ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 5 จากทั้งหมด 14 หน้า แสดงรายการที่ 81 - 100 จากข้อมูลทั้งหมด 280 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
81 | พิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินการ "โครงการบ้าน ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก (ร้อยละ 0 3 ปี)" | กค | 06/11/2555 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการบ้าน ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก (ร้อยละ ๐ ๓ ปี) ออกไปอีก ๖ เดือน จากเดิมสิ้นสุดระยะเวลายื่นคำขอกู้เงินวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ เป็นวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๖ (วันทำการสุดท้ายของเดือน) และต้องทำนิติกรรมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ให้เสร็จสิ้นจากเดิมภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ เป็นภายในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๖ (วันทำการสุดท้ายของเดือน) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. ให้กระทรวงการคลังและธนาคารอาคารสงเคราะห์รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่เห็นควรจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการต่าง ๆ ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ แล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบในการกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และการให้สินเชื่อแก่ผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรที่มีความพร้อมโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองหลักเป็นประกันกับธนาคาร ไปพิจารณาดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
82 | รายงานผลการดำเนินการของกระทรวงการคลังในการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย | กค | 28/08/2555 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ซึ่งกระทรวงการคลังได้กำหนดมาตรการด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือฯ รวมทั้งมาตรการช่วยเหลือฯ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๔ วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ และวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
๑. มาตรการด้านการเงิน ประกอบด้วย ๑.๑ สินเชื่อเพื่อภาคการเกษตร ดำเนินการโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน ๑ โครงการ คือ สินเชื่อฟื้นฟูการประกอบอาชีพรายละไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท วงเงินสินเชื่อรวม ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ สินเชื่อเพื่อภาคเคหะ ดำเนินการโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ร่วมกับธนาคารออมสิน จำนวน ๑ โครงการ คือ มาตรการสินเชื่อสำหรับการเคหะ วงเงินสินเชื่อรวม ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๓ สินเชื่อเพื่อธุรกิจ SMEs มีมาตรการที่ให้ความช่วยเหลือ จำนวน ๓ โครงการ วงเงินสินเชื่อรวม ๑๖๒,๐๐๐ ล้านบาท ได้แก่ มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโดยความร่วมมือของธนาคารออมสินและธนาคารพาณิชย์ วงเงินสินเชื่อรวม ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบภัยพิบัติปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย วงเงินสินเชื่อรวม ๒,๐๐๐ ล้านบาท และการค้ำประกันสินเชื่อของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม วงเงินค้ำประกันรวม ๑๐๐,๐๐๐ ล้านบาท (คาดว่าจะให้สินเชื่อได้ ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท) ๑.๔ สินเชื่อเพื่อรายย่อย มีมาตรการที่ให้ความช่วยเหลือ จำนวน ๓ โครงการ วงเงินสินเชื่อรวม ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ได้แก่ มาตรการสินเชื่อสำหรับกลุ่มรายย่อย โดยธนาคารออมสิน วงเงินสินเชื่อรวม ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท มาตรการสินเชื่อรายย่อยสำหรับผู้ประสบอุทกภัย โดยสำนักงานประกันสังคม วงเงินสินเชื่อรวม ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท และมาตรการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน โดยสำนักงานประกันสังคม วงเงินสินเชื่อรวม ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๕ สินเชื่อเพื่อการพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัยของนิคมอุตสาหกรรม ดำเนินการโดยธนาคารออมสิน จำนวน ๑ โครงการ คือ มาตรการสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย วงเงินสินเชื่อรวม ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๖ การให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท ๒. มาตรการด้านภาษี ประกอบด้วย ๒.๑ ภาษีเงินได้ ได้แก่ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสำหรับเงินชดเชยที่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับจากภาครัฐ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นจำนวนเงินเท่ากับจำนวนความเสียหายที่ได้รับสำหรับผู้ประสบอุทกภัยที่ลงทะเบียนไว้กับศูนย์หรือหน่วยงานให้ความช่วยเหลือของทางราชการ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับจากการประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหายดังกล่าวเฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาแล้ว การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลสำหรับเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการบริจาคหรือชดเชยที่มีมูลค่าไม่เกินความเสียหาย รวมทั้งยกเว้นภาษีในส่วนของการบริจาคให้กับผู้ประสบอุทกภัยผ่านหน่วยงานส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือผ่านเอกชนที่เป็นตัวแทนรับบริจาค ที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสรรพากร เพื่อนำไปบริจาคต่อให้กับผู้ประสบอุทกภัย ผู้บริจาคสามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อน/ค่าใช้จ่ายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ๒.๒ ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำสินค้าไปบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ๒.