ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 17 จากข้อมูลทั้งหมด 17 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 | ทส. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๔ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
สรุปได้ ดังนี้ ๑.
รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จำนวน ๔ โครงการ ได้แก่ ๑)
โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ช่วงแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถึงแยกรัชโยธิน ๒) โครงการถนนเลี่ยงเมืองสตูลฝั่งตะวันออก
ต.คลองขุด ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล ๓) โครงการศึกษาออกแบบระบบขนส่งมวลชนระบบราง อ.หาดใหญ่
จ.สงขลา และ ๔) โครงการทางหลวงหมายเลข ๒๐๓ (หล่มสัก-หล่มเก่า-เลย) ๒.
การปรับปรุงมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากท่าเทียบเรือประมงบางประเภท ได้แก่
ท่าเทียบเรือประมงพาณิชย์ ท่าเทียบเรือประมงสำหรับการนำเข้าสัตว์น้ำ
ท่าเทียบเรือประมงของโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำและท่าเทียบเรือประมงที่มีการขนถ่ายสัตว์น้ำ
สำหรับการผลิตอาหารสัตว์ ตามความเห็นของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ในการประชุมครั้งที่
๔/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | ขอแจ้งเปลี่ยนแปลงโฆษกสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ | นร.11 | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนแปลงโฆษกกระทรวงสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(สศช.) เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงการดำรงตำแหน่งระดับสูงภายใน สศช. [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี
(๕ มกราคม ๒๕๕๙) ที่กำหนดให้ทุกส่วนราชการแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวง/หน่วยงานอย่างเป็นทางการ]
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรุปได้ ดังนี้ ๑. นายวันฉัตร สุวรรณกิตติ โฆษก สศช. ๒. นางนภัสชล
ทองสมจิตร รองโฆษก สศช.
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | ขออนุมัติงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายการแก้ไขและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำและทัณฑสถาน จากงบกลางรายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 | ยธ. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑. อนุมัติงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายการแก้ไขปัญหาและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ในเรือนจำและทัณฑสถาน จากงบกลาง
รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหา
และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ภายในกรอบวงเงิน ๓๑๑,๖๕๐,๓๐๐ บาท
และให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 ในเรือนจำและทัณฑสถานมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก
และมีความจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคอย่างเร่งด่วน
สำหรับข้อเสนอแนะในเรื่องการขอสนับสนุนยาฟาวิพิราเวียร์
ขอให้กระทรวงยุติธรรมประสานการขอสนับสนุนพร้อมรายละเอียดส่งให้กระทรวงสาธารณสุข
เพื่อจะได้พิจารณาการสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงยุติธรรมได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | (ร่าง) แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของราชอาณาจักรไทยกับกรมสิ่งแวดล้อมของสมาพันธรัฐสวิส ในความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ | ทส. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง)
แถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของราชอาณาจักรไทยกับกรมสิ่งแวดล้อมของสมาพันธรัฐสวิสในความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และอนุมัติให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนลงนาม
โดย (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมฯ
มีสาระสำคัญเป็นการระบุถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองหน่วยงานในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านความร่วมมือภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความตกลงปารีส
และการแสดงความตั้งใจที่จะมีการดำเนินงานร่วมกัน และร่วมกับประเทศอื่น ๆ
ในการมุ่งบรรลุเป้าหมายของความตกลงปารีส
รวมทั้งนำเสนอการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของราชอาณาจักรไทยและสมาพันธรัฐสวิส
ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน
๒๕๕๘ (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
ทั้งนี้
ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า
ในการดำเนินการในระยะต่อไป ควรมีการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างความเข้าใจและแนวทางการในดำเนินการร่วมกันภายใต้ (ร่าง) แถลงการณ์ร่วมฯ
