ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 7 จากทั้งหมด 15 หน้า แสดงรายการที่ 121 - 140 จากข้อมูลทั้งหมด 281 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
121 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคาร อาคารสงเคราะห์ และการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นใน คณะกรรมการธนาคารออมสิน จำนวน 5 ราย (1.นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ฯ) | กค | 28/11/2549 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติให้นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ และนายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ พ้นจากตำแหน่งประธาน
กรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ให้แต่งตั้งนายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ เป็นประธานกรรมการ นายชัยยุทธ์ สุทธิธนากร และนายสุคนธ์ กาญ จนหัตถกิจ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์แทนต่อไป และให้แต่งตั้ง นายวิสุทธิ์ ศรี สุพรรณ เป็นประธานกรรมการ และนางอรอนงค์ มณีกาญจน์ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออม สินแทนต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
122 | แต่งตั้งผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายขรรค์ ประจวบเหมาะ) | กค | 07/11/2549 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายขรรค์ ประจวบเหมาะ ให้ดำรง
ตำแหน่งผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ต่อไปอีกวาระหนึ่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่า ด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
|
||||||||||||||||||||||||||||||
123 | รายงานสรุปผลการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2549 | กค | 07/11/2549 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานสรุปผลการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลอสังหา
ริมทรัพย์ ประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2549 สรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ โครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปี 2548 ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติงบกันไว้เบิกเหลื่อมปี 2548 จากคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) แล้ว จำนวน 7 โครงการ ได้แก่ โครงการที่ดำเนินการเสร็จแล้ว 2 โครงการ คือ โครงการจัดงานมหกรรมบ้านมือ สอง 4 มุมเมือง และโครงการจัดจ้างพัฒนาโปรแกรมระบบงานบันทึกข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามเพื่อใช้ในการ จัดเก็บข้อมูลภาคสนาม และโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 5 โครงการ คือ โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ ทางภูมิศาสตร์ (GIS) โครงการพัฒนาระบบคลังข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (Data Warehouse) โครงการสำรวจโครง การที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร ฯ ปริมณฑล และ 11 จังหวัดยุทธศาสตร์ โครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลง ราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพ ฯ และปริมณฑล และโครงการพัฒนาต้นแบบระบบจัดเก็บข้อมูลใบ อนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลง/รื้อถอน อาคารให้แก่หน่วยงานท้องถิ่นผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต สำหรับโครงการ ตามแผนปฏิบัติการปี 2549 อาทิ การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ 5 ประเภทได้แก่ ที่อยู่อาศัย ศูนย์ การค้า อาคารสำนักงาน โรงแรม นิคมอุตสาหกรรมและโรงงาน โดยเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว ณ ไตรมาสที่ 1 ปี 2549 การเชื่อมโยงระบบข้อมูลกับแหล่งข้อมูลเพื่อการจัดเก็บข้อมูลที่รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น รวมทั้งการสำรวจ อาคารสำนักงานในเขตกรุงเทพ ฯ เพื่อรวบรวมข้อมูลอาคารสำนักงานเข้าระบบฐานข้อมูล โดยครอบคลุมข้อมูล จำนวนคงเหลือ (อาคารสำนักงานที่เปิดขายและให้เช่า) อุปทาน (อาคารเปิดใหม่ พื้นที่ให้เช่า) อุปสงค์ (พื้นที่ที่มี ผู้เช่า) สภาวะตลาด (ราคาขาย ค่าเช่า) และการเงิน (สินเชื่อผู้ประกอบการอาคารสำนักงาน) นอกจากนี้ ยังมี งานที่ได้รับมอบหมายพิเศษ คือ การส่งเสริมธุรกิจบ้านมือสองตามนโยบายของกระทรวงการคลังเพื่อกระตุ้นภาวะ ตลาดบ้านมือสองให้มีความต่อเนื่องและซื้อขายเปลี่ยนมือกันมากยิ่งขึ้น
|
||||||||||||||||||||||||||||||
124 | ผลการประชุมการติดตามการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจและสังคมตามมติคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 | นร | 06/06/2549 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการตามที่สำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ผลการประชุมการติดตามการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจและสังคม ตามมติคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2549 ณ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เสนอ รายละเอียดมาตรการใน 4 กลุ่มมาตรการ ได้แก่ (1) มาตรการด้านแรงงาน มอบหมายกระทรวงแรงงานร่วม กับกระทรวงการคลัง ดำเนินการศึกษาและจัดทำ focus group ในเรื่องผลกระทบของการทะยอยขึ้นค่าจ้าง แรงงานขั้นต่ำในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งให้หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง การลดเงินสม ทบกองทุนประกันสังคมของแรงงาน (2) มาตรการบริหารจัดการด้านการเงินของรัฐที่มีต้นทุนดอกเบี้ยต่ำ มอบหมายกระทรวงการคลัง และธนาคารอาคารสงเคราะห์พิจารณาหาแหล่งเงินกู้ที่จะสามารถลดภาวะเงินกู้ ของผู้ผ่อนชำระบ้านเอื้ออาทร-บ้านมั่นคง จากแหล่งต่าง ๆ (3) มาตรการดูแลราคาสินค้าเกษตร มอบหมาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาเตรียมการใช้กลไกของกองทุนคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วย เหลือเกษตรกร (คชก.) เป็นเครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพราคาผลไม้ในฤดูกาลที่จะถึง โดยเฉพาะการ กระจายผลผลิตออกสู่ตลาดของสินค้าผลไม้ รวมทั้งดำเนินการดูดซับผลผลิตสับปะรดส่วนเกินออกจากระบบ เพื่อรักษาระดับราคามิให้ตกต่ำ และนำเสนอมาตรการด้านการลดค่าใช้จ่ายเกษตรกร (4) มาตรการด้าน คมนาคมมอบหมายกระทรวงคมนาคม เร่งรัดการดำเนินโครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศใหม่ที่ใช้ก๊าซ ธรรมชาติ (NGV) เป็นเชื้อเพลิงทดแทนรถโดยสารเก่า รวมทั้งเร่งจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์สำหรับ รถโดยสารเดิมให้ใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นเชื้อเพลิงและพิจารณาปรับเส้นทางเดินรถโดยสารให้สอดคล้อง กับความต้องการเดินทางของประชาชน และการจัดท่าจอดรถโดยสารให้เหมาะสม นอกจากนี้ให้พิจารณาราย ละเอียดแนวทางการจัดทำตั๋วร่วมรายเดือนราคาพิเศษของรถโดยสาร ขสมก. สำหรับคนชรา นักเรียน และผู้มี รายได้น้อย ตลอดจนการพิจารณานำเสนอแนวทางที่ชัดเจนในการเปิดเสรีการบริการขนส่งและระบบกำกับ ดูแลภายหลังการเปิดเสรี และตรวจสอบกฎระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่จำเป็นต้องยกเลิก |
||||||||||||||||||||||||||||||
125 | มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ปี 2549 | กค | 30/05/2549 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ ปี 2549 ในส่วนของมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะ กิจได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออม สินธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อ การส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม ขนาดย่อม บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด และบรรษัท บริหารสินทรัพย์ไทย ส่วนมาตรการด้านภาษีและค่าธรรมเนียม ได้แก่ กรมสรรพากร และกรมสรรสามิต สำหรับมาตรการด้านอื่น ๆ ได้แก่ กรมธนารักษ์ และกรมบัญชีกลาง
|
||||||||||||||||||||||||||||||
126 | แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (จำนวน 8 ราย) | กค | 25/04/2549 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น
ในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประกอบด้วย นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ เป็นประธานกรรมการ นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ นายชัยเกษม นิติสิริ นายฉัตรชัย วีระเมธีกุล นายรังสิน สืบแสง นายชัยพัฒน์ สหัสกุล พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ และนาย ช.นันท์ เพ็ชญไพศิษฏ์ เป็นกรรมการ ตั้งแต่วันที่คณะ รัฐมนตรีมีมติ (25 เมษายน 2549) เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอ เรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
|
||||||||||||||||||||||||||||||
127 | ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร | สผ | 27/12/2548 | |||||||||||||||||||||||||||
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอข้อมูลของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
เกี่ยวกับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเห็นควรแก้ข้อความใน (3) และ (4) ของหลักการแห่ง ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
