ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 3 จากทั้งหมด 15 หน้า แสดงรายการที่ 41 - 60 จากข้อมูลทั้งหมด 281 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
41 | การใช้เงินของกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อการพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | กค | 04/09/2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. อนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ การใช้เงินของกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามความในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อให้ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ดำเนินโครงการพัฒนาฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์มือสอง จำนวน ๓๑.๑ ล้านบาท ๑.๒ การใช้เงินของกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ตามความในมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ ให้แก่มูลนิธิเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อดำเนินโครงการจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการเงิน (Institute for Financial Innovation and Technology : InFinIT) จำนวน ๖๕๐ ล้านบาท ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมทั้งข้อสังเกตของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรให้มีการติดตามและประเมินผลก่อนจะขอรับเงินสนับสนุนในแต่ละงวด เพื่อแสดงถึงความพร้อมและศักยภาพในการใช้จ่ายเพื่อดำเนินโครงการฯ อย่างเหมาะสม และควรกำหนดบทบาทหน้าที่ให้มีความชัดเจนเพื่อลดความซ้ำซ้อนกับกลไกที่มีอยู่เดิม รวมถึงส่งเสริมการบูรณาการและประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology : FinTech) และสำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ให้สถาบันการเงินอื่นที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินโครงการฯ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในระยะต่อไปด้วย นอกจากนี้ ควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการทราบถึงมาตรการส่งเสริมการลงทุนต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการแบบครบวงจรมากยิ่งขึ้น เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการจัดตั้งมูลนิธิเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจให้ถูกต้อง เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สอดคล้องกับการเริ่มดำเนินโครงการฯ รวมทั้งให้กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ เป็นระยะ ๆ เพื่อให้การบริหารจัดการของสถาบัน InFinIT บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
42 | รายงานสรุปผลการดำเนินงานครึ่งปีหลัง ปี 2560 ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ | กค | 03/04/2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานครึ่งปีหลัง ปี ๒๕๖๐ ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สรุปได้ ดังนี้
๑. งานจัดเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ได้รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลอสังหาริมทรัพย์รวม ๗ ประเภท ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน อาคารพาณิชย์ โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ และที่ดินเปล่า เพื่อนำมาประมวลผลใน ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านอุปทาน ด้านอุปสงค์ ด้านราคา และด้านการเงิน ๒. การดำเนินงานด้านการเผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ข้อมูลและข่าวสารด้านอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่สำคัญ ได้แก่ ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ จัดทำวารสารฉบับใหม่ชื่อวารสาร “GHB : REIC วารสารศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์” และงานอบรมสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ ๓. งานบริหารจัดการระบบสารสนเทศ ได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์มือสอง และอยู่ระหว่างจัดทำร่างข้อกำหนดความต้องการของระบบ (Term of Reference : TOR) เพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ ๔. ข้อมูลสถิติและสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ที่สำคัญ (เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล) ภาพรวมสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งปีหลัง ปี ๒๕๖๐ เฉพาะเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านอุปสงค์และอุปทาน ๕. ผลสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยจากแอปพลิเคชัน Home For All พบว่า มีประชาชน จำนวน ๗๓,๗๖๑ ราย หรือร้อยละ ๘๙.๒ มีความต้องการที่อยู่อาศัย จากประชาชนผู้ตอบแบบสำรวจทั้งหมด ๘๒,๗๑๙ ราย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
43 | การขอกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ประจำปีงบประมาณ 2561 | กค | 23/01/2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์กู้เงินโดยการออกพันธบัตรวงเงินรวมไม่เกิน ๓๓,๒๐๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๑ แบ่งเป็น (๑) การกู้เงินโดยการออกพันธบัตรใหม่ จำนวน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนการจัดหาแหล่งเงินทุนและการปรับสมดุลโครงสร้างเงินทุนในระยะยาวของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และ (๒) การกู้เงินโดยการออกพันธบัตรเพื่อ Roll-over จำนวน ๑๘,๒๐๐ ล้านบาท ซึ่งเป็นกรอบวงเงินการออกพันธบัตรเพื่อทดแทนพันธบัตรเดิมที่มีอายุครบกำหนด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาออกแบบผลิตภัณฑ์เงินฝากหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ ที่มีความสอดคล้องกับการให้สินเชื่อระยะยาวเพื่อเพิ่มสัดส่วนการระดมทุนของธนาคารอาคารสงเคราะห์จากเงินฝากระยะยาว ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๐ (เรื่อง การขอกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์) อย่างเคร่งครัด ๒. ให้กระทรวงการคลัง (ธนาคารอาคารสงเคราะห์) รับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงด้านสภาพคล่องจากปัญหาความไม่สัมพันธ์กันระหว่างอายุของสินทรัพย์และหนี้สินและความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยในการดำรงเงินรับฝาก รวมถึงการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทางการเงินให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ก่อให้เกิดภาระงบประมาณในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
44 | การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายสมพร จิตเป็นธม และนายอวยชัย คูหากาญจน์) | กค | 23/01/2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ แทนผู้ที่ลาออกและแทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน ๒ คน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๓ มกราคม ๒๕๖๑) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ตามลำดับ ดังนี้
๑. นายสมพร จิตเป็นธม เป็นกรรมการ แทน นายกฤษฎา บุญราช ๒. นายอวยชัย คูหากาญจน์ เป็นกรรมการ (เพิ่มเติม)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
45 | โครงการบ้านฅนไทย | กค | 03/01/2561 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ กรอบการดำเนินโครงการบ้านฅนไทย ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ประเภทที่อยู่อาศัย กลุ่มเป้าหมาย กรอบวงเงินโครงการ และรูปแบบ : โครงการการผ่อนชำระสู่การเช่าระยะยาว ๑.๒ ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสิน แยกบัญชีโครงการบ้านฅนไทย เป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) โดยไม่ขอรับการชดเชยจากรัฐบาลและขอนำผลกระทบรายได้และค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการบ้านฅนไทยมาปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ และขอไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NOLs) ที่เกิดจากการดำเนินโครงการฯ เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของ ธอส. และธนาคารออมสิน (กรณี % NPLs ที่เกิดขึ้นสูงกว่าค่าเฉลี่ย NPLs ของธนาคารในภาพรวม) และขอนำผลกระทบต่อรายได้และค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการบวกกลับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงาน ๒. ให้เปลี่ยนชื่อโครงการจากเดิม “โครงการบ้านฅนไทย” เป็น “โครงการบ้านคนไทยประชารัฐ” และให้กระทรวงการคลังดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และสำนักงบประมาณที่เห็นควรให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าของการดำเนินการ มาตรฐานของที่อยู่อาศัยที่จะพัฒนาขึ้น และการตรวจสอบคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ให้มีความชัดเจน รวมทั้งควรคำนึงถึงการกระจายพื้นที่โครงการให้ครอบคลุมทั้ง ๖ ภาค การมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย และภาระหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องของวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการฯ ตลอดจนความรับผิดชอบ และประโยชน์ที่ผู้มีรายได้น้อยจะได้รับเป็นสำคัญ ไปพิจารณาประกอบการดำเนินการด้วย ๓. ให้กระทรวงการคลังพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และระยะเวลาการพิจารณาการจัดสรรที่อยู่อาศัยตามโครงการบ้านคนไทยประชารัฐ กรณีที่มีอุปทาน (supply) เหลือจากกลุ่มเป้าหมายที่ ๑ (ประชาชนที่อยู่ในทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐกับกระทรวงการคลัง) เพื่อพิจารณาให้กลุ่มเป้าหมายที่ ๒ (ประชาชนที่มีรายได้ไม่เกิน ๓๕,๐๐๐ บาทต่อคนต่อเดือน) และกลุ่มเป้าหมายที่ ๓ (ประชาชนทั่วไป) ให้เหมาะสม ชัดเจน และประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ได้รับทราบอย่างถูกต้องและทั่วถึง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ดังกล่าวสามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้อย่างถูกต้องต่อไป ๔. ให้กระทรวงการคลังได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
46 | โครงการของขวัญปีใหม่ปี 2561 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | กค | 26/12/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการของขวัญปีใหม่ ๒๕๖๑ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชนปี ๒๕๖๑ ซึ่งประกอบด้วย (๑) โครงการเพื่อส่งเสริมวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชน โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ (๒) โครงการสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดย ธอส. ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวมีกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมทั้งเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีเงื่อนไขผ่อนปรนเพื่อให้สามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้มากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการสร้างวินัยทางการเงินให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและเกษตรกร ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. ให้กระทรวงการคลัง โดย ธ.ก.ส. และ ธอส. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการนำค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการบวกกลับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงาน เห็นควรให้มีการดำเนินการตามกฎเกณฑ์และขั้นตอนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง และให้ ธอส. จัดเตรียมแนวทางรองรับ NPLs ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต กรณีประชาชนผู้มีรายได้น้อยตามกลุ่มเป้าหมายของโครงการเกิดข้อจำกัดในการชำระหนี้ รวมทั้งให้ ธ.ก.ส. ประชาสัมพันธ์โครงการชำระดีมีคืนอย่างทั่วถึงแก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เพื่อจูงใจให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามเงื่อนไขโครงการ โดยการปลูกฝังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการชำระหนี้ ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างวินัยทางการเงินให้แก่ประชาชน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
47 | กระทรวงแรงงานส่งความสุข ปี 2561 "9 ชื่นบาน แรงงานชื่นใจ" | รง | 26/12/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเรื่อง กระทรวงแรงงานส่งความสุข ปี ๒๕๖๑ “๙ ชื่นบาน แรงงานชื่นใจ” สำหรับเป็นของขวัญปีใหม่ที่กระทรวงแรงงานมอบให้แก่ผู้ใช้แรงงาน ลูกจ้าง นายจ้างและประชาชนทั่วไป เช่น (๑) ชื่นชอบ ช่างแรงงาน บริการตรวจสภาพ ซ่อมบำรุงรถยนต์ จักรยานยนต์ ๗๗ จุดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐-๔ มกราคม ๒๕๖๑ (๒) ชื่นชม ช่างประชารัฐ บริการซ่อมอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนราคาถูก เต็มใจบริการด้วยคุณภาพมาตรฐานกระทรวงแรงงานทั่วประเทศกว่า ๑,๐๐๐ คน (๓) ชื่นมื่น มีงานทำ จับคู่คนให้ตรงกับงาน จัดหางานให้ตรงใจรวมงานคนพิการ คนสูงวัย ๗๐,๐๐๐ อัตรา โดยมีตำแหน่งงานของผู้สูงวัย ๒,๕๐๐ อัตรา (๔) ชื่นบาน บ้านประชารัฐ ให้ผู้ประกันตนกู้เงินซื้อบ้าน ดอกเบี้ยต่ำ ๓% คงที่ ๓ ปี รายละไม่เกิน ๑ ล้านบาท กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย และ (๕) ชื่นใจ ค่าเลี้ยงดูบุตร เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรแก่ผู้ประกันตนจากเดิม ๔๐๐ เป็น ๖๐๐ บาท ต่อคน/เดือนคราวละไม่เกิน ๓ คน มีผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ ๑,๒๐๐,๐๐๐ คน เป็นต้น ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
48 | ข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี | นร04 | 26/12/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการ ดังนี้
๑. ด้านเศรษฐกิจ ๑.๑ ให้กระทรวงคมนาคมศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางการจราจรในภาพรวมทั้งหมด ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และทางรางภายในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งเส้นทางเดิมที่มีอยู่แล้ว และเส้นทางใหม่ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง แล้วให้พิจารณากำหนดแนวทางการเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมขนส่งดังกล่าวให้เป็นโครงข่ายการจราจรที่เหมาะสม มีความสะดวก รวดเร็ว และประหยัด ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องก่อสร้างเส้นทางเพิ่มเติมอีก ควรพิจารณาแนวทางที่ส่งผลกระทบต่อที่อยู่อาศัยของประชาชน พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่อนุรักษ์ต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด โดยให้กระทรวงคมนาคมจัดทำเป็นแผนบูรณาการเส้นทางการคมนาคมขนส่งของประเทศไทยที่เชื่อมโยงตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มจังหวัด ตลอดจนประเทศเพื่อนบ้านทั้งเส้นทางหลักและเส้นทางรอง แล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไปด้วย ๑.๒ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม (กรมสอบสวนคดีพิเศษ) เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาการตรวจปล่อยรถยนต์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบการสำแดงราคาต่ำกว่าความเป็นจริงหรือกรณีอื่น ๆ และให้กำชับเจ้าหน้าที่เร่งดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด นั้น ให้กระทรวงการคลังและกระทรวงยุติธรรมเร่งดำเนินการตามข้อสั่งการดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งให้กระทรวงการคลังพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาการนำเข้ารถยนต์มาในราชอาณาจักรในภาพรวมอย่างเป็นระบบ เช่น พิจารณาความเหมาะสมของโครงสร้างภาษีเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์มาในราชอาณาจักร และรายงานผลการดำเนินการให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยด่วน ๒. ด้านการบริหารราชการแผ่นดินและอื่น ๆ ๒.๑ ให้ทุกกระทรวงจัดทำเอกสารเพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความรู้เรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงและหน่วยงานในสังกัด เช่น ความรู้เฉพาะเรื่องที่เป็นบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน งานบริการที่หน่วยงานจัดให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ทั้งนี้ ให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๑ เดือน โดยส่งให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล) เพื่อประมวลเป็นชุดความรู้ในภาพรวม พร้อมทั้งส่งให้กระทรวงศึกษาธิการนำไปดำเนินการจัดทำเป็นชุดความรู้สำหรับนักเรียน นักศึกษาต่อไปด้วย ๒.๒ ให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่ที่ได้มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ราษฎรไม่สามารถครอบครองได้ เช่น เขตพื้นที่สาธารณประโยชน์ เขตพื้นที่โบราณสถาน เขตพื้นที่มรดกโลก เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนที่เข้าครอบครองหรือทำประโยชน์ในเขตพื้นที่ดังกล่าวอยู่ก่อนการประกาศฯ สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในบริเวณเขตพื้นที่ดังกล่าวได้โดยไม่ขัดกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับหลักการตามมาตรฐานสากล รวมทั้งพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาประชาชนที่บุกรุกในเขตพื้นที่ดังกล่าวด้วย ๒.๓ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์พิจารณาจัดสร้างที่อยู่อาศัยในลักษณะของบ้านสำเร็จรูป (Knockdown) ให้แก่ประชาชนที่มีที่อยู่อาศัยตั้งอยู่ในแนวกีดขวางทางน้ำหรืออยู่ในเขตที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดดินถล่ม และได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยเป็นประจำทุกปี เพื่อทดแทนที่อยู่อาศัยเดิม นั้น ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์) พิจารณาดำเนินโครงการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนให้ผู้มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในลักษณะของบ้านสำเร็จรูป (Knockdown) ด้วย ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทยรายงานผลการดำเนินการให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยด่วน |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
49 | มาตรการด้านการเงินสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ | กค | 28/11/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบและเห็นชอบในหลักการมาตรการด้านการเงินสำหรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ ขยายระยะเวลาโครงการรวมถึงปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอนุมัติงบประมาณชดเชยไม่เกิน ๒,๘๓๗.๕๐ ล้านบาท โดยให้ธนาคารออมสินทำความตกลงในการเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวตามภาระที่เกิดขึ้นจริงกับสำนักงบประมาณต่อไป ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการมีความเข้มงวดในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ โดยต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการและมีการดำเนินธุรกิจอยู่ในพื้นที่อย่างแท้จริง รวมถึงขอความร่วมมือให้สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการเร่งดำเนินการอนุมัติคำขอสินเชื่อที่ยังค้างอยู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ๑.๒ ขยายเวลามาตรการพักชำระหนี้ลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และอนุมัติงบประมาณชดเชยไม่เกิน ๖๗๓.๒ ล้านบาท ซึ่งเป็นการชดเชยตามหลักการเดิม โดยให้ ธ.ก.ส. ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ๑.๓ ขยายระยะเวลาและปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากภัยก่อการร้ายในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอนุมัติงบประมาณชดเชยไม่เกิน ๙๐ ล้านบาท โดยให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นหน่วยงานจัดสรรงบประมาณและทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ๑.๔ เห็นชอบโครงการสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อมุสลิม และอนุมัติงบประมาณชดเชยไม่เกิน ๒๐๐ ล้านบาท โดยให้ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) ทำความตกลงในการเบิกจ่ายงบประมาณดังกล่าวตามภาระที่เกิดขึ้นจริงกับสำนักงบประมาณต่อไป ๑.๕ รับทราบโครงการสินเชื่อบ้านมุสลิมชายแดนใต้ของ ธอท. และโครงการสินเชื่อสำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับการขยายระยะเวลา หลักเกณฑ์และเงื่อนไข และวงเงินงบประมาณชดเชยสำหรับโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มาตรการพักชำระหนี้ลูกค้า ธ.ก.ส. และโครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยก่อการร้ายในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามภาระที่เกิดขึ้นจริงตามความจำเป็นและความเหมาะสมต่อไป สำหรับโครงการสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อมุสลิม ให้ ธอท. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง ส่วนโครงการสินเชื่อบ้านมุสลิมชายแดนใต้ของ ธอท. และโครงการสินเชื่อสำหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ของ ธอส. ที่ไม่ขอรับการชดเชยจากรัฐบาล ให้ธนาคารตรวจสอบความซ้ำซ้อนของโครงการในลักษณะเดียวกันกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่น ๆ ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน และมีการติดตามประเมินผลอย่างเข้มงวด เพื่อนำมาปรับปรุงและแก้ไขการดำเนินการในระยะต่อไปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. ให้กระทรวงการคลังร่วมกับ ศอ.บต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ของมาตรการและรายงานผลต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทราบเป็นระยะ ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุงแนวทาง/มาตรการในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป ๔. ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรับไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย หน่วยงานฝ่ายความมั่นคง เช่น ศอ.บต. กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบกิจการขนาดเล็กต่าง ๆ ที่มีผู้ประกอบการในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเจ้าของกิจการและมีการจ้างแรงงานในพื้นที่ และให้เร่งดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
50 | การขอกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 10/10/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. อนุมัติให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์กู้เงินโดยการออกพันธบัตร วงเงินรวมไม่เกิน ๒๒,๓๐๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๖๐ โดยแบ่งเป็น (๑) การกู้เงินโดยการออกพันธบัตรใหม่เพิ่มเติม จำนวน ๑๑,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งได้กำหนดไว้ในแผนการจัดหาแหล่งเงินทุนและการปรับสมดุลโครงสร้างเงินทุนในระยะยาวของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (แผนการจัดหาแหล่งเงินทุนฯ) ที่คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้ให้ความเห็นชอบแล้ว และ (๒) การกู้เงินโดยการออกพันธบัตรเพื่อ Roll-over จำนวน ๑๑,๓๐๐ ล้านบาท ซึ่งเป็นกรอบวงเงินการออกพันธบัตรเพื่อทดแทนพันธบัตรเดิมที่มีอายุครบกำหนด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. ให้กระทรวงการคลังร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพิจารณาออกแบบผลิตภัณฑ์เงินฝากหรือผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ ที่มีความสอดคล้องกับการให้สินเชื่อระยะยาว เพื่อเพิ่มสัดส่วนการระดมทุนจากเงินฝากระยะยาว ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาการขาดสภาพคล่องจากไม่สัมพันธ์กันระหว่างอายุของหนี้สินและสินทรัพย์ (Maturity Mismatch) อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ในการดำเนินการตามแผนการจัดหาแหล่งเงินทุนดังกล่าว ให้คำนึงถึงผลกระทบต่อต้นทุนทางการเงินของธนาคารในภาพรวมด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
51 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (จำนวน 7 ราย 1. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ฯลฯ) | กค | 25/07/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ รวม ๗ คน แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมที่ดำรงตำแหน่งมาครบวาระสามปีแล้ว เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
๑. นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล เป็นประธานกรรมการ ๒. นายอนุสรณ์ ทองสำราญ เป็นกรรมการอื่น ๓. นายธานินทร์ ผะเอม เป็นกรรมการอื่น ๔. นายกฤษฎา บุญราช เป็นกรรมการอื่น ๕. นางวิไล แวดวงธรรม เป็นกรรมการอื่น ๖. ศาสตราจารย์นฤมล สอาดโฉม เป็นกรรมการอื่น ๗. นางรัตนา อนุภาสนันท์ เป็นกรรมการอื่น
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
52 | ผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ ครั้งที่ 1/2560 | นร11 | 11/04/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ตามที่คณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศเสนอ ซึ่งที่ประชุมมีมติสรุปได้ ดังนี้
๑. รับทราบผลการดำเนินงานของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่สิ้นสุดลงแล้ว ได้แก่ โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 5 (ปรับปรุงใหม่) มาตรการเพื่อส่งเสริมการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลางของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ และมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองตามแนวทางประชารัฐ ๒. รับทราบสรุปผลการดำเนินงานในปี ๒๕๕๙ ของโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน (Action Plan) พ.ศ. ๒๕๕๙ ๓. รับทราบความก้าวหน้าในเรื่องต่าง ๆ เช่น การขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมการลงทุนผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและมาตรการเร่งรัดการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย มาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในระยะเร่งด่วน โครงการบ้านประชารัฐ โครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ และมาตรการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมภายในท้องถิ่น เป็นต้น ๔. มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังประสานสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อเร่งรัดการดำเนินงานในส่วนของมาตรการฟื้นฟู SMEs ผ่านกองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้สามารถดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ได้โดยเร็ว ๕. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยหารือกับสำนักงบประมาณเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงเงื่อนไขและข้อจำกัดของการใช้เงินสนับสนุนของมาตรการสนับสนุนการลงทุนร่วมระหว่างรัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Matching Fund) ภายใต้มาตรการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจและสังคมภายในท้องถิ่น และรายงานผลการหารือต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ต่อไป ๖. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมรายงานความก้าวหน้า ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งแนวทางแก้ไขในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง (Action Plan) ระยะเร่งด่วน พ.ศ. ๒๕๖๐ และการดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนด้านการเดินทางตามมาตรการใหม่ต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ทุกสามเดือน ๗. ให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ (ดำเนินการใกล้สิ้นสุดโครงการแล้ว) และมาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (สิ้นสุดมาตรการแล้ว) ออกจากกรอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ใช้ในการติดตามความคืบหน้า
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
53 | ขอปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อขยายขอบเขตการทำธุรกิจและแก้ไขข้อขัดข้องในการดำเนินกิจการของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ร่างกฎหมาย รวม 3 ฉบับ) | กค | 28/03/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ เพื่อแก้ไขวัตถุประสงค์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ให้รองรับการให้สินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุ (Reverse Mortgage : RM) ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการ ธอส. แก้ไขอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการผู้จัดการ แก้ไขอำนาจในการออกและขายพันธบัตร หุ้นกู้ และแก้ไขเพิ่มเติมให้ ธอส. มีอำนาจในการออกและขายสลากออมทรัพย์ เพื่อให้ ธอส. มีช่องทางใหม่ในการระดมทุนระยะยาวยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ๒. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายขอบเขตการดำเนินงานของ ธอส. ให้สามารถประกอบกิจการในการให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการเข้าถือหุ้นในกิจการประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย กิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน กิจการรับจัดทำสัญญา และจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และกิจการประกันวินาศภัยและประกันชีวิตได้ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยให้รับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดให้ ธอส. สามารถรับประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย อาจเกิดความขัดแย้งกันในบทบาทในกรณีที่ ธอส. เป็นผู้ให้สินเชื่อและเป็นผู้รับประกันความเสี่ยงเอง ซึ่งไม่ได้เป็นการปิดความเสี่ยงที่เกิดกับ ธอส. ได้จริง รวมทั้งการกำหนดให้ ธอส. สามารถรับประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย รับประเมินมูลค่าทรัพย์สิน จัดทำสัญญา และจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม และประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต ไม่สอดคล้องกับหลักการและเหตุผลที่ระบุว่า ให้เป็นการลงทุนในกิจการโดยการเข้าถือหุ้นในกิจการดังกล่าว จึงควรพิจารณาให้สอดคล้องกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขขอบเขตการให้กู้ยืมเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม แก้ไขการออก ขาย ขายลด หรือขายตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมือ แก้ไขเงื่อนไขการซื้อตั๋วเงินหรือตราสารเปลี่ยนมือ และแก้ไขอำนาจในการซื้อหรือรับโอน การขายหรือจำหน่ายสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๔. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๕. มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขอแก้ไขพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุ ควรศึกษาถึงปัจจัยความสำเร็จ ตลอดจนปัญหาอุปสรรคของการดำเนินโครงการในประเทศต่าง ๆ เพื่อกำหนดให้มีกลไกการบริหารความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ให้ครบถ้วนก่อนที่จะดำเนินโครงการ และมีการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้สูงอายุและครอบครัวเกี่ยวกับภาระและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนการขอแก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการอันพึงเป็นงานของ ธอส. เพื่อขยายขอบเขตการดำเนินงานในธุรกิจการรับประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย (Mortgage Insurance : MI) ควรศึกษาความเหมาะสมและความเสี่ยงจากการดำเนินการดังกล่าวให้รอบคอบ และในการขยายขอบเขตการดำเนินงานธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิต ควรจำกัดให้สามารถทำได้เฉพาะการประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยสำหรับที่อยู่อาศัยเท่านั้น รวมทั้งการขอแก้ไขกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ เกี่ยวกับการซื้อหรือรับโอน การขายหรือจำหน่ายสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยให้เป็นอำนาจของ ธอส. ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมในการบริหารงานและการกำกับดูแล ธอส. ให้มีความรอบคอบและรัดกุมในอนาคตด้วย นอกจากนี้ การออกและขายสลากออมทรัพย์ของ ธอส. ตามร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ ควรมีมาตรฐานการออกและขายสลากออมทรัพย์เป็นไปในแนวทางเดียวกันกับธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
54 | มาตรการด้านการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปี 2560 | กค | 24/01/2560 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการดำเนินการของสถาบันการเงินของรัฐ ๙ แห่ง เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
๑. มาตรการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ให้กับผู้ได้รับผลกระทบจากภัยน้ำท่วม ปี ๒๕๖๐ โดยธนาคารออมสิน ๒. มาตรการพักชำระหนี้หรือเลื่อนกำหนดชำระหนี้ และมาตรการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ๓. โครงการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี ๒๕๖๐ โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ๔. การพักชำระหนี้ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชำระหนี้ และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และวงเงินสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการ โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ๕. มาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางตรง ได้แก่ การขยายระยะเวลาตั๋วสัญญาใช้เงิน การพักชำระหนี้เงินต้น และการปล่อยวงเงินสินเชื่อเพื่อซื้อและซ่อมแซมเครื่องจักรและอาคาร และมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบทางอ้อม ได้แก่ การขยายระยะเวลาตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ๖. มาตรการให้ความช่วยเหลือโดยการพักชำระหนี้เฉพาะเงินต้นและให้ชำระเฉพาะกำไรอย่างเดียว โดยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ๗. มาตรการพักชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันให้กับลูกค้าบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ๘. มาตรการพักชำระหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน ๓ เดือน หรือลดอัตราดอกเบี้ย โดยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย ๙. มาตรการให้ความช่วยเหลือกลุ่มลูกค้าสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ประสบอุทกภัย โดยธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
55 | โครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ | กค | 08/11/2559 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบและรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ และวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ เพื่อให้ธนาคารออมสินปล่อยสินเชื่อโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้แก่ผู้ประกอบกิจการได้เช่นเดียวกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ โดยใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดียวกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการ และให้รัฐบาลชดเชยส่วนต่างระหว่างต้นทุนเงินกับอัตราผลตอบแทนที่ธนาคารออมสินได้รับจากการปล่อยสินเชื่อ โดยให้ธนาคารออมสินบริหารจัดการวงเงินของโครงการได้ตามความเหมาะสมเพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ให้ธนาคารออมสินมุ่งเน้นปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบกิจการการผลิต การให้บริการ ค้าส่งและค้าปลีก ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นอันดับแรก ๑.๒ รับทราบการขยายวงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ตามโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สำหรับลูกค้ารายย่อย) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ จากเดิมกรอบวงเงินโครงการไม่เกิน ๑,๕๐๐ ล้านบาท เป็นกรอบวงเงินโครงการไม่เกิน ๒,๕๐๐ ล้านบาท โดยใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดิม ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ธนาคารออมสินพิจารณาขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชดเชยส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยตามภาระและผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง และให้กระทรวงการคลังติดตามประเมินผลการดำเนินงานเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงของปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการ รวมทั้งเป็นข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาปรับปรุงการกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินในระยะต่อไปได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่เห็นว่า ธนาคารออมสินควรนำปัญหา อุปสรรคในการดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบกิจการใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ได้ดำเนินการไปแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๖ และวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานของธนาคารออมสินให้เหมาะสมเพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบกิจการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
56 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (จำนวน 4 ราย 1. นายกฤษฎา บุญราช ฯลฯ) | กค | 01/11/2559 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน ๔ ราย แทนผู้ที่ลาออกจากตำแหน่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรี (๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
๑. นายกฤษฎา บุญราช แทน นายกำพล ศรธนะรัตน์ ๒. พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ แทน พลตำรวจเอก เจตน์ มงคลหัตถี ๓. ศาสตราจารย์นฤมล สอาดโฉม แทน ร้อยโท เจษฎา ศิวรักษ์ ๔. นางรัตนา อนุภาสนันท์ แทน นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
57 | ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 1/2559 | กค | 26/04/2559 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบและเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ ๑/๒๕๕๙ เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๙ และมอบหมายผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจดังกล่าวต่อไป สรุปได้ ดังนี้ ๑.๑ รับทราบผลการดำเนินงานตามแผนการแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจ จำนวน ๗ แห่ง ในช่วง ๑ ปีที่ผ่านมา ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) รวมถึงการประเมินผลการแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจครั้งที่ ๑ (ณ สิ้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๘) และมอบหมายให้รัฐวิสาหกิจ กระทรวงเจ้าสังกัด และกระทรวงการคลัง ดำเนินการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา รวมถึงกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายสำหรับการประเมินผลในครั้งที่ ๒ (ณ สิ้นเดือนมีนาคม ๒๕๕๙) ๑.๒ เห็นชอบในหลักการและแนวทางการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขตามความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนจากการสัมมนารับฟังความเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย และมอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ๑.๓ เห็นชอบหลักการการคงอยู่ของบริษัทในเครือที่มีการดำเนินการสอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจ และบริษัทในเครือที่จัดตั้งขึ้นตามความจำเป็นต่อการดำเนินภารกิจเฉพาะตามวัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจ โดยหากบริษัทในเครือใดมีผลประกอบการขาดทุน ให้รัฐวิสาหกิจร่วมกับบริษัทในเครือจัดทำแผนแก้ไขปัญหาโดยเร็ว รวมทั้งเห็นชอบการยุบเลิกหรือถอนการลงทุนบริษัทในเครือที่มิได้ดำเนินการสอดคล้องกับภารกิจตามวัตถุประสงค์ของรัฐวิสาหกิจ ๑.๔ เห็นชอบในหลักการให้นำค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการของขวัญปีใหม่ ๒๕๕๙ ให้แก่ประชาชน ของธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอาคารสงเคราะห์ บวกกลับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงานรัฐวิสาหกิจในปีที่เกิดค่าใช้จ่ายขึ้นจริง ๑.๕ รับทราบความคืบหน้าการปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อมูลที่เปิดเผยของโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ ๒๕๕๔-๒๕๖๐) ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ๒. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจรับความเห็นของสำนักงบประมาณเกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) เพื่อแก้ไขปัญหาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ควรมีมาตรการที่เป็นรูปธรรมและชัดเจนในการเตรียมการแก้ไขปัญหาและรับมือกับสถานการณ์หรือการป้องกันการบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ สำหรับการดำเนินการเพื่อรองรับร่างพระราชบัญญัติการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ พ.ศ. .... ควรเตรียมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจและหลักเกณฑ์การประเมินผลบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ส่วนกรณีขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ นั้น ให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพพิจารณาจัดทำแผนปรับปรุงการบริหารจัดการและบริการระบบขนส่งมวลชนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และเพิ่มรายได้จากการบริการ รวมทั้งเร่งรัดการแก้ไขปัญหาอุปสรรคและปรับปรุงระบบการบริหารการเงินให้เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
58 | แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายฉัตรชัย ศิริไล) | กค | 26/04/2559 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแต่งตั้ง นายฉัตรชัย ศิริไล ให้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตั้งแต่วันที่สัญญาจ้างมีผลบังคับใช้เป็นต้นไป แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบการกำหนดอัตราเงินเดือน ผลประโยชน์ตอบแทนอื่น และเงื่อนไขการจ้างตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. ๒๕๑๘ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ แล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้นายฉัตรชัย ศิริไล ลาออกจากการเป็นพนักงานก่อนลงนามในสัญญาจ้างด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
59 | โครงการบ้านประชารัฐบนที่ดินราชพัสดุ | กค | 19/04/2559 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบกรอบการดำเนินโครงการบ้านประชารัฐบนที่ดินราชพัสดุ (โครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ) ซึ่งมีกรอบการดำเนินโครงการในหลักการเดียวกับโครงการบ้านประชารัฐที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นรขอบแล้วเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มีที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราวและหรือให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองบนที่ดินราชพัสดุ โดยให้สถาบันการเงินของรัฐ ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนพิเศษ แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post Finance) และเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเสนอขอปรับถ้อยคำในวัตถุประสงค์ของโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ ในข้อ ๒.๑.๑.๑ ของหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๓๑๔/๖๕๗๔ ลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๙ จาก “เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราวและหรือให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง” เป็น “เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มีที่อยู่อาศัยเป็นการชั่วคราวและหรือให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนที่ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง” เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของโครงการฯ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และธนาคารแห่งประเทศไทย เกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมาย หากมีจำนวนความต้องการเกินกว่าอุปทาน อาจพิจารณากลุ่มสูงอายุและกลุ่มที่เพิ่งเริ่มทำงานเป็นกลุ่มที่มีลำดับความสำคัญสูง ส่วนการสำรวจที่ดินราชพัสดุที่ยังมิได้นำมาใช้ประโยชน์และมีศักยภาพในการพัฒนา ทั้งที่เป็นการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อย และการพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ และการให้ ธอส. และธนาคารออมสินพิจารณาการปล่อยสินเชื่ออย่างรอบคอบเพื่อป้องกันหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ รวมทั้งธนาคารทั้งสองแห่งควรมีกระบวนการพิจารณาคัดกรองการให้สินเชื่อที่ระมัดระวังเป็นพิเศษ สำหรับการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post Finance) แบบผ่อนปรนหลักเกณฑ์ Debt Service Ratio (DSR) และ Debt to Income Ratio (DTI) โดยให้คำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้และความสามารถในการใช้จ่ายประจำวัน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ หากการดำเนินโครงการฯ เข้าข่ายตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๕๖ ให้กรมธนารักษ์ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและประกาศคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐอย่างเคร่งครัดต่อไปด้วย ๓. เห็นชอบให้ ธอส. และธนาคารออมสินแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post Finance) เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล (Public Service Account : PSA) และไม่นับรวมหนี้ NPLs ที่เกิดจากการดำเนินโครงการฯ เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของ ธอส. และธนาคารออมสิน รวมทั้งให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการฯ บวกกลับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงานได้ ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง โดย ธอส. และธนาคารออมสินจะต้องไม่ขอรับการชดเชยงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการฯ ในอนาคต ๔. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลการคัดเลือกเอกชนที่เข้าร่วมพัฒนาโครงการฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้เอกชนที่มีศักยภาพและสามารถดำเนินโครงการได้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา ๕. ให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) กำกับการบูรณาการโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ข้าราชการบำนาญ และข้าราชการที่เกษียณอายุแล้ว เพื่อให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการสำรวจจำนวนผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เพื่อวางแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในระยะยาว รวมทั้งกำหนดรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินโครงการต่อไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๙ (เรื่อง บ้านประชารัฐ) |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
60 | โครงการบ้านประชารัฐ | กค | 22/03/2559 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบกรอบการดำเนินโครงการบ้านประชารัฐ โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สนับสนุนสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post Finance) สำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ระยะเวลาโครงการ ๒ ปี นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ระยะเวลาการยื่นความจำนงขอรับสินเชื่อ) ครอบคลุมที่อยู่อาศัยทุกประเภทในราคาไม่เกิน ๑.๕ ล้านบาทต่อหน่วย ทั้งที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่ ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จพร้อมอยู่ ทรัพย์สินรอการขาย (Non-Performing Assets : NPAs) ของสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ และทรัพย์รอการขายของกรมบังคับคดี ทั้งที่สร้างบนที่ดินของตนเอง ที่ดินของเอกชนผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และที่ดินของรัฐ รวมถึงการซ่อมแซม/ต่อเติมที่อยู่อาศัย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และรับทราบตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังเสนอขอถอนเงื่อนไขการดำเนินโครงการฯ เกี่ยวกับการถือครองกรรมสิทธิ์ เพื่อนำไปพิจารณาแนวทางและรูปแบบการดำเนินโครงการฯ บนที่ดินราชพัสดุ และจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในโอกาสต่อไป ๒. ให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรพิจารณาการปล่อยสินเชื่ออย่างรอบคอบเพื่อมิให้มีผลกระทบต่อสถานะความมั่นคงทางการเงินของธนาคาร และควรมีมาตรการในการกำกับดูแลให้การกำหนดราคาขายอสังหาริมทรัพย์มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุนของผู้ประกอบการ มีการคัดกรองผู้เข้าร่วมโครงการให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีกระบวนการบริหารความเสี่ยง การประเมินความเสี่ยง ตลอดจนการคำนวณความเสียหายและติดตามผลกระทบต่อฐานะที่อาจจะเกิดขึ้นต่อธนาคาร และให้ความสำคัญกับความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๓. เห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชน (Post Finance) เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล (Public Service Account : PSA) และไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) จากการดำเนินโครงการฯ เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของธนาคาร รวมทั้งให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการฯ บวกกลับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงานได้ ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารออมสิน จะต้องไม่ขอรับการชดเชยงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการฯ ในอนาคต ๔. ให้กระทรวงการคลังกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้สินเชื่อในส่วนของมาตรการสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) ให้ชัดเจนโดยเฉพาะห้ามให้สินเชื่อเพื่อชดใช้หนี้เดิม (refinance) ของโครงการที่อยู่อาศัยที่มีอยู่เดิม ๕. ให้กระทรวงการคลังกำหนดให้ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการฯ ประชาสัมพันธ์ และให้ข้อมูลโครงการฯ แก่ประชาชนผู้ขอรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (Post Finance) และผู้ประกอบการที่ขอสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย (Pre Finance) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกภาคส่วนในโครงการ ๖. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจจำนวนผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง เพื่อวางแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในระยะยาว รวมทั้งกำหนดรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินโครงการต่อไป ๗. ให้กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และไม่ได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้งตรวจสอบและดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำที่ดินดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในโครงการอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐต่อไป |
.....