ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 10 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 190 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) (จำนวน 10 ราย 1. นายสุรพงษ์ เจียสกุล ฯลฯ) | กษ | 30/08/2559 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน ๑๐ ราย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
๑. นายสุรพงษ์ เจียสกุล ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๒. นายนำชัย พรหมมีชัย ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๓. นายธนิตย์ เอนกวิทย์ ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ๔. นายสมชาย ชาญณรงค์กุล ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ๕. นายสมปอง อินทร์ทอง ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๖. นายอภัย สุทธิสังข์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมปศุสัตว์ ๗. นางบริสุทธิ์ เปรมประพันธ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ๘. นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ๙. นางสุดารัตน์ วัชรคุปต์ เหล่าวิชยา ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมหม่อนไหม ๑๐. นายสัญชัย เกตุวรชัย ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมชลประทาน
|
|||||||||||||||||||||||||||
42 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา พ.ศ. .... | คค | 26/07/2559 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา เพื่อสร้างทางหลวงชนบท สาย ค๓ และสาย ข๙ ตามโครงการผังเมืองรวมชุมชนโคกกลอย-ท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และเพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจ และเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน ให้เป็นไปตามแผนการที่กำหนดไว้ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรับข้อสังเกตของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับการพิจารณาก่อสร้างทางหลวงสายต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญกับการพิจารณาผลกระทบด้านการระบายน้ำภายหลังจากการก่อสร้าง เพื่อมิให้เกิดปัญหาเรื่องการระบายน้ำในพื้นที่บริเวณดังกล่าวในอนาคต และเมื่อพระราชกฤษฎีกาฯ มีผลบังคับแล้วก่อนการดำเนินการ หากทางหลวงชนบทเส้นดังกล่าวช่วงใดตัดผ่านที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน ขอให้กรมทางหลวงชนบทยื่นขออนุญาตใช้ที่ดินตามระเบียบของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ถูกต้องด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
43 | สรุปผลการพิจารณาดำเนินการตามรายงานผลการพิจารณาคำร้องเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง สิทธิชุมชน กรณีคัดค้านโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ | พน | 12/07/2559 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการพิจารณาดำเนินการตามรายงานผลการพิจารณาคำร้องเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง สิทธิชุมชนกรณีคัดค้านโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งกระทรวงพลังงานรายงานว่า ปัจจุบันนี้กฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการริเริ่มพัฒนาโครงการโดยชุมชน และเนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังงานลมเป็นโรงไฟฟ้าที่ไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง จึงไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เว้นแต่สถานที่ตั้งของโครงการจะอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำหลัก ประกอบกับควรส่งเสริมให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเป็นโครงการที่ลงทุนและดำเนินการโดยชุมชน เพื่อประโยชน์จะได้ตกแก่ชุมชนโดยตรง รวมทั้งเห็นว่าโครงการดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ต่อพื้นที่เกษตรกรรมและประชาชนในพื้นที่ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสามารถพิจารณาอนุญาตให้ใช้ที่ดินได้ตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตและการให้ผู้รับอนุญาตถือปฏิบัติในการใช้ที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์สำหรับกิจการที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๔๑ และตามข้อ ๑.๕ ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามมาตรา ๓๐ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้แจ้งสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
