ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 4 จากข้อมูลทั้งหมด 4 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานผลการดำเนินงานด้านการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของกรมราชทัณฑ์ | ยธ. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินงานด้านการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ของกรมราชทัณฑ์ โดยสืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ที่เป็นวงกว้างในพื้นที่หลายจังหวัด ซึ่งรวมถึงการพบผู้ต้องขังที่ติดเชื้อโควิด-๑๙
ในหลายเรือนจำและทัณฑสถาน โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร
กรมราชทัณฑ์จึงได้รายงานผลการดำเนินการในด้านการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดฯ
ได้แก่ (๑) รายงานผลการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ ในระหว่างวันที่ ๓ เมษายน-๘
พฤษภาคม ๒๕๖๔ (๒) การกำหนดให้มีมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดฯ
(๓) การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ต้องขังติดเชื้อโควิด-๑๙ และ (๔)
การรับมอบเงินและอุปกรณ์พระราชทานต่าง ๆ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 | ตผ. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ
๒๕๖๓ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ (๑) การรายงานผลการดำเนินงานการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งได้ตรวจสอบและแสดงความเห็นต่อรายงานการเงิน
จำนวน ๘,๘๖๕ รายงาน รวม ๘,๔๙๐หน่วยงาน เป็นรายงานแบบไม่มีเงื่อนไข ๗,๕๒๕
รายงาน แบบมีเงื่อนไข ๑,๑๔๔ รายงาน รายงานการเงินไม่ถูกต้อง
จำนวน ๔๗ รายงาน และไม่แสดงความเห็น ๑๔๙ รายงาน การตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย
จำนวน ๗,๖๖๓ รายงาน/สัญญา/ประกาศ รวม ๔,๐๓๖ หน่วยงาน พบข้อบกพร่อง ๔,๗๕๙ รายงาน/สัญญา/ประกาศ
รวม ๓,๒๕๗ หน่วยงาน
การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงาน จำนวน ๖๑ เรื่อง/โครงการ รวม ๘๙
หน่วยงาน (๒) การดำเนินการด้านความผิดวินัยการเงินการคลังของรัฐ ซึ่งมีผู้ถูกลงโทษจะต้องชำระเงินค่าปรับทางปกครองและนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน
จำนวน ๗๕ ราย เป็นเงินรวมทั้งสิ้น ๑๔.๐๒ ล้านบาท ได้ชำระค่าปรับแล้ว จำนวน ๒๙ ราย
เป็นเงิน ๔.๐๔ ล้านบาท (๓) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐและการใช้จ่ายเงินแผ่นดินแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ
โดยจัดอบรมสัมมนาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและการตระหนักถึงการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐตามหลักการบริหารการเงินการคลังภาครัฐอย่างถูกต้อง
(๔) การเสริมสร้างให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลรักษาเงินแผ่นดินและทรัพย์สินของรัฐ
ให้แก่นิสิต นักศึกษามหาวิทยาลัยต่าง ๆ ๑๕ แห่ง จำนวน ๕,๑๒๑
คน (๕) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจเงินแผ่น (๖) การประสานงานและความร่วมมือระหว่างประเทศ
ได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการในเวทีนานาชาติ จำนวน ๙ ผลงาน สร้างความยอมรับให้เกิดขึ้นกับองค์กรตรวจเงินแผ่นดินไทยในเวทีสากล
(๗) ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity
and Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๓ ซึ่งได้คะแนนจากการประเมินรวม ๙๒.๑๒ คะแนน อยู่ในระดับ A สูงกว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งได้คะแนนรวม ๘๙.๙๖ คะแนน ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | รายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ ประจำเดือนมกราคม - มีนาคม 2564 | กปส. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติเสนอ ๑. รับทราบรายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง
โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์
ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม ๒๕๖๔ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ๑.๑
มาตรการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อในช่องทางต่าง
ๆ (สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่อออนไลน์) ซึ่งสื่อออนไลน์มีการเผยแพร่ทั้งหมด
๓๐๓,๕๓๐ ครั้ง มีจำนวนการเข้าถึง ๗๙,๔๑๕,๐๖๑ ครั้ง จำนวนการกดไลค์ ๓๗,๘๗๓,๐๒๓ ครั้ง จำนวนการแชร์ ๕๓๔,๔๖๐ ครั้ง และจำนวนการแสดงความคิดเห็น ๘๑,๕๕๑ ครั้ง
โดยเป็นความคิดเห็นเชิงบวก ร้อยละ ๙๘.๐๑ เช่น มีความเชื่อระบบสาธารณสุขในการใช้วัคซีนโควิด-๑๙
ของรัฐบาลที่เป็นไปอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ Admin Page ได้ชี้แจงว่า
รัฐบาลมีแผนการบริหารจัดการวัคซีนภายใต้นโยบาย “ให้ทุกคนในประเทศไทยได้เข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพปลอดภัย
มีคุณภาพในการป้องกันโควิด-๑๙” และอนุมัติงบประมาณเพื่อจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมทำให้ในปีนี้ประเทศไทยจะมีวัคซีนทั้งหมดจำนวน