๓ ภาษีศุลกากร ได้แก่ การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบเครื่องจักร รวมถึงเครื่องมือและเครื่องใช้ที่ใช้กับเครื่องจักรดังกล่าวที่นำเข้ามาเพื่อทดแทนหรือซ่อมแซมเครื่องจักรที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากอุทกภัย การยกเว้นอากรขาเข้ารถยนต์นั่งสำเร็จรูปเพื่อทดแทนการผลิตในประเทศ และการยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ที่นำเข้ามาเพื่อผลิตหรือประกอบเป็นส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบเป็นรถยนต์สำเร็จรูปในประเทศ ๒.๔ การขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี ได้แก่ การขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ สำหรับผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร โดยให้สามารถนำไปยื่นแบบได้ภายในวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๔ และการขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และผู้ประกอบกิจการสถานบริการที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ตามประกาศกระทรวงการคลัง โดยให้สามารถนำไปยื่นแบบได้ภายในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๓. มาตรการด้านการคลัง ประกอบด้วย ๓.๑ การอนุมัติให้จังหวัดต่าง ๆ และส่วนราชการขยายวงเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และอนุมัติให้สามารถปฏิบัตินอกเหนือระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๑ ๓.๒ การขยายระยะเวลาและผ่อนปรนหลักเกณฑ์การกันเงินงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ผูกพันได้อีก ๖ เดือน จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถเบิกจ่ายเงินตามระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในรายการเพื่อช่วยเหลือ แก้ไขและฟื้นฟูภายหลังเกิดอุทกภัย ๓.๓ การยกเว้นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัดสุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ สำหรับหน่วยงานภายใต้ระเบียบที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่จังหวัดมีประกาศภัยพิบัติในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ไปจนกว่าภัยพิบัติจะสิ้นสุดลง และการผ่อนคลายการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับเงินนอกงบประมาณ รวมทั้งการเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๙ สำหรับหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ในงาน/โครงการ ฟื้นฟู และป้องกันความเสียหายจากเหตุอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะส่งผลเป็นการลดขั้นตอนดำเนินการ e-Auction จากเดิมต้องใช้เวลา ๘๕ วัน เหลือ ๒๘ วัน ๓.๔ การแจ้งให้ทุนหมุนเวียนทบทวนบทบาท หน้าที่ กรอบภารกิจและวัตถุประสงค์ของทุนหมุนเวียน ซึ่งหากอยู่ในข่ายที่สามารถให้ความช่วยเหลือกลุ่มผู้รับบริการที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติได้ ให้ดำเนินการสำรวจกลุ่มผู้รับบริการของทุนหมุนเวียนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมและกำหนดแนวทางหรือมาตรการเยียวยาให้ความช่วยเหลือ ๓.๕ การให้ความช่วยเหลือผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่อุทกภัยหรือได้รับความเดือดร้อนจากเหตุอุทกภัยสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยในสถานพยาบาลของทางเอกชนได้ทุกโรค ส่วนการเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการประเภทผู้ป่วยนอก ให้ผู้มีสิทธิและสถานพยาบาลของทางราชการถือปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการสมัครขอใช้สิทธิในระบบเบิกจ่ายตรงสามารถใช้สิทธิได้ทันที ซึ่งจากเดิมต้องรอ ๑๕ วัน ๓.๖ การผ่อนผันให้ขยายระยะเวลาการส่งรายงานการเงินของส่วนราชการระดับกรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ผ่อนผันการส่งผลการประเมินการปฏิบัติงานด้านบัญชีของส่วนราชการระดับกรม ไตรมาสที่ ๔ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ ผ่อนผันการส่งรายงานประจำเดือนจากระบบ GFMIS ประจำไตรมาสที่ ๑ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ และผ่อนผันการส่งรายงานผลการประเมินการปฏิบัติงานด้านบัญชีของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ไตรมาสที่ ๑ ๓.๗ การเลื่อนกำหนดระยะเวลาการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยหวัด และบำนาญของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว รวมทั้งค่าตอบแทนของพนักงานราชการ ของส่วนราชการต่าง ๆ ประจำเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ๒๕๕๔ จากเดิม ก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือน ๓ วันทำการ เป็นประจำเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ ให้จ่ายในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ และประจำเดือนธันวาคม ๒๕๕๔ ให้จ่ายก่อนวันทำการสุดท้ายของเดือน ๕ วันทำการ ๔. มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติม โดยให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๔ - วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๔ ให้ได้รับการขยายระยะเวลาของสัญญาออกไปอีก จำนวน ๑๘๐ วัน และการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างและผู้ประกอบการอื่นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ - วันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๕ กรณีเป็นสัญญาจ้างก่อสร้างหรือสัญญาประเภทอื่นที่มิใช่สัญญาจ้างก่อสร้าง ให้ขยายระยะเวลาของสัญญาออกไปอีก จำนวน ๑๘๐ วัน สำหรับสัญญาซื้อขาย ให้ขยายระยะเวลาออกไปอีก จำนวน ๑๒๐ วัน
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
83 | การกู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยปี 2554 ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 14/08/2555 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อนำไปให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยปี ๒๕๕๔ เพิ่มเติม จำนวน ๑๔,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียดการกู้เงินดังกล่าวเป็นไปตามประกาศของ ธปท. ส่วนการขออนุมัติในหลักการให้ ธอส. สามารถกู้เงินกับ ธปท. ในส่วนของวงเงินส่วนกลาง (จำนวน ๔๑,๗๐๐ ล้านบาท) ที่ ธปท. ได้จัดสรรให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ยื่นขอจัดสรรหรือทบทวนวงเงินภายในเวลาที่ ธปท. กำหนด นั้น ให้ ธปท. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการกู้เงินดังกล่าวเมื่อทราบวงเงินกู้ตามผลการพิจารณาของ ธปท. ที่ชัดเจนแล้ว ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
84 | การกู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยปี 2554 ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 29/05/2555 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์กู้เงินจากธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อนำไปให้กู้ยืมแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยปี ๒๕๕๔ วงเงินไม่เกิน ๖,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียดการกู้เงินดังกล่าวเป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. ให้กระทรวงการคลัง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรมีกระบวนการตรวจสอบว่ากลุ่มผู้ที่จะได้รับเงินกู้เป็นผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในปี ๒๕๕๔ อย่างแท้จริง การกำหนดมาตรการในการติดตามการปล่อยกู้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเร่งดำเนินการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยโดยเร็ว และให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานความคืบหน้ามาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของสถาบันการเงินเฉพาะกิจและการปล่อยสินเชื่อโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน Soft Loan ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยจำแนกเป็นรายธนาคารให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเป็นประจำทุกเดือน เพื่อให้สามารถติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการและสามารถบริหารจัดการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
85 | การกู้เงินเพื่อทดแทนพันธบัตรเดิมที่ครบกำหนดของธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 29/03/2555 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ อนุมัติให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กู้เงินในประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ จำนวน ๒๑,๑๐๐ ล้านบาท เพื่อทดแทนพันธบัตรเดิมที่ครบกำหนดในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยกระทรวงการคลังค้ำประกัน ๑.๒ อนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน และการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ๒. ให้ ธอส. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นว่า ในสภาวะปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงจากธนาคารพาณิชย์เอกชน เห็นควรให้ ธอส. รวมถึงสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น ๆ ของรัฐ เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เพื่อลดสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ลดต้นทุนในการดำเนินงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และรักษาส่วนแบ่งตลาด และเป็นกลไกที่สำคัญในการสนับสนุนนโยบายของรัฐต่อไป รวมทั้งพิจารณาปรับโครงสร้างอายุของทรัพย์สินและหนี้สินให้มีความสอดคล้องกัน อาทิ การขยายฐานเงินฝากไปสู่กลุ่มผู้ฝากเงินรายย่อยให้มากขึ้น และเพิ่มการระดมทุนระยะยาว เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านสภาพคล่องและสร้างความแข็งแกร่งของ ธอส. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
86 | ขอขยายระยะเวลาแสดงเจตจำนงเข้าโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้คงค้างต่ำกว่า 500,000 บาท | กค | 07/02/2555 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๑.๑ ขยายระยะเวลาแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้ที่มีหนี้คงค้างต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่ลูกค้าบุคคลธรรมดาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ๕ แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย จากเดิมสิ้นสุดวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เป็นสิ้นสุดวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๕ รวมเป็นระยะเวลาแสดงความจำนงทั้งสิ้น ๕ เดือน เพื่อให้ลูกค้ามีระยะเวลาเพียงพอในการเตรียมหลักฐานและเอกสารเข้าร่วมโครงการฯ ๑.๒ ผ่อนปรนเกณฑ์การแสดงหลักฐานยื่นชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยให้ผู้ที่สนใจเข้าโครงการฯ ต้องเป็นผู้ที่มีหลักฐานการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภายในวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๕ ซึ่งหมายความว่าลูกค้าสามารถใช้หลักฐาน ภ.ง.ด. ๙๑ และ ภ.ง.ด. ๙๐ สำหรับการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นหลักฐานการขอเข้าโครงการฯ ได้เพิ่มเติม ๒. ให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานและสถาบันการเงินของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาทบทวนและกำหนดแนวทางการดำเนินการโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการพักหนี้ของเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อยให้สอดคล้องกับคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวด้วย ๓. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประสานงานกับรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล) และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ผลการดำเนินงานตามนโยบายต่าง ๆ ของคณะรัฐมนตรีที่ได้ดำเนินการไปแล้วให้ประชาชนและผู้สนใจได้ทราบอย่างถูกต้อง ชัดเจน และทั่วถึงด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
