ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 5 จากข้อมูลทั้งหมด 5 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (สภาผู้แทนราษฎร) | สผ. | 07/04/2564 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงการคลังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
โดยได้ดำเนินการ เช่น เตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมาย
โดยการออกกฎกระทรวงและประกาศที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดทำระบบเพื่อรองรับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สะดวกและง่ายต่อการใช้งานของผู้ประกอบการ
จัดทำคู่มือเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป
เป็นต้น และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจากต่างประเทศนั้น
กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีดังกล่าว
สำหรับการปรับปรุงถ้อยคำว่า “ต่างประเทศ” จะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
และต้องดำเนินการศึกษาร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อความรอบคอบต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (เลขาธิการวุฒิสภา) | สว. | 07/04/2564 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
ซึ่งกระทรวงการคลังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว
โดยได้ดำเนินการ เช่น เตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมาย
โดยการออกกฎกระทรวงและประกาศที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จัดทำระบบเพื่อรองรับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่สะดวกและง่ายต่อการใช้งานของผู้ประกอบการ
จัดทำคู่มือเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป
เป็นต้น และการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการจากต่างประเทศนั้น
กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาศึกษาแนวทางการจัดเก็บภาษีดังกล่าว
สำหรับการปรับปรุงถ้อยคำว่า “ต่างประเทศ” จะต้องตราเป็นพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
และต้องดำเนินการศึกษาร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อความรอบคอบต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||
3 | รายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และนครปฐม ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 3 | ทส. | 07/04/2564 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบรายงานผลการดำเนินงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
กาญจนบุรี และนครปฐม ครั้งที่ ๓ ซึ่งมีการดำเนินงานขับเคลื่อนโดยจำแนกตามกลุ่มสภาพปัญหา
ประกอบด้วย (๑)
กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) (ผู้ประกอบการและผู้ว่างงาน) และ (๒)
กลุ่มโครงสร้างการพัฒนาจังหวัดต่าง ๆ ในด้านการเกษตรและการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
และกระทรวงอุตสาหกรรมรับประเด็นข้อหารือจากการประชุมดังกล่าวไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ๒.
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมควบคุมมลพิษ)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติในประเด็นการแก้ไขปัญหาด้านการขาดแคลนน้ำ
และการดำเนินงานขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป |
||||||||||||||||||||||||
4 | รายงานประจำปี 2563 ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา | กสศ. | 07/04/2564 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปี
๒๕๖๓ ของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ประกอบด้วย (๑)
ผลการดำเนินงานของ กสศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ มีโครงการสำคัญ เช่น
โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
โครงการจัดสรรเงินอุดหนุนนักเรียนยากจนพิเศษแบบมีเงื่อนไขหรือทุนเสมอภาค
(ทุนเสมอภาค) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ และโครงการทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูง
เป็นต้น (๒) รายงานด้านการบัญชีและการตรวจสอบ ได้แก่ รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบภายใน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ และรายงานการสอบบัญชีของ กสศ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๓ และ (๓) ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีในท้ายบันทึกของ กสศ. ว่า ให้บริหารอย่างมีประสิทธิภาพ
ใช้งบประมาณอย่างสุจริต โปร่งใส เป็นธรรม และตรวจสอบได้ ตามที่ กสศ. เสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
5 | รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – สิงคโปร์ | คค. | 07/04/2564 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-สิงคโปร์
และเห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย
โดยมอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจฯ
ต่อไป โดยบันทึกความเข้าใจฯ และร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทยมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงสิทธิการบินและข้อบทต่าง
ๆ จากที่กำหนดไว้ในความตกลงระหว่างไทยและสิงคโปร์ว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างอาณาเขตของแต่ละฝ่ายและพ้นจากนั้นไป
ฉบับลงนามเมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๕๑๑
และบันทึกความเข้าใจลับและบันทึกการประชุมฉบับลงนามเมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๕
ในประเด็นต่าง ๆ เช่น (๑) แก้ไขคำจำกัดความของคำว่า “เจ้าหน้าที่การเดินอากาศ”
ของฝ่ายไทย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานด้านการบิน (๒)
ปรับปรุงใบพิกัดเส้นทางบินรับขนผู้โดยสาร โดยกำหนดจุดระหว่างทางเป็นจุดใด ๆ
และรวมจุดพ้นเป็นกลุ่มภูมิภาค (๓) เพิ่มสิทธิการทำบินด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่
๕ ได้ฝ่ายละ ๒๘ เที่ยว/สัปดาห์ จากเดิม ๒๑ เที่ยว/สัปดาห์ เป็นต้น
ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ
และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศที่เห็นว่า
บันทึกความเข้าใจฯ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
และเห็นว่าร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทยเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา ๑๗๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของฝ่ายไทย
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย |