ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 15 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 20 จากข้อมูลทั้งหมด 281 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | รายงานสถานะหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐ และความเสี่ยงทางการคลัง ตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ณ วันสิ้นปีงบประมาณ 2567 | กค. | 03/12/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานะหนี้สาธารณะ หนี้ภาครัฐ
และความเสี่ยงทางการคลัง ตามมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ วันสิ้นปีงบประมาณ ๒๕๖๗ สรุปได้ ดังนี้ ๑) หนี้สาธารณะคงค้าง มีจำนวน
๑๑.๖๓ ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๖๓.๓๒ ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าจำนวน ๐.๕๐
ล้านล้านบาท ๒) หนี้เงินกู้คงค้างของหน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วย (๑) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ
ที่ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ ได้แก่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก
จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
มีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๓๔,๙๑๓.๕๐ ล้านบาท (๒)
รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมเงิน ธุรกิจบริหารสินทรัพย์
และธุรกิจประกันสินเชื่อที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ำประกัน อาทิ บริษัท
บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด ธนาคารอาคารสงเคราะห์
และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีจำนวนรวมทั้งสิ้น ๐.๕๙
ล้านล้านบาท (๓) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีจำนวน ๐.๐๔ ล้านล้านบาท และ (๔)
ธนาคารแห่งประเทศไทย มีจำนวน ๔.๒๑ ล้านล้านบาท และ ๓) ความเสี่ยงทางการคลัง
พบว่าหนี้สาธารณะ จำนวน ๑๑.๖๓ ล้านล้านบาท โดยหนี้ส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๙๘.๙๕) เป็นหนี้ในประเทศ
และร้อยละ ๘๕.๘๖ ของหนี้สาธารณะเป็นหนี้ที่เป็นภาระต่องบประมาณโดยตรง และหนี้เงินกู้ของหน่วยงานของรัฐที่ไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ
ไม่มีผลกระทบต่อภาระทางการคลัง หรือเงินงบประมาณแผ่นดินในภาพรวม
เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีสถานะการดำเนินงานที่มั่นคงและมีรายได้เพียงพอที่จะชำระหนี้เงินกู้เองได้
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2 | การแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซื้อ-สร้าง และการแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซ่อม-แต่ง ภายใต้มาตรการสินเชื่อซื้อ-ซ่อม-สร้าง ของธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) | กค. | 12/11/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการแยกบัญชีมาตรการสินเชื่อซื้อ -
สร้าง และมาตรการสินเชื่อซ่อม - แต่ง และแยกเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA) และแยกเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public
Service Account : PSA) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ภายในกรอบวงเงินรวม ๖,๓๗๒.๘๘ ล้านบาท โดยให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ
เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและตามผลการดำเนินงานจริงต่อไป
และควรจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ
และติดตามการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ด้วย
ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (ธนาคารอาคารสงเคราะห์)
รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
เห็นควรมีการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ผ่านสื่อทุกประเภท
โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ รวมถึงจัดทำสื่อที่เหมาะสมสำหรับคนพิการทุกประเภท อาทิ
เสียงบรรยายภาพ (Audio Description : AD) สำหรับคนพิการทางการเห็น
คำบรรยายแทนเสียง (Closed Captions : CC) สำหรับคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย
และหนังสือที่อ่านเข้าใจง่าย (Easy Read) สำหรับคนพิการทางสติปัญญาหรือออทิสติก
ฯลฯ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (1. นายอัครุตม์ สนธยานนท์ ฯลฯ รวม 7 คน) | กค. | 08/10/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์
รวม ๗ คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๘ ตุลาคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายอัครุตม์ สนธยานนท์ ประธานกรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) ๒. นายชุมพล สุวรรณกิจบริหาร กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) ๓. นายกฤษณ์ เสสะเวช กรรมการ ๔. นายธะเรศ โปษยานนท์ กรรมการ ๕. นายสุเมธ ตั้งประเสริฐ กรรมการ ๖. นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ กรรมการ ๗. นายดรุฒ คำวิชิตธนาภา กรรมการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4 | การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | กค. | 16/07/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบการกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่อัตราร้อยละ
๐.๑๒๕ ต่อปี
ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน เป็นระยะเวลา ๑ ปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี พ.ศ. ๒๕๖๗ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
รวม ๔ แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์
และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยปรับลดอัตราเงินนำส่งเหลือร้อยละ ๐.๑๒๕ ต่อปี
ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี พ.ศ. ๒๕๖๗
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๗ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5 | การส่งเสริมและสนับสนุนที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง | นร. | 23/04/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า จากการลงพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมประชาชนบริเวณแฟลตดินแดง
เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา
ได้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยและมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบาง
ดังนั้น จึงขอมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ ดังนี้ ๑. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
(การเคหะแห่งชาติ)
ตรวจสอบความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชนผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มเปราะบางทั่วประเทศ
เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงที่อยู่อาศัยของประชาชนและสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
ตามลำดับความจำเป็นเร่งด่วนของแต่ละพื้นที่ ๒. ให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย)
ตรวจสอบที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณริมทางรถไฟและสถานีรถไฟต่าง ๆ ทั่วประเทศที่มีความเหมาะสมและสามารถนำมาสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ ๓. ให้กระทรวงการคลัง (ธนาคารอาคารสงเคราะห์)
ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมผู้มีรายได้น้อยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมและเป็นธรรม
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6 | มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ และการเตรียมการเพื่อรองรับการดำเนินการยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก (Thailand Vision) | กค. | 09/04/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.
เห็นชอบข้อเสนอการปรับปรุงมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำหรับที่อยู่อาศัย
ปี ๒๕๖๗ และมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกสร้างบ้าน
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๒. เห็นชอบ ๒.๑
ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
พ.ศ. ๒๕๖๖ พ.ศ. .... ๒.๒
ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับการโอนและการจำนองจากการซื้อขายห้องชุดเพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง
พ.ศ. ๒๕๖๖ พ.ศ. .... ๒.๓
ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์หรือที่ดินพร้อมอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ๒.๔
ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
กรณีห้องชุด ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ๒.๕
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ..(พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
รวม ๕ ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๓. เห็นชอบในหลักการของโครงการสินเชื่อบ้าน Happy Home พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๔. รับทราบโครงการสินเชื่อบ้าน Happy Life และรับทราบความคืบหน้าของการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเกี่ยวกับการส่งเสริมก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้กับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ๕.
มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการมาตรการอื่น
ๆ
ซึ่งผู้ประกอบการเอกชนในภาคอสังหาริมทรัพย์มีข้อเสนอให้ภาครัฐพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี
เพื่อพิจารณาต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายอัครุตม์ สนธยานนท์ และนายธะเรศ โปษยานนท์) | กค. | 30/01/2567 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์
รวม ๒ คน
เพื่อทดแทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๓๐ มกราคม ๒๕๖๗) เป็นต้นไป
และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งตนแทน
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายอัครุตม์ สนธยานนท์ ประธานกรรมการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8 | การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้นของธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค. | 07/03/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้นของธนาคารอาคารสงเคราะห์
ตามผลการประเมินปฏิบัติงานประจำปี ในอัตราร้อยละ ๔-๖
ของค่ากลางในการเลื่อนขั้นเงินเดือนของพนักงาน (Midpoint) ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกินร้อยละ
๓.๗๕ ของฐานเงินเดือนค่าจ้างรวมของพนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้นประจำปีนั้น ๆ
ดังนี้ ๑.
หลักเกณฑ์การจ่ายตามการประเมินการปฏิบัติงานประจำปี ๑.๑
เท่ากับระดับ A+ ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษไม่เกินอัตราร้อยละ ๖ ของ Midpoint ๑.๒
เท่ากับระดับ A ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษไม่เกินอัตราร้อยละ ๕ ของ Midpoint ๑.๓
เท่ากับระดับ S ให้ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษไม่เกินอัตราร้อยละ ๔ ของ Midpoint ๑.๔
เท่ากับระดับ N ระดับ D ไม่ได้รับเงินตอบแทนพิเศษ ๒.
การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่พนักงานที่มีเงินเดือนเต็มขั้นตามผลการประเมินการปฏิบัติงานประจำปีนั้น
ไม่ถือเป็นเงินเดือน ไม่เป็นการจ่ายเป็นประจำ และไม่ใช้เป็นฐานในการคำนวณสิทธิประโยชน์ต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงินเดือนในทุกกรณี ๓. ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๗
มีนาคม ๒๕๖๖) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้
ให้กระทรวงการคลัง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และสำนักงาน ก.พ.ร. ที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน
โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อภาระที่จะเพิ่มขึ้นด้วย ควรคำนึงถึงภารกิจ หน้าที่
สถานภาพทางการเงิน และขีดความสามารถในการหารายได้ขององค์กรร่วมด้วย
เพื่อไม่ให้เป็นภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล
และไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินขององค์กรนั้น ๆ และกระทรวงการคลังควรกำกับให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ปฏิบัติตามแนวทางค่าใช้จ่ายอย่างเคร่งครัด
และกำหนดตัวชี้วัดเพื่อติดตามประเมินผลสำเร็จของแนวทางดังกล่าว
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
9 | การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (นายอรรถพล อรรถวรเดช) | กค. | 28/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายอรรถพล อรรถวรเดช
เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ แทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง
เนื่องจากขอลาออก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖)
เป็นต้นไป
และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
10 | โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 3) | กค. | 21/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบในหลักการโครงการบ้านล้านหลัง
ระยะที่ ๓ ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (ธนาคารอาคารสงเคราะห์)
รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เห็นควรปฏิบัติตามกฎหมาย
ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ควรจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงของโครงการ
และติดตามการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
(Non-Formming Loans : NPLs) รวมทั้งควรมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของกลุ่มลูกค้ารายย่อยไม่ให้ซ้ำซ้อนกับโครงการให้ความช่วยเหลืออื่นในลักษณะเดียวกันด้วย
ควรจัดลำดับความสำคัญให้กับประชาชนในกลุ่มที่มีรายได้ไม่เกิน ๒๕,๐๐๐ บาท ต่อเดือน เป็นลำดับแรก
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินโครงการในระยะที่ ๑-๒ ควรมีช่องทางการเข้าร่วมโครงการที่หลากหลายเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม
ไม่จำกัดเฉพาะช่องทางใดช่องทางหนึ่ง และควรบริหารจัดการความเสี่ยง
จัดทำฐานข้อมูลและติดตามผลการดำเนินการอย่างต่อเนื่องแบบครบวงจร
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สำหรับภาระงบประมาณในการชดเชยส่วนต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยรับตามแผนวิสาหกิจของธนาคารอาคารสงเคราะห์กับรายได้ดอกเบี้ยรับจากโครงการบ้านล้านหลัง
ระยะที่ ๓ ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ๒.
ในการดำเนินโครงการสร้างที่อยู่อาศัยของประชาชนและการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของประชาชน
ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
และสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับพื้นที่/ทำเลในการก่อสร้างที่เหมาะสม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในเขตนอกเมืองของกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ
และพื้นที่ในเส้นทางที่มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งไว้แล้ว
เพื่อกระจายความเจริญและสร้างความเป็นชุมชนใหม่ ๆ
ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
11 | การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | กค. | 14/02/2566 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ๔ แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยปรับลดอัตราเงินนำส่งเหลือร้อยละ
๐.๑๒๕ ต่อปีของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี ๒๕๖๖
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๖ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นควรมีกระบวนการติดตามแผนการดำเนินงานและประเมินผลการส่งผ่านความช่วยเหลือของ
SFIs ไปยังลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง
ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | การดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ | กค. | 06/12/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑.รับทราบการขยายกรอบการดำเนินโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ กรณีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
รูปแบบโครงการเช่าระยะสั้น (Rental) บนที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่
กท. ๕๐๕๐ และ ส.กท. ๘๒๗ (บางส่วน) แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ออกไปอีก ๓
ปี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
และธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และหลักธรรมาภิบาลโดยเคร่งครัดต่อไป ควรติดตามและเร่งรัดการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ขยายกรอบในการดำเนินโครงการไว้เพื่อสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชนมีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย
และสามารถใช้ประโยชน์บนที่ดินราชพัสดุได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ควรมีกระบวนการคัดกรองลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม
บริหารจัดการความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด
และติดตามผลการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ๒. เห็นชอบให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และธนาคารออมสินแยกบัญชีโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ
เป็นโครงการตามนโยบายของรัฐบาล (PSA)
