ค้นหาข้อมูลมติคณะรัฐมนตรี
ค้นหาเพิ่มเติม
หน้าที่ 1 จากทั้งหมด 1 หน้า แสดงรายการที่ 1 - 2 จากข้อมูลทั้งหมด 2 รายการ
ลำดับ | ชื่อเรื่อง | ส่วนราชการ เจ้าของเรื่อง |
วันที่มีมติ | ||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2563 | นร.11 | 26/01/2564 | ||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
ณ เดือนธันวาคม ๒๕๖๓ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การพิจารณาแผนระดับที่ ๓
ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในช่วงที่ผ่านมา การขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ
(Big Rock) การพัฒนาแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์
(Super eMENSCR) และประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ
คือ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชน เป็นต้น
ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ
|
|||||||||||||||
2 | ผลการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง | กต. | 26/01/2564 | ||||||||||||
คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ ๑. รับทราบผลการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค
ครั้งที่ ๒๗ และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล
ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ โดยมาเลเซียเจ้าภาพจัดการประชุมฯ
ได้กำหนดหัวข้อหลักของการประชุมฯ คือ
“การใช้ประโยชน์สูงสุดจากศักยภาพมนุษย์เพื่ออนาคตที่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงและมุ่งสู่ความรุ่งเรืองร่วมกัน
การปรับเปลี่ยน การจัดลำดับความสำคัญ ความก้าวหน้า” โดยมีประเด็นสำคัญ ๓ ประเด็น
ได้แก่ การพัฒนาบริบทของการค้าและการลงทุน
การมีส่วนร่วมที่ครอบคลุมด้านเศรษฐกิจผ่านเศรษฐกิจดิจิทัลและเทคโนโลยี
และการขับเคลื่อนความยั่งยืนรูปแบบใหม่ ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้ให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมที่สำคัญรวม
๓ ฉบับ ได้แก่ ปฏิญญาผู้นำเฃตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ ๒๗ (ปฏิญญากัวลาลัมเปอร์ ค.ศ.
๒๐๒๐) วิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ค.ศ. ๒๐๔๐ และถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค
ครั้งที่ ๓๑ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ
ได้หารือในประเด็นสำคัญที่ส่งผลกระทบลต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่
การร่วมมือกันต่อสู้ บรรเทา และฟื้นฟูภูมิภาคจากการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙
อนาคตของเอเปคภายหลังการสิ้นสุดของเป้าหมายโบกอร์ การส่งเสริมการค้าและการลงทุนเสรี
เปิดกว้าง เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ โปร่งใส และคาดการณ์ได้
การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล
และการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและยั่งยืน
และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ
ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ๒.
ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาปรับปรุงตารางติดตามผลการประชุมฯ
โดยเพิ่มสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมในกำกับของนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ครอบคลุมในประเด็นการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย
ตามความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ก่อนดำเนินการต่อไปด้วย |