ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 5 จากข้อมูลทั้งหมด 5 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | วงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 | นร.07 | 05/01/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ จำนวน ๓,๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตและความเห็นของที่ประชุมเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้ ๑.๑ การลงทุนของประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕
ควรพิจารณาให้ครอบคลุมการลงทุนจากทุกแหล่งเงิน ประกอบด้วย
การลงทุนจากเงินงบประมาณของภาครัฐ การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public
Private Partnership : PPP) การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
การลงทุนโดยใช้เงินจากกองทุน เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand
Future Fund : TFF) และการลงทุนจากต่างประเทศ
เป็นต้น ๑.๒
ควรมีการกำหนดเงื่อนไขของการใช้จ่ายเงินงบประมาณ
โดยเฉพาะการใช้จ่ายที่มีลักษณะเป็นการโอนเงินให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) เช่น
การให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่ากับผู้ถูกเลิกจ้างหรือผู้ที่อยู่ระหว่างหางานทำ
ควรมีการกำหนดเงื่อนไขให้มีการฝึกอบรมทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ถูกเลิกจ้างในการหางานทำต่อไป
และทำให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น ๑.๓
เพื่อเป็นการสร้างศักยภาพของประเทศและความยั่งยืนในระยะต่อไปตามแผนการคลังระยะปานกลาง
เห็นควรให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนมากขึ้น
และชะลอรายจ่ายประจำปีที่สามารถดำเนินการได้ ๒.
ให้สำนักงบประมาณได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานผลการดำเนินโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตฤดูการผลิตปี 2562/2563 | อก. | 05/01/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต
ฤดูการผลิตปี ๒๕๖๒/๒๕๖๓ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑.
โครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิตฤดูการผลิตปี
๒๕๖๒/๒๕๖๓ กรอบวงเงินช่วยเหลือ ประกอบด้วย (๑)
วงเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยเข้าโรงงานทุกรายที่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย
พ.ศ. ๒๕๒๗ จำนวน ๖,๕๐๐ ล้านบาท และ (๒) วงเงินช่วยเหลือเฉพาะชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดเข้าโรงงานทุกตันอ้อย
จำนวน ๓,๕๐๐ ล้านบาท ทั้งนี้ ได้จ่ายเงินช่วยเหลือเสร็จเรียบร้อยแล้ว ณ วันที่ ๓๐
กันยายน ๒๕๖๓ โดยมีชาวไร่อ้อยได้รับการช่วยเหลือรวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๙๐,๑๐๔ ราย วงเงินที่จ่ายช่วยเหลือรวมทั้งสิ้นจำนวน
๙,๗๗๙.๔๘ ล้านบาท วงเงินคงเหลือจำนวน ๒๒๐.๕๒ ล้านบาท ๒.
การช่วยเหลือปัจจัยการผลิตเฉพาะชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดในฤดูการผลิตปี ๒๕๖๒/๒๕๖๓
ส่งผลให้สามารถลดพื้นที่การเผาอ้อยง ๑.๒ ล้านไร่
ปริมาณอ้อยไฟไหม้ลดลงคิดเป็นร้อยละ ๑๑.๔๖ เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปี ๒๕๖๑/๒๕๖๒
อยู่ที่ร้อยละ ๖๑.๑๑ โดยในฤดูการผลิตปี ๒๕๖๒/๒๕๖๓ มีปริมาณอ้อยเข้าหีบรวมทั้งสิ้น
๗๔.๘๙ ล้านตัน ประกอบด้วย ปริมาณอ้อยสด ๓๗.๗๑ ล้านตัน และปริมาณอ้อยไฟไหม้ ๓๗.๑๘
ล้านตัน (หรือคิดเป็นร้อยละ ๕๐.๓๕ และ ๔๙.๖๕ ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมดตามลำดับ)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะต้องมีการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณมากกว่าหนึ่งปีงบประมาณสำหรับรายการที่มีวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป | มท. | 05/01/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป ตามนัยมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
ของกระทรวงมหาดไทย จำนวน ๑๒ โครงการ ๒. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงบประมาณที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
และเห็นควรจัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการ โดยมีคุณลักษณะเฉพาะ
ประมาณการหรือผลการสอบราคา รายละเอียดแบบรูปรายการ
ประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
และมีสถานที่/พื้นที่พร้อมจะดำเนินการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ประหยัด
การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑
และจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ รวมทั้งจัดส่งรายงานเกี่ยวกับเงินนอกงบประมาณ
ตามนัยมาตรา ๒๕ ของพระราชบัญญัติวิธีการงประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2563 | กค. | 05/01/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๓ เพื่อทราบสถานะการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา
และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ (กรอบวงเงิน ๑ ล้านล้านบาท)
รวมทั้งโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
ตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ขออนุมัติการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำหรับรายการงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่หนึ่งพันล้านบาทขึ้นไป | กษ. | 05/01/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการยื่นคำขอตั้งงบประมาณรายการผูกพันข้ามปีงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่
๑,๐๐๐ ล้านบาทขึ้นไป ตามนัยมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน ๔ โครงการ ๗ รายการ วงเงินรวมทั้งสิ้น
๑๓,๗๔๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ ให้สำนักงบประมาณและกระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำแผนการดำเนินการและยืนยันความพร้อมของโครงการและรายการดังกล่าว
โดยมีรายละเอียดแบบรูปรายการ
ประมาณการค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
และมีสถานที่/พื้นที่พร้อมจะดำเนินการ โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและประหยัด
การพิจารณาเป้าหมาย ประโยชน์ที่จะได้รับ การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
ประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
รวมทั้งพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้เหมาะสมกับความจำเป็นเร่งด่วน
และคำนึงถึงภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณให้เป็นไปตามสัดส่วนของรายจ่ายลงทุนที่กำหนด
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|