ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 4 จากทั้งหมด 15 หน้า แสดงรายการที่ 61 - 80 จากข้อมูลทั้งหมด 282 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
61 | โครงการบ้านประชารัฐ | กค | 22/03/2559 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบกรอบการดำเนินโครงการบ้านประชารัฐ โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สนับสนุนสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post Finance) สำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ระยะเวลาโครงการ ๒ ปี นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ระยะเวลาการยื่นความจำนงขอรับสินเชื่อ) ครอบคลุมที่อยู่อาศัยทุกประเภทในราคาไม่เกิน ๑.๕ ล้านบาทต่อหน่วย ทั้งที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จพร้อมอยู่ ทรัพย์สินรอการขาย (Non-Performing Assets : NPAs) ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ และทรัพย์รอการขายของกรมบังคับคดี ทั้งที่สร้างบนที่ดินของตนเอง ที่ดินของเอกชนผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และที่ดินของรัฐ รวมถึงการซ่อมแซม/ต่อเติมที่อยู่อาศัย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และรับทราบตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเสนอขอถอนเงื่อนไขการดำเนินโครงการฯ เกี่ยวกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เพื่อนำไปพิจารณาแนวทางและรูปแบบการดำเนินโครงการฯ บนที่ดินราชพัสดุ และจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในโอกาสต่อไป ๒. ให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรพิจารณาการปล่อยสินเชื่ออย่างรอบคอบเพื่อมิให้มีผลกระทบต่อสถานะความมั่นคงทางการเงินของธนาคาร และควรมีมาตรการในการกำกับดูแลให้การกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุนของผู้ประกอบการ มีการคัดกรองผู้เข้าร่วมโครงการให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีกระบวนการบริหารความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง ตลอดจนการคำนวณความเสียหายและติดตามผลกระทบต่อฐานะที่อาจจะเกิดขึ้นต่อธนาคาร และให้ความสำคัญกับความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. เห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน (Post Finance) เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล (Public Service Account : PSA) และไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) จากการดำเนินโครงการฯ เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของธนาคาร รวมทั้งให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการฯ บวกกลับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงานได้ ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน จะต้องไม่ขอรับการชดเชยงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการฯ ในอนาคต ๔. ให้กระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้สินเชื่อในส่วนของมาตรการสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) ให้ชัดเจนโดยเฉพาะห้ามให้สินเชื่อเพื่อชดใช้หนี้เดิม (refinance) ของโครงการที่อยู่อาศัยที่มีอยู่เดิม ๕. ให้กระทรวงการคลังกำหนดให้ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการฯ ประชาสัมพันธ์ และให้ข้อมูลโครงการฯ แก่ประชาชนผู้ขอรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post Finance) และผู้ประกอบการที่ขอสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกภาคส่วนในโครงการ ๖. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจจำนวนผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เพื่อวางแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในระยะยาว รวมทั้งกำหนดรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินโครงการต่อไป ๗. ให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และไม่ได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำที่ดินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในโครงการอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐต่อไป |
||||||||||||||||||||||||
62 | ข้อคิดเห็นของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี | นร | 09/02/2559 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร) รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) และรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รายงานข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้ ๑.๑ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) รายงานว่า ๑.๑.๑ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดชาวต่างชาติรายสำคัญ รวม ๖ คน ที่ลักลอบเข้าประเทศไทยและทำการปลอมแปลงหนังสือเดินทาง (Passport) ของประเทศต่าง ๆ จำหน่ายให้แก่ผู้ที่ต้องการเดินทางไปประเทศที่สามมาเป็นเวลานาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะขยายผลการจับกุมต่อไป ทั้งนี้ ตั้งแต่หลังวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติสามารถดำเนินการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๑.๑.๒ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖/๒๕๕๙ เรื่อง การคัดเลือกหรือการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เพื่อให้การคัดเลือกหรือการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจที่อยู่ภายใต้กฎหมาย ประกาศ และคำสั่งหลายฉบับที่มีกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติที่แตกต่างกัน สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๗/๒๕๕๙ เรื่อง การกำหนดตำแหน่งของข้าราชการตำรวจซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งให้สอดคล้องกับโครงสร้าง และระบบการบังคับบัญชาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งจะส่งผลในการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจในงานสอบสวนต่อไป ๑.๒ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร) รายงานว่า ปัจจุบันมีหลายประเทศที่กำหนดมาตรการจูงใจเพื่อให้ผู้ประกอบการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเข้ามาลงทุน ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยไม่ได้กำหนดมาตรการที่จะดึงดูดให้ผู้ประกอบการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ทำให้สูญเสียโอกาสในการเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ที่มีเงินลงทุนสูงหลายเรื่อง จึงควรมีการหารือร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป ๑.