ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 10 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 186 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ครั้งที่ 2) (นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข) | กษ. | 18/09/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไปอีก ๑ ปี (ครั้งที่ ๒) ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน | นร16 | 14/03/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบแนวทางการใช้เส้นปรับปรุงการสำรวจแนวเขต
ปี ๒๕๕๓ ในการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map)
พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดนครราชสีมา
และจังหวัดปราจีนบุรี และให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมป่าไม้
สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี
ร่วมกันตรวจสอบข้อมูลพื้นที่ของจุดที่ไม่ชัดเจนให้แล้วเสร็จภายใน ๓ เดือน
และเร่งรัดดำเนินการสำรวจเพื่อจัดทำแนวกันชน (Buffer Zone) ที่ชัดเจน
เพื่อรักษาความสมบูรณ์ของพื้นที่มรดกโลกและสภาพพื้นที่ป่าไม้
ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้
ในส่วนของการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด แนวทางการคุ้มครองการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่ได้ดำเนินการจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายและการคุ้มครองและรับรองการดำเนินการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ
คณะทำงาน และเจ้าหน้าที่ ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่และอำนาจให้ถูกต้อง รอบคอบ เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดด้วย ๓. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขอความเห็นชอบให้กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม “ป่าสวนเมี่ยง” เนื้อที่ประมาณ 361 ไร่ ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม นำไปดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม | กษ. | 28/02/2566 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม
“ป่าสวนเมี่ยง” เนื้อที่ประมาณ ๓๖๑ ไร่ ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
นำไปดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ที่เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวจะต้องเป็นไปด้วยความถูกต้องและชัดเจนตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
รวมทั้งควรชี้แจงและทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างการรับรู้และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน
และให้ดำเนินการแจ้งคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินจังหวัด (คทช.จังหวัด)
เพื่อพิจารณานำพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม “ป่าสวนเมี่ยง” เนื้อที่ประมาณ ๓๖๑
ไร่ (เฉพาะกรณี) ออกจากพื้นที่เป้าหมาย คทช. และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
กำกับ ดูแล สมาชิกสมาคมทหารผ่านศึกพิการแห่งประเทศไทย ให้ปฏิบัติตามระเบียบ กฎหมาย
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมต่อไป ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข) | กษ. | 05/10/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ
นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข
ข้าราชการพลเรือนสามัญตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ ๔ ปี เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน
๒๕๖๕ ต่อไปอีก ๑ ปี (ครั้งที่ ๑) ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๖ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) [ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอน และการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด] | บจธ. | 12/07/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗
สำหรับการบริหารจัดการธนาคารที่ดินของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน
(องค์การมหาชน) (บจธ.) เกี่ยวกับค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์
จากอัตราร้อยละ ๒ และร้อยละ ๑ ตามลำดับ เหลืออัตราร้อยละ
๐.๐๑ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์
ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ถึงวันที่ ๗ มิถุนายน
๒๕๖๘ ตามที่ บจธ. เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด | นร16 | 21/06/2565 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตราส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๕ ธันวาคม ๒๕๖๑ และเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๒
ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเสนอ ๒.
ให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
(นายสันติ พร้อมพัฒน์) รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น (๑) ขอให้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา
กรณีการตรวจสอบพบแนวเขตที่ดินในความรับผิดชอบมีความคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง
ภายหลังจากมติคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
แล้ว รวมทั้งให้กรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมร่วมกันตรวจสอบพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนำไปปฏิรูปที่ดิน
เพื่อกันคืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้ และ (๒) ให้หน่วยงานในสังกัด ประกอบด้วย
กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด
เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ
มาตรการส่วน ๑ : ๔๐๐๐ (One Map) และแก้ไขปัญหา
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ 2) | นร.04 | 28/09/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๕๔/๒๕๖๔
เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๒) โดยให้เพิ่มเติมข้อความ
ข้อ ๑.๑.๕ ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๓๘/๒๕๖๓ เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม
๒๕๖๓ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “๑.๑.๕ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (เฉพาะ
กรมพัฒนาที่ดิน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร)” และให้ยกเลิกข้อความในข้อ ๔.๑.๒ ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๒๓๘/๒๕๖๓ เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๑๓ สิงหาคม
๒๕๖๓ และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน “๔.๑.๒ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ยกเว้น
กรมพัฒนาที่ดิน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร)” ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | ขออนุมัติโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ของกรมการขนส่งทางบก | กค. | 20/04/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย
ของกรมการขนส่งทางบก และวงเงินงบประมาณรายจ่ายของโครงการฯ ตามมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๕๖ ประกอบบทเฉพาะกาลมาตรา ๖๘ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนเสนอ
ดังนี้ ๑.๑ ให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP
Net Cost โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนค่าที่ดิน
ค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่เอกชนเป็นผู้ลงทุนค่าอุปกรณ์ขนถ่ายสินค้า
อุปกรณ์สำนักงานและส่วนประกอบ
และงานระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริหารด้านการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์และเอกชนเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนของการดำเนินงานและบำรุงรักษา
(Operation and Maintenance : O&M)
ทั้งหมด
รวมทั้งเป็นผู้รับความเสี่ยงทางด้านรายได้และจ่ายค่าสัมปทานให้ภาครัฐตลอดระยะเวลา
๑๕ ปี นับจากปีเปิดให้บริการ ๑.๒ ให้ดำเนินโครงการฯ
ในกรอบวงเงินรวมสำหรับค่างานที่เกี่ยวข้องกับค่าก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (ระยะที่
๒) ของโครงการฯ จำนวน ๖๖๐.๔๓ ล้านบาท
โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง ๑.๓
กรอบวงเงินค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินในส่วนของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของโครงการฯ
วงเงินจำนวน ๓๔,๒๑๗,๘๒๐ บาท
และวงเงินหลักประกันตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้อง
จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามแผนการใช้จ่ายเงินจริง ๒.
ให้กระทรวงการคลัง (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) กระทรวงคมนาคม
(กรมการขนส่งทางบก) และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา ๓๖
แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ ๒๕๖๒
รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น
เห็นควรที่กรมการขนส่งทางบกและคณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณากลไกที่จะทำให้ภาครัฐสามารถกำหนดขนาดและระยะเวลาการลงทุนพัฒนาโครงการฯ
ระยะที่ ๒ ให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
หากกรณีการดำเนินการก่อสร้างไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดแล้วเสร็จในปี ๒๕๖๘ เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
๓.
ให้กระทรวงการคลัง (สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ)
รับไปพิจารณาร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดขอบเขตสมมติฐานทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ที่ชัดเจน
เช่น อัตราคิดลด ระยะเวลาดำเนินโครงการ เป็นต้น
เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุนของโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานต่าง
ๆ ต่อไป |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 14/07/2563 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสามารถจัดซื้อที่ดินและนำมาจัดสรรให้เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | ขออนุมัติดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา | กษ | 08/07/2563 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) ดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายในกรอบวงเงิน ๑,๘๘๐ ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ ๔ ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔-พ.ศ. ๒๕๖๗) โดยขอให้กรมชลประทานจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามความพร้อมและความสามารถในการใช้จ่ายที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติอย่างเคร่งครัด เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่เห็นว่า เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีความพร้อมทั้งในด้านของพื้นที่ที่เป็นพื้นที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทั้งหมดซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่แล้วและไม่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จึงควรเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จตามแผนงานโครงการ (ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๖๗) ที่ตั้งไว้ เป็นต้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2552 เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรสภาประชาชน 4 ภาค | กษ | 04/02/2563 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกรสภาประชาชน ๔ ภาค เพื่อให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) สามารถดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ไร้ที่ดินทำกินได้ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการจัดสรรที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้จัดซื้อไว้แล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยในส่วนของการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านที่ดิน ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ส.