ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ [ASEAN Economic Ministers (AEM) Retreat] ครั้งที่ 27 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง | พณ. | 27/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ
[ASEAN Economic Ministers (AEM) Retreat] ครั้งที่ ๒๗ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ ๒-๓ มีนาคม ๒๕๖๔ ผ่านระบบการประชุมทางไกล
(VDO Conference) โดยที่ประชุม AEM Retreat ครั้งที่ ๒๗ ได้มีการแลกเปลี่ยนแนวทางการรับมือและฟื้นฟูประเทศจากสถานการณ์โควิด-๑๙
และเร่งรัดการดำเนินงานตามกรอบการฟื้นฟูของอาเซียน
และแผนการดำเนินการในการส่งเสริมความร่วมมือและประสานงานระหว่างองค์กรรายสาขา
รวมทั้งเห็นชอบการขยายรายการสินค้าจำเป็น (Essential Goods) ภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินมาตรการที่มิใช่ภาษีและสินค้าจำเป็นภายใต้แผนปฏิบัติการฮานอยว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนให้เข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด-๑๙
และเห็นชอบประเด็นด้านเศรษฐกิจที่บรูไนดารุสซาลามในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้ร่วมกันดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จในปี
๒๕๖๔ (Priority Economic Deliverables : PEDs) รวมถึงแสดงความกังวลเกี่ยวกับความตกลงด้านเศรษฐกิจที่ตกลงแล้วแต่ยังค้างการมีผลบังคับใช้เป็นเวลายาวนาน
และแนวทางปรับปรุงการบังคับใช้ความตกลงด้านเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้
ที่ประชุมได้รับทราบสถานะล่าสุดของการดำเนินการเพื่อริเริ่มทบทวนความตกลงการค้าสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย
(ASEAN-India Trade in Goods Agreement : AITIGA) และปัญหาจากประกาศศุลกากรของสาธารณรัฐอินเดียด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า
(CAROTAR 2020) ความคืบหน้าการจัดทำร่างกรอบขอบเขตความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-สหภาพยุโรป
(Draft Framework Setting Out the Parameters of a Future EU-ASEAN
Agreement on Trade and Investment) และความคืบหน้าในการให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
(Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ของแต่ละประเทศ สำหรับการประชุมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน
(ASEAN Business Advisory Council : ASEAN-BAC) และการหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์
ซึ่งได้มีการหารือเกี่ยวกับการร่วมกันผลักดันและฟื้นฟูเศรษฐกิจและการค้าการลงทุนด้วยมาตรการต่าง
ๆ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
2 | รายงานผลการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน (ASEAN Labour Ministers’ Meeting : ALMM) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) | รง. | 27/04/2564 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน (ASEAN Labour Ministers’ Meeting : ALMM) ครั้งที่ ๒๖
และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video
Conference) ระหว่างวันที่ ๒๖-๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ ณ กระทรวงแรงงาน
และเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน ๓ ฉบับ ได้แก่ (๑)
ร่างแผนงานรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ฉบับใหม่ ค.ศ. ๒๐๒๑-๒๐๒๕ และร่างแผนงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง (๒) ร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ของการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน
ครั้งที่ ๒๖ และ (๓) ร่างถ้อยแถลงร่วม (Joint Statement) ของการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนบวกสาม
ครั้งที่ ๑๑ โดยร่างแผนงานรัฐมนตรีอาเซียนฯ เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานของประเทศสมาชิกอาเซียนและอาเซียนบวกสามด้านแรงงาน
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี
มีความสามารถในการแข่งขัน เข้าถึงการคุ้มครอง มีอาชีวอนามัย
และความปลอดภัยในสถานประกอบการ ผ่านการขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรม ในกรอบระยะเวลา ๕
ปี โดยไม่ได้มีผลผูกพันทางกฎหมาย สำหรับร่างแถลงการณ์ร่วมฯ และร่างถ้อยแถลงร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกอาเซียนและอาเซียนบวกสามในความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของแรงงานต่อความท้าทายของอนาคตของงาน
ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารทั้ง ๓ ฉบับ
ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้
ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว ๒.
ให้กระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และรับข้อสังเกตของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติที่เห็นว่า
ร่างแผนงานรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ฉบับใหม่ ค.ศ. ๒๐๒๑-๒๐๒๕ และร่างแผนงานอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้อง ควรให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองความเสี่ยงทางการเงินของแรงงาน
การลดความเสี่ยงของแรงงานในสถานการณ์ฉุกเฉินและการฟื้นฟูแรงงานที่ได้รับผลกระทบ
โดยเฉพาะแรงงานในภาคนอกระบบ รวมทั้งการกระจายอำนาจรัฐจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น
ตลอดจนการส่งเสริมบทบาทการเป็นหุ้นส่วนทางสังคม
เพื่อประโยชน์ในการบรรลุเป้าหมายให้ประชาชนมีหลักประกันและความมั่นคงในระยะยาว
นอกจากนี้
ในอนาคตประเทศไทยมีแนวโน้มในการพึ่งพาแรงงานทักษะต่ำจากประเทศเพื่อนบ้านสูง
จึงอาจหยิบยกประเด็นการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนขึ้นหารือในโอกาสที่เหมาะสม
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |