ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 6 จากข้อมูลทั้งหมด 6 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ขอปรับค่าอาหารกลางวันของนักเรียน | ศธ. | 09/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการของการปรับค่าอาหารกลางวันของนักเรียน
เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่าย
และค่าวัตถุดิบในการประกอบอาหารที่มีราคาสูงขึ้น
โดยให้ปรับอัตราค่าอาหารกลางวันของนักเรียนทุกคน
ตั้งแต่เด็กเล็ก-ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จากอัตรา ๒๐ บาท/คน/วัน เป็นอัตรา ๒๑
บาท/คน/วัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้รับจัดสรรงบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวัน
ปรับมาใช้ในอัตราดังกล่าวด้วยเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
โดยแต่ละหน่วยงานสามารถบริหารจัดการได้ตามความเหมาะสม
สอดคล้องกับขนาดโรงเรียนและจำนวนนักเรียนในขั้นตอนการบริหารงบประมาณ
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เช่น
การกำหนดแนวทางให้ชัดเจนในทุกขั้นตอนสำหรับการบริหารโครงการอาหารกลางวันให้มีคุณภาพ
การให้ความสำคัญกับการควบคุม กำกับ ดูแลโครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
การพิจารณาการใช้จ่ายให้ครอบคลุมจากทุกแหล่งเงิน การกำหนดมาตรการและกลไกในการบริหารจัดการให้มีความชัดเจนและทันการณ์
โปร่งใส และตรวจสอบได้ การพิจารณาแนวทางการจัดสรรอาหารกลางวันตามสถานการณ์ที่เหมาะสม
การทำงานร่วมกันเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักเรียนด้อยโอกาสที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแนวทางและมาตรการในการดำเนินการเพื่อส่งเสริม สนับสนุน
หรือขอความร่วมมือจากภาคเอกชนและผู้ปกครองของนักเรียนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดหาอาหารกลางวันแก่นักเรียน
เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารกลางวันที่เหมาะสม เพียงพอ
และถูกหลักโภชนาการมากยิ่งขึ้น |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพที่มีความซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น | พม. | 09/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
รับทราบมติคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์
๒๕๖๔
เกี่ยวกับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพที่มีความซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น
ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ โดยมีมติ ดังนี้ ๑.๑
ชะลอการดำเนินการเรียกเงินเบี้ยยังชีพคืนจากผู้สูงอายุที่มีความซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่น ๑.๒
แนวทางช่วยเหลือเยียวยาผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่นและเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการโดยสุจริต
ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
กำหนดเกณฑ์กลางในการพิจารณาว่าผู้ใดสุจริต ให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ๒.
คณะรัฐมนตรีมีข้อสังเกตว่า
แนวทางการช่วยเหลือเยียวยาผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุซ้ำซ้อนกับสวัสดิการอื่นและเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการโดยสุจริตที่ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกรุงเทพมหานคร
และเมืองพัทยา กำหนดเกณฑ์กลางในการพิจารณาว่าผู้ใดสุจริตให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นั้น อาจเกิดปัญหาในทางปฏิบัติและการตีความข้อกฎหมายได้
สมควรที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติจะพิจารณาแนวทางปฏิบัติในประเด็นดังกล่าวให้ชัดเจน ๓. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขออนุมัติดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564 | พณ. | 09/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี ๒๕๖๔ วงเงินงบประมาณ
๔,๖๐๐,๘๕๐,๐๐๐ บาท สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระงบประมาณ
ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป
ส่วนค่าบริหารจัดการของ ธ.ก.ส. ให้คงอัตรา ๕ บาทต่อรายเกษตรกร
และค่าใช้จ่ายบริหารจัดการโครงการประกันรายได้ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔
เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ หรือโอนงบประมาณรายจ่าย หรือโอนเงินจัดสรร
หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรแล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้
ให้กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ
เช่น ควรตรวจสอบเกษตรกรผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการฯ
และกลไกการชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาเป้าหมายกับราคาตลาดอ้างอิงอย่างเหมาะสม
ควรพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันในระยะยาว
และควรกำหนดทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจนในระดับนโยบายเกษตรเพื่อจัดทำแผนการประกันรายได้ของแต่ละพืชเศรษฐกิจ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
และให้รายงานผลการดำเนินการตามความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานดังกล่าวเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินการตามโครงการ
ฯ ในคราวต่อไปด้วย ๒.