ป.ก. ดำเนินการตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นควรจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรฯ ๔ ภาค ที่เหลืออยู่หรือที่มาแสดงตนภายหลังเป็นลำดับแรกก่อน ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ส.ป.ก. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงบประมาณ เช่น (๑) ควรกำหนดเวลาให้เกษตรกรฯ ๔ ภาค โดยหากไม่มาขึ้นทะเบียนภายในกำหนดเวลา ก็สามารถไปยื่นคำร้องขอขึ้นทะเบียนขอรับการจัดที่ดินในฐานะผู้ไร้ที่ดินทำกินซึ่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดไว้ได้ตามปกติ (๒) การนำเงินที่เหลืออยู่ จำนวน ๒๒๑.๓๑ ล้านบาท คงไว้ในกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยไม่ต้องส่งคืนคลัง อาจไม่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ และพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ และ (๓) วงเงินที่เหลือจ่ายจากการจัดซื้อที่ดิน จำนวน ๒๒๑.๓๑ ล้านบาท ควรพิจารณาดำเนินการตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 21/01/2563 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสามารถจัดซื้อที่ดินและนำมาจัดสรรให้เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินไม่เพียงพอแก่การครองชีพ หรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ขออนุมัติให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้กรมการขนส่งทางบกใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อดำเนินโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย | กษ | 19/11/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติให้ความยินยอมหรืออนุญาตให้กรมการขนส่งทางบกใช้ประโยชนที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อดำเนินโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยใช้ที่ดินถาวร ไม่มีกำหนดระยะเวลา ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการฯ ไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๕ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ดังกล่าวยังมีสถานะเป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องด้วย เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) กระทรวงคมนาคม (กรมการขนส่งทางบก) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินของโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว ทั้งนี้ ให้พิจารณาดำเนินการให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ ผลกระทบต่อต้นทุนที่ใช้ในการคำนวณความคุ้มค่าของโครงการฯ และผลวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลต่อรูปแบบและแผนงานดำเนินโครงการฯ รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และประธานกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เช่น ควรเร่งรัดการพิจารณาเกี่ยวกับค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินและค่าใช้จ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องให้เกิดความชัดเจนโดยเร็ว เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ เป็นไปตามแผนงาน และเพื่อให้กรมการขนส่งทางบกสามารถจัดเตรียมแผนบริหารงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ เป็นต้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม | กษ | 19/11/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบการขยายระยะเวลาการลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามอัตราการเรียกเก็บค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้เหลือในอัตราร้อยละ ๐.๐๑ ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ออกไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการลดหย่อนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และจัดให้มีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการสูญเสียรายได้ของรัฐกับประโยชน์ที่เกษตรกรและประเทศจะได้รับจากการลดหย่อนค่าธรรมเนียมดังกล่าว เพื่อใช้ประกอบการวางแผนการดำเนินงาน รวมทั้งเห็นควรให้เร่งดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานในระยะยาว เพื่อให้สามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติได้ก่อนที่จะครบกำหนดเวลาที่ระบุในประกาศกระทรวงมหาดไทยที่จะขยายออกไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๒. อนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีสาระสำคัญเป็นการขยายกำหนดเวลาใช้บังคับออกไปอีกจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๔ เพื่อเป็นการลดภาระในการชำระค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้แก่เกษตรกรที่ยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์และสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปที่ดิน และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เห็นควรให้ตัดการอ้างข้อ ๒ (๗) (ฎ) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ออก ไปประกอบการตรวจพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างนโยบายป่าไม้แห่งชาติ | ทส | 06/11/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบร่างนโยบายป่าไม้แห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ที่เหมาะสม หยุดยั้งและป้องกันการทำลายทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าของชาติ ก่อให้เกิดการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ และเป็นฐานการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน ประกอบด้วยบทบัญญัตินโยบายป่าไม้แห่งชาติ จำนวน ๒๔ ข้อ ครอบคลุม ๓ ด้าน ได้แก่ (๑) นโยบายด้านการจัดการป่าไม้ (๒) นโยบายด้านการใช้ประโยชน์ผลิตผลและการบริการจากป่าไม้และอุตสาหกรรมป่าไม้ และ (๓) นโยบายด้านการพัฒนาระบบบริหารและองค์กรเกี่ยวกับการป่าไม้ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงพลังงานและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรให้มีการบูรณาการในการอนุญาตการเข้าใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างกรมป่าไม้และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นกระบวนการเดียวกัน เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | กรอบการเจรจาของประเทศไทยและองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สมัยที่ 14 | กษ | 27/08/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบท่าทีการเจรจาของประเทศไทยสำหรับเป็นกรอบในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สมัยที่ ๑๔ ระหว่างวันที่ ๒-๑๓ กันยายน ๒๕๖๒ ณ the Indie Expo Center and Mart กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย โดยสาระสำคัญของกรอบการเจรจาฯ ประกอบด้วย หลักการการพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฯ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ แนวทางการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ ในปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ และประเด็นอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นกรอบในการเจรจาในระหว่างการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ๑.