และไม่นับรวมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs)
ที่เกิดจากการดำเนินโครงการเป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของธนาคาร
รวมทั้งให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐบวกกับกำไรสุทธิเพื่อการคำนวณโบนัสพนักงานได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2) | กค. | 07/06/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง
ระยะที่ ๒) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๖๔ [เรื่อง
การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง) โดยปรับปรุงการกำหนดราคาซื้อขายหลักประกัน จากเดิม
ไม่เกิน ๑,๒๐๐,๐๐๐
บาทต่อหน่วย เป็น ไม่เกิน ๑,๕๐๐,๐๐๐
บาทต่อหน่วย และปรับปรุงวงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกัน จากเดิม ไม่เกิน ๑,๒๐๐,๐๐๐ บาท เป็น ไม่เกิน ๑,๕๐๐,๐๐๐ บาท ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลัง
(ธนาคารอาคารสงเคราะห์) รับความเห็นของสำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ติดตามการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากการปรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ
รวมทั้งควรมีมาตรการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของกลุ่มลูกค้ารายย่อยกับโครงการให้ความช่วยเหลืออื่นในลักษณะเดียวกันด้วย
ควรมีแนวทางดูแลประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ได้
โดยให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก และควรระมัดระวังตรวจสอบราคาตามสัญญาซื้อขายภายหลังจากหักส่วนลดจากผู้ขายแล้ว
เพื่อป้องกันไม่ให้มีการอนุมัติสินเชื่อเกินราคาซื้อขายที่แท้จริง เป็นต้น ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | การดำเนินโครงการ “ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์”บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ โดยบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด | กค. | 24/05/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมธนารักษ์ และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ดำเนินโครงการ
“ที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามาฯ-ธนารักษ์” บนที่ดินราชพัสดุ จังหวัดสมุทรปราการ
โดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล
(คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) กรอบงบลงทุนของโครงการฯ ประมาณ ๑,๓๔๕.๙๓๔ ล้านบาท และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ
บนเงื่อนไขที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดเท่านั้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามมติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่
๑ กันยายน ๒๕๖๔ (ตามหนังสือสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ด่วนที่สุด ที่ นร ๑๑๐๖/ว ๕๕๙๘ ลงวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔) รวมทั้งให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงบประมาณ
ที่เห็นควรเพิ่มกิจกรรมการจ้างงานผู้สูงอายุให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อการสร้างรายได้และพึ่งตนเอง
ควรกำหนดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการเป็นระยะ ๆ
เพื่อให้สามารถนำไปปรับแผนการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมและทันต่อบริบทของสังคมผู้สูงอายุ
ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. | กค. | 19/04/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง
ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ
กองทุนประกันชีวิต กองทุนประกันวินาศภัย
สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน)
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม ธนาคารอาคารสงเคราะห์
สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การยาสูบแห่งประเทศไทย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รวม ๑๖ หน่วยงาน เป็นหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา
๖๓/๑๕ เพื่อให้สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองแทนได้
อันจะทำให้การบังคับตามคำสั่งทางปกครองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง | กษ. | 22/03/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ
ดังนี้ ๑.
เห็นชอบในหลักการการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
โดยให้เกษตรกรฯ
ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้เดิมโดยพักชำระเงินต้นครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ ๕๐)
และดอกเบี้ยทั้งหมดไว้ก่อน และให้เกษตรกรฯ ทำสัญญาผ่อนชำระหนี้เงินต้นครึ่งหนึ่ง
(ร้อยละ ๕๐) ตามระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่ไม่เกิน ๑๕ ปี สำหรับการชดเชยเงินต้นร้อยละ
๕๐ ในส่วนที่เกษตรกรฯ ไม่ต้องรับภาระ กลุ่มเป้าหมาย จำนวน ๕๐,๖๒๑ ราย รัฐจะรับภาระในการจัดสรรเมื่อเกษตรกรฯ
ได้ชำระหนี้คืนงวดสุดท้ายเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร)
ร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดรายละเอียดและแนวทางดำเนินการให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น
รวมถึงกำหนดกรอบวงเงินสำหรับดำเนินการตามความจำเป็นและเหมาะสม
และดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ๒.
ในส่วนของการขอยกเว้นดอกเบี้ยค้างชำระของธนาคารรัฐ ๔ แห่ง
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร)
เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์
และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการดำเนินการให้ได้ข้อยุติที่เหมาะสมแล้วเสนคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ๓. รับทราบการยกเลิกหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่กำหนดในโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร
สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ยั่งยืน
(ลูกหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒
ตุลาคม ๒๕๖๑ [เรื่อง
โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ยั่งยืน
(ลูกหนี้ ธ.ก.ส.)] ๔. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร) ประสานงานกับกระทรวงมหาดไทย
คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.)