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การรับรองร่างปฏิญญากรุงโซลในการประชุมระดับผู้นำกรอบหุ้นส่วนเพื่อการเจริญเติบโตสีเขียวและเป้าหมายโลกปี ค.ศ. 2030 (Partnering for Green Growth and Global Goals 2030: P4G) ครั้งที่ 2 | กต. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างปฏิญญากรุงโซล (Seoul Declaration) ในการประชุมระดับผู้นำกรอบหุ้นส่วนเพื่อการเจริญเติบโตสีเขียวและเป้าหมายโลกปี
ค.ศ. ๒๐๓๐ (Partnering for Green Growth and Global Goals 2030: P4G) ครั้งที่ ๒
และให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาฯ ในการประชุม
P4G ครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
ผ่านระบบวีดิทัศน์แบบถ่ายทอดสด โดยร่างปฏิญญาฯ
มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อย้ำความมุ่งมั่นของประชาคมระหว่างประเทศในการส่งเสริมเป้าหมายการฟื้นฟูสีเขียวอย่างครอบคลุมเพื่อมุ่งสู่สังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน
ซึ่งครอบคลุมการดำเนินการของประชาคมระหว่างประเทศในภาพรวม ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
และให้กระทรวงการต่างประเทศรับความเห็นของกระทรวงพลังงานที่เห็นว่า
หากประเทศไทยต้องผูกมัดให้มีการดำเนินมาตรการตามปฏิญญาฯ อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่ในประเทศไทย
ซึ่งยังมีความจำเป็นในการพึ่งพาเชื้อเพลิงถ่านหิน เพื่อใช้เป็นโรงไฟฟ้าฐานสำหรับสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
รวมถึงส่งผลต่อสัดส่วนที่เหมาะสมของการกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
และราคาค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้
หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนในที่ดินของรัฐให้แก่กระทรวงการคลัง ตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 พ.ศ. .... | กค. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง กำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนในที่ดินของรัฐให้แก่กระทรวงการคลัง ตามมาตรา ๑๗
แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๖๒ พ.ศ.
.... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายค่าตอบแทนในที่ดินของรัฐให้แก่กระทรวงการคลัง
กรณีที่ดินจะเวนคืนนั้นมีแนวเขตผ่านที่ดินของรัฐ ๔ ประเภท ได้แก่ (๑)
ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองที่ใช้ร่วมกัน (๒) ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
หรือที่ดินที่ได้สงวนหวงห้ามไว้ตามความต้องการของทางราชการ (๓)
ที่ดินรกร้างว่างเปล่า
หรือที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนอยู่นอกเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี และ (๔)
ที่ดินที่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา
โดยให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่เห็นควรคำนึงถึงภาระงบประมาณและความซ้ำซ้อน
เงื่อนไขและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเป็นสำคัญ ประโยชน์ที่รัฐหรือประชาชนจะได้รับ
ความคุ้มค่า ต้นทุน
รวมถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นควรพิจารณาถึงความรอบคอบ ไปประกอบการพิจารณาด้วย
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรคำนึงถึงภาระงบประมาณและความซ้ำซ้อน
เงื่อนไขและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนเป็นสำคัญ ประโยชน์ที่รัฐหรือประชาชนจะได้รับ
ความคุ้มค่า ต้นทุน
รวมถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบในทุกมิติ ทั้งนี้
การกำหนดค่าตอบแทนดังกล่าว จะต้องเป็นไปเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม
และไม่ซ้ำซ้อนกับการชดเชยค่าเสียหายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ของรัฐที่ถูกเวนคืนด้วย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2021 | ปช. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบร่างปฏิญญาทางการเมืองในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต
ค.ศ. ๒๐๒๑ และให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยประธานกรรมการ ป.ป.ช.
ในฐานะหน่วยงานกลางของประเทศไทยในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต
(United Nations Convention Against Corruption : UNCAC ๒๐๐๓) ร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ ระหว่างวันที่
๒-๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
โดยประสานกับกระทรวงการต่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารแสดงเจตจำนงร่วมกันของรัฐภาคีที่จะดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตต่อไปในอนาคต
มีสาระสำคัญครอบคลุม ๗ ประเด็นหลัก ได้แก่ (๑) มาตรการป้องกันการทุจริต (๒) การกำหนดฐานความผิดและการบังคับใช้กฎหมาย
(๓) ความร่วมมือระหว่างประเทศ (๔) การติดตามทรัพย์สินคืน (๕) การให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและการแลกเปลี่ยนข้อมูล
(๖) การต่อต้านการทุจริตในฐานะทางลัดไปสู่วาระ ๒๐๓๐ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ
(๗) การมุ่งพัฒนากรอบการต่อต้านการทุจริต ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. เสนอ
และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ๒.
ให้สำนักงาน ป.ป.ช. ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔
พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | หลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย เบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทนอื่น ของคณะอนุกรรมการชุดหลักในคณะกรรมการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 | อว. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติหลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทน
ค่าใช้จ่าย เบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะอนุกรรมการชุดหลักในคณะกรรมการการอุดมศึกษา
และคณะอนุกรรมการชุดหลักในคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ. และข้อสังเกตของกระทรวงการคลังและกระทรวงศึกษาธิการ
เกี่ยวกับการกำหนดประโยชน์ทดแทนอื่นของคณะกรรมการที่ไม่ได้เป็นข้าราชการ ควรคำนึงถึงความคุ้มค่า
และประหยัด ตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๓ การกำหนดตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานของคณะกรรมการให้ชัดเจน
การกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ไม่ทับซ้อน และสามารถเชื่อมโยงการทำงานด้วยกันได้
และการกำหนดเบี้ยประชุมของเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะอนุกรรมการ
ควรพิจารณาอย่างรอบคอบทั้งในส่วนของอำนาจหน้าที่ จำนวนคณะอนุกรรมการ
องค์ประกอบและจำนวนอนุกรรมการในแต่ละคณะ ทั้งนี้
เพื่อให้สอดคล้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญดังกล่าวและไม่เป็นภาระงบประมาณในระยะต่อไป
รวมทั้งข้อเสนอแนะของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการ
รวมทั้งดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๓
(เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย เบี้ยประชุม และประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการการอุดมศึกษา
คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา และคณะอนุกรรมการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ๒๕๖๒) ให้ครบถ้วนด้วย ๒. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดหลักโดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมอย่างเคร่งครัด
โดยหากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (คณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา)
มีภารกิจเพิ่มเติมมากขึ้นในอนาคต
ให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา
พิจารณามอบหมายให้คณะอนุกรรมการฯ ที่มีอยู่เดิม
ปฏิบัติงานเพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มดังกล่าว โดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นใหม่
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ | ยธ. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. อนุมัติในหลักการจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ
โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดการระบบบริการและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำ ไปพลางก่อน
สำหรับงบประมาณในการดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรให้กระทรวงยุติธรรม โดยกรมราชทัณฑ์
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดตรวจสอบจำนวนผู้ต้องขังที่มีปัญหาสถานะบุคคลและต่างด้าวในเรือนจำให้ถูกต้องครบถ้วนตามจำนวนที่มีอยู่จริงเพื่อการจัดระบบบริการและระบบประกันสุขภาพให้เหมาะสม
รวมทั้งเพื่อให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้อง
สามารถเสนอขอรับงบประมาณได้อย่างถูกต้องตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ๒ ให้กระทรวงยุติธรรม (กรมราชทัณฑ์)
เป็นหน่วยงานหลักในการจัดประชุมหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางในการจัดการระบบและระบบประกันสุขภาพสำหรับผู้ต้องขังที่มีปัญหาสาถนะบุคคลและต่างด้าวในระยะยาวให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
เช่นหน่วยงานหลักในการดูแลระบบบริการและระบบประกันสุขภาพ
อัตราค่ารักษาพยาบาลที่เหมาะสมและเป็นธรรม เป็นต้น โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงบประมาณ
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รวมทั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาดำเนินการ
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ๓ ให้กระทรวงยุติธรรม (กรมราชทัณฑ์) ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางในการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้กระทำความผิดให้ถูกต้อง
ชัดเจน ตั้งแต่กระบวนการจับกุมและตรวจสอบประวัติ
รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาในกรณีที่ไม่สามารถยืนยันตัวตนของผู้กระทำความผิดได้ด้วย ๔. ให้กระทรวงยุติธรรม (กรมราชทัณฑ์)
เร่งจัดทำแนวทางการบริหารจัดการเพื่อรองรับสถานการณ์กรณีที่มีโรคติดต่ออุบัติใหม่เกิดขึ้นในเรือนจำ
เช่น โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ให้มีความรัดกุม รอบคอบ และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การป้องกันและรักษาโรคติดต่ออุบัติใหม่ ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดอย่างเคร่งครัด
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการควบคุมกรณีเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ในเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | การประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานของรัฐบาล | นร. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีเห็นว่า โดยที่ปัจจุบันรัฐบาลได้ขับเคลื่อนประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่หลากหลายและสอดคล้องกับประชาชนทุกกลุ่ม
