ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 2 จากทั้งหมด 15 หน้า แสดงรายการที่ 21 - 40 จากข้อมูลทั้งหมด 282 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
21 | รายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย สำหรับงวดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 23 กันยายน 2563 (วันยุบเลิกบรรษัท) | กค. | 03/08/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
สำหรับงวดตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ (วันยุบเลิกบรรษัท) ประกอบด้วย รายงานผลการดำเนินงานปีบัญชี ๒๕๖๓
เปรียบเทียบกับปีบัญชี ๒๕๖๒ ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับรองแล้ว และเป็นไปตามพระราชกำหนดบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๒๖ ทั้งนี้ พระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ ซึ่งมีผลให้บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยควบรวมกิจการเข้ากับธนาคารอาคารสงเคราะห์แล้ว นับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ
และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ถือเอาวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ เป็นวันยุบเลิกบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
และปิดงบการเงิน ประจำปี ๒๕๖๓ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
22 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค. | 23/03/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ แทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ และแทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมที่ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๓ มีนาคม ๒๕๖๔) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายยุทธนา
หยิมการุณ ประธานกรรมการ ๒. นางสาวกิริฎา
เภาพิจิตร กรรมการ ๓. นายกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการ ๔. นายรัฐสภา
จิระกรานนท์ กรรมการ ๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนวรรธน์
พลวิชัย กรรมการ ๖. นางสาวกริชผกา
บุญเฟื่อง กรรมการ ๗. นายนรินทร์
โอภามุรธาวงศ์ กรรมการ ๘. นายชาญวิทย์
นาคบุรี กรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
23 | รายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา | สผ. | 29/12/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการพิจารณาตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ซึ่งกระทรวงการคลังได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
โดยได้ดำเนินการเตรียมการรองรับการบังคับใช้กฎหมาย โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
จะจัดตั้งหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ขึ้น
เพื่อรองรับพนักงานของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.)
และได้สื่อสารทำความเข้าใจกับพนักงาน ธอส. ให้รับทราบถึงการควบรวม ธอส. กับ บตท.
รวมทั้งพิจารณาปรับโครงสร้างของ ธอส. และประมาณการอัตรากำลังปี ๒๕๖๔-๒๕๖๘
เยียวยาความเดือดร้อนของลูกจ้างชั่วคราวของ บตท. โดย ธอส.
มีนโยบายจะรับลูกจ้างชั่วคราวของ บตท. ที่มีความประสงค์จะมาเป็นลูกจ้างชั่วคราวของ
ธอส. ภายหลังสิ้นสุดสัญญาจ้างกับ บตท. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
24 | โครงการของขวัญปีใหม่ปี 2564 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | กค. | 22/12/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบโครงการของขวัญปีใหม่ปี
๒๕๖๔ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ได้แก่ (๑)
โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารออมสิน (๒) โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(๓) โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) (๔)
โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
(ธพว.) (๕) โครงการของขวัญปีใหม่ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (๖) โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
และ (๗) โครงการของขวัญปีใหม่ของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.)
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
25 | การปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | กค | 30/06/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๖๓ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ๔ แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จากเดิมอัตราร้อยละ ๐.๒๕ ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน เป็นอัตราร้อยละ ๐.๑๒๕ ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน เป็นระยะเวลา ๒ ปี สำหรับการนำส่งเงินในปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจควรบริหารสภาพคล่องอันเนื่องมาจากการปรับอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยเป็นไปเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหรือดำเนินการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเตรียมรองรับมาตรการของรัฐที่อาจมีเพิ่มเติมในระยะถัดไป และกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจควรดำเนินการตามขั้นตอนและข้อกำหนด รวมถึงบริหารผลกระทบที่มีต่อสภาพคล่องของกองทุน เพื่อมิให้กระทบต่อหน้าที่ในการพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะ ให้มั่นคง ยั่งยืน และมีเสถียรภาพ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
26 | การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 31/03/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน ๓ คน แทนกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระเนื่องจากมีอายุครบ ๖๕ ปีบริบูรณ์ และขอลาออก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓) เป็นต้นไป ทั้งนี้ ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งแทนนี้ให้อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
๑. นายวิชิต แสงทองสถิตย์ กรรมการ ๒. นายพิพัฒน์ ขันทอง กรรมการ ๓. นายอิทธิ พงศ์อุสรา กรรมการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
27 | ร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้งบริษัท การร่วมกิจการกับบุคคลอื่น และการถือหุ้นในกิจการตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 2 ฉบับ | กค | 11/02/2563 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง รวม ๒ ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ดังนี้ ๑.๑ ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งบริษัทหรือร่วมกิจการกับบุคคลอื่นเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับหรือเนื่องในการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ร่วมกิจการกับบุคคลอื่นที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการสร้างระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ๑.๒ ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์จัดตั้งบริษัท องค์กร หรือร่วมกิจการกับบุคคลอื่นที่เกี่ยวกับการรับประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือการรับประเมินมูลค่าทรัพย์สิน รวมทั้งกำหนดให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ถือหุ้นในบริษัทที่ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ ๒. ให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเกี่ยวกับ (๑) กรณีการประกอบกิจการเกี่ยวกับการรับประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยที่พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้การประกอบธุรกิจประกันภัยหรือผู้ทำการเป็นผู้รับประกันภัย โดยทำสัญญาประกันภัยหรือสัญญาประกันชีวิตกับบุคคลใด ๆ จะกระทำได้เมื่อจัดตั้งเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยหรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต เว้นแต่มีกฎหมายอื่นกำหนดให้ทำการป็นผู้รับประกันภัยได้ เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสินที่มีการกำหนดขอบเขตการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรับประกันภัยไว้ในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติการปรับประกันภัยของธนาคารทั้งสองแห่ง จึงไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าว แต่กฎหมายที่กำหนดให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์จัดตั้งบริษัท องค์กร หรือหน่วยงาน ทำการเป็นผู้รับประกันภัย เป็นกฎหมายระดับพระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวง ซึ่งมีศักดิ์ทางกฎหมายต่ำกว่าพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าว ดังนั้น การประกอบกิจการเกี่ยวกับการรับประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ จึงต้องจัดตั้งเป็นบริษัทมหาชนจำกัดและได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจ รวมทั้งต้องดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าว และ (๒) กรณีกำหนดให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประกอบธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยและประกันชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยสามารถตีความได้ว่า บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์จะเข้าไปถือหุ้นต้องได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยหรือได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันชีวิตตามพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าว ตามแต่กรณีเท่านั้น ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
28 | มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 | กค | 26/11/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. รับทราบ เห็นชอบ และอนุมัติมาตรการ/โครงการ ภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี ๒๕๖๒ เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี ๒๕๖๒ และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ ๑.๑ โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓ ๑.๑.๑ เห็นชอบในหลักการโครงการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน ภายในกรอบวงเงิน ๑๔,๔๙๑.๔ ล้านบาท โดยให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติพิจารณาใช้จ่ายงบประมาณของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยพิจารณาจากโครงการที่ได้เคยมีมติอนุมัติไว้ ซึ่งได้ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว และ/หรือโครงการที่มีผลการปฏิบัติงานล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ให้สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดทำรายละเอียดให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๑.๑.๒ เห็นชอบโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สำหรับวงเงินชดเชยดอกเบี้ย ภายในกรอบวงเงิน ๗๐๗.๗ ล้านบาท ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้สินเชื่อในแต่ละกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสมชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ รวมทั้งรับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณและความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรให้ความสำคัญในเรื่องของความพร้อมของโครงการ ความชัดเจนของกลุ่มเป้าหมาย การติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินการที่ผ่านมา การสร้างความรับรู้ ความเข้าใจของทุกภาคส่วนต่อการดำเนินโครงการ เพื่อลดความเสี่ยงของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้หรือหนี้เสียที่จะเกิดขึ้น และความซ้ำซ้อนของการดำเนินการในแต่ละโครงการ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๑.๑.๓ รับทราบโครงการพักชำระหนี้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามความสมัครใจ และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรพิจารณาแนวทางการประเมินและบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดแรงจูงใจในการผิดนัดชำระหนี้และปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรมุ่งสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนอย่างแท้จริง โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ประชาชนในพื้นที่ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีเงินสะสมคงเหลือที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพของคนในชุมชน ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๑.๒ อนุมัติให้กระทรวงการคลังถอนมาตรการลดภาระหนี้ผู้ประกอบการ SMEs ไปเพื่อพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรพิจารณาสนับสนุนให้สถาบันการเงินเร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่ระยะที่ลูกหนี้ยังอยู่ในวิสัยที่จะสามารถดำเนินธุรกิจได้ โดยพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ที่แท้จริงของลูกหนี้แต่ละราย เพื่อเป็นกันชนรองรับแรงกดดันความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ และสามารถปรับตัวเพื่อฟื้นฟูธุรกิจได้อย่างทันท่วงที ไปประกอบการพิจารณาด้วย ๑.๓ รับทราบหลักการของมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ซึ่งประกอบด้วย (๑) การอนุมัติของบประมาณเพิ่มเติมตามโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต ๒๕๖๒/๖๓ และ (๒) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต ๒๕๖๒/๖๓ และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดของโครงการให้ชัดเจน เพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการช่วยเหลือตามมาตรการดังกล่าวควรมีระบบหรือกลไกในการตรวจสอบที่มีมาตรฐานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนอย่างชัดเจน โดยเฉพาะจำนวนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรที่เพิ่มขี้นจากประมาณการเดิม นั้น ควรได้มีการตรวจสอบในเรื่องการลงทะเบียน จำนวนเกษตรกร จำนวนครัวเรือน จำนวนผลผลิตต่อไร่ ให้ทันต่อสถานการณ์อย่างถูกต้องครบถ้วน ตลอดจนมีการประเมินผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้มีข้อมูลในการบริหารงานอย่างถูกต้องครบถ้วน และกำหนดนโยบายที่เหมาะสม ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๑.๔ เห็นชอบมาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน ๕,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์กำหนดประเภทและกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นธรรม รวมทั้งจัดทำรายละเอียดให้ถูกต้องครบถ้วนตามเงื่อนไขโครงการที่กระทรวงการคลังกำหนด และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสม ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตของสำนักงบประมาณและความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เห็นควรกำหนดประเภทและกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นธรรม และจัดทำรายละเอียดให้ถูกต้องครบถ้วน ตามเงื่อนไขโครงการที่กระทรวงการคลังกำหนด และจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป โดยให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการ และโอกาสในการลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back) ของประชาชนทั่วไปที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองเป็นสำคัญ การกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการในการป้องกันการซื้อเพื่อเก็งกำไรในระยะสั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ตลอดจนการรายงานและประเมินผลสัมฤทธิ์โครงการที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ๒. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยและธนาคารแห่งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี ๒๕๖๒ ในภาพรวม โดยเห็นว่ารัฐบาลควรส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแรงจูงใจ (incentive structure) ในระบบเศรษฐกิจให้เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจในระยะยาว และเตรียมพร้อมรับมือกับบริบทเศรษฐกิจโลกยุคใหม่ โดยไม่ก่อให้เกิดภาระทางการคลังในระยะยาว ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ๓. ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
29 | มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2562 ระยะที่ 2 | กค | 22/10/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
๑. เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี ๒๕๖๑ ระยะที่ ๒ จำนวน ๔ มาตรการ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ มาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ “ชิมช้อปใช้” เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศผ่านระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยภาครัฐ (g-Wallet) โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการเดินทางไปท่องเที่ยวและใช้จ่าย โดยจะขยายระยะเวลามาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช้อปใช้” จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ และดำเนินมาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ “ชิมช้อปใช้” หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ๑.๒ มาตรการลดภาระภาษีเพื่อที่อยู่อาศัย เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่ไม่สูงนัก เหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนแต่ละกลุ่ม โดยรัฐบาลจะสนับสนุนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอน จากเดิมร้อยละ ๒ เหลือร้อยละ ๐.๐๑ และลดค่าจดจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิมร้อยละ ๑ เหลือร้อยละ ๐.๐๑ เฉพาะการซื้อขายที่อยู่อาศัยที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด ในราคาไม่เกิน ๓ ล้านบาทต่อหน่วย โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยมีผลบังคับใช้ จนถึงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ ๑.๓ มาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่ไม่สูงนัก เหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนแต่ละกลุ่ม โดย ธอส. จะสนับสนุนสินเชื่อที่อยู่อาศัยในอัตราดอกเบี้ยเงินกู้พิเศษและเงื่อนไขผ่อนปรนให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาซื้อขายไม่เกิน ๓ ล้านบาทต่อหน่วย วงเงินสินเชื่อรวม ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท เริ่มโครงการตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยรัฐบาลชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยให้แก่ ธอส. วงเงิน ๑,๑๘๒.๑๘ ล้านบาท และให้ ธอส. ทำความตกลงในการเบิกจ่ายงบประมาณตามภาระที่เกิดขึ้นจริงกับสำนักงบประมาณต่อไป ๑.๔ มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรม สัมมนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ไปพลางก่อน (Front Load) โดยเร่งรัดให้หน่วยรับงบประมาณเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายสำหรับวงเงินที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณ เพื่อให้มีเม็ดเงินสำหรับค่าใช้จ่ายด้านการฝึกอบรม สัมมนา ลงสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม ๒๕๖๒ (๒ เดือน) ๒. สำหรับภาระงบประมาณในการดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย และข้อสังเกตของสำนักงบประมาณ เช่น ควรมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวในภาพรวมว่าสามารถช่วยเพิ่มการใช้จ่ายของระบบเศรษฐกิจในประเทศตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ และพิจารณาเป้าหมายการใช้จ่ายผ่าน g-Wallet ช่อง ๒ ที่กำหนดเป้าหมายผู้ลงทะเบียนเติมเงินสำหรับใช้จ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พัก รวมถึงบริการต่าง ๆ จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการดังกล่าว ตลอดจนแสวงหาทางเลือกอื่นที่สามารถผลักดันเศรษฐกิจให้บรรลุเป้าหมายตามมาตรการดังกล่าว และให้นำผลการประเมินมาพิจารณากำหนดมาตรการให้ครบถ้วนยิ่งขึ้นตามนัยพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบรายละเอียดและเงื่อนไขในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างชัดเจน ถูกต้อง และทั่วถึงด้วย ๓. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด กรณีห้องชุด ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๔. ให้กระทรวงการคลังเร่งรัดการจัดทำกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ “ชิมช้อปใช้” ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๒ และ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๒ และมาตรการส่งเสริมการบริโภคภายในประเทศ “ชิมช้อปใช้” ที่เสนอในครั้งนี้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วนต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
30 | การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายปริญญา พัฒนภักดี) | กค | 22/10/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายปริญญา พัฒนภักดี เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ แทน นายนรินทร์ กัลยาณมิตร ที่ลาออก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๒) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
31 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการระดมทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ) | กค | 01/10/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยสลากออมทรัพย์และรางวัลสลากออมทรัพย์ที่ออกจำหน่ายตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป และเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำหรับดอกเบี้ยที่คำนวณตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
32 | ร่างกฎกระทรวงการออกและขายสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. .... | กค | 27/08/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการออกและขายสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการออกและขายสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
33 | ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการออกและขายสลากออมทรัพย์ พ.ศ. .... | กค | 25/06/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการออกและขายสลากออมทรัพย์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการออกและขายสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ซึ่งจะทำให้ ธอส. สามารถระดมทุนและบริหารจัดการแหล่งเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
34 | ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการระดมทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ) | กค | 04/06/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ที่เป็นดอกเบี้ยสลากออมทรัพย์และรางวัลสลากออมทรัพย์ที่ออกจำหน่าย ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป และเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำหรับดอกเบี้ยที่คำนวณตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรให้กระทรวงการคลังสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการภาษีดังกล่าวให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรก รวมทั้งจัดทำประมาณการรายได้เพื่อกำหนดไว้ในแผนการคลังระยะปานกลางให้ถูกต้อง ครบถ้วน และใช้เป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของประเทศตามนัยแห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ ต่อไป ตลอดจนรายงานผลการดำเนินงานและสัมฤทธิ์ตามมาตรการภาษีดังกล่าวเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการในโอกาสแรก นอกจากนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ควรพิจารณาปรับลดราคาสลากต่อหน่วยลงเพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนรายย่อยเข้าถึงสลากออมทรัพย์ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้มากขึ้น ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
35 | รายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... | สว | 30/04/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบตามที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีรายงานว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๕๐ ก วันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๒ ๒. รับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยกระทรวงการคลังได้ดำเนินการพิจารณาร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเกี่ยวกับการกำหนดอายุขั้นสูงของผู้สูงอายุที่ขอรับบริการสินเชื่อควรกำหนดให้เหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและความจำเป็น โดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจแต่ละแห่งจะพิจารณาเป็นรายกรณี การกำหนด LTV และอัตราดอกเบี้ยควรกำหนดในระดับที่ใกล้เคียงกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่นที่ให้บริการสินเชื่อในลักษณะเดียวกัน และไม่นำประวัติการชำระหนี้จากบริษัทข้อมูลเครดิตฯ มากำหนดเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาให้สินเชื่อ รวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้บริการสินเชื่อจะพิจารณากำหนดมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เหมาะสม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติทราบต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
36 | การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายนรินทร์ กัลยาณมิตร) | กค | 12/03/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายนรินทร์ กัลยาณมิตร เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ แทน นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ที่มีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
37 | การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (จำนวน 2 คน 1. พันเอก เจียรนัย วงศ์สอาด ฯลฯ) | กค | 12/02/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ แทนผู้ที่ลาออก จำนวน ๒ คน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒) เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
๑. พันเอก เจียรนัย วงศ์สอาด เป็นกรรมการ แทน นายอวยชัย คูหากาญจน์ ๒. นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร เป็นกรรมการ แทน ศาสตราจารย์นฤมล สอาดโฉม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
38 | การปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนและปรับเพิ่มเงินเดือนของพนักงานธนาคารออมสิน พนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค | 05/02/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ๑. เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑.๑ เห็นชอบการปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนและปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงานธนาคาร ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครรส.) ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ และการปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนและปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ตามมติ ครรส. ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๑ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ๑.๒ เห็นชอบการปรับเพิ่มเงินเดือนของพนักงานธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และ ธอส. โดยให้ปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงานที่ยังไม่ถึงอัตราขั้นต่ำของกระบอกเงินเดือนให้ได้รับในอัตราขั้นต่ำในลำดับแรก และปรับเพิ่มเงินเดือนเพื่อชดเชยพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการที่พนักงานได้รับการปรับเงินเดือนเข้าสู่ระดับขั้นต่ำ โดยให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจพิจารณาแนวทางการชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับเงินเดือนเข้าสู่ระดับขั้นต่ำได้ตามแนวทางที่เหมาะสม โดยรวมแล้วไม่เกินร้อยละ ๑ ของฐานเงินเดือนพนักงาน ทั้งนี้ ให้ปรับเพิ่มได้เพียงครั้งเดียวตามมติ ครรส. ๑.๓ การขอปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนและการขอปรับเพิ่มเงินเดือนในแต่ละครั้งจะต้องเว้นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๒ ปีขึ้นไป โดยมิให้นำเหตุแห่งการปรับเงินเดือนของข้าราชการมาเป็นประเด็นในการพิจารณา ๒. ให้กระทรวงการคลังรับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการพิจารณาโครงสร้างอัตราเงินเดือนควรคำนึงถึงผลประโยชน์ตอบแทนอื่น ๆ ที่พนักงานจะได้รับนอกเหนือจากเงินเดือน ซึ่งรวมถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับภายหลังเกษียณอายุ อาทิ บำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล ประกอบด้วย และในการประมาณการผลกระทบค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงค่าตอบแทน มีการประมาณการเฉพาะเงินเดือน เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าล่วงเวลา และโบนัส เท่านั้น ควรพิจารณาให้ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ใช้เงินเดือนเป็นฐานในการคำนวณด้วย เช่น เงินที่จ่ายเมื่อเกษียณ เป็นต้น รวมทั้งควรมีการกำกับและติดตามให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร ทั้งแผนการเพิ่มรายได้ การพัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการบุคลากร แผนการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อมิให้การปรับปรุงโครงสร้างอัตราเงินเดือนส่งผลกระทบต่อรายได้นำส่งรัฐและการให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
39 | การขอกู้เงินของธนาคารอาคารสงเคราะห์ประจำปีงบประมาณ 2562 | กค | 22/01/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. เห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กู้เงินสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยการออกพันธบัตรวงเงินรวมไม่เกิน ๓๐,๖๐๐ ล้านบาท แบ่งเป็น (๑) การกู้เงินโดยการออกพันธบัตรใหม่ จำนวน ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท และ (๒) การกู้เงินโดยการออกพันธบัตรเพื่อทดแทนพันธบัตรเดิมที่ครบกำหนด (Roll-over) จำนวน ๑๘,๖๐๐ ล้านบาท (การกู้เงินโดยการออกพันธบัตรของ ธอส. ในครั้งนี้ ไม่ได้ขอให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการกู้เงินดังกล่าว) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. ให้กระทรวงการคลัง โดย ธอส. รับความเห็นของสำนักงบประมาณที่เห็นควรมีการจัดทำแผนการกู้เงิน การบริหารสินเชื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างเงินทุนและการพิจารณาแนวทางอื่นในการระดมทุน เพื่อให้สอดคล้องกับการปล่อยเงินกู้ สินเชื่อระยะยาว รวมทั้งจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงให้ครอบคลุมรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นตลอดระยะเวลาดำเนินการในระยะยาว ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
40 | มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อยปาบึก ปี 2562 ของกระทรวงการคลัง | กค | 08/01/2562 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้
๑. รับทราบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อนปาบึก ปี ๒๕๖๒ ประกอบด้วย (๑) มาตรการหักลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคเงินหรือทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย (๒) มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค และ (๓) มาตรการทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ทั้ง ๗ แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศทไย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม รวมจำนวน ๑๙ มาตรการ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดมาตรการยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ที่ราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึก และกำหนดมาตรการยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถในพื้นที่ที่ราชการประกาศให้เป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากพายุโซนร้อนปาบึก ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ๓. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เห็นควรดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและครบถ้วน ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ๔. ให้กระทรวงการคลังได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ (เรื่อง การเสนอเรื่องเร่งด่วนต่อคณะรัฐมนตรี) ในการเสนอเรื่องนี้
|