44 | ร่างกฎกระทรวงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา บางส่วน ในท้องที่ตำบลน้ำหมัน ตำบลจริม ตำบลท่าปลา ตำบลร่วมจิต อำเภอท่าปลา และตำบลขุนฝาง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... | ทส | 31/05/2559 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา บางส่วน ในท้องที่ตำบลน้ำหมัน ตำบลจริม ตำบลท่าปลา ตำบลร่วมจิต อำเภอท่าปลา และตำบลขุนฝาง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญให้เพิกถอนป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา บางส่วน ในท้องที่ตำบลน้ำหมัน ตำบลจริม ตำบลท่าปลา ตำบลร่วมจิต อำเภอท่าปลา และตำบลขุนฝาง อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๘๖๒ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ออกจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้ยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ (เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต และตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....) ในส่วนพื้นที่ทับซ้อนกับส่วนราชการอื่น ได้แก่ พื้นที่ในความรับผิดชอบของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เนื่องจากยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดินในท้องที่ดังกล่าว และพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คือ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา ๓. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวาฯ ที่มีการทับซ้อนกับแนวเขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่านฯ หากกรมป่าไม้และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ตรวจสอบพื้นที่ที่ทับซ้อนจนได้ข้อยุติ ก็ควรดำเนินการเสนอร่างกฎกระทรวงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวาฯ ให้คงเหลือแนวเขตอุทยานแห่งชาติอย่างเดียว เพื่อมิให้การบังคับใช้กฎหมายในเขตป่าเดียวกันมีความซ้ำซ้อนกัน และควรดำเนินการบริหารจัดการที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนที่ถูกเพิกถอนภายใต้กลไกและแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติกำหนด เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความสอดคล้องตามนโยบายและทิศทางเดียวกัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๔. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ในท้องที่อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||
45 | ขออนุมัติหลักการและวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือเกี่ยวกับที่ดินให้แก่ราษฎรผู้ถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่หน่วยราชการดูแล เนื่องในการสร้าง ทางหลวง | คค | 31/05/2559 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๑ (เรื่อง ขออนุมัติหลักการเกี่ยวกับการจ่ายเงินช่วยเหลือค่ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ค่าทดแทนต้นไม้ยืนต้นและพืชล้มลุกให้ราษฎรในที่ดินที่หน่วยราชการอื่นดูแล เนื่องในการสร้างทางหลวง) โดยให้ปรับปรุงหลักการและวิธีการจ่ายเงินช่วยเหลือเกี่ยวกับที่ดินให้แก่ราษฎรผู้ถือครองและทำประโยชน์ในที่ดินที่หน่วยราชการดูแล เนื่องในการสร้างทางหลวง ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้ ๑.๑ จัดให้มีการรังวัดทำแผนที่ที่ดินที่จะต้องใช้ในโครงการและสำรวจรายชื่อผู้ที่ครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในที่ดินแต่ละราย พร้อมทั้งคำนวณเนื้อที่ที่ดินที่อยู่ในโครงการทุกแปลง ๑.๒ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานกรรมการ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด นายอำเภอท้องที่ ธนารักษ์พื้นที่ และผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ โดยมีผู้แทนกรมทางหลวง เป็นกรรมการและเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่กำกับ ควบคุม และกำหนดแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าชดเชยที่ดิน ค่าขนย้าย ค่ารื้อย้ายอาคาร บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ยืนต้น พืชล้มลุก ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการของกรมทางหลวง รวมทั้งกำหนดราคาค่าชดเชยที่ดิน ค่าขนย้าย ค่ารื้อย้ายอาคาร บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ยืนต้น พืชล้มลุก ให้แก่ราษฎรผู้ถือครองที่ดินโดยไม่มีเอกสารสิทธิซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างทางหลวง ตลอดจนประสานงานและขอความร่วมมือจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าชดเชยที่ดิน ค่าขนย้าย ค่ารื้อย้ายอาคาร บ้านเรือน สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ยืนต้น พืชล้มลุก เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ๑.๓ เงื่อนไขการจ่ายเงินช่วยเหลือ (๑) ต้องไม่เป็นผู้บุกรุกที่ดินของรัฐ หรือผู้ครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย (๒) ต้องครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินก่อนที่จะมีโครงการก่อสร้าง (๓) ในกรณีที่หน่วยราชการใด ซึ่งเป็นผู้ดูแล หรือใช้ประโยชน์ในที่ดิน มีกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เกี่ยวกับการจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างทางหลวงก็ให้นำกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งนั้น ๆ มาพิจารณาในการจ่ายเงินช่วยเหลือด้วย และ (๔) สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๑ ส่วนใดที่ขัดหรือแย้งกับขั้นตอนการดำเนินการในครั้งนี้ ให้ใช้ขั้นตอนการดำเนินการที่เสนอในครั้งนี้แทน ๒. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับที่ดินซึ่งสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมถือกรรมสิทธิ์ยังมีสถานะเป็นที่ดินของรัฐ ควรแก้ไขคำว่า “ค่าชดเชยที่ดิน” ที่ปรากฏในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเป็นถ้อยคำอื่นตามความเหมาะสม และเห็นควรดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง และต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่เสนอในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และเห็นควรให้กรมทางหลวงเร่งพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์และวิธีการ รวมทั้งมาตรฐานการคำนวณค่าทดแทนต่าง ๆ ที่เหมาะสม และเป็นธรรม สอดคล้องกับสภาพถือครองที่ดิน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ เรื่อง แนวทางปฏิบัติการพิสูจน์ความถูกต้องจากภาพถ่ายทางอากาศตามมาตรการของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐและการตรวจสอบเอกสารสิทธิของราษฎรที่นำมาอ้างอิงให้ถูกต้องตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒, และ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการ |
|||||||||||||||||||||||||||
46 | แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 (นายโอภาส กลั่นบุศย์) | อก | 22/03/2559 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายโอภาส กลั่นบุศย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗ แทนนายสรรเสริญ อัจจุตมานัส ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๘ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
47 | การแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (จำนวน 13 คน 1. นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ฯลฯ) | กค | 23/02/2559 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๑๓ คน แทนรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นชุดเดิมที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งสามปี ในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
๑. นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองประธานกรรมการ ๒. นายสมชาย ชาญณรงค์กุล กรรมการอื่น ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๓. นายสุวิชญ โรจนวานิช กรรมการอื่น ผู้แทนกระทรวงการคลัง ๔. นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข กรรมการอื่น ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ ๕. นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส กรรมการอื่น ผู้แทนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๖. นางฤชุกร สิริโยธิน กรรมการอื่น ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ๗. นายสมคิด พรหมเจริญ กรรมการอื่น ผู้แทนสหกรณ์การเกษตรผู้ถือหุ้น ๘. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล กรรมการอื่น ๙. นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ กรรมการอื่น ๑๐. นางปัทมาวดี โพชนุกูล กรรมการอื่น ๑๑. นายวัชระ ฉัตรวิริยะ กรรมการอื่น ๑๒. นายพีระวัฒน์ ดวงแก้ว กรรมการอื่น ๑๓. นายวัฒนา ธรรมศิริ กรรมการอื่น
|
|||||||||||||||||||||||||||
48 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 05/01/2559 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสามารถเข้าไปดำเนินการจัดที่ดินและพัฒนาศักยภาพของที่ดินได้ อันจะทำให้เกษตรกรได้รับสิทธิและใช้ประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวได้ถูกต้องตามกฎหมาย ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพิจารณากำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับแผนบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) และแนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ ตลอดจนโครงการที่เกี่ยวข้องของรัฐบาล และควรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำการเกษตรทางเลือกอื่น ๆ หรือการทำสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันร่วมกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ทางเลือกที่เหมาะสมกับเงื่อนไขการผลิตและการตลาดในระดับพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรได้รับประโยชน์และสามารถรักษาที่ดินทำกินที่มีอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยไม่บุกรุกเข้าไปใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าเพื่อการอนุรักษ์ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
49 | รายงานผลการพิจารณาคำร้องเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง สิทธิชุมชน กรณีคัดค้านโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ | สม | 29/12/2558 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอแนะตามรายงานผลการพิจารณาคำร้องเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย เรื่อง สิทธิมนุษยชน กรณีคัดค้าน โครงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และมอบหมายให้กระทรวงพลังงานเป็นหน่วยงานหลักรับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