87 | โครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้คงค้างต่ำกว่า 500,000 บาท | กค | 15/11/2554 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๑.๑ หลักการดำเนินโครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้คงค้างต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ๑.๑.๑ หลักการดำเนินโครงการพักหนี้ครัวเรือนเกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท อย่างน้อย ๓ ปี เฉพาะหนี้ที่มีปัญหาการชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งมีผู้มีสิทธิประมาณ ๗๗๕,๐๙๐ บัญชี มูลหนี้คงค้าง ๙๐,๕๐๒.๕๕ ล้านบาท ๑.๑.๒ กลุ่มเป้าหมายโครงการพักหนี้ฯ ๒ กลุ่ม ได้แก่ ๑.๑.๒.๑ ลูกค้าบุคคลธรรมดาของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่กู้เงินแบบมีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบอาชีพ จัดหาที่อยู่อาศัย การศึกษา และการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระ และ/หรือหนี้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส) โดยไม่รวมลูกหนี้ที่เคยถูกดำเนินคดีและอยู่ระหว่างดำเนินคดีโดย ธ.ก.ส. และมีหนี้ต้นเงินกู้คงเหลือรวมทุกสัญญาในทุกสถาบันการเงินรวมกันรายละไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ทั้งนี้ โดยเป็นสถานะหนี้ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ ๑.๑.๒.๒ ลูกค้าบุคคลธรรมดาของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ๕ แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) ที่กู้เงินแบบมีวัตถุประสงค์เพื่อการประกอบอาชีพ จัดหาที่อยู่อาศัย การศึกษา และรักษาพยาบาล ฯลฯ ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่มีสถานะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performing Loans - NPLs) และ/หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยไม่รวมลูกหนี้ที่เคยถูกดำเนินคดีและอยู่ระหว่างดำเนินคดีโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น มีหนี้ต้นเงินกู้คงเหลือรวมทุกสัญญาในทุกสถาบันการเงินรวมกันรายละไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท โดยเป็นสถานะหนี้ ณ วันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๔ และเป็นผู้ที่อยู่ในระบบฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ๑.๑.๓ ระยะเวลาพักหนี้ ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๗ ๑.๑.๔ ระยะเวลาเริ่มต้นโครงการ สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เกี่ยวข้องจะเริ่มดำเนินโครงการโดยเปิดลงทะเบียนลูกค้าที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ โดยมีระยะเวลาดำเนินการประมาณ ๓ เดือน ๑.๒ กรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ โดยให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง ๖ แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธพว. ธอส. ธอท. และ บตท. ประสานกับสำนักงบประมาณในการขอตั้งงบประมาณต่อไป ๑.๓ หลักการปรับปรุงระบบข้อมูลเครคิตของลูกค้าในฐานข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด และมีมติให้คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตแก้ไขเพิ่มเติมประกาศเรื่องรหัสสถานะบัญชี ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับกลุ่มบุคคลเป้าหมายที่จะได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการควรครอบคลุมเกษตรกรรายย่อยที่เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรหรือสถาบันเกษตรกรอื่น และควรกำหนดแนวทางและมาตรการในการตรวจสอบลูกหนี้ผู้เข้าร่วมโครงการให้ตรงตามคุณสมบัติอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะในประเด็นการไม่สามารถชำระหนี้ด้วยเหตุสุดวิสัยและจำเป็น เพื่อมิให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างลูกค้าที่ชำระหนี้ตรงตามกำหนดเวลา และมิให้ลูกหนี้เสียวินัยทางการเงิน และให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจเน้นให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์โครงการและได้รับผลกระทบจากวิกฤตอุทกภัยในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นกรณีแรก รวมทั้งให้กระทรวงการคลังประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตรของแผนการฟื้นฟูและพัฒนาลูกหนี้ให้ครอบคลุมเนื้อหาการให้ความรู้ความเข้าใจทางการเงิน การออม การลงทุน การบริหารความเสี่ยง และการสร้างวินัยทางการเงิน ตลอดจนแนวทางการเพิ่มรายได้จากการพัฒนาประสิทธิภาพและมูลค่าของสินค้าและผลิตภัณฑ์ การลดรายจ่ายและต้นทุนในการประกอบอาชีพ การสร้างความมั่นคงด้านอาหารในครัวเรือน เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและชุมชนได้อย่างยั่งยืนสอดคล้องตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
88 | มาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย | นร | 25/10/2554 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบมาตรการด้านการเงินที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลังสำรวจและประเมินความเสียหายเพื่อให้สามารถเร่งดำเนินการได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ มาตรการด้านการเงินที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ได้แก่ ๑.๑.๑ การช่วยเหลือค่าเสียหายด้านที่พัก (ไม่เกินหลังละ ๓๐,๐๐๐ บาท) และทรัพย์สินที่ประสบอุทกภัย (ครัวเรือนละไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท) ๑.๑.๒ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) (ครัวเรือนละ ๕,๐๐๐ บาท) ๑.๑.๓ การช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียหายด้านพืช ประมงและปศุสัตว์ ๑.๑.๔ การลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินต่าง ๆ ๑.๒ เห็นชอบมาตรการด้านสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ในวงเงินรวม ๓๒๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการคลัง จัดทำข้อมูลลงทะเบียนผู้ประสบความเสียหายเพื่อให้สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องพิจารณาดูแลโครงการสินเชื่อดังกล่าว ทั้งนี้ มาตรการด้านสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่ ๑.๒.๑ สินเชื่อรายย่อยสำหรับผู้ประสบอุทกภัย วงเงิน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกอบด้วย ๑.๒.๑.๑ สินเชื่อสำหรับกลุ่มรายย่อย วงเงินรวม ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ดำเนินการโดยธนาคารออมสิน ๑.๒.๑.๒ สินเชื่อเพื่อการเคหะ วงเงินรวม ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ดำเนินการโดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน ๑.๒.๑.๓ สินเชื่อสำหรับกลุ่มเกษตรกร วงเงินรวม ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ดำเนินการโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ๑.๒.๒ สินเชื่อรายย่อยสำหรับผู้ประสบอุทกภัยจากโครงการประกันสังคม วงเงิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ประกอบด้วย ๑.๒.๒.๑ โครงการประกันสังคมเคียงข้างผู้ประกันตนต้านอุทกภัย สำหรับสถานประกอบการ วงเงิน ๒,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อใช้ในกิจการหรือการซ่อมแซมสถานประกอบการ รายละไม่เกิน ๑ ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๓ (คงที่ ๓ ปี) ๑.๒.๒.๒ โครงการประกันสังคมเคียงข้างผู้ประกันตนต้านอุทกภัย วงเงิน ๘,๐๐๐ ล้านบาท สำหรับผู้ประกันตน เพื่อซ่อมแซมบ้านที่ถูกน้ำท่วมของตนเองหรือของบิดามารดา รายละไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๒.๕ (คงที่ ๕ ปี) ๑.๒.๓ การค้ำประกันสินเชื่อของอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ให้การค้ำประกันสินเชื่อของผู้ประกอบการที่ต้องการสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูธุรกิจ ระยะเวลาค้ำประกัน ๗ ปี ซึ่งจะครอบคลุมวงเงินให้กู้ของธนาคารพาณิชย์ จำนวน ๑๒๐,๐๐๐ ล้านบาท โดย บสย. รับผิดชอบส่วนสูญเสียในการจ่ายค่าประกันชดเชยสูงสุดไม่เกินร้อยละ ๓๐ และยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกันร้อยละ ๑.๗๕ ให้เป็นเวลา ๗ ปี รวมถึงขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้กับลูกค้าที่ได้รับการค้ำประกันในอัตราร้อยละ ๓ ต่อปีในช่วง ๓ ปี ๑.๒.๔ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ประกอบการ ประกอบด้วย ๑.๒.๔.๑ โดยธนาคารออมสินร่วมให้สินเชื่อร้อยละ ๕๐ กับธนาคารพาณิชย์ที่ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัย ดำเนินการโดยให้ธนาคารออมสินฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการ และธนาคารออมสินรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ ๐.๐๑ ต่อปี โดยกำหนดวงเงินของธนาคารออมสิน จำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อรวมกับวงเงินของธนาคารพาณิชย์ จำนวน ๒๐,๐๐๐ ล้านนาท รวมเป็นวงเงินสินเชื่อรวม ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒.๔.๒ โครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน วงเงิน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยสำนักงานประกันสังคมนำเงินไปฝากธนาคารที่เข้าร่วมโครงการเพื่อปล่อยกู้ให้แก่สถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมเพื่อเสริมสภาพคล่อง หรือเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ๑.๒.๕ สินเชื่อจากธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) โดยกระทรวงการคลังจะประสานกับ JBIC เพื่อให้พิจารณานำเงินเข้าฝากธนาคารพาณิชย์ที่ต้องการเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ประสบอุทกภัย จำนวน ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒.๖ สินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัย โดยรัฐบาลจะหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำซึ่งรัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณชดเชยเพื่อให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และผู้ประกอบการเพื่อการลงทุนในระบบป้องกันอุทกภัยของนิคมและโรงงานโดยมีวงเงิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๓ รับทราบแนวทางการให้การสนับสนุนด้านสิทธิประโยชน์การลงทุน ได้แก่ การขยายสิทธิประโยชน์การส่งเสริมการลงทุน โดยยืดเวลาหรือขยายสิทธิประโยชน์ให้แก่นักลงทุนที่ประสบความเสียหายจากอุทกภัย และการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศที่จะเข้ามาทำงานในประเทศเพื่อแก้ไขปัยหาและฟื้นฟูโรงงานที่ประสบความเสียหาย โดยให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาดำเนินการ และรายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบ ๒. เห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอเพิ่มเติมในส่วนของสินเชื่อรายย่อยสำหรับผู้ประสบอุทกภัยจากธนาคารออมสิน ธอส. และ ธ.ก.ส. วงเงิน ๘๐,๐๐๐ ล้านบาท เห็นควรปรับถ้อยคำให้ครอบคลุมชัดเจน จากเดิม “สินเชื่อสำหรับกลุ่มเกษตรกร วงเงินรวม ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท ...” เป็น “สินเชื่อสำหรับกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ วงเงินรวม ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท”
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
89 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 25/10/2554 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
๑. อนุมัติให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน ๗ คน ตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙ ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔) เป็นต้นไป ดังนี้ ๑.๑ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานกรรมการ ๑.๒ นายชัยเกษม นิติสิริ กรรมการ ๑.๓ พลตำรวจโท เจตน์ มงคลหัตถี กรรมการ ๑.๔ นายธงทอง จันทรางศุ กรรมการ ๑.๕ นางอาภัททรา ศฤงคารินกุล กรรมการ ๑.๖ นายบรรพต ตั้งศัตยาภิรมย์ กรรมการ ๑.๗ นายศุภสิทธิ์ ศิริศักดิ์ กรรมการ ๒. สำหรับนายชัยเกษม นิติสิริ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการอัยการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
90 | โครงการบ้าน ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก | กค | 04/10/2554 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการโครงการบ้าน ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก และการขอชดเชยภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินการโครงการฯ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยสาระสำคัญของโครงการฯ สรุปได้ ดังนี้ ๑.๑ วัตถุประสงค์ของการกู้ เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคาร หรือห้องชุด และเพื่อปลูกสร้างอาคาร หรือเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร ๑.๒ วงเงินให้กู้ ๑.๒.๑ ไม่เกินรายละ ๑ ล้านบาท ๑.๒.๒ ไม่เกินร้อยละ ๑๐๐ ของราคาประเมินที่ดินพร้อมอาคารหรืออาคารหรือห้องชุด และไม่เกินร้อยละ ๑๐๐ ของราคาซื้อขายหรือราคาก่อสร้าง ทั้งนี้ ไม่เกินเกณฑ์หลักประกันตามระเบียบปกติของ ธอส. ๑.๓ ระยะเวลาการกู้ ไม่เกิน ๓๐ ปี และอายุผู้กู้หลักที่ใช้สิทธิรวมกับจำนวนปีที่ขอกู้ต้องไม่เกิน ๖๕ ปี ๑.๔ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ๑.๔.๑ ปีที่ ๑ - ปีที่ ๓ เท่ากับร้อยละ ๐ ต่อปี ๑.๔.๒ ปีที่ ๔ - ปีที่ ๗ กรณีสวัสดิการเท่ากับ MRR - ๐.๕๐% ต่อปี กรณีรายย่อยเท่ากับ MRR ๑.๔.๓ ปีที่ ๘ เป็นต้นไป กรณีสวัสดิการเท่ากับ MRR - ๑.๐๐% ต่อปี กรณีรายย่อยเท่ากับ MRR - ๐.๕๐% ต่อปี ๑.๕ หลักประกัน ที่ดินพร้อมอาคารที่มีเอกสารสิทธิเป็นโฉนด หรือ น.ส. ๓ ก หรือหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด ๒. ให้กระทรวงการคลังปรับปรุงเงื่อนไขการให้กู้ให้ชัดเจน จาก “ไม่เกินรายละ ๑ ล้านบาท” เป็น ราคาที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เกิน ๑ ล้านบาท” และให้กระทรวงการคลัง (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง) รับไปประสานงานกับธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยลงให้เหมาะสม และเป็นการลดภาระการชดเชยจากภาครัฐด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
91 | มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2554 | กค | 25/08/2554 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความคืบหน้ามาตรการให้ความช่วยแหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. มาตรการด้านการเงิน ได้กำหนดมาตรการด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จำนวน ๘ แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าเดิมของธนาคารในเรื่องการพักชำระหนี้ ขยายระยะเวลาชำระหนี้ และลดดอกเบี้ย รวมทั้งให้เงินกู้ใหม่แก่ลูกค้าเดิมและประชาชนทั่วไปเพื่อฟื้นฟูอาชีพและซ่อมแซมบ้าน/อาคารที่เสียหาย โดยลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำกว่าปกติ และลดหย่อนเกณฑ์การพิจารณา ๒. การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กรมบัญชีกลางได้ช่วยให้ทางราชการสามารถดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอนุมัติให้จังหวัดที่ประสบภัยพิบัติรุนแรงและขยายวงเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทั่วถึง ๓. มาตรการด้านภาษี ๓.๑ ผู้ประสบอุทกภัยทั้งบุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินชดเชยที่ได้รับจากภาครัฐ ๓.๒ ผู้ประสบอุทกภัยที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ประกอบการ [มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๕๐(๕) ถึง (๘) แห่งประมวลรัษฎากร] ที่ได้ลงทะเบียนไว้กับศูนย์หรือหน่วยงานให้ความช่วยเหลือของทางราชการ ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่าจำนวนความเสียหายที่ได้รับ ๓.๓ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและได้รับเงินได้ที่เป็นค่าสินไหมทดแทนจากการประกันภัย ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากการประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหายดังกล่าวเฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคาแล้ว ๓.๔ การบริจาคให้กับผู้ประสบอุทกภัยผ่านหน่วยงานส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือผ่านเอกชนที่เป็นตัวแทนรับบริจาคที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสรรพากร เพื่อนำไปบริจาคต่อให้กับผู้ประสบอุทกภัย สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในทางภาษีได้ไม่เกินร้อยละ ๒ ของกำไรสุทธิ (กรณีผู้บริจาคเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และสามารถบริจาคได้ทั้งเงินและทรัพย์สิน) และไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินได้สุทธิ (กรณีผู้บริจาคเป็นบุคคลธรรมดาสำหรับการบริจาคเป็นเงินเท่านั้น) ทั้งนี้ ผู้รับบริจาคได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคมาถือเป็นเงินได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินกว่ามูลค่าความเสียหายที่ได้รับ ๓.๕ การพิจารณาขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีสรรพากรให้กับบางพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยรุนแรงตามความจำเป็นและสมควร
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
92 | ความคืบหน้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร (นโยบายการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่เสียชีวิตพิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้) | กค | 12/07/2554 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานความคืบหน้าโครงการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร โดยที่ประชุมร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ได้กำหนดหลักการในการดำเนินโครงการสร้างหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร กรณีให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่เสียชีวิต พิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ สรุปได้ ดังนี้
๑. กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับความช่วยเหลือ คือ เกษตรกร ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑.๑ กลุ่มที่ ๑ เกษตรกรที่เสียชีวิต พิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) และขึ้นทะเบียนหนี้กับ กฟก. ไว้แล้ว และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) กับสถาบันการเงินหลัก ๔ แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ไม่เกินรายละ ๒.๕ ล้านบาท ๑.๒ กลุ่มที่ ๒ เกษตรกรที่เสียชีวิต พิการหรือทุพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ที่ไม่เป็นสมาชิก กฟก. หรือเป็นสมาชิก แต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนหนี้และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) กับสถาบันการเงินหลัก ๔ แห่ง ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ไม่เกินรายละ ๒.๕ ล้านบาท ๑.๓ กลุ่มที่ ๓ เกษตรกรที่เสียชีวิต พิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ของสถาบันการเงินอื่น สหกรณ์ฯ และนิติบุคคลที่คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกำหนดและมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) กับสถาบันการเงินหลัก ๔ แห่ง ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๒ ไม่เกินรายละ ๒.๕ ล้านบาท ๒. การจำหน่ายหนี้เงินกู้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ สำหรับสถาบันการเงินเฉพาะกิจและสถาบันการเงินที่เป็นรัฐวิสาหกิจให้ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจำหน่ายทรัพย์สินและหนี้สูญออกจากบัญชีของรัฐวิสาหกิจ กรณีที่เป็นสถาบันการเงินอื่น สหกรณ์ฯ นิติบุคคลที่คณะกรรมการ กฟก. กำหนดให้ปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายตามแต่องค์กรนั้น ๆ ถือปฏิบัติ ๓. ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการดำเนินการแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐเพื่อให้เกิดความชัดเจนของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นและอาจส่งผลกระทบถึงความมั่นคงทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น ๆ ๔. ให้สถาบันการเงินที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และธนาคารกรุงไทยฯ จัดทำประมาณการจำนวนเกษตรกรกลุ่มลูกหนี้และจำนวนหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยตามนโยบายนี้ให้กระทรวงการคลังโดยเร็ว |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
