ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 1 จากข้อมูลทั้งหมด 1 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ | ปปท. | 09/03/2564 | |||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ
(ศอตช.) ตามที่สำนักานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน
ป.ป.ท.) เสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑.
คณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน ๖ คณะ
เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ศอตช. ซึ่งมีผลการดำเนินงาน เช่น (๑) จัดทำแนวทาง มาตรการ
เสริมสร้าง และประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ
ในการป้องกันแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ และ (๒) บูรณาการการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและไม่เป็นธรรมให้ประชาชนโดยเร็ว
เป็นต้น ๒. ศอตช. ได้จัดทำระบบรับเรื่องร้องเรียน
ศอตช. ทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่เกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบเป็นการเฉพาะ โดยตั้งแต่วันที่
๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๔ รับเรื่องร้องเรียน จำนวน ๒๙๗ เรื่อง
ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน ๑๑๐ เรื่อง และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน ๑๘๗ เรื่อง ๓. การดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
รวมจำนวน ๘ คำสั่ง (ที่ให้เจ้าหน้าที่หยุดปฏิบัติหน้าที่เนื่องจากอยู่ระหว่างถูกตรวจสอบการกระทำความผิดที่เกี่ยวเนื่องกับการปฏิบัติหน้าที่)
จำนวน ๔๐๐ ราย ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน ๓๐๐ ราย และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน
๑๐๐ ราย ๔. การดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ เรื่อง กลไกเฝ้าระวังการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา
เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ พ.ศ. ๒๕๖๓ ประกอบด้วย
การเฝ้าระวังและแจ้งเบาะแสการป้องกันและลดโอกาสการทุจริต การตรวจสอบ และการดำเนินมาตรการทางปกครอง
วินัย อาญา ๕.
การติดตามผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ (เดิม)
ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ ๒๒๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ จำนวน ๓ คณะ ประกอบด้วย (๑)
คณะรัฐมนตรีและภาคเอกชนร่วมกันกำหนดบัญชีดำ (Black List) ห้ามทำธุรกรรมกับภาครัฐ
สำหรับบริษัท ห้างร้าน นิติบุคคล
ที่มีสินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและสนับสนุนการทุจริตในภาครัฐ (๒) คณะกำหนดความผิดของนิติบุคคลเกี่ยวข้องกับคดีทุจริต
ประพฤติมิชอบและผู้ร่วมกระทำความผิด และ (๓) คณะกำหนดกลไกประสานขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การปราบปรามการทุจริต ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการในท้ายบันทึกของสำนักงาน
ป.ป.ท. ว่า “ทราบ/ให้มีผลการปฏิบัติเป็นรูปธรรม/บัญชี Black List ทำให้ชัดเจน ประชาสัมพันธ์เป็นผลงานให้สังคมทราบ”
|