เช่น
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมในภาครัฐเพื่อยกระดับสู่รัฐบาลดิจิทัล
การวางรากฐานเพื่อพัฒนามาตรฐานการศึกษาให้เด็กและเยาวชนเป็นประชากรแห่งศตวรรษที่ ๒๑
การวางรากฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก และการปฏิรูปกฎหมายให้มีความทันสมัย
โปร่งใส และอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและการดำเนินชีวิตของประชาชน
รวมถึงการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙
ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลผลสัมฤทธิ์และความก้าวหน้าของการดำเนินงานที่ผ่านมาและแนวทางการดำเนินงานในระยะต่อไปของรัฐบาลในเรื่องสำคัญต่าง
ๆ ที่อยู่ในความสนใจหรือมีผลกระทบต่อสาธารณชนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และทั่วถึง
เพื่อให้เกิดการรรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน
ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐดำเนินการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลการดำเนินงานในความรับผิดชอบตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (เรื่อง ผลการสำรวจการมีส่วนร่วมของประชาชนตามแผนปฏิรูปประเทศ
พ.ศ. ๒๕๖๔) อย่างต่อเนื่อง จริงจัง และให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ทั้งนี้
ในระดับจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดกำกับดูแลให้หน่วยงานในสังกัดดำเนินการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลการดำเนินงานในเรื่องต่าง
ๆ โดยเฉพาะการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) และสื่อท้องถิ่นของจังหวัดและพื้นที่
รวมถึงในกรณีที่พบว่าเรื่องใดมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ไม่เป็นจริง หรือไม่เป็นปัจจุบันก็ให้เร่งรัดชี้แจง
ทำความเข้าใจ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องในทุกช่องทางการสื่อสารที่สามารถดำเนินการได้โดยเร็วที่สุด
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | ขออนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ | กษ. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑.
อนุมัติการดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่
ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ ๑,๓๒๙.๒๒ ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๑,๒๖๔.๒๐
ล้านบาท และจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ของกรมส่งเสริมการเกษตร
จำนวน ๖๕.๐๒ ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(กรมวิชาการเกษตร) นำมาตรการตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. ๒๕๐๗
และที่แก้ไขเพิ่มเติมรวมถึงระเบียบที่เกี่ยวข้องพิจารณาบังคับใช้โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่น ควรให้ความสำคัญกับกระบวนการตรวจสอบพื้นที่และเกษตรกรให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่มีการระบาดจริง
และเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
รวมทั้งควรพิจารณาส่งเสริมการเพาะปลูกมันสำปะหลังให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่
และสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังตามมาตรฐานวิชาการ
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมมันสำปะหลังทั้งระบบต่อไป
เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้ ๒.๑ ร่วมกับกระทรวงการคลัง กระทรวงกลาโหม
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาแนวทางในการดำเนินการป้องกันและตรวจสอบไม่ให้มีการนำเข้าหรือลักลอบนำเข้ามันสำปะหลังที่เป็นโรคใบด่าง
รวมถึงแนวทางการกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบที่เป็นพาหะของโรค
ควบคู่ไปกับการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ด้วย ๒.๒
ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาดกับผู้ที่ได้รับการชดเชยตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ไปแล้ว
แต่ภายหลังพบว่ามีการลักลอบนำมันสำปะหลังที่ติดโรคมาปลูกใหม่
หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว ๒.๓
ร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการจัดให้เกษตรกรมีการทำประกันภัยผลผลิตมันสำปะหลังเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาในกรณีต่าง
ๆ ต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ขอยกเลิกโครงการก่อสร้างอาคารที่พักข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย พื้นที่ประชาชื่น และโอนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับรายการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไปสมทบเป็นค่างานก่อสร้างโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย ระยะที่ 2 | กห. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
อนุมัติให้กองบัญชาการกองทัพไทยยกเลิกรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการก่อสร้างอาคารที่พักข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย
พื้นที่ประชาชื่น และโอนงบประมาณที่ตั้งไว้สำหรับรายการดังกล่าวในปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๔ วงเงิน ๗๙.๙๑ ล้านบาท ไปสมทบเป็นค่างานก่อสร้างโครงการก่อสร้างบ้านพักข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย
ระยะที่ ๒ ต่อไป ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ และให้กระทรวงกลาโหม
(กองบัญชาการกองทัพไทย) ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนด้วย ๒.
ในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงกลาโหมในครั้งต่อ ๆ ไป
ให้กระทรวงกลาโหมถือปฏิบัติตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐
(เรื่อง
การพิจารณาและตรวจสอบความพร้อมในการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการของส่วนราชการ
และการตรวจสอบข้อมูลผู้ละทิ้งงานราชการ) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน
๒๕๖๒ (เรื่อง การเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ
ของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ) อย่างเคร่งครัดด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโปร่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ | กษ. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
๑.
อนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ ๑.๑ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๑
และอนุมัติให้กรมชลประทานจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการของรัฐ
กรณีโครงการโปร่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ ในอัตราไร่ละ ๔๒,๐๐๐ บาท ในท้องที่อำเภอหนองบัวระเหว จำนวน
๑๕๐ แปลง เนื้อที่ ๑,๗๕๔-๐-๘๙ ไร่ คิดเป็นเงิน ๗๓,๖๗๗,๓๔๕ บาท และในท้องที่อำเภอเทพสถิต จำนวน ๒๒ แปลง
เนื้อที่ ๒๒๑-๑-๕๓ ไร่ คิดเป็นเงิน ๙,๒๙๘,๐๖๕ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๘๒,๙๗๕,๔๑๐ บาท โดยผู้มีสิทธิจะต้องมีชื่อปรากฏในแผนที่ ร.ว. ๔๓ ก.
ตามผลการรังวัด โดยช่างรังวัดของกรมที่ดินและเคยได้รับค่าขนย้าย
(ค่าที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ) ไปแล้ว ในอัตราไร่ละ ๘,๐๐๐ บาท ๑.๒
อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน
เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าชดเชยให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายละเอียดที่ดินของราษฎรผู้ได้รับผลกระทบ
(กลุ่มที่ ๑) โครงการโปร่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ
ตามผลการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการโปร่งขุนเพชร
จังหวัดชัยภูมิ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธาน
และหัวหน้าฝ่ายจัดหาที่ดินที่ ๒ ส่วนจัดหาที่ดิน ๒ สำนักกฎหมายและที่ดิน
กรมชลประทาน เป็นเลขานุการ โดยให้คณะกรรมการฯ ตรวจสอบบุคคลผู้มีสิทธิ จำนวน ๑๗๒
ราย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
รวมทั้งกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าชดเชยให้เป็นไปอย่างถูกต้องเรียบร้อย
สำหรับการจ่ายเงินกรณีนี้เห็นสมควรจ่ายด้วยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง)
ตามบัญชีรายชื่อบุคคลที่ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการฯ หรือทายาทของบุคคลดังกล่าว
โดยให้ถือความเห็นของคณะกรรมการชุดนี้เป็นหลักฐานประกอบการจ่ายเงิน
และให้ระบุในหลักฐานการรับเงินด้วยว่า “ข้าพเจ้ายินยอมรับเงินค่าขนย้ายในครั้งนี้
และจะไม่มาเรียกร้องหรือขอรับความช่วยเหลือใด
ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการโปร่งขุนเพชรจากทางราชการอีก” ๒.
สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากสามารถดำเนินการได้ทันภายในปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ เห็นควรให้กรมชลประทานพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ หรือโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร
แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
เพื่อมาดำเนินการเป็นลำดับแรก โดยให้จัดทำแผนรายละเอียดการจ่ายเงินค่าชดเชยให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงแล้วขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอน
ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป
เห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๓.
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน)
รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติที่เห็นว่า
การดำเนินโครงการชลประทานในอนาคต
ที่ต้องมีการเวนคืนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิและค่าขนย้าย (ค่าที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ)
ควรดำเนินการเจรจากับประชาชนในพื้นที่โครงการให้ได้ข้อสรุปเรื่องวงเงินการจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าขนย้ายให้แล้วเสร็จก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ
รวมทั้งควรดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี หนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน
โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) กรณีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อรองรับการใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 | กค. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....)
กรณีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเพื่อรองรับการใช้บังคับพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
(ฉบับที่ ๕๓) พ.ศ. ๒๕๖๔ รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน
แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ ๑ ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำ ส่ง รับ
และเก็บรักษาเอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใดด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
๘๒/๑๓ วรรคสองและวรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดการจัดทำ การส่ง การรับ และการเก็บรักษาหมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร
แบบ รายงาน เอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใดด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศและอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม
โดยดำเนินการผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ๒ ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่
.. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผู้ประกอบการอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์ม
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข เกี่ยวกับการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการแจ้งเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศและอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มในสาระสำคัญ
เช่น ชื่อผู้ประกอบการ เว็บไซต์ของผู้ประกอบการ
และจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการ เป็นต้น
โดยให้ดำเนินการด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร
ทั้งนี้ ให้รับประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาโดยการกำหนดกระบวนการจัดทำ
ส่ง และรับเอกสาร
หลักฐานหรือหนังสืออื่นใดระหว่างผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากรไว้ให้ชัดเจนในกฎกระทรวงซึ่งให้สอดคล้องกับมาตรา
๓ โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔
ที่ให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับการเสนอร่างกฎหมายที่ต้องไม่มีบทบัญญัติซึ่งมีลักษณะเป็นการมอบอำนาจช่วง
(sub-delegation) โดยกฎหมายแม่บทมิได้ให้อำนาจไว้ด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓ ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ที่เห็นควรกำหนดหลักการให้ส่วนราชการนำแนวทางดังกล่าวไปใช้ในกรณีที่มีการกำหนดวิธีการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียน
การอนุมัติ อนุญาต ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงาน
และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2563 | สช. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๖๓ ใน ๒ มติ ได้แก่ (๑) ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต เช่น
การดำเนินการเรื่อง “สิทธิในอาหาร” การจัดทำนโยบายและแผนปฏิบัติการระดับชาติ
และการพัฒนาระบบอาหารให้พร้อมรับภาวะวิกฤต เป็นต้น และ (๒)
การบริหารจัดการวิกฤตสุขภาพแบบมีส่วนร่วม กรณีโรคระบาดใหญ่ เช่น
การบูรณาการด้านการบริหารจัดการ การบริหารจัดการด้านการสื่อสารและระบบข้อมูล
และการจัดให้มีกำลังคนและโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุขที่จำเป็นให้เพียงพอ เป็นต้น
และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม
ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป
ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
เห็นควรให้มีหน่วยงานกลางประสานงานและติดตามผลการดำเนินงาน เห็นควรให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการตามแผนปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข
(พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๗๐) และหากมีภาระค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔
เห็นควรให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๖๔ มาดำเนินการในโอกาสแรก สำหรับค่าใช้จ่ายในปีต่อ ๆ ไป
ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเสนอตามขั้นตอนต่อไป เป็นต้น
ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร | นร.08 | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ จนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๔ ๒. เห็นชอบและรับทราบร่างประกาศ
รวม ๓ ฉบับ ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ดังนี้ ๒.๑ เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง
การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่
๑๒) และร่างประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ๒.๒ รับทราบร่างประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด
ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ ๓.
ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี)
ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ และถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (โฮปเวลล์) ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร | สผ. | 25/05/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา
เรื่อง การปฏิบัติตามกฎหมายของโครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ
และถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร และการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
(โฮปเวลล์) ของคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งกระทรวงยุติธรรมได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า กรณีการพิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.
๒๕๔๕
ให้มีความละเอียดชัดเจนมากขึ้นโดยเฉพาะขั้นตอนและวิธีการในการปฏิบัติงานของสำนักงานอนุญาโตตุลาการ
จะได้มีการทบทวนหรือปรับปรุงพระราชบัญญัติฯ
ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย
พ.ศ. ๒๕๖๒ ต่อไป และการแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อกำหนดการใช้อำนาจหน้าที่ของผู้บริหารศาลปกครอง และที่ประชุมใหญ่ของตุลาการศาลปกครองสูงสุดอาจจะมีผลเป็นการแก้ไขกฎหมายเพื่อออกหลักเกณฑ์ที่กำหนดการใช้ดุลพินิจของตุลาการศาลปกครองซึ่งอาจกระทบต่อความเป็นอิสระของตุลาการศาลปกครองได้
การปรับปรุงการปฏิบัติงานของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวกับการติดตามการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีของกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้มีหนังสือเวียนแจ้งให้ทุกส่วนราชการทราบและถือปฏิบัติ
และในส่วนการดำเนินการตามกฎหมายกับบริษัท โฮปเวลล์ (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคลต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพยานหลักฐานต่าง ๆ
กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและดำเนินคดี
รวมทั้งในส่วนของความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ด้วยแล้ว
ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
|