93 | รายงานผลการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ครูและบุคลากรทางการศึกษา) | กค | 31/05/2554 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ครูและบุคลากรทางการศึกษา) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. การจ่ายเงินค่าตอบแทนสำหรับผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีปรับเพิ่มเงินค่าตอบแทนพิเศษจากคนละ ๒,๕๐๐ บาทต่อเดือน เป็นคนละ ๓,๕๐๐ บาทต่อเดือน กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอร่างหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ปฏิบัติงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษรายเดือน โดยได้มีหนังสือถึงสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์ฯ และอนุมัติเงินจากงบกลางเพื่อจ่ายค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๖๓๗,๘๖๐,๐๐๐ บาท ๒. การให้ความช่วยเหลือเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของครูและบุคลากรทางการศึกษา ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ดำเนินโครงการลดภาระหนี้สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระลูกค้าธนาคารกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษา สำหรับลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่ ในกรอบวงเงินสินเชื่อไม่เกิน ๕๐๐ ล้านบาท สำหรับธนาคารออมสินได้ประชุมร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาเงื่อนไขการให้สินเชื่อ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำข้อเสนอการให้สินเชื่อเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการธนาคารออมสิน และอยู่ระหว่างการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างธนาคารและกระทรวงศึกษาธิการในการหักบัญชีเงินเดือนของผู้ขอรับสินเชื่อควบคู่กันไป ๓. การขออัตราลดหย่อนภาษีเงินได้เพิ่มเติมในวงเงินเท่ากับอัตราการประกันชีวิตสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบด้านอื่น ๆ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
94 | โครงการบ้าน ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก | กค | 03/05/2554 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบโครงการบ้าน ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ไม่เคยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองให้สามารถซื้อบ้านเป็นของตนเอง โดยกำหนดเงื่อนไขเบื้องต้นให้มีการคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ ๐ ต่อปี ในระยะเวลา ๒ ปีแรก และยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องในการทำธุรกรรมดังกล่าว โดยธนาคารรัฐบาลจัดสรรงบประมาณชดเชย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้ขยายวงเงินปล่อยกู้ของโครงการฯ เป็น ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท ๒. ให้กระทรวงการคลังและธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่มีรายได้น้อยให้ชัดเจน เหมาะสมกับความสามารถในการชำระคืนของผู้กู้และระดับราคาบ้าน และควรมีการประเมินผลการดำเนินการของโครงการฯ เพื่อพัฒนาไปสู่มาตรการสนับสนุนให้คนมีบ้านหรือเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีความมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว รวมทั้งพิจารณาทางเลือกอื่น ๆ ในการชดเชยภาระค่าใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ เช่น การใช้ข้อตกลงในการให้บริการสาธารณะ (Public Service Agreement : PSA) เช่นเดียวกับการอุดหนุนบริการสาธารณะ (Public Service Obligation : PSO) ให้แก่รัฐวิสาหกิจที่ให้บริการสาธารณูปโภคในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บรายได้นำส่งรัฐจากรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๓. เห็นชอบในหลักการการขอชดเชยภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงบ้าน ธอส. เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก ในวงเงินไม่เกิน ๕๐๐ ล้านบาท และให้ ธอส. ขอตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณ แล้วให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
95 | การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษสำหรับพนักงานสถาบันการเงินเฉพาะกิจจากการดำเนินงานเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2552 และปี 2553 | กค | 28/03/2554 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
๑. ยกเว้นการถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ที่กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษตามระบบประเมินผลซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจอยู่แล้วเท่านั้น ๒. อนุมัติให้จ่ายเงินตอบแทนพิเศษให้พนักงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ๕ แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำนวน ๑ เท่าของเงินเดือน โดยให้จ่ายจากเงินงบประมาณประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่ง โดยให้จ่ายในคราวเดียว
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
