำนวน ๒๑ จังหวัด เนื้อที่ ๒๖,๕๕๔ - ๓ - ๖๙ ไร่ ๑.๒ เกษตรกรมาตรวจสอบสิทธิ จำนวน ๑,๖๙๐ ราย มีคุณสมบัติครบ จำนวน ๑,๔๗๓ ราย ๑.๓ เกษตรกรแสดงความประสงค์และพึงพอใจในที่ดิน จำนวน ๘๘๗ ราย เนื้อที่ ๑๒,๙๗๙ - ๒ - ๑๖ ไร่ ๑.๔ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด (คปจ.) เห็นชอบแผนการจัดซื้อที่ดิน จำนวน ๒๐ จังหวัด เกษตรกร จำนวน ๗๘๘ ราย เนื้อที่ ๑๑,๓๖๗ - ๓ - ๑๔ ไร่ จำแนกเป็น ๑.๔.๑ ที่ดินที่ตั้งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบด้วย คปจ. เห็นชอบแผนการจัดซื้อ จำนวน ๓๘๖ ราย เนื้อที่ ๕,๔๒๗ - ๓ - ๕๙ ไร่ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ ส.ป.ก. แล้ว จำนวน ๒๘๓ ราย เนื้อที่ ๓,๙๐๘ - ๐ - ๙๓ ไร่ และจัดทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับเกษตรกรแล้ว จำนวน ๘๑ ราย เนื้อที่ ๑,๒๑๕ - ๑ - ๕๔ ไร่ ๑.๔.๒ ที่ดินตั้งอยู่นอกเขตปฏิรูปที่ดิน ประกอบด้วย คปจ. เห็นชอบแผนการจัดซื้อ จำนวน ๑๑ จังหวัด เกษตรกร จำนวน ๔๐๒ ราย เนื้อที่ ๕,๙๓๙ - ๓ - ๕๕ ไร่ และ คปก. มีมติอนุมัติให้กำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน ๗ จังหวัด เกษตรกร จำนวน ๓๘๘ ราย เนื้อที่ ๕,๗๘๔ - ๐ - ๔๐ ไร่ ๒. ส.ป.ก. ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลทะเบียนราษฎรของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย และดำเนินการออกประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ให้เกษตรกรแสดงตน ณ ส.ป.ก. จังหวัดที่ประสงค์จะให้จัดซื้อที่ดินภายใน ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ รวมทั้งมีหนังสือแจ้งเกษตรกรที่ยังไม่มาแสดงตนให้มาแสดงตน ทั้งนี้ ในกรณีที่เกษตรกรแสดงตนแล้วได้เร่งรัดดำเนินการเพื่อให้เกษตรกรคัดเลือกแปลงที่ดินให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ เพื่อให้การพิจารณาจัดซื้อที่ดินทั้งที่อยู่ในและนอกเขตปฏิรูปที่ดินเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๔
|
|||||||||||||||||||||||||||
91 | ร่างพระราชกฤษฎีกาโอนกรรมสิทธิ์ที่ธรณีสงฆ์ ในท้องที่ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ของวัดท่าอิฐและวัดบางบัวทอง ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ให้แก่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... | พศ | 20/04/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาโอนกรรมสิทธิ์ที่ธรณีสงฆ์ ในท้องที่ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ของวัดท่าอิฐและวัดบางบัวทอง ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ให้แก่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ โอนกรรมสิทธิ์ที่ธรณีสงฆ์ในท้องที่ตำบลศาลาครุ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ของวัดท่าอิฐและวัดบางบัวทอง ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๓๓๗ เนื้อที่ ๒๐ ไร่ ให้แก่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||
92 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลห้วยบง และตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 22/03/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลห้วยบง และตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลห้วยบง และตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีร่างพระราชกฤษฎีกาฯ มีแนวเขตปฏิรูปที่ดินบางส่วนอยู่ในพื้นที่ควรสงวนไว้ไม่นำไปปฏิรูปที่ดิน สมควรที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องประสานกับกรมป่าไม้เมื่อจะเข้าดำเนินการปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
93 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแซร์ออ ตำบลช่องกุ่ม ตำบลหนองน้ำใส อำเภอวัฒนานคร ตำบลหนองม่วง อำเภอโคกสูง และตำบลหันทราย ตำบลหนองสังข์ ตำบลป่าไร่ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 14/03/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแซร์ออ ตำบลช่องกุ่ม ตำบลหนองน้ำใส อำเภอวัฒนานคร ตำบลหนองม่วง อำเภอโคกสูง และตำบลหันทราย ตำบลหนองสังข์ ตำบลป่าไร่ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแซร์ออ ตำบลช่องกุ่ม ตำบลหนองน้ำใส อำเภอวัฒนานคร ตำบลหนองม่วง อำเภอโคกสูง และตำบลหันทราย ตำบลหนองสังข์ ตำบลป่าไร่ ตำบลบ้านด่าน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่างพระราชกฤษฎีกาฯ มีแนวเขตปฏิรูปที่ดินบางส่วนอยู่ในพื้นที่ควรสงวนไว้ไม่นำไปปฏิรูปที่ดิน สมควรที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องประสานกับกรมป่าไม้เมื่อจะเข้าดำเนินการปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ควรสงวนไว้ไม่นำไปปฏิรูปที่ดิน ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
94 | การแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง | นร | 18/01/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบผลความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการของคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาการออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎรในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง กรณีการออกเอกสารสิทธิบริเวณตลาดสดบ้านเมาะหลวง รวมทั้งกรณีการออกเอกสารสิทธิประเภทโฉนดที่ดินให้กับสหกรณ์การเกษตรแม่เมาะพัฒนา จำกัด และสหกรณ์การเกษตรแม่เมาะ จำกัด ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ๒. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและเร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามปฏิทินการปฏิบัติงานสำหรับพื้นที่ส่วนที่เหลือซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนการดำเนินการถอนสภาพของกรมป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ กรมพัฒนาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ถาวร และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน ก่อนการออกโฉนดที่ดินให้แก่ราษฎร ๓. กรณีที่ดินที่เป็นพื้นที่ตั้งตลาดสดบ้านเมาะหลวง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้เทศบาลตำบลแม่เมาะดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าว โดยใช้เป็นพื้นที่ตลาดสด ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ ๔. กรณีที่ดินที่เป็นที่ตั้งของสหกรณ์การเกษตรแม่เมาะพัฒนา จำกัด และสหกรณ์การเกษตรแม่เมาะ จำกัด นั้น ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ทางราชการจะออกเอกสารสิทธิให้ได้ จึงให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้เทศบาลตำบลแม่เมาะดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ โดยให้สหกรณ์ทั้งสองแห่งเช่าที่ดินดังกล่าว ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑ |
|||||||||||||||||||||||||||
95 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่จังหวัดตาก และจังหวัดลำปาง จำนวน 5 ฉบับ | กษ | 04/01/2554 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา จำนวน ๒ ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ ๑.๑ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่กุ ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด และตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลแม่กุ ตำบลมหาวัน อำเภอแม่สอด และตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ๑.๒ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปงเตา ตำบลนาแก ตำบลบ้านอ้อน ตำบลหลวงใต้ และตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปงเตา ตำบลนาแก ตำบลบ้านอ้อน ตำบลหลวงใต้ และตำบลบ้านโป่ง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ ๑ มีแนวเขตปฏิรูปที่ดินบางส่วนอยู่ในพื้นที่ควรสงวนไว้ไม่นำไปปฏิรูปที่ดิน สมควรที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต้องประสานกับกรมป่าไม้เมื่อจะเข้าดำเนินการปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ดังกล่าวไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
96 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่จังหวัดแพร่ และจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 2 ฉบับ | กษ | 16/11/2553 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้
๑. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา จำนวน ๒ ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ ๑.๑ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเวียงต้า ตำบลต้าผามอก ตำบลบ้านปิน ตำบลห้วยอ้อ ตำบลหัวทุ่ง ตำบลบ่อเหล็กลอง ตำบลปากกาง ตำบลแม่ปาน ตำบลทุ่งแล้ง อำเภอลอง และตำบลแม่ป้าก ตำบลวังชิ้น ตำบลนาพูน อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ ปรับปรุงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๓ ๑.๒ ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่บางแห่งในอำเภอทรายทองวัฒนา อำเภอบึงสามัคคี อำเภอคลองขลุง อำเภอขาณุวรลักษบุรี และอำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ ปรับปรุงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๗ และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกากรณีร่างพระราชกฤษฎีกามีแนวเขตปฏิรูปที่ดินบางส่วนอยู่ในพื้นที่ที่ควรสงวนไว้ไม่นำไปปฏิรูปที่ดิน สมควรที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจักประสานกับกระทรวงการคลังเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรา ๒๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
97 | การแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (นายเฉลิมพร พิรุณสาร และ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ) | กค | 16/11/2553 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อ
การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓) ตามที่ กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายเฉลิมพร พิรุณสาร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็น รองประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แทนนายยุคล ลิ้มแหลม ทอง ๒. นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผู้แทนสำนักงาน การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร แทนนายเฉลิมพร พิรุณสาร
|
|||||||||||||||||||||||||||
98 | การแต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหาร ระดับสูง (จำนวน 3 ราย 1. นายสมชาย ชาญณรงค์กุล ฯลฯ) | กษ | 31/08/2553 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนและทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
1. นายสมชาย ชาญณรงค์กุล ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมส่งเสริมสหกรณ์ 2. นายจิรากร โกศัยเสวี ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมวิชาการเกษตร 3. นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
|
|||||||||||||||||||||||||||
99 | การจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดนครราชสีมา | กษ | 31/08/2553 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้ 1. เห็นชอบการจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดนครราชสีมาใหม่ (ขอเปลี่ยนแปลงมติคณะรัฐมนตรีเดิมเฉพาะแห่ง) ตามมติคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน ในการประชุมครั้งที่ 4/2553 และให้หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามข้อกฎหมาย ระเบียบ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ 1.1 การจำแนกประเภทที่ดินพื้นที่ "ป่าแม่ออน" จังหวัดเชียงใหม่ ตามติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2536 ใหม่ ดังนี้ 1.1.1 รักษาไว้เป็นป่าไม้ถาวรตามเดิม เนื้อที่ประมาณ 250 ไร่ (แปลงปลูกป่าปี 2537) 1.1.2 จำแนกออกจากป่าไม้ถาวรเพื่อมอบเป็นที่ทำกินของราษฎรหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น เนื้อที่ประมาณ 660 ไร่ จำนวน 106 แปลง 1.2 การจำแนกประเภทพื้นที่ "ป่าโครงการรถไฟมวกเหล็ก" จังหวัดนครราชสีมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2506 ใหม่ ดังนี้ 1.2.1 รักษาไว้เป็นป่าไม้ถาวรตามเดิม เนื้อที่ประมาณ 408 ไร่ และมอบให้กรมป่าไม้รับไปดำเนินการ 1.2.2 จำแนกออกจากป่าไม้ถาวรเพื่อเป็นที่ทำกินของราษฎรหรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างอื่น เนื้อที่ประมาณ 4,549 ไร่ และมอบให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) รับไปดำเนินการตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530 ประกอบกับในพื้นที่อำเภอปากช่องได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเป็นเขตปฏิรูปที่ดินทั้งอำเภอแล้ว เมื่อ พ.ศ. 2534 2. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรกำหนดมาตรการอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพิ่มเติม และการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรรายย่อย รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขให้เกษตรกรในพื้นที่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พื้นที่ป่าใกล้เคียง ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
100 | รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การจัดหาที่ดินเพื่อฟื้นฟูคุณภาพชีวิตชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนสิรินธร | กษ | 20/04/2553 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะ
รัฐมนตรี เรื่อง การจัดหาที่ดินเพื่อฟื้นฟูคุณภาพชีวิตชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนสิรินธร สรุป ได้ดังนี้ 1. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานีได้ดำเนินการจัด ที่ดินทำกินให้แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนสิรินธรจนเสร็จสิ้นแล้ว จากจำนวนราษฎรที่ได้รับ ผลกระทบ จำนวน 2,299 ราย มีผู้มีสิทธิได้รับที่ดิน จำนวน 2,264 ราย มีการใช้จ่ายเงินตามโครงการในส่วนของ ค่าที่ดินเนื้อที่ 22,564 ไร่ จำนวน 683,163,151.86 บาท ค่าพัฒนาที่ดิน จำนวนเงิน 403,556,648.14 บาท ค่าบริหารโครงการ จำนวนเงิน 31,952,874.10 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,118,672,674.10 บาท 2. ส.ป.ก. ได้รับอนุมัติเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,123,821,370 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เมื่อหักค่าใช้จ่ายจำนวนเงิน 1,118,672,674.10 บาท แล้ว ส.ป.ก. ได้ ส่งเงินส่วนที่เหลือคืนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 5,148,695.90 บาท
|