ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 6 จากทั้งหมด 15 หน้า แสดงรายการที่ 101 - 120 จากข้อมูลทั้งหมด 282 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
101 | การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้นหรือใกล้เต็มขั้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 12/10/2553 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ เมื่อวันที่
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขึ้นหรือใกล้เต็มขั้น เฉพาะในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวคือ ให้ ธ.ก.ส. จ่ายเงินตอบแทน พิเศษให้พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้นในอัตราร้อยละ ๒-๕ ของเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งที่ดำรงอยู่โดยพิจารณา จากการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี และให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้ ธ.ก.ส. รับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่า ธ.ก.ส. จะต้องปรับปรุงองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และปรับลดค่าใช้จ่ายตามแนวทางที่เสนอไว้ รวมทั้งจะต้องรักษาสัดส่วนของรายจ่ายด้านบุคลากรต่อรายได้ให้คง อยู่ต่อไป ไปดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||
102 | แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี) | กค | 28/09/2553 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งนายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
103 | การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม) | กค | 02/06/2553 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคาร
สงเคราะห์ แทนนายนริศ ชัยสูตร ที่ลาออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (2 มิถุนายน 2553) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
104 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (จำนวน 3 คน 1. นางสาวกัญญานุช สอทิพย์ ฯลฯ ) | กค | 20/04/2553 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ แทนกรรมการที่
ลาออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 เมษายน 2553) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวง การคลังเสนอ ดังนี้ 1. นางสาวกัญญานุช สอทิพย์ เป็นกรรมการแทนนายวัชรา ตันตริยานนท์ 2. นายประสงค์ พูนธเนศ เป็นกรรมการแทนนางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย 3. นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ เป็นกรรมการแทนนายเฉลียว วิทูรปกรณ์
|
|||||||||||||||||||||||||||
105 | รายงานการกู้เงินตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟู และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ประจำปีงบประมาณ 2552 | กค | 24/11/2552 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรายงานการกู้เงินตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟู
และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป โดยสาระสำคัญของรายงานมีดังนี้ 1. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินตามพระราชกำหนด ฯ เป็นจำนวนเงิน ทั้งสิ้น 80,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.1 กู้เงินเพื่อสมทบเป็นเงินคงคลัง จำนวน 50,000 ล้านบาท โดยออกพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็ง อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย ปีที่ 1-2 ร้อยละ 3 ต่อปี ปีที่ 3 ร้อยละ 4 ต่อปี และปีที่ 4-5 ร้อยละ 5 ต่อปี 1.2 กู้เงินเพื่อแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 30,000 ล้านบาท จากสถาบันการเงิน 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด สาขากรุงเทพ ฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคาร ทหารไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) อายุ 2 ปี กำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราต่ำ สุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือน ประเภทบุคคลธรรมดา (FDR) เฉลี่ย 4 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุง เทพ ฯ กรุงไทย ฯ กสิกรไทย ฯ และไทยพาณิชย์ ฯ บวกส่วนเพิ่ม (Spread) ร้อยละ 0.75 0.78 0.79 และ 0.83 ตามลำดับ 2. ผลที่ได้รับจากการกู้เงินภายใต้พระราชกำหนด ฯ ทำให้รัฐบาลมีระดับเงินคงคลังที่เพียงพอต่อการรองรับ ธุรกรรมการใช้จ่ายของรัฐบาล รวมทั้งสามารถจัดสรรเป็นเงินเพิ่มทุนให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและ นำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสิน เชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ซึ่งเป็นการช่วยสนับสนุนโครงการสินเชื่อ Fast Track ในการเร่งอนุมัติสินเชื่อให้บรรลุเป้า หมายทดแทนการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ลดลง รวมทั้งช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประชาชนรากหญ้าและผู้ ประกอบการ SMEs ในภาคการเกษตร การท่องเที่ยว การส่งออก และอสังหาริมทรัพย์
|
|||||||||||||||||||||||||||
106 | การขับเคลื่อนสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย | กค | 05/08/2552 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีรับทราบการขับเคลื่อนสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย โดยกระทรวง
การคลังได้เสนอเป้าหมายสินเชื่อใหม่ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และแนวทางการแยกบัญชีธุรกรรมนโยบาย รัฐ (Public Service Account : PSA) ออกจากธุรกรรมเชิงพาณิชย์ สรุปได้ดังนี้ 1. เป้าการอนุมัติสินเชื่อใหม่ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ปรับเพิ่มเป้าหมายการอนุมัติในการปล่อยสินเชื่อ จากเป้าหมายเดิมที่กำหนดไว้ที่ 625,500 ล้านบาท อีก 301,500 ล้านบาท รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 927,000 ล้านบาท และเมื่อรวมกับการอนุมัติสินเชื่อของธนาคาร กรุงไทยจำกัด (มหาชน) ซึ่งจะขยายการอนุมัติสินเชื่อเพิ่มอีก 50,000 ล้านบาท รวมเป็น 350,000 ล้านบาท จะสามารถทดแทนการอนุมัติสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ลดลงได้อย่างเพียงพอ 2. สำหรับแนวทางการแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐบาล (Public Service Account : PSA) ออกจาก ธุรกรรมเชิงพาณิชย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถดำเนินงานอย่างมั่นคงและยั่งยืนด้วย ตนเองในระยะยาว (Self-sustainability) และสามารถดำเนินธุรกรรมนโยบายรัฐ เพื่อฟื้นฟูหรือช่วยเหลือกลุ่ม ประชาชน และธุรกิจเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยรัฐบาลให้การสนับสนุนทางการเงินเฉพาะธุรกรรมที่ เป็นนโยบายรัฐในจำนวนและรูปแบบที่เหมาะสมและประหยัด และเพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถกำกับ ตรวจ สอบและประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจสำหรับการดำเนินธุรกรรมตามนโยบายรัฐและ ธุรกรรมเชิงพาณิชย์ได้อย่างถูกต้อง
|
|||||||||||||||||||||||||||
107 | การกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในปีงบประมาณ 2552 จำนวน 5,000 ล้านบาท | กค | 10/03/2552 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้
1. อนุมัติให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กู้เงินในประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 5,000 ล้านบาท และให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินและการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ 2. ให้กระทรวงการคลัง (ธอส.) รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ที่ให้ ธอส. ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ โดยใช้หลักการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ให้สอด คล้องกับข้อเท็จจริง และควรพิจารณาระดับเงินฝากเพื่อเพิ่มสภาพคล่องของ ธอส. อีกทางหนึ่ง รวมทั้งข้อสังเกต ของสำนักงบประมาณ เกี่ยวกับการให้ความสำคัญในการปรับโครงสร้างเงินทุนและการบริหารความเสี่ยง โดย เฉพาะคุณภาพของลูกค้าเพื่อลดภาระและความเสี่ยงด้านเงินทุน รวมถึงภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต และควรปรับปรุงช่องทางการให้บริการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้หลากหลายเพื่อสนองความต้องการ ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และเป็นการเพิ่มรายได้ค่าธรรมเนียมอีกทางหนึ่ง ไปพิจารณาด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||
108 | ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 | กค | 19/11/2551 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังรับร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการอันพึงเป็นงาน
ธนาคารของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ไปพิจารณาทบทวนต่อไป ตามที่เลขาธิการคณะ รัฐมนตรีเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||
109 | มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2551 | กค | 21/10/2551 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อมูลของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทก
ภัยปี พ.ศ. 2551 ซึ่งมีพื้นที่ประสบภัย 24 จังหวัด กระทรวงการคลัง และหน่วยงานในสังกัด ได้ให้ความช่วยเหลือ โดยมอบถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าไปแล้ว นอกจากนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาห กิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลาม แห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ได้มีมาตร การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประสบอุทกภัย
|
|||||||||||||||||||||||||||
110 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล) | กค | 21/10/2551 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งนายฐนนท์ศรณ์ เลิศฤทธิ์ศิริกุล
เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (21 ตุลาคม 2551) เป็นต้นไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
111 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 14/10/2551 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและ
กรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 ตุลาคม 2551) เป็นต้นไป ดังนี้ 1. นายนริศ ชัยสูตร เป็นประธานกรรมการ 2. นายชัยเกษม นิติสิริ เป็นกรรมการ 3. นายวัชรา ตันตริยานนท์ เป็นกรรมการ 4. นายเฉลียว วิทูรปกรณ์ เป็นกรรมการ 5. นายฉัตรชัย วีระเมธีกุล เป็นกรรมการ 6. พลตำรวจเอก ปทีป ตันประเสริฐ เป็นกรรมการ 7. นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย เป็นกรรมการ ทั้งนี้ กรณีนายชัยเกษม นิติสิริ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการอัยการเป็นต้นไป
|
|||||||||||||||||||||||||||
112 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. .... | นร | 15/01/2551 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะ
รัฐมนตรี คณะที่ 6 เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและ ผู้ยากจน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. .... ที่ตรวจพิจารณาแล้ว โดยแก้ไขนิยาม "เจ้าหนี้" ให้มีความหมายกว้างขึ้นโดยขอเพิ่ม ธนาคารเฉพาะกิจประเภทอื่นนอกจากธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ ธนาคารเพื่อ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน หรือธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด และดำเนิน การต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||
113 | ขอความเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย "โครงการบ้านเอื้ออาทร" | พม | 18/12/2550 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ที่มีมติเห็นชอบใน
หลักการแนวทางการแก้ไขปัญหาโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย "โครงการบ้านเอื้ออาทร" ตามที่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ โดยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (การเคหะแห่งชาติ) รับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ และความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไป พิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย โดยในส่วนของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ เห็นว่า ข้อเสนอเพิ่มเติมให้มีการศึกษาแนว ทางให้สถาบันการเงินจัดสินเชื่อให้ผู้ซื้อบ้านเอื้ออาทรอัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่ ไม่เกินร้อยละ 4 โดยให้รัฐจัดสรรเงินอุด หนุนส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย นั้น ปัจจุบันธนาคารอาคารสงเคราะห์คิดดอกเบี้ยจากผู้ซื้อบ้านโครงการบ้านเอื้ออาทร ในอัตราร้อยละ 6.5 ซึ่งต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรคิดจากผู้กู้เกษตรกรราย ย่อย ร้อยละ 8-9 ควรจะพิจารณาเทียบเคียงแนวทางที่รัฐให้ความช่วยเหลือเกษตรกรดังกล่าวด้วย เพื่อมิให้เกิดความ เหลื่อมล้ำ และไม่สมควรให้มีการช่วยเหลือย้อนหลัง รวมทั้งควรหาทางเลือกอื่นที่มิใช่การอุดหนุนส่วนต่างอัตราดอก เบี้ยตามที่เสนอนี้ด้วย และให้กำหนดเงื่อนไขสำหรับกรณีการดำเนินโครงการในส่วนที่ยังมิได้มีการก่อสร้าง โดยมิให้ นำเงื่อนไขตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ที่กำหนดให้การเคหะ ฯ รับซื้ออาคารคืนและนำมาขาย ใหม่กรณีที่มีการขาดการชำระติดต่อกันเกินกว่า 3 เดือน โดยรัฐบาลจะเป็นผู้รับภาระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นและการเคหะ ฯ จะขอตั้งงบประมาณชดเชยเป็นรายปีต่อไป มาใช้บังคับกับกรณีดังกล่าว ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว การเคหะ ฯ ควร พิจารณาเกี่ยวกับการหาแหล่งสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ในอัตราและระยะเวลาที่เหมาะสม และโครงการตลาดบ้าน มือสอง สำหรับข้อเสนอให้มีการศึกษาแนวทางการให้สถาบันการเงินจัดสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่ไม่เกินร้อยละ 4 เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถรับภาระอัตราผ่อนชำระได้ประมาณ 1,500-1,800 บาทต่อเดือน โดยให้รัฐจัดสรรเงินอุดหนุน ส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยให้แก่สถาบันการเงินเป็นรายปี ตามจำนวนผู้ซื้อที่ขอรับสินเชื่อ นั้น ไม่ควรกำหนดตัวเลข อัตราดอกเบี้ยต่ำคงที่ไว้ที่ร้อยละ 4 |
|||||||||||||||||||||||||||
114 | ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยและร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ พ.ศ. .... | พม | 18/12/2550 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้ เห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศมีทิศทางที่เหมาะ สม ครอบคลุมการพัฒนาที่อยู่อาศัยทุกภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อย และเป็นกรอบการพัฒนาที่อยู่อาศัย รวมทั้งเพื่อการปรับปรุงสถานะภาพที่อยู่อาศัยในปัจจุบันสู่มิติการผลิตที่มีประสิทธิภาพ มีผลผลิตตรงตามความต้อง การของประชาชนอย่างแท้จริง โดยให้รับความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและความเห็นของคณะกรรมการกลั่น กรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 เกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ฯ ควร พิจารณาความพร้อมในการดำเนินการว่า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อน เรื่องที่อยู่อาศัยได้ดีจะมีความพร้อมตามแผนนี้มากกว่าการเคหะแห่งชาติ หรือไม่ และควรมีวิธีที่ทำให้ประชาชนเกิด ความรู้สึกเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงที่อยู่อาศัย ไปพิจารณาต่อไปด้วย และ อนุมัติหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ พ.