96 | การกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในปีงบประมาณ 2554 จำนวน 18,000 ล้านบาท | กค | 28/12/2553 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ อนุมัติให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กู้เงินในประเทศในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔ จำนวน ๑๘,๐๐๐ ล้านบาท ประกอบด้วย การกู้เงินเป็นเงินทุนหมุนเวียน จำนวน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อทดแทนพันธบัตรเดิมที่ครบกำหนด จำนวน ๗,๐๐๐ ล้านบาท ๑.๒ อนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน และการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ๑.๓ เห็นชอบให้ ธอส. จัดให้มีแผนงานและแนวทางในการบริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) อย่างเป็นระบบ รวมทั้งมีมาตรการในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดอย่างระมัดระวังเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดปัญหา NPL ในอนาคต นอกจากนี้ ธอส. ควรศึกษาแนวทางการลดการพึ่งพาการค้ำประกันพันธบัตรของกระทรวงการคลัง โดยการพิจารณาหาทางเลือกอื่นในการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น การทำ Securitization สินเชื่อที่อยู่อาศัยในระยะยาวที่เหมาะสม ๒. ให้ ธอส. รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรเร่งจัดการ NPL ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อน เพื่อให้มีทางเลือกในการระดมทุนโดยวิธีอื่นนอกเหนือจากการออกพันธบัตรได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งควรคำนึงถึงต้นทุนทางการเงินในแต่ละทางเลือกและช่วงเวลาในการใช้แหล่งเงินทุนใหม่ประกอบการพิจารณาด้วย เพราะการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงินรวมจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ขอสินเชื่อ โดยเฉพาะผู้ขอสินเชื่อรายย่อย (วงเงินสินเชื่อต่ำกว่า ๑ ล้านบาท) ที่มีมากกว่าร้อยละ ๖๔.๓๙ ของสินเชื่อรวมของธนาคาร ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
97 | ขอยกเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) | กค | 16/11/2553 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือ หุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. ๒๕๐๔ โดยให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจอนุมัติการผ่อนผันให้ส่วน ราชการหรือรัฐวิสาหกิจได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบนี้ โดยเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนัก เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ยกร่างขึ้นตามแนวทางที่กระทรวงการคลังเสนอดังกล่าว และให้ส่งคณะกรรมการตรวจ สอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. เมื่อระเบียบตามข้อ ๑ มีผลใช้บังคับแล้ว ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง ประเทศไทย และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. ๒๕๐๔ (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) เว้นแต่ในกรณีการจำหน่ายจ่ายโอนหุ้นที่ได้มาตามนโยบายของรัฐบาล หรือหุ้นในกิจการที่กระทรวงการคลังถือ ครองร่วมอยู่ด้วย จะต้องได้รับอนุมัติจากกระทรวงการคลังก่อนจึงจะดำเนินการได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
98 | มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 | กค | 26/10/2553 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี ๒๕๕๓ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหายจากอุทกภัย ทั้งประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ และเกษตรกร สรุปได้ดังนี้
๑. ให้จังหวัดแต่ละจังหวัดมีเงินทดรองราชการที่สามารถเบิกใช้ได้ทันที ในวงเงิน ๕๐ ล้านบาท หากไม่เพียงพอ ให้อธิบดีกรมบัญชีกลางสามารถอนุมัติวงเงินให้ได้อีก ๒๐๐ ล้านบาท (รวมเป็น ๒๕๐ ล้านบาท) และให้ปลัดกระทรวงการคลังมีอำนาจอนุมัติวงเงินเพิ่มขึ้นถึง ๕๐๐ ล้านบาท หากเกินกว่านี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้อนุมัติ ในส่วนของการจัดซื้อพัสดุต่าง ๆ โดยใช้เงินทดรองราชการ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ โดยเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะมอบหมายให้เจ้าหน้าที่หนึ่งคนหรือหลายคนทำการจัดซื้อ และตรวจรับไปก่อน แล้วจึงรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดภายหลัง ๒. มาตรการช่วยเหลือผู้เช่าที่ราชพัสดุที่ได้รับความเดือดร้อน ได้แก่ ผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่ออยู่อาศัย ให้พิจารณาความเสียหายของอาคารที่พักอาศัย หากเสียหายบางส่วนให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา ๑ ปี หากเสียหายทั้งหลังให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา ๒ ปี สำหรับผู้เช่าที่ดินราชพัสดุเพื่อประกอบการเกษตร หากพืชหรือผลผลิตได้รับความเสียหาย ให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา ๑ ปี ส่วนผู้เช่าอาคารราชพัสดุ หากผลกระทบจากอุทกภัยทำให้ผู้เช่าอาคารพัสดุไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ เป็นเวลาเกิน ๓ วัน ให้ยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าเป็นเวลา ๑ เดือน และให้ยกเว้นการคิดเงินเพิ่ม กรณีที่ผู้เช่าไม่สามารถชำระค่าเช่า ค่าธรรมเนียม หรือเงินอื่นใดที่ต้องชำระภายในกำหนดระยะเวลา โดยเหตุมาจากการเกิดอุทกภัยซึ่งเป็นเหตุสุดวิสัย ๓. มาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าสถาบันเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ๔. มอบหมายให้กรมบัญชีกลาง โดยสำนักคลังจังหวัด จัดตั้งศูนย์บริการประชาชนในจังหวัดที่เกิดอุทกภัย (One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||
99 | การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้นหรือใกล้เต็มขั้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 12/10/2553 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ เมื่อวันที่
๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๒ เกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขึ้นหรือใกล้เต็มขั้น เฉพาะในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวคือ ให้ ธ.ก.ส. จ่ายเงินตอบแทน พิเศษให้พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้นในอัตราร้อยละ ๒-๕ ของเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งที่ดำรงอยู่โดยพิจารณา จากการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี และให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้ ธ.ก.ส. รับความเห็นของสำนักงบประมาณ ที่เห็นว่า ธ.ก.ส. จะต้องปรับปรุงองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และปรับลดค่าใช้จ่ายตามแนวทางที่เสนอไว้ รวมทั้งจะต้องรักษาสัดส่วนของรายจ่ายด้านบุคลากรต่อรายได้ให้คง อยู่ต่อไป ไปดำเนินการด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||
100 | แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี) | กค | 28/09/2553 | ||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งนายวรวิทย์ ชัยลิมปมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
.....