๖๓ ล้านโดส ครอบคลุมร้อยละ ๖๐ ของประชากรในประเทศไทย (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม) ๑.๒
การเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
น้ำพระหฤทัยทางการแพทย์ที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙
ประชาสัมพันธ์เชิงรุกและชี้แจ้งทำความเข้าใจผ่านสื่อในช่องทางต่าง ๆ (สื่อโทรทัศน์
สื่อวิทยุ และสื่อออนไลน์) ซึ่งสื่อออนไลน์มีการเผยแพร่ทั้งหมด ๑๔,๗๑๘ ครั้ง มีจำนวนการเข้าถึง ๕,๖๓๕,๑๓๗ ครั้ง จำนวนการกดไลค์ ๑,๘๘๑,๗๓๗ ครั้ง จำนวนการแชร์ ๓๓,๑๐๐ ครั้ง และจำนวนการแสดงความคิดเห็น ๕,๖๕๑ ครั้ง
เป็นความคิดเห็นเชิงบวก ร้อยละ ๙๓.๐๓ และความคิดเห็นเชิงลบ ร้อยละ ๖.๙๗ ทั้งนี้ Admin
Page และหน่วยสื่อกรมประชาสัมพันธ์ได้ใช้วิธีการผลิตและเผยแพร่สื่อทุกรูปแบบเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง
ตอบโต้ข้อมูลที่บิดเบือน สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ๒. มอบหมายให้โฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวและชี้แจงในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของกระทรวงอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์
ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์และแอปพลิเคชันของทุกกระทรวง
เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและป้องกันการสื่อสารที่อาจสร้างความสับสนต่อการดำเนินงานของรัฐบาลให้แก่ประชาชน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม) | กค. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม)
มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
พ.ศ. ๒๕๖๒
โดยยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม
และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม
ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๑ธันวาคม ๒๕๖๖ ทั้งนี้
เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) ที่เห็นสมควรสร้างการรับรู้และความเข้าใจและประโยชน์ที่จะได้รับเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าวให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก
รวมทั้งการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้องครบถ้วน
เพื่อใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศ
และจัดให้มีระบบการติดตาม ประเมินผลสัมฤทธิ์
และรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ
ตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป และควรพิจารณาเปรียบเทียบการสูญเสียรายได้และผลประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินมาตรการทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๒๑) พ.ศ. ๒๕๕๙
เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการออกประกาศ/กฎระเบียบภายใต้ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(การปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม)
เพื่อให้การกำหนดมาตรการทางภาษีสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ได้อย่างแท้จริง และภาครัฐควรให้การสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมในด้านอื่น
ๆ ควบคู่กับการดำเนินมาตรการทางภาษี
เช่น การสนับสนุนสินเชื่อ การสนับสนุนการวิจัย
และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ
รวมถึงการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการของวิสาหกิจเพื่อสังคม
เพื่อส่งเสริมให้วิสาหกิจเพื่อสังคมสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และมีความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจในระบบตลาดปกติได้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของ
สศช. ที่เห็นควรพิจารณาเปรียบเทียบการสูญเสียรายได้และผลประโยชน์ที่เกิดจากการดำเนินมาตรการทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๒๑) พ.ศ. ๒๕๕๙
เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการออกประกาศ/กฎระเบียบภายใต้ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
(การปรับปรุงมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม)
เพื่อให้การกำหนดมาตรการทางภาษีสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ได้อย่างแท้จริง
และภาครัฐควรให้การสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมในด้านอื่น ๆ ควบคู่กับการดำเนินมาตรการทางภาษี เช่น
การสนับสนุนสินเชื่อ การสนับสนุนการวิจัย และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ
รวมถึงการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการของวิสาหกิจเพื่อสังคม
เพื่อส่งเสริมให้วิสาหกิจเพื่อสังคมสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน และมีความสามารถในการแข่งขันกับธุรกิจในระบบตลาดปกติได้
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ ๔. ให้กระทรวงการคลังพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสมในการกำหนดมาตรการภาษี
เพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจดังกล่าวต่อไปด้วย
|