ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 4 จากข้อมูลทั้งหมด 4 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ การจัดแยก การจัดทำและแสดงเครื่องหมาย การจัดให้มีเอกสารที่จำเป็นและการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ พ.ศ. .... | คค. | 09/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์
และวิธีการเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อ การจัดเก็บ การจัดแยก
การจัดทำและแสดงเครื่องหมาย
การจัดให้มีเอกสารที่จำเป็นและการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อ
การจัดเก็บ การจัดแยก การจัดทำและแสดงเครื่องหมาย การจัดให้มีเอกสารที่จำเป็น
และการขนถ่ายสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ เพื่อให้การดำเนินงานของกรมเจ้าท่าตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
และเพื่อให้เกิดความมั่นคง ปลอดภัย และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ
ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาระบบการขนส่งทางน้ำของประเทศโดยรวม ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เห็นควรทบทวนการใช้ถ้อยคำของร่างข้อ
๓ (๕) “การปิดไว้อย่างมั่นคง” ไม่ได้ลดความเป็นอันตรายของภาชนะที่บรรจุ
แก้ไขข้อความของร่างข้อ ๓ (๖) เนื่องจากหีบห่อ หมายถึงวัสดุที่ห่อหุ้มด้านนอก แต่ภาชนะมีการสัมผัสของเหลว
ร่างข้อ ๓ (๗) วัสดุซึมซับหรือวัสดุบุรองที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับหีบห่อของเหลวต้องมีความสามารถในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย
สามารถป้องกันการเคลื่อนไหวโดยทำการหุ้มรอบภาชนะอยู่ตลอดเวลาต้องมีปริมาณเพียงพอที่จะซึมซับของเหลวได้ในกรณีรั่วไหล
รวมทั้งระบุหรือแยกวัตถุประสงค์ของวัสดุซึมซับและวัสดุบุรองที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับของเหลว
ร่างข้อ ๖ และร่างข้อ ๙ ควรทบทวนข้อความในส่วนของหลักเกณฑ์การจัดเก็บและจัดแยกต่างหากจากกัน
เนื่องจากร่างข้อ ๖ (๑) และ (๒) เป็นข้อความที่มุ่งเฉพาะสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ที่อาจเกิดระเบิดได้ในเรือ
ซึ่งมีความสอดคล้องกับร่างข้อ ๙ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้ความสำคัญกับการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างกฎกระทรวงถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด พ.ศ. .... | พน. | 09/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด
พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขนส่งก๊าซธรรมชาติด้วยถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด
เพื่อให้มีความปลอดภัยในการประกอบกิจการถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัด
และป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัยหรืออันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการประกอบกิจการถังขนส่งก๊าซธรรมชาติอัดในปัจจุบัน
ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การออกกฎกระทรวงเพื่อยกเลิกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และกฎกระทรวงเพื่อรองรับการควบกิจการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ | กค. | 09/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเลิกกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๕ มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงที่ออกตามความในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
พ.ศ. ๒๕๓๕ รวม ๔ ฉบับ เนื่องจากไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป และร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทหลักทรัพย์
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวง รวม ๓ ฉบับ เนื่องจากไม่มีความจำเป็น
และได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขออนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทที่เกิดจากการควบกิจการบริษัทหลักทรัพย์เข้าด้วยกัน
โดยให้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ล่วงหน้าได้ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในส่วนของการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทซึ่งเกิดจากการควบกิจการบริษัทหลักทรัพย์
เห็นควรให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของบริษัทที่จะเกิดจากการควบรวมหรือบริษัทที่ประสงค์จะควบกิจการเข้ากัน
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน และการกระทำอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. .... | รง. | 09/03/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเล การปิดงาน การนัดหยุดงาน
และการกระทำอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การระงับข้อพิพาทแรงงานทางทะเลเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างเจ้าของเรือกับคนประจำเรือ
กำหนดแนวทางกรณีเจ้าของเรืออาจปิดงานหรือคนประจำเรืออาจนัดหยุดงาน กำหนดกรณีเจ้าของเรือมีการฝ่าฝืนตามมาตรา
๙๔ อาทิ ห้ามเจ้าของเรือเลิกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ
อันเป็นผลให้คนประจำเรือไม่สามารถทนทำงานต่อไปได้เพราะเหตุคนประจำเรือมีการรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์
หรือรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรของตน คนประจำเรืออาจยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานทางทะเลเพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา
โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานศาลยุติธรรมเกี่ยวกับกรณีบทนิยามคำว่า
“พนักงานเจ้าหน้าที่” ตามข้อ ๓ (๑) และข้อ ๕ วรรคท้าย ที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย
และรับแจ้งการปิดงาน หรือนัดหยุดงาน
เห็นควรนิยามให้ชัดเจนให้อยู่ในความรับผิดชอบของพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน
กรณีร่างกฎกระทรวงข้อ ๓ (๒) กำหนดว่า
“ตกลงกันนำข้อพิพาทแรงงานทางทะเลที่ตกลงกันไม่ได้นั้น ไปเจรจาตกลงกันเอง”
อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นได้ และกรณีร่างกฎกระทรวงข้อ ๕
ห้ามมิให้เจ้าของเรือปิดงาน
หรือคนประจำเรือนัดหยุดงานในระหว่างที่มีการเดินเรือทางทะเล
ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกตามมาตรา ๗๗ จะนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา ๙๒ วรรค ๓
ได้หรือไม่ และในกรณีตามข้อ ๓ (๒) ถ้าไม่สามารถที่จะตกลงกันได้กลายเป็นข้อพิพาทแรงงานทางทะเลที่ตกลงกันไม่ได้จะสามารถปิดงานหรือนัดหยุดงานได้หรือไม่
เพราะกรณีตามข้อ ๓ (๒) ไม่อยู่ในเงื่อนไข หลักเกณฑ์ของข้อ ๕ (๒)
ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรเร่งรัดสร้างการรับรู้ให้กับคนประจำเรือและเจ้าของเรือ
รวมทั้งติดตามและประเมินผลภายหลังการบังคับใช้ เพื่อให้การนำร่างกฎกระทรวงดังกล่าวสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|