ให้คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติกำกับติดตามการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์การปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ
ปี ๒๕๖๑-๒๕๘๐ อย่างเคร่งครัดด้วย ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารแสดงสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดินและตามกฎหมายอื่นให้เหมาะสมและชัดเจน
เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 2/2563 | กษ. | 09/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
ครั้งที่ ๒/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยมีผลการพิจารณาเกี่ยวกับ (๑) การใช้มาตรการปกป้องพิเศษ
(Special Safeguard Measure : SSG)
ภายใต้ความตกลงองค์การการค้าโลก (World Trade Organization :
WTO) และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade
Area : AFTA) สำหรับสินค้ามะพร้าว ปี ๒๕๖๓ (๒)
การบริหารนำเข้าน้ำมันถั่วเหลืองและแฟรกชันของน้ำมันถั่วเหลือง
มะพร้าวและมะพร้าวฝอย เนื้อมะพร้าวแห้ง
และน้ำมันมะพร้าวและแฟรกชันของน้ำมันมะพร้าว ปี ๒๕๖๔ และ (๓)
การบริหารการนำเข้ามะพร้าวผลตามกรอบความตกลง AFTA ปี ๒๕๖๔
ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)
ประธานกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงพาณิชย์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เช่น
ควรประชาสัมพันธ์ถึงแนวปฏิบัติของการบริหารจัดการการนำเข้าสินค้าพืชน้ำมันและน้ำมันพืชดังกล่าวให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องรับทราบอย่างทั่วถึง
เพื่อให้การนำเข้าสินค้าพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่อไป
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การขอขยายเวลามาตรการสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ | กค. | 09/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบการขยายระยะเวลามาตรการสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการขยายระยะเวลามาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
ประกอบด้วย มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียม มาตรการด้านการเงิน
และมาตรการด้านประกันภัย ซึ่งได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๓
โดยขยายระยะเวลามาตรการดังกล่าวออกไปอีก ๓ ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๔
ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ เพื่อจูงใจผู้ประกอบกิจการในพื้นที่
และกระตุ้นให้มีการลงทุนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้เกิดการผลิต
การให้บริการ และการจ้างงาน
อันจะเป็นการสร้างรายได้และอาชีพที่มั่นคงให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ดังกล่าว
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้กระทรวงการคลังเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมาตรการภาษีต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป ๒.
อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
กรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
กรณีการโอนและการจำนองห้องชุดตามมาตรการสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ ๓.
ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นของมาตรการพักชำระหนี้ลูกค้าใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้
ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นของมาตรการด้านประกันภัยสำหรับโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยก่อการร้ายในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
และโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
ในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๖
ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๔.
ให้กระทรวงการคลังรวมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยส่งเสริมนักธุรกิจและแรงงานในพื้นที่ให้มีศักยภาพในการประกอบกิจการ
โดยเน้นกิจการลงทุนจากภายในและภายนอกพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
ทั้งนี้ โดยสอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ
เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG
Model) : โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๖๔ เรื่อง
การกำหนดให้การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG
Model) : โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ ๕.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงบประมาณ เช่น
ควรเร่งดำเนินการเพื่อให้ผู้ประกอบการและประชาชนสามารถใช้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าวได้โดยเร็ว
และควรให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการที่ภาครัฐให้การสนับสนุน
และติดตามผลของแต่ละมาตรการเป็นระยะ
รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่เสนอความเห็นเกี่ยวกับความต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ
เพื่อนำความเห็นมาใช้ในการปรับปรุงมาตรการให้สดคล้องกับความต้องการและปัญหาในพื้นที่มากยิ่งขึ้น
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเร่งด่วนว่าด้วยการบริหารการจัดการศึกษาในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เหมาะสมกับสังคมไทย ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา | สว. | 09/02/2564 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเร่งด่วนว่าด้วยการบริหารการจัดการศึกษาในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙ (COVID-19) ที่เหมาะสมกับสังคมไทย
ของคณะกรรมาธิการการศึกษา วุฒิสภา ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ
แล้ว โดยได้ดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับสังคมไทย
โดยกระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปยังศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และสถานศึกษา โดยเปิดโอกาสให้ร่วมกันตัดสินใจ ร่วมกันวางแผน
เลือกรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับบริบทบนพื้นฐานของความปลอดภัยของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนภายใต้
“ความปกติใหม่” (New Normal) จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจ (COVID-19) ทุกสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และมาตรการระยะยาวได้กำหนดมาตรการการเปิด-ปิดโรงเรียนให้สอดคล้องและยืดหยุ่นตามความรุนแรงของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
๒๐๑๙
จัดเตรียมอุปกรณ์ให้แก่นักเรียนที่มีความเสี่ยงที่จะเสียโอกาสจากการเรียนทางไกลในกรณีที่โรงเรียนต้องปิดเพราะพื้นที่มีการระบาดรุนแรง
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|