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เกษตรกร จำนวน ๕๐,๖๒๑ ราย ดังกล่าวข้างต้น
ได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของคนในกรอบการแก้ไขปัญหาความยกจนแบบพุ่งเป้าแต่ละครัวเรือนของ
คจพ. ด้วย ๕. ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง
เช่น ประเมินผลการดำเนินการของกองทุนฯ ทบทวนและปรับปรุงรูปแบบการดำเนินโครงการ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรอย่างยั่งยืน
ควรให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลและการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ
ประกาศหลักเกณฑ์ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ตลอดจนเงื่อนไขและวิธีดำเนินโครงการฯ อย่างเคร่งครัด ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ | กค. | 18/01/2565 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ รวม ๒ คน แทนประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมที่ขอลาออก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (๑๘ มกราคม ๒๕๖๕) เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งตนแทน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ ๑. นายพชร อนันตศิลป์ ประธานกรรมการ ๒. นายบุญชัย
จรัสแสงสมบูรณ์ กรรมการ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ | กค. | 21/12/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการการขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ๔ แห่ง ได้แก่
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์
และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยปรับลดอัตราเงินนำส่งลงกึ่งหนึ่งจากร้อยละ ๐.๒๕
ต่อปี เป็นร้อยละ ๐.๑๒๕ ต่อปี (ร้อยละ ๐.๐๖๒๕ ต่องวด)
ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน ออกไปอีก ๑ ปี สำหรับกรอบในการนำส่งเงินในปี ๒๕๖๕
(งวดเดือนมกราคม-มิถุนายน ๒๕๖๕ และงวดเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม ๒๕๖๕)
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ เป็นต้นไป
ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ๒. ให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย
ที่เห็นควรให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจบริหารสภาพคล่องอันเนื่องมาจากการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนฯ
เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน
รวมถึงเตรียมรองรับมาตรการของรัฐที่อาจมีเพิ่มเติมในระยะถัดไป ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง) | กค. | 07/09/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง) เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่เหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในอัตราดอกเบี้ยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น และอนุมัติงบประมาณจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๗๐๐ ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ ๒) ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง (ธนาคารอาคารสงเคราะห์) รับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เห็นว่าควรมีกระบวนการคัดกรองการให้สินเชื่อ และพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้อย่างเหมาะสม รวมถึงติดตามคุณภาพสินเชื่อและบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สำหรับภาระงบประมาณในการชดเชยส่วนต่างระหว่างรายได้ดอกเบี้ยรับตามแผนวิสาหกิจของธนาคารอาคารสงเคราะห์กับรายได้ดอกเบี้ยรับจากโครงการฯ ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ดำเนินการพิจารณาผลการดำเนินโครงการและนำข้อมูลสถานะทางการเงินมาประกอบการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป และให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของโครงการ และติดตามการดำเนินโครงการดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากการปรับกรอบวงเงินของโครงการเพิ่มขึ้น รวมทั้งควรมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของกลุ่มลูกค้ารายย่อยไม่ให้ซ้ำซ้อนกับโครงการให้ความช่วยเหลืออื่นในลักษณะเดียวกันด้วย ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | รายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย สำหรับงวดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึงวันที่ 23 กันยายน 2563 (วันยุบเลิกบรรษัท) | กค. | 03/08/2564 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
สำหรับงวดตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ (วันยุบเลิกบรรษัท) ประกอบด้วย รายงานผลการดำเนินงานปีบัญชี ๒๕๖๓
เปรียบเทียบกับปีบัญชี ๒๕๖๒ ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับรองแล้ว และเป็นไปตามพระราชกำหนดบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๒๖ ทั้งนี้ พระราชบัญญัติยุบเลิกบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ ซึ่งมีผลให้บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยควบรวมกิจการเข้ากับธนาคารอาคารสงเคราะห์แล้ว นับแต่วันที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับ
และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ถือเอาวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ เป็นวันยุบเลิกบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
และปิดงบการเงิน ประจำปี ๒๕๖๓ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป
|