๒ รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ประกอบด้วย อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน ๕ คน ผู้แทนกรมชลประทาน ๑ คน ผู้แทนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๓ คน ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ๑ คน ผู้แทนกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ๑ คน ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ๒ คน ผู้แทนกรมป่าไม้ ๑ คน และผู้แทนสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย ๑ คน ๒. หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกรอบเจรจาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๓. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับประเด็นที่จะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติของมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และการจัดให้ภาคประชาชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสในการรับทราบข้อมูล และการกำหนดท่าทีของไทยในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ครั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการในขั้นการปฏิบัติได้รับความร่วมมือและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๔. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (จำนวน 13 คน 1. นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ฯลฯ) | กค | 12/02/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รวม ๑๓ คน แทนรองประธานกรรมการและกรรมการเดิมที่ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ดังนี้
๑. นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ รองประธานกรรมการ ๒. นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ กรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ๓. นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ กรรมการ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๔. นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ กรรมการ ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ ๕. นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข กรรมการ ผู้แทนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ๖. นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม กรรมการ ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ๗. นายทองลักษณ์ หาญศึก กรรมการ ผู้แทนสหกรณ์การเกษตรผู้ถือหุ้น ๘. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล กรรมการ ๙. นางน้ำผึ้ง วงศ์สมิทธิ์ กรรมการ ๑๐. นายวัชระ ฉัตรวิริยะ กรรมการ ๑๑. นายลือชัย ชัยปริญญา กรรมการ ๑๒. นายสุวิชญ โรจนวานิช กรรมการ ๑๓. นางอมรา กลับประทุม กรรมการ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก - ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 22/01/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลปูโยะ และตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดินในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) สามารถจัดซื้อที่ดินและนำมาจัดสรรให้แก่เกษตรกรผู้ไม่มีที่ดินทำกิน หรือมีที่ดินไม่เพียงพอแก่การครองชีพหรือต้องเช่าที่ดินของผู้อื่นประกอบเกษตรกรรมจำนวนมาก ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้ ส.ป.ก. พิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งควรติดตามดูแลให้เกษตรกรสามารถรักษาที่ดินที่ได้รับให้เป็นแหล่งประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน และควรกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด รวมถึงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่เหมาะสมกับเงื่อนไขการพัฒนาในพื้นที่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 02/01/2562 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส และตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดิน เพื่อให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจนำที่ดินมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งควรติดตามดูแลให้เกษตรกรสามารถรักษาที่ดินที่ได้รับให้เป็นแหล่งประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เป็นไปตามเจตนารมณ์และขั้นตอนตามกฎหมายโดยเคร่งครัด และพิจารณากำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด รวมถึงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่เหมาะสมกับเงื่อนไขการพัฒนาในพื้นที่ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... | กษ | 13/11/2561 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกำหนดเขตที่ดิน ในท้อที่ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตำบลจะแนะ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจนำที่ดินมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไป ๒. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งควรต้องติดตามดูแลให้ดเกษตรกรสามารถรักษาที่ดินที่ได้รับให้เป็นแหล่งประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนเป็นไปตามเจตนารมณ์และขั้นตอนตามกฎหมายโดยเคร่งครัด และควรพิจารณากำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด รวมถึงแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลที่เหมาะสมกับเงื่อนไขการพัฒนาในพื้นที่ อาทิ การส่งเสริมการทำเกษตรแปลงใหญ่และเกษตรกรรมแม่นยำสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตในการผลิตพืชกระแสหลัก และการสนับสนุนทางเลือกในการทำเกษตรกรรมยยั่งยืน โดยเฉพาะเกษตรผสมผสาน อาทิ การส่งเสริมการปลูกพืชแซมในสวนยางพาราและสวนผลไม้ เพื่อเสริมสร้างรายได้และลดความเสี่ยงด้านราคาผลผลิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและชุมชนในระยะยาว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|