ศ. .... มีสาระ สำคัญคือ ให้มีคณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยระดับชาติ มีอำนาจหน้าที่ทางวิชาการ และเสนอนโยบายเกี่ยวกับ เรื่องนี้อันจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและไม่กระทบต่อโครงสร้างการใช้อำนาจของรัฐ และส่งคณะกรรมการตรวจ สอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะ รัฐมนตรีในประเด็นร่างระเบียบ ฯ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 11 (8) หรือไม่ และความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรอง ฯ ที่เห็นควรพิจารณาความเหมาะสมของชื่อร่างระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง แล้วดำเนินการต่อไปได้ |
|||||||||||||||||||||||||||
115 | ขยายขอบเขตกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 11/12/2550 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการคลังเสนอดังนี้ เห็นชอบในหลักการของการทำหน้าที่เป็นผู้ประกัน
สินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยขยายขอบเขตการดำเนินงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ให้สามารถร่วมกิจการ กับบุคคลอื่น จัดตั้งบริษัท เพื่อประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ และอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการ อันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญคือ ขยายขอบเขตการ ดำเนินงานของ ธอส. ให้สามารถร่วมกิจการกับบุคคลอื่น จัดตั้งบริษัท เพื่อประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย และร่างกฎ กระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 โดยมีสาระ สำคัญคือ กำหนดให้การร่วมกิจการกับบุคคลอื่น จัดตั้งบริษัท เพื่อประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารจะเข้าร่วมลง ทุนหรือเข้าถือหุ้นได้ตามจำนวนเงินทุนหรือหุ้นที่รัฐมนตรีกำหนด แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนเงินทุนหรือ หุ้นทั้งหมด และภายในระยะเวลา 5 ปี นับจากวันเริ่มประกอบกิจการ ธนาคารต้องลดสัดส่วนการเข้าร่วมลงทุนหรือ เข้าถือหุ้นให้เหลือร้อยละ 5 นับจากวันเริ่มประกอบกิจการ ธนาคารต้องลดสัดส่วนการเข้าร่วมลงทุนหรือเข้าถือหุ้น ให้เหลือร้อยละ 5 หรือน้อยกว่า เว้นแต่รัฐมนตรีจะอนุญาตเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ในส่วนของหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไข ที่มิได้กำหนดในกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการธนาคารกำหนด และให้ส่งสำนักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับการกำหนดหลัก เกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของคณะกรรมการธนาคารในร่างกฎกระทรวง ฯ อาจเป็นการกำหนดที่เกินอำนาจของ กฎหมายแม่บทตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||
116 | การปรับปรุงค่ารักษาพยาบาลของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 04/12/2550 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ใน
คราวประชุมครั้งที่ 8/2550 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 ซึ่งคณะกรรมการแรงงาน ฯ มีมติให้ธนาคารอาคารสง เคราะห์ปรับปรุงค่ารักษาพยาบาลของพนักงานกรณีเป็นผู้ป่วยใน ค่าห้องและอาคาร โรงพยาบาลรัฐบาล และเอก ชนให้ปรับเพิ่มจากเดิม "ตามที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ 800 บาท" เป็น "ตามที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ 1,200 บาท" ส่วน กรณีเป็นผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลเอกชนซึ่งขอปรับเพิ่มจากเดิม "ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน ปีละ 10,000 บาท" เป็น "ตามที่จ่ายจริงไม่เกินปีละ 20,000 บาท" นั้น ให้กระทรวงแรงงานรับไปเพื่อส่งให้คณะ กรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง
|
|||||||||||||||||||||||||||
117 | การขอกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 | กค | 30/10/2550 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กู้เงินใน
ประเทศ 23,000 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและอื่น ๆ โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้ เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินและการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะ สม และจำเป็น ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วยว่า ในระยะยาวการค้ำ ประกันการกู้เงินของกระทรวงการคลังเพื่อการระดมทุนของธนาคารอาคารสงเคราะห์ดังกล่าว จะดำเนินการให้ เหมาะสมได้อย่างไร
|
|||||||||||||||||||||||||||
118 | ร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณาก่อนรับหลักการ [ร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....] | สว | 17/07/2550 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ ..)
