ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 5 จากข้อมูลทั้งหมด 5 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 9 และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 | กค. | 01/12/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. เห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(Small and Medium Enterprises : SMEs) ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ ๙ (โครงการ PGS ระยะที่ ๙)
และมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ
Micro Entrepreneurs ระยะที่ ๔ (โครงการ Micro
Entrepreneurs ระยะที่ ๔) พร้อมทั้งอนุมัติงบประมาณวงเงินรวมไม่เกิน
๒๔,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับการดำเนินโครงการ PGS ระยะที่ ๙
และอนุมัติงบประมาณวงเงินรวมไม่เกิน ๕,๗๕๐ ล้านบาท สำหรับการดำเนินโครงการ Micro
Entrepreneurs ระยะที่ ๔ (รวม ๒ โครงการ
ขออนุมัติงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น ๒๙,๗๕๐ ล้านบาท) จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลัง
(บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) รับความเห็นของสำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น
การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบเพื่อควบคุมสัดส่วนของภาระค้ำประกันที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(Non-Performing Guarantee : NPG) โดยพิจารณาสัดส่วนการชดเชยภาระค้ำประกันและอัตราค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อที่เหมาะสม
และจัดทำประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการที่รัฐจะต้องรับภาระทั้งหมดอย่างถูกต้องครบถ้วนและเป็นรูปธรรม
และการรายงานผลการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวบรรลุผลสัมฤทธิ์และมีความคุ้มค่าอย่างแท้จริง
รวมทั้งการสร้างความรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนเร่งรัดดำเนินมาตรการให้ทันต่อสถานการณ์อย่างรอบคอบ เป็นต้น
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สำหรับภาระงบประมาณของโครงการฯ ให้กระทรวงการคลัง
(บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม) ดำเนินตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ให้กระทรวงการคลัง (บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม)
หารือร่วมกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ
เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันไม่ให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Guarantee : NPG)
เพิ่มขึ้นในระบบ และหากมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินโครงการในระยะต่อไปอีก ให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมประเมินผลการดำเนินโครงการ
(ผลการค้ำประกันสินเชื่อ) ในช่วงที่ผ่านมา
รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ร่างความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. .... | กค. | 01/12/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
เห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑
เห็นชอบความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี [Chiang
Mai Initiative Multilateralisation (CMIM) Agreement] ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
พ.ศ. .... รวมถึงหนังสือแนบท้ายที่ต้องมีการลงนามเพิ่มเติมเมื่อมีการขอรับการช่วยเหลือรวม
๔ ฉบับ ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมความตกลง CMIM ฉบับปัจจุบันที่บังคับใช้ตั้งแต่วันที่
๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓ เพื่อให้กลไก CMIM มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยมีประเด็นสำคัญที่ทำการแก้ไข คือ (๑)
การเพิ่มสัดส่วนการให้ความช่วยเหลือกรณีที่ไม่เชื่อมโยงกับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
จากร้อยละ ๓๐ เป็นร้อยละ ๔๐ ของวงเงินขอรับความช่วยเหลือสูงสุด (๒)
การยินยอมให้สามารถเลือกสมทบหรือขอรับความช่วยเหลือภายใต้กลไก CMIM เป็นเงินสกุลท้องถิ่นตามหลักความสมัครใจ และ (๓)
การเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงเนื่องจากจะยกเลิกการใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงกรุงลอนดอน
(London Interbank Offered Rate : LIBOR) ในสิ้นปี ๒๕๖๔
และการแก้ไขประเด็นเชิงเทคนิคของกลไก CMIM อื่น ๆ เช่น
การปรับระยะเวลาการเบิกถอนเงินให้มีความยืดหยุ่นขึ้น เป็นต้น ๑.๒ อนุมัติการลงนามในความตกลง CMIM
ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม และมอบหมายให้ ๑.๒.๑
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทน และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน
ลงนามในความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ๑.๒.๒
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทน ลงนามในหนังสือยืนยันการสมทบเงิน (Schedule
3-Commitment Letter) ในวงเงิน ๙.๑๐๔ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ๑.๒.๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทน
ลงนามในหนังสือรับทราบการขอรับความช่วยเหลือ (Schedule 5-Letter of
Acknowledgement) และหนังสือยืนยันการปฏิบัติตามเงื่อนไขของความตกลง
(Schedule 6-Letter of Undertaking) เมื่อประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือภายใต้ความตกลง
CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ๑.๒.๔
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาหรือผู้แทน ลงนามในหนังสือให้ความเห็นทางกฎหมาย (Schedule
7-Legal Opinion) เมื่อประเทศไทยขอรับความช่วยเหลือภายใต้ความตกลง CMIM
ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศที่เห็นว่าความตกลง CMIM
ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
รวมทั้งหนังสือแนบท้ายอาจเข้าข่ายเป็นสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายที่สำนักงานอัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ให้คำปรึกษาและตรวจร่าง
ตามมาตรา ๒๓ (๒) ของพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. ๒๕๕๓
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๓.
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนความตกลง CMIM ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ (เรื่อง
การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขอเพิ่มวงเงินงบประมาณโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 | พณ. | 01/12/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี ๒๕๖๓/๖๔
รอบที่ ๑ จำนวน ๑๘,๐๙๖.๐๖ ล้านบาท เป็น ๔๖,๘๐๗.๓๕ ล้านบาท และให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรทำความตกลงกับสำนักงบประมาณและขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๕ และปีถัด ๆ ไป ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
และให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงการคลัง
(ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดและกำกับดูแลการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรให้รวดเร็ว
ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้
ให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรมีการกำกับ ติดตาม
และตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณตามโครงการประกันรายได้ฯ ให้มีความถูกต้อง
โปร่งใส เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายเงินงบประมาณเป็นประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างแท้จริง
ควรมีการติดตามการซื้อขายข้าวเปลือกให้เป็นไปตามคุณภาพข้าว
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและไม่ส่งผลต่อราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง
และควรเร่งรัดการดำเนินงานตามมาตรการคู่ขนานต่าง ๆ
ให้มีผลต่อการยกระดับราคาข้าวเปลือกให้เพิ่มสูงขึ้น
เพื่อนำไปสู่การลดภาระงบประมาณในการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างตามโครงการประกันรายได้ฯ
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงพาณิชย์
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางและบูรณาการการดำเนินงานวิจัยเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพข้าวหรือพัฒนาข้าวพันธุ์ใหม่ให้มีความเป็นเอกภาพ
รวมทั้งกำหนดแนวทางการบริหารจัดการข้าวทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล
โดยคำนึงถึงต้นทุนและงบประมาณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
แล้วให้รายงานผลการดำเนินงานดังกล่าวต่อคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติโดยเร็วต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | ยธ. | 01/12/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา
พ.ศ. ๒๕๔๖ เกี่ยวกับมาตรการทั่วไปและมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน
หน้าที่และอำนาจของสำนักงานคุ้มครองพยาน
และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการคุ้มครองความปลอดภัยของพยาน
และหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยาน เพื่อให้พยานเกิดความเชื่อมั่น
ได้รับความคุ้มครองและได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ๒.
รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบ ลักษณะ ราคา และรายละเอียดของบัตรภาษี พ.ศ. .... | กค. | 01/12/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบ ลักษณะ ราคา และรายละเอียดของบัตรภาษี พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงวิธีการจ่ายเงินชดเชยจากรูปแบบกระดาษเป็นรูปแบบบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับชำระค่าภาษีอากร
โดยกำหนดให้บัตรภาษีมีแบบ ลักษณะ ราคา และรายละเอียดเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรฐานที่กำหนดในระบบบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์
(Digital Tax Compensation : DTC) ของกรมศุลกากร ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒.
ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัย
เนื่องจากบัตรภาษีหรือบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่าที่คำนวณได้เป็นจำนวนและสามารถนำไปใช้จ่ายเป็นค่าภาษี
รวมทั้งสามารถโอนไปยังบุคคลอื่นได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย
บัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญที่จำเป็นต้องดูแลให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
และการกำหนดมาตรฐานตามข้อ ๓ ของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
จึงจำเป็นต้องครอบคลุมประเด็นความเสี่ยงสำคัญของบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์
โดยมีมาตรฐานการจัดการบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมาตรการป้องกันการปลอมแปลง
การเรียกหรือชำระเงิน
และการนำบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการใช้งานแล้วกลับมาใช้ซ้ำอีก
รวมทั้งมาตรการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์และระบบบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์
(Digital Tax Compensation) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานบัตรภาษีอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|