128 | รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2548 | กค | 11/10/2548 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลอสังหาริม
ทรัพย์ ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2548 โดยได้มอบหมายให้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์จัดทำดัชนีชี้วัดที่อยู่อาศัย 7 ตัว สามารถจัดได้ 4 กลุ่ม ประกอบด้วย ดัชนีด้านอุปทาน ด้านอุปสงค์ การตลาด และด้านสินเชื่อ ในส่วนของงาน ที่ดำเนินการเสร็จแล้ว ดัชนีด้านอุปทานของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย ได้แก่ ที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาต จัดสรรที่ดิน ที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง และที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จและจดทะเบียน รวมทั้งอสังหาริมทรัพย์ อีก 5 ประเภท ได้แก่ อาคารสำนักงาน โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และ 11 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ ดัชนีด้านอุปสงค์ของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม ครอบคลุมทั่วประเทศ ดัชนีการตลาด ได้แก่ ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยของประเภทที่อยู่อาศัยใน กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้ข้อมูลราคาประเมินที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นโครงการ นำร่อง ก่อนขยายให้ครอบคลุมข้อมูลราคาประเมินของธนาคารพาณิชย์ต่อไป และดัชนีด้านสินเชื่อ ได้แก่ สินเชื่อ ผู้ประกอบการ สินเชื่อรายย่อยและหุ้นกู้ ของอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยที่ครอบคลุมทั่วประเทศ นอก จากนี้ยังมีงานที่ได้รับมอบหมายเพิ่มเติม ได้แก่ โครงการจัดงานส่งเสริมการตลาดเรื่องบ้านมือสอง โครงการฐาน ข้อมูลบ้านมือสองแห่งชาติ คาดว่า จะแล้วเสร็จปลายปี 2548 โครงการสำรวจพฤติกรรมและความต้องการซื้อที่ อยู่อาศัย คาดว่า จะแล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2548 โครงการสำรวจการเปลี่ยนแปลงอาคารขนาดใหญ่ที่ยุติ การก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร คาดว่า จะแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2549 และโครงการรับส่งข้อมูลการ ขออนุญาตก่อสร้าง ต่อเติม ดัดแปลง รื้อถอนอาคารทั่วประเทศ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ เทศบาล 62 แห่ง และองค์ การบริหารส่วนตำบล 253 แห่ง ในปริมณฑลภายในเดือนธันวาคม 2548 และเทศบาล 980 แห่ง และองค์ การบริหารส่วนตำบล 6744 แห่ง ทั่วประเทศที่เหลือภายในเดือนธันวาคม 2549
|
||||||||||||||||||||||||||||||
129 | การกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน จำนวน 13,000 ล้านบาท | กค | 27/09/2548 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์กู้เงินในประเทศ
โดยการออกพันธบัตรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จำนวน 13,000 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและ อื่น ๆ โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และราย ละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์พิจารณาหา แหล่งเงินทุนเพิ่มเติมโดยนำกลุ่มสินเชื่อ (portfolio) ที่มีอยู่ไปแปลงเป็นหลักทรัพย์ (securitization) เพื่อให้เป็น แหล่งเงินซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนเงินกู้ และลดภาระดอกเบี้ยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ด้วย
|
||||||||||||||||||||||||||||||
130 | แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายชัยพัฒน์ สหัสกุล) | กค | 23/08/2548 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งนายชัยพัฒน์ สหัสกุล เป็นกรรมการ
อื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (23 สิงหาคาม 2548) เป็นต้น ไป ทั้งนี้ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
|
||||||||||||||||||||||||||||||
131 | ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | นร | 24/05/2548 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามความเห็นของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรในการ
ประชุมคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 13/2548 วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม 2548 ซึ่งให้เสนอร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อรัฐสภาเป็นเรื่องด่วน
|
||||||||||||||||||||||||||||||
132 | ร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการพิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร | นร | 19/04/2548 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอร่างพระราชบัญญัติที่ค้างการ
พิจารณาของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรที่ส่วนราชการเจ้าของเรื่องได้ยืนยันขอให้ดำเนิน การต่อไป ดังนี้ กระทรวงการคลัง จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ปรับปรุงวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. สัด ส่วนการถือหุ้นของสถาบันการเงินและบุคคลอื่นใน ธ.ก.ส.) ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับ กรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนด บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยตัวแทนออกของ) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราช บัญญัตินโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. .... และกระทรวงวัฒนธรรมจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมกิจการฮัจย์ พ.ศ. .... แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
133 | การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นสูงของลูกจ้างระดับสูงสุด และปรับอัตราเงินเดือนให้กับลูกจ้างทุกตำแหน่งของธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 18/01/2548 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎ
หมาย ระบบราชการและการประชาสัมพันธ์) ที่มีมติเห็นชอบการกำหนดอัตรา ค่าจ้างขั้นสูงของลูกจ้างระดับสูงสุด และปรับเงินเดือนให้กับลูกจ้างทุกตำแหน่งของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ตามผลการพิจารณาร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลังและกระทรวงแรงงาน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 พนักงานระดับ 1-10 ปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ของเงินเดือน และกลุ่มที่ 2 พนักงานระดับ 11-15 และพนักงานตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการ และรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 ของเงินเดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2547 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้ธนาคาร ฯ รับข้อสังเกตตามประเด็น อภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ เกี่ยวกับการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวจะมีผลให้ ธอส. มีภาระค่า ใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง ธอส. ควรปรับปรุงการบริหารงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่ชัดเจน โดยอาจมีแผนงาน ลดค่าใช้จ่าย และขยายฐานลูกค้าเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น โดยไม่ผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้แก่ประชาชน โดยการเก็บค่าธรรมเนียมหรือขึ้นดอกเบี้ย และเมื่อได้มีการปรับค่าตอบแทนให้กับพนักงานแล้ว ให้ ธอส. พิจารณาลดค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ใช้บริการเป็นการตอบแทน อาทิ การนำส่วนต่างของเบี้ยประกันอัคคี ภัยที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยมาปรับลดให้แก่ผู้ใช้บริการ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
134 | ผลการดำเนินการของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของผู้บริโภคที่ซื้อบ้านจากโครงการจัดสรรแล้วไม่ได้บ้าน และผลการดำเนินคดี ผลการเปรียบเทียบความผิด ผลการเจรจาไกล่เกลี่ยของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคย้อนหลัง 3 ปี | นร | 18/01/2548 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภครายงานผลการดำเนินการ
ของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภคที่ซื้อบ้านจากโครงการจัดสรรแล้วไม่ได้บ้านจากกรณี ที่มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากการซื้อบ้านในโครงการจัดสรรแล้วไม่ได้บ้าน และประสงค์ ที่จะได้บ้านเพื่ออยู่อาศัย ได้มาลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ระหว่างวันที่ 1-15 พฤศจิกายน 2547 จำนวน 68 ราย นั้น คณะกรรมการแก้ไขปัญหา ฯ ได้มอบหมายให้การ เคหะแห่งชาติ และธนาคารอาคารสงเคราะห์รับไปดำเนินการ ในการนี้การเคหะแห่งชาติจะมีหนังสือถึงผู้บริโภค จำนวน 68 ราย ดังกล่าว เพื่อแจ้งสิทธิพิเศษ โดยให้สิทธิเลือกบ้านเอื้ออาทรโครงการใดก็ได้ (ประมาณ 30 โครงการ) ในราคาปกติ โดยไม่ต้องลงทะเบียนหรือจับสลาก โดยให้ผู้บริโภคยืนยันขอใช้สิทธิต่อการเคหะแห่ง ชาติเพื่อประกอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อไป และในส่วนของธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้สอบถามข้อ มูลจากผู้บริโภคแล้วพบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความประสงค์ที่จะขอให้ได้รับเงินที่ได้ชำระไปแล้วคืนตามคำพิพาก ษาของศาลก่อนจึงจะตัดสินใจอีกครั้งหนึ่ง โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจะได้ประสานงานและ ติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานดังกล่าวต่อไป นอกจากนี้ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ฯ ได้แต่ง ตั้งคณะอนุกรรมการป้องกันปัญหาเกี่ยวกับความเดือดร้อนของผู้บริโภคที่ซื้อขายอสังริมทรัพย์ มีรัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสุธรรม แสงประทุม) เป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับ เรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค เพื่อหามาตรการป้องกันมิให้เกิดปัญหาดังกล่าวซ้ำอีก และพิจารณาแยกประเภทผู้ ประกอบธุรกิจที่ดีแต่สถาบันการเงินงดให้สินเชื่อเพื่อให้การสนับสนุนด้านการเงินและผู้ประกอบธุรกิจที่มีพฤติ กรรมไปในทางทำธุรกิจที่ไม่สุจริตเพื่อให้ขึ้นบัญชีดำไว้
|
||||||||||||||||||||||||||||||
135 | การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นสูงของลูกจ้างระดับสูงสุด และปรับอัตราเงินเดือนให้กับลูกจ้างทุกตำแหน่งของธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 04/01/2548 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงการคลังรับเรื่องการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นสูงของลูกจ้างระดับสูงสุด
และปรับอัตราเงินเดือนให้กับลูกจ้างทุกตำแหน่งของธนาคารอาคารสงเคราะห์ไปพิจารณา ร่วมกับกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การกำหนดค่าจ้าง และการปรับอัตราเงิน เดือนของพนักงานเป็นไปด้วยความเหมาะสม สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ตลอดจนภาวะทางเศรษฐกิจและตลาด แรงงาน รวมทั้งทำให้องค์กรมีความยั่งยืนโดยไม่ส่งผลกระทบถึงประชาชนผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการของรัฐวิสาห กิจ แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งโดยเร็ว
|
||||||||||||||||||||||||||||||
136 | ธนาคารอาคารสงเคราะห์ขอระดมเงินทุนระยะยาว จำนวน 39,000 ล้านบาท | กค | 21/12/2547 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กู้เงิน
ในประเทศโดยการออกพันธบัตร จำนวน 36,000 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน เพื่อให้ ธอส. สามารถปล่อยสินเชื่อตามแผนการดำเนินงาน และบริหารสินทรัพย์และหนี้สินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินดังกล่าว ได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น
|
||||||||||||||||||||||||||||||
137 | รายงานผลการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้นอกระบบ) | กค | 12/10/2547 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน
(หนี้นอกระบบ) จากการรายงานของกระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 10 กันยายน 2547 มีลูกหนี้นอกระบบ ผ่านเข้าสู่กระบวนการให้ความช่วยเหลือแล้ว จำนวน 1,773,090 ราย มูลหนี้ จำนวน 129,739 ล้านบาท ส่วนการบันทึกรายการผลเข้าสู่ระบบรายงานของกระทรวงการคลังโดยผ่านเครือข่ายของกรมการปกครอง ณ วันที่ 27 กันยายน 2547 มีการรายงานแล้ว จำนวน 1,254,578 ราย มูลหนี้ก่อนเจรจา จำนวน 94,488.87 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย ลูกหนี้ที่ยุติเรื่องเพราะไม่ประสงค์ดำเนินการต่อ จำนวน 751,503 ราย ลูกหนี้ที่ ยุติเรื่องเนื่องจากสาเหตุอื่น จำนวน 385,347 ราย และลูกหนี้ที่เจรจาสำเร็จ จำนวน 192,286 ราย มูลหนี้ จำนวน 16,945.69 ล้านบาท โดยหลังขบวนการเจรจาหนี้แล้ว ลูกหนี้ที่เจรจาสำเร็จจะโอนหนี้เข้าสู่ระบบ ธนาคารมี จำนวน 169,309 ราย มูลหนี้ จำนวน 13,281.66 ล้านบาท ซึ่งจากการรายงานผลของธนาคาร พบว่ามีลูกหนี้ จำนวน 17,829 ราย ได้รับเงินกู้จากธนาคารแล้ว จำนวน 1,090.80 ล้านบาท สำหรับลูกหนี้ ที่ไม่สามารถเข้าสู่ระบบธนาคาร กระทรวงการคลังและธนาคารของรัฐทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการ เกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาด กลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยแบ่งการให้ความช่วยเหลือ ตามปัญหาของลูกหนี้ ได้แก่ ลูกหนี้ที่มีปัญหาด้านรายได้ ลูกหนี้ที่ขาดหลักประกัน ลูกหนี้ที่มีหนี้ในระบบรวม อยู่ด้วย และลูกหนี้ที่ยุติเรื่อง |
||||||||||||||||||||||||||||||
138 | รายชื่อกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีเห็นชอบคำตอบแล้ว จำนวน 2 เรื่อง 1.1 กระทู้ถามที่ 1142 ร. เรื่อง นโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการส่งเสริมการอ่านหนังสือ : ศธ.มท. 1.2 กระทู้ถามที่ 1296 ร. เรื่อง นโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน : กค. | นร | 18/05/2547 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอคำตอบกระทู้ถามที่ 1142 ร.
เรื่อง นโยบายและมาตรการของรัฐบาลในการส่งเสริมการอ่านหนังสือ ของนายเปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น และกระทู้ถามที่ 1296 ร. เรื่อง นโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ของ นายนริศร ทองธิราช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร และให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยสาระสำคัญของคำตอบกระทู้ถามสรุปได้ดังนี้ คำตอบกระทู้ถามที่ 1142 ร. กระทรวงศึกษาธิการ โดย กรมวิชาการ ได้มีนโยบายและแผนพัฒนาหนังสือของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ ได้แก่ นโยบายใน การพัฒนาหนังสือ นโยบายในการส่งเสริมการอ่าน นโยบายส่งเสริมการผลิต การเผยแพร่ และการจำหน่าย นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินนโยบายส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมใน ชุมชน สถาบันการศึกษา และองค์กรต่าง ๆ ทั้งในท้องถิ่นและในระดับชาติ เพื่อให้มีการตื่นตัวในการอ่าน หนังสือตลอดมา โดยในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแนวทางดำเนินการ ได้แก่ (1) การสร้าง เครือข่ายในสถานศึกษากับท้องถิ่น การสร้างเครือข่ายร่วมกับภาคเอกชนและองค์กรอื่น และการพัฒนาห้อง สมุดให้เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ (2) การส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาการอ่าน (3) จัดโครงการปีแห่งการ ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในมงคล วโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 48 พรรษา ส่วนกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายและแนวทางการส่งเสริมให้มีกิจ กรรมเพื่อให้มีการตื่นตัวในการอ่านหนังสือ โดยจัดสรรงบประมาณอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้จ่ายในการจัดซื้อหนังสือ วารสาร และหนังสือประจำห้องสมุด เพื่อส่งเสริมสนับสนุนประชาชนได้มีการ อ่านหนังสือมากขึ้น และกรุงเทพมหานคร โดยสำนักการศึกษาและสำนักสวัสดิการสังคม มีนโยบายส่งเสริม การอ่าน และการเรียนรู้ของเยาวชนและประชาชนทั่วไปเพื่อให้มีการตื่นตัวในการอ่านหนังสือ สำหรับกระทู้ ถามที่ 1296 ร. หลักเกณฑ์ในการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน คือ ใช้สินทรัพย์ที่ครอบครอง หรือได้รับอนุญาต จากหน่วยงานของรัฐตามกฎหมาย เพื่อเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อนำไปลงทุน สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างผู้ประกอบการรายใหม่ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ทั้งนี้ นโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2546 และกำหนดให้ดำเนินโครงการเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มกราคม 2547 ซึ่งแผนปฏิบัติการระยะยาว มีเป้าหมาย ดำเนินการ 5 ปี (พ.ศ. 2547-2551) โดยมีสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (องค์การมหาชน) เป็นองค์กรที่รับผิดชอบดำเนินการตามนโยบาย สำหรับหน่วยงานที่ปฏิบัติการเกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์ เป็นทุน แบ่งเป็นหน่วยงานดำเนินงานสินทรัพย์แต่ละประเภท และสถาบันการเงินที่ร่วมโครงการทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ได้แก่ ประเภทที่ดินและทรัพย์สินติดกับที่ดิน คือ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กรมที่ดิน ประเภทสัญญาเช่า คือ การเคหะแห่งชาติ กรมธนารักษ์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประเภทหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่สาธารณะและหนัง สือรับรองอื่น ๆ คือ กรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประเภททรัพย์สินทางปัญญา คือ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทเครื่องจักร คือ กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสถาบันการเงิน เช่น ธนา คารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น และนอกจากหน่วยงานของรัฐและสถาบันการ เงินดังกล่าวแล้ว ยังมีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารร่วมกับสำนักงานบริหารการแปลงสิน ทรัพย์เป็นทุน (องค์การมหาชน) ดำเนินการออกแบบ จัดระบบและปรับปรุงข้อมูลให้เป็นข้อมูลสารสนเทศ และส่งผ่านระบบได้ โดยในระยะเริ่มต้นให้สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน (องค์การมหาชน) เน้นการติดตามและประเมินผล การเผยแพร่ข้อมูล และการเชื่อมโยงกับศูนย์ปฏิบัติการของนายกรัฐมนตรี (Prime Minister Operation Center : PMOC)
|
||||||||||||||||||||||||||||||
139 | แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (จำนวน 8 ราย) | กค | 09/03/2547 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ผู้แทนกระทรวง
การคลัง เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ นางชวนพิศ ฉายเหมือนวงศ์ ผู้ว่า การการเคหะแห่งชาติ นายชัยเกษม นิติสิริ นายปิยพันธุ์ มินมานเหมินทร์ นางสาวสุภา ปิยะจิตติ นายฉัตรชัย วีระเมธีกุล นายรังสิน สืบแสง และพลตำรวจโท เฉลิมเดช ชมพูนุท เป็นกรรมการในคณะกรรมการธนาคาร อาคารสงเคราะห์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2547 เป็นต้นไป
|
||||||||||||||||||||||||||||||
140 | ปัญหาความเดือดร้อนเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยค้างดำเนินการ | นร | 02/03/2547 | |||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า โดยที่ประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือน
ร้อนเนื่องจากได้ชำระเงินเพื่อจองซื้อที่พักอาศัยจากผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ในโครงการต่าง ๆ ไป แล้ว แต่โครงการดังกล่าวค้างการดำเนินการเพราะผู้ประกอบการประสบปัญหาทางการเงิน อันเนื่องมาจาก วิกฤติเศรษฐกิจ และหลายโครงการได้มีการดำเนินการก่อสร้างไปมากแล้ว หากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จะเข้าไปช่วยเหลือดูแล และให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อให้สามารถดำเนินโครงการต่อไปให้แล้วเสร็จก็จะ เป็นผลดีทั้งแก่ฝ่ายผู้ประกอบการและแก่ประชาชนผู้บริโภค ในส่วนของผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์ บางส่วนที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะที่มีเจตนาเอาเปรียบผู้บริโภคที่ซื้อที่พักอาศัย เช่น การใช้พื้นที่ส่วนกลางผิด วัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของผู้ประกอบการเอง รวมทั้งปัญหาอาคารพาณิชย์และตึกสูงในเขตกรุง เทพมหานครที่ก่อสร้างไม่เสร็จ และค้างการดำเนินการ โดยเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้กับแหล่งเงินทุนและ สถาบันการเงินต่าง ๆ ควรหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องให้ ได้ข้อยุติที่เหมาะสมโดยเร็ว โดยแนวทางหนี่งซึ่งอาจจะทำได้ คือ การให้หน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง การเคหะแห่งชาติ และธนาคารอาคารสงเคราะห์ เป็นต้น ให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อ ดำเนินโครงการต่อไป โดยขอตกลงกับเจ้าหนี้เดิมในการขอกันเงินที่สนับสนุนคืนจากเงินและผลประโยชน์ที่ ได้รับเมื่อโครงการแล้วเสร็จเป็นลำดับแรกก่อนหนี้อื่น จึงขอให้รองนายกรัฐมนตรีซึ่งกำกับดูแลสำนักงานคณะ กรรมการคุ้มครองผู้บริโภครับเรื่องนี้ไปพิจารณาดำเนินการแก้ไขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กระทรวงการคลัง การเคหะแห่งชาติ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สมาคม ธนาคารไทย เป็นต้น ทั้งนี้ หากเห็นควรก็ให้เชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีข้อมูลเพราะได้รับ เรื่องร้องเรียน เกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อนจากผู้บริโภคที่ซื้อที่พักอาศัยเป็นจำนวนมากเข้าร่วมการหารือ ตามความเหมาะสมด้วย |
.....