พ.ศ. .... ที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (นายวรัชย์ ชวพงศ์ กับคณะ) เป็นผู้เสนอ ที่คณะรัฐมนตรีขอรับมาพิจารณา ก่อนรับหลักการไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติภายในกำหนดเวลาพร้อมส่งข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปเพื่อประกอบ ตามข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติข้อ 111 ด้วยว่า บทบัญญัติมาตรา 18/1 และมาตรา 18/2 ของพระ ราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2549 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อาจแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารขึ้นคณะหนึ่ง มีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติการใด ๆ อันเป็น อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ตามที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. จะกำหนดยังมีความจำเป็นต้องคงไว้เพื่อลดภาระ งานประจำของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ที่มีเป็นจำนวนมากให้น้อยลงโดยให้คงคณะกรรมการบริหารเข้ามาช่วยดูแลแทน ตามที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. กำหนด เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและสะดวกรวดเร็ว อันจะทำให้การดำเนินกิจการของ ธนาคารมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับการจะแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหรือไม่ นั้น เป็นอำนาจของคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ที่จะพิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม และการที่จะมอบอำนาจให้แก่คณะกรรมการบริหารเพื่อดำเนิน การใด ๆ ก็ต้องเป็นอำนาจที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. มีอยู่ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นคนละส่วนกับอำนาจบริหารจัดการของ ผู้จัดการ คณะกรรมการบริหารจึงมิได้เข้าใช้อำนาจบริหารจัดการของผู้จัดการแต่ประการใด ประกอบกับกฎหมายจัด ตั้งธนาคารอื่น ก็มีบทบัญญัติลักษณะนี้ อาทิเช่น พระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2545 (มาตรา 22 และมาตรา 24) พระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง ประเทศไทย พ.ศ. 2536 (มาตรา 18) และพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 (มาตรา 19 มาตรา 21 และมาตรา 22) |
|||||||||||||||||||||||||||
119 | ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 และร่างระเบียบว่าด้วยการบริหารกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2550 | กษ | 26/06/2550 | ||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอร่างระเบียบสำนักนายก
รัฐมนตรี ว่าด้วยกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2550 มีสาระสำคัญคือ ขยายเจ้าหนี้ในระบบ จากเดิมเฉพาะธนาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ เพิ่มเป็น ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาด ย่อม (SME) และสถาบันเกษตรกร ที่เป็นนิติบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ (เฉพาะเจ้าหนี้สหกรณ์ประเภท สหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด และแก้ไข เพิ่มเติมวัตถุประสงค์กรณีการกู้ยืมเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งผู้กู้ยืมไม่ได้นำที่ดินหรือหนังสือแสดงสิทธิใน ที่ดินหรือกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เป็นประกันและขยายวัตถุประสงค์ของกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืม แก่เกษตรกรและผู้ยากจนให้ครอบคลุมการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในเรื่องการกู้ยืมเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพใน ลักษณะเป็นกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งขยายวงเงินกู้ จากเดิมวงเงินกู้สูงสุดไม่เกินรายละ 500,000 บาท เป็นสูงสุด ไม่เกินรายละ 2,500,000 บาท และแก้ไขอัตราดอกเบี้ยจากเดิมให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมจากกองทุนหมุน เวียน ฯ ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 1-4 บาทต่อปี ตามวงเงินที่ขอกู้ และให้ส่งคณะกรรม การตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||
120 | รายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มีหนี้สินกับสถาบันการเงิน | กค | 06/03/2550 | ||||||||||||||||||||||||
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอข้อมูลการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มีหนี้สินกับสถาบันการ
เงินของกระทรวงการคลัง โดยสถาบันการเงินซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลังและสถาบันการเงินเฉพาะ กิจได้กำหนดมาตรการร่วมกันในการพิจารณาและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาทิ ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ดำเนินการช่วยเหลือโดยกรณีเสียชีวิตตัดเป็นหนี้สูญ จำนวน 13 ราย วงเงิน 1.14 ล้านบาท ขยายเวลาและงดคิดดอกเบี้ย 3 ปี จำนวน 106,300 ราย ต้นเงิน 15,149.04 ล้านบาท ธนาคารออมสิน ดำเนินการช่วยเหลือในส่วนของลูกหนี้สินเชื่อเคหะ จำนวน 551 ราย วงเงิน 131.45 ล้านบาท ลูกหนี้ธุรกิจห้อง แถว จำนวน 35 ราย วงเงิน 3.71 ล้านบาท ลูกค้าสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน จำนวน 226 ราย วงเงิน 8.55 ล้านบาท และลูกค้าสินเชื่อบำรุงขวัญ จำนวน 1,351 ราย วงเงิน 116.72 ล้านบาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ดำเนินการช่วยเหลือโดยลดอัตราดอกเบี้ย จำนวน 551 ราย มูลหนี้ 346.62 ล้านบาท และกู้เพิ่มเพื่อซ่อมแซม จำนวน 11 ราย มูลหนี้ 4.20 ล้านบาท ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ดำเนิน การช่วยเหลือโดยพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย จำนวน 94 ราย วงเงิน 388.63 ล้านบาท ธนาคารอิสลามแห่ง ประเทศไทย ดำเนินการช่วยเหลือโดยพักชำระหนี้/ขยายระยะเวลาและปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 2 ราย มูลหนี้ 259.90 ล้านบาท เป็นต้น
|
.....