๑. รัฐควรส่งเสริมให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเป็นโครงการที่ลงทุนและดำเนินการโดยชุมชน เพื่อประโยชน์อันเกิดจากโครงการ เช่น กระแสไฟฟ้า การจ้างงาน แหล่งท่องเที่ยว และเห็นควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เอื้อและสอดคล้องต่อการริเริ่มพัฒนาโครงการโดยชุมชน เช่น ระเบียบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเสนอขายไฟฟ้าและสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้เอื้อต่อการเสนอขายไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชุมชนขนาดเล็ก ๒. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานลม โดยกำหนดให้ผู้ขออนุญาตจะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพเพื่อนำมาพิจารณาประกอบการอนุญาต ๓. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานควรพิจารณาปรับเปลี่ยนและเสนอนโยบายการพัฒนาพลังงานทดแทนโดยให้มีการสนับสนุนและพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากโรงฟ้าขนาดเล็กโดยชุมชน ๔. สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมควรเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเพื่อพิจารณายกเลิกมติที่กำหนดให้โครงการโรงไฟฟ้ากังหันลมเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของเกษตรกร
|
|||||||||||||||||||||||||||
50 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 15/12/2558 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลบ้านนา อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเพื่อให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสามารถเข้าไปดำเนินการจัดที่ดินและพัฒนาศักยภาพของที่ดินได้ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ มาตรา ๒๖ (๑) อันจะทำให้เกษตรกรได้รับสิทธิและใช้ประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวได้ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงและมีแรงจูงใจในการพัฒนาการผลิตเป็นไปตามนโยบายการแก้ไขปัญหาความยากจนของรัฐบาล ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||
51 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปยัง ส.ป.ก. พ.ศ. .... | กษ | 15/12/2558 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปยัง ส.ป.ก. พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไปยัง ส.ป.ก. ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงฯ ข้อ ๔ ที่กำหนดให้การโอนสิทธิในที่ดินไปยังสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดพิจารณาดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนด นั้น ควรบัญญัติไว้ให้ชัดเจนในกฎกระทรวงว่าจะใช้งบประมาณแผ่นดินหรือจากเงินกองทุนเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และหากจะใช้เงินกองทุนเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะต้องพิจารณาระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการใช้จ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๕๐ ให้สอดคล้องกัน ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้ความสำคัญกับกระบวนการตรวจสอบการได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. ของผู้ได้รับสิทธิในที่ดินให้มีความถูกต้องและเป็นไปตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และระเบียบอื่น ๆ รวมทั้งกระบวนการที่จะดูแลให้การจ่ายค่าตอบแทนที่จะเกิดขึ้นถึงมือเกษตรกรหรือทายาทโดยธรรมของเกษตรกรผู้ได้รับสิทธิในที่ดินอย่างแท้จริง ไปพิจารณาด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
52 | รายงานการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี | กษ | 18/08/2558 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. การจ่ายเงินชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สำนักงบประมาณได้อนุมัติให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งกระทรวงการคลังได้อนุมัติให้ขยายระยะเวลาเบิกจ่ายงบประมาณถึงวันทำการสุดท้ายของเดือนกันยายน ๒๕๕๘ โดย ส.ป.ก. ได้โอนเงินงบประมาณดังกล่าวไปตั้งจ่ายทางสำนักงานคลังจังหวัดลพบุรี เพื่อเป็นค่าชดเชยพิเศษฯ แล้ว เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ และได้แจ้งให้ ส.ป.ก. จังหวัดลพบุรี ทราบเพื่อดำเนินการจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ราษฎรแล้ว ๒. กรณีเร่งรัดกระบวนการจ่ายค่าชดเชยสำหรับราษฎรส่วนที่เหลือ ๑,๓๓๐ ราย อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงของจังหวัดลพบุรีและสระบุรีเพื่อนำเสนอคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการจ่ายเงินค่าชดเชยพิเศษ ส่วนการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่มีผู้ร้องเรียนว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทุจริตและมีการเลือกปฏิบัติ นั้น ไม่พบเจ้าหน้าที่ในสังกัดของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว |
|||||||||||||||||||||||||||
53 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส) | กค | 07/05/2558 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งนายสรรเสริญ อัจจุตมานัส เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ผู้แทนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
54 | ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่เกิดจากการอนุญาตให้ราษฎรครอบครองที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน | ปช | 07/04/2558 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตที่เกิดจากการอนุญาตให้ราษฎรครอบครองที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ทบทวนกระบวนการจัดที่ดินผืนใหญ่ที่ผ่านมาให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวัตถุประสงค์ ๑.๒ ทบทวนนโยบายเรื่องการดำเนินงานโฉนดชุมชนหรือนโยบายเรื่องอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ๑.๓ เร่งรัดการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลกลางที่รวบรวมข้อมูลที่ดินของทุกหน่วยงานให้เป็นระบบและมาตรฐานเดียวกัน ๑.๔ ปรับปรุงแนวเขตที่ดินของรัฐ (Reshape) ให้มีแนวเขตเดียว ๑.๕ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของผู้ที่ได้รับการจัดที่ดิน ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดำเนินการให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ๑.๖ ให้เร่งรัดการดำเนินการแก้ไขและประกาศใหม่เฉพาะเขตที่จะดำเนินการปฏิรูปจริงให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ภายใน ๓ ปี ๑.๗ กำหนดให้มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินทั้งหมดให้มีเอกภาพ เหมาะสมกับสภาวะปัจจุบัน และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ๑.๘ ควรจัดตั้งองค์การบริหารที่ดินแห่งชาติ ๒. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นภายในราชอาณาจักร คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อประชุมหารือกำหนดวิธีการและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑/๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตามองค์ประกอบคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ และให้กระทรวงมหาดไทยจัดทำรายงานผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาและมีมติแล้ว สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะได้แจ้งผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการของคณะรัฐมนตรีต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
55 | การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) (นายสรรเสริญ อัจจุตมานัส) | กษ | 24/02/2558 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งนายสรรเสริญ อัจจุตมานัส ข้าราชการพลเรือนสามัญ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
56 | ขออนุมัติงบประมาณจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ | กษ | 03/02/2558 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. อนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑.๑ อนุมัติให้มีการจ่ายเงินชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ตามผลการสำรวจของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงการจ่ายเงินค่าชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพในโครงการเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และคณะกรรมการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขและจำนวนเงินชดเชยพิเศษแทนการจัดสรรที่ดินแปลงอพยพ จังหวัดลพบุรี จำนวน ๒๗ ราย รายละ ๑๗๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น ๔,๕๙๐,๐๐๐ บาท ๑.๒ ให้คณะกรรมการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ฯ ทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิและจำนวนเงินชดเชยพิเศษฯ โดยให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาและควบคุมการโอนจ่ายเงินชดเชยพิเศษฯ ให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ และจำนวนเงินชดเชยพิเศษฯ โดยในการจ่ายเงินให้จ่ายด้วยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง) ตามบัญชีรายชื่อบุคคลผู้มีสิทธิ โดยถือความเห็นของคณะกรรมการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ฯ เป็นหลักฐานในการจ่ายเงิน สำหรับราษฎรส่วนที่เหลือที่อยู่ระหว่างพิจารณา จำนวน ๑,๓๓๐ ราย เมื่อคณะกรรมการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ฯ พิจารณาให้ได้รับสิทธิเงินชดเชยพิเศษฯ เพิ่ม จึงจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณางบประมาณรายจ่ายให้กับราษฎรเป็นประเด็น ๆ ไป ๒. สำหรับงบประมาณในการดำเนินการให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ที่กระทรวงการคลังอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ และขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป โดยให้คณะกรรมการพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ฯ กำกับดูแลการจ่ายเงินให้เป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส ไม่ซ้ำซ้อน และสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงบประมาณและคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเกี่ยวกับการพิจารณาจ่ายค่าชดเชยสำหรับราษฎรส่วนที่เหลืออีก ไปประกอบการดำเนินการต่อไป ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งรัดกระบวนการพิจารณาการจ่ายค่าชดเชยสำหรับราษฎรส่วนที่เหลืออีก ๑,๓๓๐ ราย ให้แล้วเสร็จโดยเร็วและให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีที่มีผู้ร้องเรียนว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายมีการทุจริตและมีการเลือกปฏิบัติจนเป็นเหตุให้ราษฎรไม่ได้รับเงินค่าชดเชยที่ดินหรือรับเงินค่าชดเชยพิเศษไม่ตรงกับความเป็นจริง แล้วรายงานผลการตรวจสอบให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||