๓ รองนายกรัฐมนตรี (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง) รายงานว่า ๑.๓.๑ เนื่องจากวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็น "วันนักประดิษฐ์" ซึ่งเป็นการระลึกถึงวันที่จดทะเบียนและทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ "เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย" หรือ "กังหันชัยพัฒนา" แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงได้มีการจัดงาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒-๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยในงานดังกล่าวได้มีการมอบรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติและจัดนิทรรศการผลงานสิ่งประดิษฐ์ของไทย เช่น นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งการประดิษฐ์ไทย” นิทรรศการรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ การแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์จากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่ได้รับรางวัลจากนานาชาติ และผลงานสิ่งประดิษฐ์ระดับภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ จะได้สรุปผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อส่งให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาใช้ประโยชน์ต่อไป ๑.๓.๒ ผลการตรวจการปฏิบัติราชการในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญและยโสธรพบว่า ประชาชนในพื้นที่มีความพอใจในมาตรการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ดำเนินการในพื้นที่ เช่น มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล จึงถือเป็นโอกาสที่ดีที่ส่วนราชการต่าง ๆ จะขับเคลื่อนการดำเนินงานต่อไป โดยเฉพาะการขยายตลาดประชารัฐซึ่งประชาชนเห็นว่าเป็นการสร้างอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ประชาชนยังมีความต้องการให้ส่วนราชการสนับสนุนการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบอาชีพเสริมและการเพิ่มมูลค่าผลผลิตต่าง ๆ ด้วย ๑.๔ รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) รายงานว่า ๑.๔.๑ การสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศจำเป็นที่จะต้องปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศไทยให้เน้นการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเป็น Gateway สู่ภูมิภาคอาเซียนได้อย่างแท้จริง ๑.๔.๒ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลได้อนุมัติไปแล้วโดยเฉพาะโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ และมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนงานจะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี ส่วนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี รัฐบาลจำเป็นต้องร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำเงินงบประมาณที่ได้รับมาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาพื้นที่และเพิ่มศักยภาของชุมชน รวมทั้งเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่โดยเฉพาะโครงการภายใต้การกำกับของกระทรวงคมนาคมให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ภายในไตรมาสที่ ๓ และ ๔ ๑.๔.๓ การหารือร่วมกับกระทรวงการคลังและสถาบันการเงินของรัฐ ประกอบด้วยธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ เกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการบ้านประชารัฐ โดยสถาบันการเงินของรัฐทั้ง ๓ แห่งจะให้การสนับสนุนสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ซึ่งอัตราดอกเบี้ยในประเทศในปัจจุบันที่อยู่ในระดับต่ำจะช่วยให้โครงการมีความน่าสนใจมากขึ้น ๒. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ มาตรการ ผลตอบแทนและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยในรูปแบบมาตรการคืนเงินให้เกิดความรอบคอบ รัดกุม และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||
63 | ผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ ครั้งที่ 4/2558 | กค | 29/12/2558 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ ครั้งที่ ๔/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศเสนอ ซึ่งที่ประชุมฯ มีความเห็นและข้อเสนอแนะ และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
๑. รับทราบความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย มาตรการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่น มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย และมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในระยะเร่งด่วน และมาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ๒. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงตารางการรายงานความคืบหน้าของโครงการภายใต้การขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานให้มีความชัดเจน อาทิ ประเภทของแหล่งเงินในการดำเนินโครงการ ระยะเวลาการดำเนินโครงการ แผนการเบิกจ่ายงบประมาณทั้งรายปีและรายไตรมาส อัตราการเบิกจ่ายจริงเทียบกับประมาณการอัตราการเบิกจ่ายตามแผน รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในกรณีที่อัตราการเบิกจ่ายจริงต่ำกว่าเป้าหมาย และเสนอแนะแนวทางหรือมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาและเร่งรัดการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนำเสนอที่ประชุมในโอกาสต่อไป ๓. มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังประสานกับธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเพื่อแจ้งผลการให้สินเชื่อกับประชาชนผู้มีรายได้น้อยแก่ผู้ว่าราชการและนายอำเภอได้รับทราบ เพื่อให้การดำเนินมาตรการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวมทั้งให้มีการพิจารณาเรื่องการประเมินผลเพื่อยกระดับกองทุนที่มีศักยภาพจากระดับ C เป็นระดับ B ๔. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างโครงการภายใต้มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบลและมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๘ ๕. มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังประสานธนาคารออมสินสอบถามความเห็นของธนาคารพาณิชย์ว่ามาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ตรงกับความต้องการของตลาดมากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงนโยบายให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ๖. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบการติดตามและรายงานความคืบหน้าของมาตรการการเงินการคลังเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ (๑) มาตรการเพื่อส่งเสริมการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลางของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (๒) มาตรการการลดค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และ (๓) มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ (สำหรับอาคารพร้อมที่ดินหรือห้องชุดในอาคารชุดมูลค่าไม่เกิน ๓ ล้านบาท) ๗. ให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว ได้แก่ มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในระยะเร่งด่วน และมาตรการการเงินการคลังเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ให้ถือเป็นมาตรการที่อยู่ภายใต้การขับเคลื่อนของคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ ให้มีการติดตามความคืบหน้า ปัญหาอุปสรรค เพื่อรายงานต่อที่ประชุมทุกเดือน
|
||||||||||||||||||||||||
64 | โครงการของขวัญปีใหม่ 2559 ให้แก่ประชาชน | กค | 15/12/2558 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบและเห็นชอบในหลักการโครงการของขวัญปีใหม่ ๒๕๕๙ ให้แก่ประชาชน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีโครงการที่จะดำเนินการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ได้แก่ ๑.๑ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ๑.๒ การยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินและถอนเงินข้ามเขตภายในธนาคาร โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน ๑.๓ โครงการของขวัญปีใหม่ ๒๕๕๙ โดย ธอส. ๑.๔ โครงการของขวัญปีใหม่ ๒๕๕๙ โดย ธ.ก.ส. ๑.๕ โครงการของขวัญปีใหม่ ๒๕๕๙ โดยธนาคารออมสิน และ ๑.๖ โครงการเปิดให้ชมพิพิธภัณฑ์ฟรี โดยกรมธนารักษ์ ๒. สำหรับโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของธนาคารออมสิน ที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน ๑๐,๐๑๐ ล้านบาท ให้กระทรวงการคลังนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยผ่านกลไกของธนาคารออมสิน เห็นควรให้เสนอคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมก่อน และให้ธนาคารออมสินขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปีงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป นอกจากนี้ เห็นควรประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนได้ทราบถึงโครงการของขวัญปีใหม่ ๒๕๕๙ ซึ่งเป็นโครงการพิเศษนอกเหนือจากโครงการปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการจ่ายเงินคืนให้กับผู้ที่มีประวัติการชำระหนี้ดี เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนรักษาวินัยทางการเงิน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการแก้ไขปัญหาหนี้สินและความยากจน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลังนำเรื่องการขอนำค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการของขวัญปีใหม่ ๒๕๕๙ ให้แก่ประชาชนบวกกลับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงานของธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และ ธอส. รวมทั้งการนำค่าใช้จ่ายของ ธอส. ในการจัดทำโครงการปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจประจำปีบัญชี พ.ศ. ๒๕๕๘ เสนอคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจพิจารณาก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ๔. ให้ยกเว้นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) |
||||||||||||||||||||||||
65 | การปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนและปรับเพิ่มเงินเดือนของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 10/11/2558 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบการปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนใหม่ของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)ทุกระดับตำแหน่งตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครส.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ ๑.๒ เห็นชอบการปรับเงินเดือนเข้าโครงสร้างเงินเดือนใหม่ หากเงินเดือนใหม่ที่ได้รับยังไม่ถึงอัตราขั้นต่ำของกระบอกเงินเดือน ให้ปรับเงินเดือนให้ได้รับในอัตราขั้นต่ำ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินเดือนใหม่ หากเกินร้อยละ ๑๐ ของเงินเดือนใหม่ ให้รอปรับเงินเดือนในปีต่อไปก่อน จึงจะปรับให้ได้รับในอัตราขั้นต่ำ ตามมติ ครส. ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๗ และเนื่องจากการปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนและการปรับเงินเดือนเข้าโครงสร้างเงินเดือนใหม่ของพนักงาน ธอส. อาจส่งผลกระทบให้ ธอส. มีภาระค่าใช้จ่ายพนักงานเพิ่มขึ้น จึงเห็นควรให้ ธอส. ดำเนินการตามแนวทางการปรับเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรโดยเคร่งครัดเพื่อสร้างรายได้ให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เพื่อมิให้กระทบต่อฐานะการเงินของ ธอส. ในระยะยาว รวมทั้งต้องมีการประเมินผลงานรายบุคคลให้สอดคล้องกับการประเมินผลงานทั้งองค์กร และรายงานให้กระทรวงการคลังทราบความคืบหน้าของการดำเนินการด้วย ๑.๓ ไม่เห็นชอบให้ ธอส. ปรับเพิ่มเงินเดือนของพนักงานทุกตำแหน่งในอัตราร้อยละ ๒ ๑.๔ การกำหนดอัตราเงินเดือนขั้นสูงของพนักงานระดับ ๑๖ ในตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส/รองกรรมการผู้จัดการ เนื่องจากที่ผ่านมา ธอส. ยังไม่ได้กำหนดอัตราเงินเดือนขั้นสูงสำหรับพนักงานระดับ ๑๖ ไว้ และในคราวนี้ ธอส. ได้เสนอและกำหนดอัตราเงินเดือนขั้นสูงสำหรับตำแหน่งระดับ ๑๖ ไว้แล้ว ดังนั้น จึงเห็นควรกำหนดอัตราเงินเดือนขั้นสูงของตำแหน่งระดับ ๑๖ สำหรับรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส/รองกรรมการผู้จัดการที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบันให้อยู่ภายใต้โครงสร้างเงินเดือนใหม่ ๑.๕ เห็นชอบในหลักการแนวนโยบายการปรับโครงสร้างเงินเดือนพนักงานของ ธอส. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน ภายใต้เงื่อนไขและระยะเวลาที่กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ เพื่อมิให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างกัน ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนและปรับเพิ่มเงินเดือนให้ใช้จ่ายจากเงินรายได้ของหน่วยงาน และพิจารณาการปรับเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรโดยไม่มีผลกระทบต่อประชาชนผู้รับบริการเพื่อสร้างรายได้ให้เพียงพอและครอบคลุมรายจ่ายที่เพิ่มขึ้น การกำหนดแนวนโยบายในการพิจารณาปรับบัญชีโครงสร้างเงินเดือนและปรับเพิ่มเงินเดือนของพนักงานสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่อยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงการคลังให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การปรับปรุงตัวชี้วัดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้งระบบให้สะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน รวมทั้งมีแผนงานและแนวทางในการบริหารจัดการหนี้ด้อยคุณภาพ และในการปรับโครงสร้างเงินเดือนในคราวถัดไปต้องอยู่บนพื้นฐานของการประเมินค่างานที่แสดงให้เห็นถึงภารกิจหรือค่างานที่เพิ่มขึ้นเป็นหลัก ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย ๓. ให้กระทรวงการคลังกำกับดูแลและปรับปรุงวิธีการปรับเพิ่มเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเน้นการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และลดความเหลื่อมล้ำ โดยเฉพาะในกรณีที่พนักงานในตำแหน่งระดับสูงได้รับการปรับเพิ่มเงินเดือนในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับพนักงานระดับล่าง |
||||||||||||||||||||||||
66 | การขอกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 03/11/2558 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กู้เงินโดยการออกพันธบัตร จำนวนไม่เกิน ๒๖,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้ ธอส. สามารถดำเนินงานตามแผนการจัดหาแหล่งเงินทุนและการปรับสมดุลโครงสร้างสินทรัพย์และหนี้สินในระยะเวลา ๕ ปี ของ ธอส. ต่อไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. ให้ ธอส. ร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาจัดทำแผนการจัดหาแหล่งเงินทุนและการปรับสมดุลโครงสร้างเงินทุนในระยะยาวที่แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคารในอนาคตที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสากล และนำเสนอแผนดังกล่าวให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจพิจารณาโดยด่วนต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้ ธอส. และกระทรวงการคลังร่วมกันพิจารณาออกแบบผลิตภัณฑ์เงินฝากหรือการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ที่มีความสอดคล้องกับการปล่อยเงินกู้ระยะยาวเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องในระยะยาวจากความไม่สัมพันธ์กันระหว่างอายุของหนี้สินและสินทรัพย์ (Maturity Mismatch) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
67 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล และนายบรรยง วิเศษมงคลชัย) | กค | 03/11/2558 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน ๒ คน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘) เป็นต้นไป และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเข้าแทนนี้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
๑. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ประธานกรรมการ แทนนายเกริก วณิกกุล ๒. นายบรรยง วิเศษมงคลชัย กรรมการอื่น แทนนางโชติกา สวนานนท์
|
||||||||||||||||||||||||
68 | การแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่เกษตรกร | มท | 20/10/2558 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้แก่เกษตรกร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยมีผลการดำเนินการ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๘ ดังนี้
๑. เกษตรกรที่นำที่ดินไปค้ำประกันการกู้เงินไว้กับภาคเอกชนหรือนายทุนเงินกู้ โดยทำเป็นสัญญาขายฝาก เรียกว่า หนี้นอกระบบ ซึ่งจะต้องให้ความช่วยเหลือโดยเร่งด่วนเนื่องจากศาลได้มีคำพิพากษาให้บังคับคดีแล้ว จำนวน ๒,๒๙๒ ราย มูลหนี้ ๒,๑๘๔,๑๐๕,๓๕๐ บาท กรมการปกครองได้ประสานงานกับกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมดำเนินการช่วยเหลือเพื่อไม่ให้เกษตรกรถูกยึดที่ดินทำกิน และส่งให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรพิจารณาให้ความช่วยเหลือแหล่งเงินกู้ต่อไปแล้ว ส่วนเกษตรกรที่นำที่ดินไปจำนองหรือขายฝาก แต่ยังไม่อยู่ในชั้นบังคับคดี ได้มอบหมายให้นายอำเภอแต่งตั้งคณะทำงานคัดกรองข้อมูลและไกล่เกลี่ย โดยมีการไกล่เกลี่ยแล้ว จำนวน ๔๓,๘๒๕ ราย มูลหนี้ ๘,๐๓๙,๒๑๙,๘๓๙ บาท สามารถปลดเปลื้องหนี้สินแล้ว จำนวน ๕,๓๔๒ ราย มูลหนี้ ๗๘๐,๔๒๕,๖๐๗ บาท สำหรับหนี้นอกระบบที่เหลืออีกจำนวน ๓๖,๑๙๑ ราย มูลหนี้ ๕,๐๗๔,๖๘๘,๘๘๒ บาท อยู่ระหว่างการดำเนินงานของศูนย์ประสานการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ๒. หนี้ในระบบสถาบันการเงิน กระทรวงการคลังได้ตรวจสอบพบว่ามีลูกหนี้ในความรับผิดชอบของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวนประมาณ ๑,๒๐๐,๐๐๐ ราย ได้มอบหมายให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลังดำเนินการช่วยเหลือโดยพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้หรือให้ความช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์ ระเบียบ และวิธีปฏิบัติของผลิตภัณฑ์สินเชื่อและโครงการต่าง ๆ ต่อไป
|
||||||||||||||||||||||||
69 | มาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ | กค | 13/10/2558 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบในหลักการของมาตรการการเงินเพื่อส่งเสริมการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง และมาตรการการคลังเพื่อลดภาระให้กับผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นมาตรการให้การช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลางให้สามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้มากยิ่งขึ้น โดยการขอรับสินเชื่อที่มีเงื่อนไขพิเศษจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ กรณีการยกเว้นการให้สิทธิประโยชน์ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non Performing Loan : NPL) ของลูกหนี้รายย่อย ให้กระทรวงการคลังหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนเริ่มดำเนินการตามมาตรการการเงินด้วย ๒. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม ๓ ฉบับ มีสาระสำคัญเพื่อลดค่าธรรมเนียมสำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ดังนี้ ๒.๑ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ๒.๒ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ๒.๓ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีห้องชุดตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ๓. มอบหมายให้ ธอส. ประสานงานกับผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อหาแนวทางในการลดภาระค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนและค่าธรรมเนียมการโอนให้กับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยตามมาตรการนี้ ๔. ให้กระทรวงการคลังเร่งเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ต่อคณะรัฐมนตรีตามหลักการของมาตรการการคลังในเรื่องนี้ เพื่อให้มีผลใช้บังคับโดยเร็วด้วย |
||||||||||||||||||||||||
70 | โครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ | กค | 07/05/2558 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบให้ยกเลิกโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ และให้นำเงินงบประมาณในโครงการสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของข้าราชการที่กรมบัญชีกลางฝากอยู่ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์พร้อมดอกเบี้ย (ณ วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ เป็นจำนวน ๘,๕๙๑.๕๖ ล้านบาท) ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ๒. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกาสวัสดิการเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๓๕ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการคืนเงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ควรจะต้องคำนึงถึงเรื่องเวลาที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางการคลัง และปฏิทินงบประมาณ เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อการงบประมาณและการคลังของประเทศที่จะนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาประเทศโดยผ่านกลไกของงบประมาณ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
71 | แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์เพิ่มเติม | กค | 12/11/2557 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งนายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์เพิ่มเติม โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๗) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
72 | แนวทางบรรเทาความเดือดร้อนและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านสินเชื่อผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | กค | 24/06/2557 | |||||||||||||||||||||
คณะรักษาความสงบแห่งชาติลงมติ
๑. รับทราบการดำเนินการของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ที่เกี่ยวข้องตามมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบทางการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจ มาตรการสินเชื่อเพื่อภาคการเกษตร และมาตรการสินเชื่อเพื่อ SMEs ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ ดังนี้ ๑.๑ มาตรการบรรเทาความเดือดร้อนจากผลกระทบทางการเมืองและวิกฤตเศรษฐกิจ ได้แก่ ๑.๑.๑ มาตรการบรรเทาผลกระทบจากการเมือง เศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ โดยธนาคารออมสิน มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับลูกค้าของธนาคารที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ โดยการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้เป็นเวลา ๖ เดือน โดยสามารถชำระเงินต้นบางส่วนพร้อมดอกเบี้ยปกติ หรือพักชำระเงินต้นแต่ให้ชำระเฉพาะดอกเบี้ยปกติเต็มจำนวน และการให้กู้เพิ่มเติมกรณีฉุกเฉิน หรือเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยเฉพาะในกรณีภัยพิบัติ วงเงินรวม ๕,๐๐๐ ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่วันที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีมติเห็นชอบจนถึงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ๑.๑.๒ มาตรการพักชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันโดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับลูกค้าของ บสย. โดยกำหนดให้สามารถพักชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันได้เป็นระยะเวลา ๖ เดือน สำหรับลูกค้าของ บสย. ที่ถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุการค้ำประกัน ตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ๑.๒ มาตรการสินเชื่อเพื่อภาคการเกษตร ประกอบด้วย ๔ โครงการ ดำเนินการโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงินสินเชื่อรวม ๖๕,๙๐๐ ล้านบาท ได้แก่ โครงการสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ โครงการสินเชื่อสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โครงการเพิ่มสินเชื่อตลอดห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตร และโครงการสินเชื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก (บัตรสินเชื่อเกษตรกร) ๑.๓ มาตรการสินเชื่อเพื่อ SMEs วงเงินสินเชื่อรวม ๔๕,๖๐๐ ล้านบาท ได้แก่ โครงการสินเชื่อ SMEs สุขใจ โดยธนาคารออมสิน โครงการสินเชื่อสนับสนุนผู้ประกอบการตามยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม โครงการขยายสินเชื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต ๒ (Productivity Improvement Loan-2) โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) โครงการขยายสินเชื่อแก่ SMEs โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) โครงการสินเชื่อเพิ่มสุข โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) โครงการ SMEs Halal Trade โครงการสินเชื่อมาตรฐาน SMEs Flexi & Sure และแคมเปญ Happy Together โดยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ๒. เห็นชอบหลักเกณฑ์มาตรการรับภาระค่าธรรมเนียมค้ำประกันแทนผู้ประกอบการในโครงการ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) ระยะที่ ๕ ในปีแรก หลักเกณฑ์โครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ PGS สำหรับผู้ประกอบการ OTOP และวิสาหกิจชุมชน และหลักเกณฑ์โครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Package Guarantee Scheme สำหรับผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ทั้งนี้ ให้ดำเนินโครงการตามหลักเกณฑ์มาตรการดังกล่าวในระยะสั้นและเสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ก่อน ๓. อนุมัติงบประมาณในการดำเนินโครงการตามข้อ ๒ ภายในกรอบวงเงิน ๓,๗๑๒.๕๐ ล้านบาท โดยให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๘ ตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ๔. ให้กระทรวงการคลังกำกับดูแลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจต่าง ๆ ภายใต้หลักเกณฑ์มาตรการฯ ข้างต้นอย่างใกล้ชิด ให้สามารถติดตามและตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรการ/โครงการที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณ |
||||||||||||||||||||||||
73 | การแต่งตั้งประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 22/04/2557 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้งนายประสิทธิ์ สืบชนะ เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ แทนนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ที่ขอลาออก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (๒๒ เมษายน ๒๕๕๗) เป็นต้นไป และให้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับกำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
74 | รายงานการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2556 ของกระทรวงการคลัง | กค | 12/11/2556 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการดำเนินงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี ๒๕๕๖ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
๑. การให้ความช่วยเหลือด้านอุปโภคบริโภคผ่านส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง จำนวน ๒๓ พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี พังงา ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ พิษณุโลก ตาก พิจิตร ลพบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และนครนายก ๑.๑ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย จำนวน ๔ พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดพังงา ปราจีนบุรี นนทบุรี และฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย ถุงยังชีพ จำนวน ๑,๐๐๐ ถุง เสื้อชูชีพ จำนวน ๒๖๕ ถุง น้ำดื่ม จำนวน ๑๐,๓๐๐ ขวด ข้าวสาร ๕ กิโลกรัม จำนวน ๑,๐๐๐ ถุง และอื่น ๆ ได้แก่ เครื่องกรองน้ำ ๑๙๐ เครื่อง ปลากระป๋อง ๑๑ ลัง ปลาหมึกแห้ง ๑ ถุงใหญ่ และให้ยืมเครื่องสูบน้ำ ๒ เครื่อง ๑.๒ กรมธนารักษ์ได้ให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของกรมธนารักษ์ที่ประสบภัย จำนวน ๒ พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดตราด และปราจีนบุรี โดยจ่ายเงินสวัสดิการให้กับเจ้าหน้าที่รายละ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท ๑.๓ กรมบัญชีกลางได้ให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของกรมบัญชีกลางที่ประสบภัย จำนวน ๑ พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี โดยจ่ายเงินสวัสดิการให้กับเจ้าหน้าที่รายละ ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท ๑.๔ กรมศุลกากรได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย จำนวน ๕ พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ตาก ปราจีนบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย ถุงยังชีพ จำนวน ๒,๓๐๐ ถุง และข้าวสาร จำนวน ๗๕๐ กิโลกรัม ๑.๕ กรมสรรพากรได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย จำนวน ๒ พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา โดยการบริจาคเงิน จำนวน ๕๐,๐๐๐ บาท และบริจาคเรือ จำนวน ๒๐ ลำ ๑.๖ กรมสรรพสามิตได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนและเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพสามิตที่ประสบภัย จำนวน ๑ พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี ประกอบด้วย ถุงยังชีพ จำนวน ๑๑๒ ถุง และเรือ จำนวน ๗ ลำ ๑.๗ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนและเจ้าหน้าที่ของธนาคารใน ๔ พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย บริจาคเงิน จำนวน ๔๗,๐๐๐ บาท ถุงยังชีพ จำนวน ๑๐,๐๐๐ ถุง เรือ จำนวน ๔ ลำ และอื่น ๆ ได้แก่ อาหารกล่อง จำนวน ๕,๐๐๐ ชุด ๑.๘ ธนาคารออมสินได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย จำนวน ๑๓ พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ตาก ขอนแก่น ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และนครราชสีมา ประกอบด้วย ถุงยังชีพ จำนวน ๖,๖๒๐ ถุง น้ำดื่ม จำนวน ๗,๗๐๐ ขวด และอื่น ๆ ได้แก่ เสื้อชูชีพ ๑๐ ตัว และยารักษาโรค ๒,๐๐๐ ชุด ๑.๙ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย จำนวน ๑๓ พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ นครสวรรค์ พิจิตร สระแก้ว ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ และนครนายก รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๓,๒๕๓,๕๕๔ บาท แบ่งเป็น ถุงยังชีพ จัดเลี้ยงอาหารและน้ำดื่ม ณ จุดรวมพล จำนวน ๒๖,๖๒๙ ราย เป็นเงิน ๑๓,๓๑๔,๖๑๖ บาท มอบเงินบำรุงขวัญแก่ลูกค้าผู้กู้ที่เสียชีวิต จำนวน ๒ ราย (รายละ ๒๐,๐๐๐ บาท) เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐ บาท และมอบเงินเพื่อโครงการป้องกันและบริหารความเสี่ยงภัย จำนวน ๑๙,๘๙๘,๙๓๘ บาท ๑.๑๐ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย จำนวน ๓ พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (เขตหนองจอก) จังหวัดฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา โดยมอบถุงยังชีพ จำนวน ๒,๒๐๐ ถุง ๒. การให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประสบอุทกภัยผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยมาตรการต่าง ๆ คือ การผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระคืนหนี้เดิม การให้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย การผ่อนปรนเวลาชำระหนี้เงินกู้ การลดดอกเบี้ย กรณีเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ การให้สินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย มาตรการพักหนี้ช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย การเพิ่มวงเงินฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ การให้ความช่วยเหลือลูกค้า โดยจะพิจารณาเป็นราย ๆ มาตรการพักชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน และการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้เดิม ซึ่งประชาชนสามารถขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เป็นลูกค้าอยู่ได้
|
||||||||||||||||||||||||
75 | การกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ในปีงบประมาณ 2557 จำนวน 11,000 ล้านบาท | กค | 01/10/2556 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กู้เงินในประเทศในปีงบประมาณ ๒๕๕๗ จำนวน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อป้องกันปัญหาการขาดสภาพคล่องในการดำเนินงานของ ธอส. ๑.๒ ให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน และการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ๒. ให้ ธอส. รับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องในระยะยาว โดยให้ ธอส. พิจารณาออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีระยะเวลายาวขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับอายุของทรัพย์สินที่เป็นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกผลิตภัณฑ์เงินฝากเฉพาะกลุ่มสำหรับผู้ฝากเงินรายใหญ่ เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และบริษัทประกันชีวิต ที่มีความต้องการลงทุนระยะยาว และประสานกับกระทรวงการคลังในการวางแผนเพื่อระดมทุนระยะยาวผ่านตลาดตราสารหนี้ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เพื่อลดภาระของภาครัฐและให้การบริหารหนี้สาธารณะของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย |
||||||||||||||||||||||||
76 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายธานินทร์ อังสุวรังษี) | กค | 19/07/2556 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งนายธานินทร์ อังสุวรังษี เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์แทนนายชัยเกษม นิติสิริ กรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่ขอลาออก ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
||||||||||||||||||||||||
77 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (จำนวน 3 คน 1. นายกฤษดา มาลีวงศ์ ฯลฯ) | กค | 25/06/2556 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์แทนกรรมการอื่นที่ขอลาออก จำนวน ๒ คน และเป็นกรรมการอื่นเพิ่มเติมอีก จำนวน ๑ คน เพื่อให้คณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ครบจำนวนตามกฎหมายกำหนด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
๑. นายกฤษดา มาลีวงศ์ กรรมการอื่น แทนนายบรรพต ตั้งศัตยาภิรมย์ ๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมบัติ อยู่เมือง กรรมการอื่น แทนนายศุภสิทธิ์ ศิริศักดิ์ ๓. นายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง กรรมการอื่นเพิ่มเติม ทั้งนี้ นายกฤษดา มาลีวงศ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์สมบัติ อยู่เมือง ให้มีผลตั้งแต่วันที่ผู้ซึ่งตนแทนลาออก คือวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ เป็นต้น โดยให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน สำหรับนายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ (๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๖) เป็นต้นไป โดยมีวาระเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งไว้แล้ว เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๔
|
||||||||||||||||||||||||
78 | การติดตามงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจ ประจำเดือนมีนาคม 2556 | นร | 28/05/2556 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการติดตามงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจ ประจำเดือนมีนาคม ๒๕๕๖ ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวราเทพ รัตนากร) เสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ๑.๑ ด้านราคาสินค้า ได้แก่ การดำเนินโครงการกำกับดูแลการชั่งตวงวัดและสินค้าหีบห่อเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขายพลังงานเชื้อเพลิง ผลผลิตทางการเกษตร และสินค้าต่าง ๆ โดยดำเนินการตรวจสอบรวมทั้งสิ้น ๓,๐๑๔,๓๘๔ เครื่อง/หีบห่อ พบผิดจำนวน ๑๐,๘๓๕ เครื่อง/หีบห่อ และการดำเนินโครงการลดค่าครองชีพไทยช่วยไทย โครงการโชห่วยช่วยชาติ “ร้านถูกใจ” โดย ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๖ มีร้านถูกใจที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๖,๘๘๗ ราย ๑.๒ ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ การรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน ๓๐ บาท/ลิตร การส่งเสริมให้มีการใช้แก๊สโซฮอลเพิ่มขึ้น การตรึงราคาขายปลีก LPG โดยภาคครัวเรือน อยู่ที่ ๑๘.๑๓ บาท/กก. ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ ๓๐.๑๓ บาท/กก. และภาคขนส่ง ปรับราคาขายปลีก LPG เป็น ๒๑.๓๘ บาท/กก. การคงราคาขายปลีก NGV ที่ ๑๐.๕๐ บาท/กก. (สำหรับประชาชน) ส่วนกลุ่มรถโดยสารสาธารณะที่ลงทะเบียนโครงการบัตรเครดิตพลังงาน ยังคงเติมก๊าซ NGV ในราคา ๘.๕๐ บาท/กก. สำหรับโครงการบัตรเครดิตพลังงาน รถรับจ้างสาธารณะ ตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๕๕-มีนาคม ๒๕๕๖ มีผู้สมัครจำนวนทั้งสิ้น ๖๖,๕๙๒ ราย มีผู้ใช้บัตร จำนวน ๗,๐๐๐ ราย ๒. ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ สร้างสมดุลและความเข้มแข็งอย่างมีคุณภาพให้แก่ระบบเศรษฐกิจมหภาค ได้แก่ การพักหนี้หรือลดภาระหนี้ให้แก่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรหรือสถาบันเกษตรกร เป็นระยะเวลา ๓ ปี (ตุลาคม ๒๕๕๕-๓๐ กันยายน ๒๕๕๘) มีผู้ยื่นสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ๒,๒๖๕ แห่ง สมาชิก ๘๐๘,๗๙๙ ราย มูลหนี้ ๖๓,๘๖๔.๗๓๓ ล้านบาท การจัดตั้งศูนย์สนับสนุนผู้ประกอบการให้พร้อมจ่ายอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การจ่ายเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพ จำนวน ๗,๓๑๖,๓๐๕ คน เป็นเงิน ๕๓,๘๘๒,๘๖๐,๒๐๐ บาท การดำเนินโครงการบ้านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อที่อยู่อาศัยแห่งแรก (ร้อยละ ๐ ระยะเวลา ๓ ปี) มีผู้ยื่นกู้ ๑๔,๒๕๓ บัญชี อนุมัติแล้ว ๑๓,๕๒๐ บัญชี คิดเป็นเงิน ๘,๘๒๖.๑๔ ล้านบาท และการดำเนินมาตรการภาษีสำหรับการซื้อรถยนต์คันแรก มียอดอนุมัติการจ่ายเงินคืนตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๕๕-มีนาคม ๒๕๕๖ (ยอดจ่ายจริง) จำนวน ๙๙,๒๖๘ คัน เป็นเงิน ๖,๘๘๙ ล้านบาท ๓. ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ การออกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๕๓๐) พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละยี่สิบของกำไรสุทธิ ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ ๔. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน (กองทุนหมู่บ้าน SML) ได้แก่ การดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชน (SML) โดย ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๖ ได้โอนเงินให้กับหมู่บ้านและชุมชนตามโครงการฯ รวม ๑๑ ครั้ง จำนวน ๗๑,๕๓๗ หมู่บ้าน/ชุมชน และการดำเนินโครงการเพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ระยะที่ ๓ โดยโอนเงินให้กับกองทุนฯ แล้ว จำนวน ๓๖,๖๔๑ กองทุน จากเป้าหมาย ๗๙,๒๕๕ กองทุน คงเหลือยังไม่ได้โอน จำนวน ๔๒,๖๑๔ กองทุน ๕. ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน ได้แก่ บัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร ได้มีการอนุมัติบัตรสินเชื่อให้เกษตรกร จำนวน ๒,๗๗๕,๕๑๗ ราย บัตรส่งมอบแล้ว จำนวน ๑,๓๘๓,๑๙๖ ราย วงเงินรวม ๔๓,๖๖๗.๔๘ ล้านบาท การขึ้นทะเบียนเกษตรกรในพืชสำคัญ ๓ ชนิด คือ ข้าว มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต ๒๕๕๕/๒๕๕๖ มีโรงสีสมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๘๙๒ โรง เกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๑,๙๙๐,๑๑๓ ราย ปริมาณรับจำนำรวมทั้งสิ้น ๑๒,๐๙๙,๕๕๐ ตัน การดำเนินโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี ๕๕/๕๖ มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน ๗๑๙ ราย เปิดจุดรับฝากแล้ว ๖๗๒ จุด ปริมาณรับจำนำรวมทั้งสิ้น ๙,๘๕๗,๗๐๙ ตัน การเยียวยาและการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรจากภัยพิบัติด้านการเกษตร ในกรณีฝนทิ้งช่วง/ภัยแล้ง อุทกภัย และวาตภัย รวมทั้งการแก้ไขราคาสินค้าเกษตร ๖. ปฏิรูปการจัดการที่ดิน (นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ได้แก่ การจัดที่ดิน โดยการมอบเอกสารสิทธิ ส.ป.ก. ๔-๐๑ แก่เกษตรกร แบ่งเป็นที่ดินทำกิน ๒๐,๘๘๓ ราย พื้นที่ ๒๕๐,๒๖๖ ไร่ และที่ดินชุมชน ๖๒๓ ชุมชน เกษตรกร ๒๐,๕๐๓ ราย พื้นที่ ๑๒,๗๗๒ ไร่ การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์ โดยออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (กสน.๓) ให้แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์ ๕๐๑ ราย ๔,๖๑๘ ไร่ และการออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.๕) ให้แก่สมาชิกนิคมสหกรณ์ ๘๖๒ ราย ๙,๑๒๓ ไร่ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ โดยมีจำนวนราษฎรที่ได้รับการรับรองสิทธิทำกินแล้ว ๒๓,๖๗๖ ราย (ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๕-๓๑ มีนาคม ๒๕๕๖) และดำเนินการรังวัดแปลงที่ดินของราษฎรในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ รวม ๑๖๕ พื้นที่ ซึ่งผลการพิสูจน์การครอบครองที่ดินของราษฎรพบว่า อยู่ก่อนประกาศเขตป่าไม้ จำนวน ๖๓,๑๑๖ ราย เนื้อที่ ๔๖๙,๗๙๒-๐-๒๑ ไร่ และอยู่หลังประกาศเขตป่าไม้ จำนวน ๘๒,๑๗๐ ราย เนื้อที่ ๘๖๔,๐๙๕-๒-๗๑ ไร่
|
||||||||||||||||||||||||
79 | แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นางอังคณา ไชยมนัส) | กค | 05/03/2556 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้งนางอังคณา ไชยมนัส ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป
|
||||||||||||||||||||||||
80 | รายงานผลการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ประจำปี 2554 | กค | 25/12/2555 | |||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานผลการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ สรุปได้ ดังนี้ ๑.๑ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ (Performance Agreement) ระหว่างภาครัฐกับหน่วยงานที่อยู่ในระบบประเมินผลฯ จำนวน ๕๕ รัฐวิสาหกิจ โดยนำระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Performance Appraisal : SEPA) มาใช้เต็มรูปแบบกับรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๗ แห่ง และระบบประเมินผลเดิม จำนวน ๔๘ แห่ง แบ่งกลุ่มตามกระทรวงเจ้าสังกัด ๑๕ กระทรวง แบ่งกลุ่มตามประเภทกิจการ ๙ สาขา ได้แก่ สาขาสื่อสาร สาขาสาธารณูปการ สาขาอุตสาหกรรม สาขาพลังงาน สาขาขนส่ง (ขนส่งทางบก/ขนส่งทางน้ำ/ขนส่งทางอากาศ) สาขาสถาบันการเงิน สาขาพาณิชย์และบริการ สาขาเกษตรและทรัพยากรธรณี และสาขาสังคมและเทคโนโลยี แบ่งกลุ่มตามปีบัญชี ๓ กลุ่ม คือ ปีงบประมาณ (๑ ตุลาคม-๓๐ กันยายน) จำนวน ๓๕ แห่ง ปีปฏิทิน (๑ มกราคม-๓๑ ธันวาคม) จำนวน ๒๐ แห่ง และปีพิเศษ (๑ เมษายน-๓๑ มีนาคม) จำนวน ๑ แห่ง ๑.๒ ผลการประเมินผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงฯ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ๑.๒.๑ ภาพรวมของการประเมินผลฯ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ของรัฐวิสาหกิจในระบบประเมินผลปัจจุบัน พบว่ารัฐวิสาหกิจที่มีผลการประเมินสูงสุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ ธนาคารออมสิน ๔.๘๑๘๑ คะแนน การประปานครหลวง ๔.๗๗๗๑ คะแนน และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ๔.๗๒๒๐ คะแนน สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีผลการประเมินต่ำสุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ องค์การตลาด ๒.๑๓๒๒ คะแนน องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ๒.๔๕๔๖ คะแนน และสถาบันการบินพลเรือน ๒.๔๙๔๐ คะแนน ทั้งนี้ คะแนนเฉลี่ยของรัฐวิสาหกิจในภาพรวมอยู่ที่ ๓.๔๙๕๘ คะแนน ลดลงจากปี พ.ศ. ๒๕๕๓ เท่ากับ ๐.๐๘๖๑ คะแนน เนื่องจากผลการดำเนินงานด้านการเงิน และด้านที่ไม่ใช่การเงินของรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ๑.๒.๒ ภาพรวมของการประเมินผลฯ ของรัฐวิสาหกิจในระบบ SEPA ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐวิสาหกิจที่มีผลการประเมินสูงสุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ๔.๙๙๓๗ คะแนน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ๔.๙๓๕๙ คะแนน และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ๔.๘๘๘๔ คะแนน สำหรับรัฐวิสาหกิจที่มีผลการประเมินต่ำสุด ๓ อันดับแรก ได้แก่ บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด ๓.๙๗๖๙ คะแนน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ๔.๒๑๑๘ คะแนน และการไฟฟ้านครหลวง ๔.๔๙๖๓ คะแนน ๒. ให้กระทรวงเจ้าสังกัดและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องรับข้อสังเกตของคณะกรรมการประเมินผลงานรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมขององค์กรเพื่อรองรับโอกาสและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยเร่งพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพและการดำเนินงานในด้านที่ยังด้อยและไม่สามารถแข่งขันได้ การทบทวนและริเริ่มแผนงาน/โครงการ ของการใช้ทรัพยากรและความร่วมมือระหว่างกันที่มีขนาดใหญ่ และ/หรือที่เป็นเชิงกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนเป็นการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งทบทวนบทบาท ภารกิจ หน้าที่ และรูปแบบขององค์กรใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นประโยชน์กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
.....