57 | ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวม 12 ฉบับ | กษ | 02/12/2557 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวม ๑๒ ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการภายในกรมให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงทั้ง ๑๒ ฉบับดังกล่าว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ดังนี้
๑. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. .... ๒. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. .... ๓. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. .... ๔. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. .... ๕. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. .... ๖. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. .... ๗. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. .... ๘. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. .... ๙. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ๑๐. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. .... ๑๑. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. .... ๑๒. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... |
|||||||||||||||||||||||||||
58 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังสมบูรณ์ ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว และตำบลทุ่งขนาน ตำบลทับช้าง ตำบลปะตง ตำบลสะตอน ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว ตำบลหนองตาคง ตำบลเทพนิมิต ตำบลทับไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 25/11/2557 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังสมบูรณ์ ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว และตำบลทุ่งขนาน ตำบลทับช้าง ตำบลปะตง ตำบลสะตอน ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว ตำบลหนองตาคง ตำบลเทพนิติ ตำบลทับไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี ตำบลทุ่งขนาน ตำบลทับช้าง ตำบลปะตง ตำบลสะตอน ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว ตำบลหนองตาคง ตำบลทับไทร ตำบลเทพนิมิต ตำบลโป่งน้ำร้อน และตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อกันเขตเทศบาลตำบลโป่งน้ำร้อนและเทศบาลตำบลทรายขาว ที่คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติมิได้ส่งมอบให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมดำเนินการปฏิรูปที่ดินออกจากเขตปฏิรูปที่ดิน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||
59 | การติดตามงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจ ประจำเดือนกันยายน 2556 | นร | 19/11/2556 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวราเทพ รัตนากร) เสนอ ดังนี้
๑. รายงานผลการติดตามงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจ ประจำเดือนกันยายน ๒๕๕๖ ประกอบด้วย การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศสร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน (กองทุนหมู่บ้าน SML) การยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน การปฏิรูปการจัดการที่ดิน (นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) การเร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ การสนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์และการผลิตสินค้าในท้องถิ่น (OTOP และ SMEs) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒. การดำเนินการตามนโยบายสนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการสร้างเอกลักษณ์ในการผลิตสินค้าในท้องถิ่น (OTOP และ SMEs) เป็นงานที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอุตสาหกรรม หารือร่วมกันเพื่อพิจารณาแนวทางการบูรณาการการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมและผลสำเร็จของการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมต่อไป ๓. การดำเนินการตามนโยบายด้านการปฏิรูปการจัดการที่ดิน เป็นเรื่องสำคัญที่เป็นประเด็นปัญหาที่มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ประเทศในการลดความเหลื่อมล้ำ แต่ผลการดำเนินการยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจน จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวต่อไป ๔. ให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาเร่งรัดการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร กรณีขอขยายเวลาโครงการรับจำนำข้าว ประจำปีการผลิต ๒๕๕๕/๕๖ เนื่องจากเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ทัน
|
|||||||||||||||||||||||||||
60 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์สัย และตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 03/09/2556 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์สัย และตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญคือ กำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลโพธิ์สัย และตำบลสวนจิก อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ ๔๖๖-๑-๑๙ ไร่ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพิจารณาหลักเกณฑ์ในการจัดสรรที่ดินให้ราษฎรอย่างเหมาะสมโดยมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งของราษฎรภายหลัง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
.....